“เมืองปากเกร็ดมีความเป็นเมืองพหุวัฒนธรรม ซึ่งนอกจากวัฒนธรรมเก่าที่คนโหยหาและมีราคา เรายังมองเห็นประสบการณ์บางอย่างที่คนรุ่นเก่ามีอยู่ และดูมีประโยชน์กับกลุ่มคนใหม่ ๆ โดยต้องหาวิธีจัดการองค์ความรู้นั้นมาใช้ให้ได้ เราจะพาวิธีคิดแบบพิเศษของคนกลุ่มนั้นมาสู่ Digital Workflow ได้อย่างไร ในแบบที่คนรุ่นหลังจะนำไปใช้งานต่อยาว ๆ
อย่างแรกไปดูก่อนว่าใครเชี่ยวชาญในด้านอะไร แล้วถอดมาเป็น Knowledge Management (การจัดการความรู้ – ผู้เรียบเรียง) แล้วนำไปส่งต่อให้เมือง อย่างเมื่อปี 2554 ทำไมน้ำถึงไม่ท่วมเมือง เขามีวิธีคิดจัดการอย่างไร ทำไมวางกระสอบทรายแบบนี้ เตรียมการอะไรบ้าง พวกนั้นไม่มีในตำรา แต่มีอยู่ในคนทำงานเหล่านี้
หน้าที่ของเราคือหาโซลูชันที่เหมาะสมกับเมือง ทำตัวเหมือนล่ามที่ดี เพื่อให้รู้ว่าเมืองต้องการอะไร มีปัญหาอะไรอยู่ เรามีทักษะอะไรที่จะมาใช้แก้ปัญหาเมืองได้
อย่างไรก็ดี ปากเกร็ดก็ยังติดปัญหาสำคัญคือ แม้เราจะสามารถเก็บข้อมูลเมืองได้มหาศาล แต่เรายังขาดวิธีการนำข้อมูลดังกล่าวไปใช้ต่ออย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดปีที่ผ่านมา (2567) เราจึงร่วมกับทีมนักวิจัยหาวิธีสร้าง Data Culture (วัฒนธรรมที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล – ผู้เรียบเรียง) เพื่อให้ผู้บริหารสามารถใช้ข้อมูลที่มีในการออกแบบนโยบาย ไปจนถึงการจัดการเมือง ให้กลายมาเป็นแพลตฟอร์มการทำงานไปเลย คือต่อให้ในอนาคตทีมบริหารรุ่นใหม่อาจจะไม่เก่งเท่าปัจจุบัน แต่พวกเขาก็ยังมีข้อมูลและบทเรียนจากคนรุ่นก่อนที่พร้อมสนับสนุนการตัดสินใจได้อยู่ นั่นทำให้การบริหารเมืองเป็นเรื่องง่าย
เมื่อผสานฐานข้อมูลจากการส่งต่อบทเรียนกับคนรุ่นก่อนหน้า เข้ากับเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมในการรับมือกับภัยพิบัติใหม่ ๆ ผมคิดว่าปากเกร็ดจะเป็นเมืองที่มีความพร้อมต่อภาวะโลกรวนที่เป็นอยู่ในตอนนี้ และความพร้อมนี้แหละที่กระตุ้นให้ผู้คนอยากมาลงทุนในเมืองของเรามากขึ้น
นั่นล่ะครับ ความสำเร็จในการรับมือกับภัยพิบัติ มันส่งผลโดยตรงต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของเมืองอย่างปฏิเสธไม่ได้จริง ๆ”
ณัฐพงศ์ ศรีสว่าง
นักวิชาการคอมพิวเตอร์ชำนาญการพิเศษ เทศบาลนครปากเกร็ด
#เทศบาลนครปากเกร็ด #CIAP #โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่การเป็นเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด #PMUA #บพท #Wecitizens
พลังคน พลังโคมลำพูน: เมืองเล็ก ๆ ที่เปี่ยมไปด้วยพลังสร้างสรรค์ แม้ ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์ เป็นคนเชียงใหม่ เธอก็หาใช่เป็นคนอื่นคนไกลสำหรับชาวลำพูนเพราะก่อนจะเข้ามาขับเคลื่อนงานวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดกับเทศบาลเมืองลำพูน เธอได้ทำวิจัยเกี่ยวกับเมืองแห่งนี้มาหลายครั้ง โดยเฉพาะโครงการขับเคลื่อนเยาวชนเพื่อเตรียมพร้อมสู่การเป็นพลเมืองของเมืองแห่งการเรียนรู้ของ UNESCO ในปี 2566-2567 - นั่นล่ะ…
“เป็นสิ่งวิเศษที่สุด ที่ผ้าไหมของจังหวัดลำพูนได้ปรากฏต่อสายตาผู้คนทั้งในและต่างประเทศ ทั้งเมื่อครั้งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงให้การส่งเสริม และทรงฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญต่าง ๆ และกระทั่งในปัจจุบัน สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 10 ก็ทรงส่งเสริมผ้าไหมไทย และฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญเช่นกัน ดิฉันเป็นคนลำพูน มีความภูมิใจในงานหัตถศิลป์การทอผ้าไหมยกดอกนี้มาก ๆ และตั้งใจจะรักษามรดกทางวัฒนธรรม ทำหน้าที่ส่งต่อถึงคนรุ่นต่อไป…
“ความที่โตมาในลำพูน เราตระหนักดีว่าเมืองเรามีต้นทุนทางวัฒนธรรมที่สูงมาก ทั้งยังมีบรรยากาศที่น่าอยู่ อย่างไรก็ดี อาจเพราะเป็นเมืองขนาดเล็ก ลำพูนมักถูกมองข้ามจากแผนการพัฒนาของประเทศ เป็นเหมือนเมืองที่มีศักยภาพ แต่ยังไม่ถูกปลุกให้ตื่นความที่เราเคยทำงานที่ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (ปัจจุบันคือสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA - ผู้เรียบเรียง) ได้เห็นตัวอย่างความสำเร็จของกระบวนการพัฒนาย่านด้วยกรอบพื้นที่สร้างสรรค์ในหลายพื้นที่…
“ผมเป็นคนลำพูน และชอบทำกิจกรรมนอกห้องเรียนมาตั้งแต่เด็ก ปัจจุบันเป็นประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดลำพูน ควบคู่ไปกับกำลังศึกษาคณะรัฐศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จากประสบการณ์การทำงานในสภาฯ ทำให้ผมเห็นว่า เยาวชนลำพูนมีศักยภาพที่หลากหลาย แต่สิ่งที่ขาดไปคือเวทีที่เปิดโอกาสให้พวกเขาได้แสดงความสามารถและพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง นอกเหนือจากการสนับสนุนจากโรงเรียนหรือโครงการของภาคเอกชน ปี 2567 พี่อร (ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์…
“อาคารหลังนี้แต่ก่อนเป็นที่ประทับของเจ้าราชสัมพันธวงษ์ลำพูน (พุทธวงษ์ ณ เชียงใหม่) น้องเขยของเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าหลวงองค์สุดท้ายของลำพูน อาคารถูกสร้างขึ้นเมื่อปี 2455 หลังจากนั้นก็ถูกขายให้พ่อค้าชาวจีนไปทำเป็นโรงเรียนหวุ่นเจิ้ง สอนภาษาจีนและคณิตศาสตร์ โรงเรียนนี้เปิดได้ไม่นานก็ต้องปิด เพราะสมัยนั้นรัฐบาลเพ่งเล็งว่าอะไรที่เป็นของจีนจะเกี่ยวข้องกับลัทธิคอมมิวนิสต์ แต่หนูก็ไม่รู้หรอกว่าโรงเรียนนี้เกี่ยวข้องหรือเปล่า (ยิ้ม) จากนั้นอาคารก็ถูกเปลี่ยนมาเป็นโรงเรียนมงคลวิทยาในปี…
“เราโตมากับวัฒนธรรมของคนลำพูน ชอบไปเดินงานปอย ร่วมงานบุญ ก่อนหน้านี้ก็เคยทำงานรับจ้างทั่วไป จนเทศบาลฯ มาส่งเสริมเรื่องการทำโคม โดยมีสล่าจากชุมชนศรีบุญเรืองมาสอน เราก็ไปเรียนกับเขา ตอนนี้อาชีพหลักคือการทำโคม ทำมาได้ 2 ปีแล้ว สำหรับเรา โคมคืองานศิลปะ เป็นสัญลักษณ์และมรดกที่ยึดโยงกับวัฒนธรรมของคนบ้านเรา ตอนแรกเราไม่มีความคิดเลยว่ามันจะกลายมาเป็นอาชีพได้…