“บทบาทของสำนักช่าง คือ การทำงานเรื่องสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นอากาศหรือน้ำ อย่างเรื่องอุทกภัย เรามีศูนย์ข้อมูลกลางความปลอดภัยของเทศบาลนครปากเกร็ด เป็นหน่วยงานที่ผลิตข้อมูลแจ้งเตือนในรูปแบบต่าง ๆ ที่น่าเชื่อถือและรวดเร็ว ซึ่งสุดท้ายข้อมูลชุดนั้นจะกลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของประชาชนที่ขาดไม่ได้ สำหรับการตัดสินใจเรื่องใดเรื่องหนึ่งเกี่ยวกับการจัดการภัย ซึ่งผมมองว่าองค์ประกอบทั้งหมดจะครบถ้วนได้ต้องมี Data Culture เกิดขึ้น
ส่วนงานของสำนักช่างคือการป้องกัน ทำแนวป้องกัน ขุดลอกคลอง ลอกท่อ โดยแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนที่เป็นน้ำภายในที่เกิดจากฝนตก อีกส่วนคือน้ำหลาก น้ำจากภาคเหนือไหลลงมาแม่น้ำเจ้าพระยา ส่วนแรกคือส่วนที่เทศบาลนครปากเกร็ดรับผิดชอบ ได้มีการดูแลคูคลองสายหลัก เช่น คลองบ้านใหม่ คลองบางพูด คลองบางตลาด มีการเก็บวัชพืช ลอกคูคลองทั้งหมด รวมถึงบำรุงรักษาดูแลลอกท่อระบายน้ำ และทางเทศบาลฯ ก็มีการดูแลบ่อสูบน้ำและสถานีสูบ เพื่อระบายน้ำจากถนนหนทาง หมู่บ้านจัดสรร และคูคลองด้วย
นอกจากนี้ เรายังมีเขื่อนป้องกันน้ำเซาะริมแม่น้ำเจ้าพระยา จากวัดสนามเหนือจนถึงท่าน้ำปากเกร็ด ความยาว 450 เมตร ซึ่งล่าสุด เทศบาลฯ ได้ดำเนินการเสร็จแล้ว ปกติน้ำจะเข้ามาในพื้นที่ของชุมชน การมีเขื่อนนี้ ทำให้เราสามารถลดค่าใช้จ่ายด้านกระสอบทราย และแรงงานไปได้มาก ส่วนเฟส 2 ที่กำลังจะทำคือ ตั้งแต่ท่าน้ำปากเกร็ดจนถึงที่ดินเทศบาลในอีก 850 เมตร และในเขตที่ติดแม่น้ำเจ้าพระยา 10 กิโลเมตร บางส่วนเราใช้คันดิน บางส่วนใช้กระสอบทราย เป็นการดำเนินการเพื่อป้องกันฤดูน้ำหลาก
ในฝั่งงานวิจัยฯ เทศบาลฯ ก็มีการสร้างเครื่องมือสำรวจสิ่งที่เป็นอุปสรรคในการระบายน้ำของคลอง และสิ่งที่สะสมในท่อระบายน้ำ เพื่อดูว่าจะทำให้ประสิทธิภาพในการระบายน้ำของเทศบาลฯ ดีขึ้นหรือไม่ และส่งข้อมูลให้ประชาชนได้ทราบถึงความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นของแต่ละพื้นที่
เพราะแม้ว่าเราจะทำเรื่องน้ำจนชาวบ้านสามารถไว้ใจได้แล้ว เราก็จำเป็นต้องปรับตัวและทำงานในรูปแบบวิชาการ โดยให้ศูนย์ข้อมูลกลางความปลอดภัยเป็นหัวใจหลัก ทั้งการคาดการณ์ภัยพิบัติผ่านการเก็บสถิติ การจัดการข้อมูล และการสื่อสารประชาสัมพันธ์ไปยังภาคประชาชน รวมถึงแนวทางให้ประชาชนพร้อมรับมือ ในกรณีที่ระบบที่เรามีอยู่ไม่สามารถป้องกันภัยธรรมชาติใหญ่ ๆ ในอนาคตได้ เป็นต้น
เหล่านี้คือกลไกสำคัญ ซึ่งถ้าเราฝังเรื่อง Data Culture เข้าไปได้สำเร็จ ต่อให้ในอนาคต เทศบาลนครปากเกร็ดจะมีการเปลี่ยนทีมบริหารไม่ว่าจะกี่ทีม ประชาชนก็สามารถใช้ชีวิตในเมืองนี้ต่อไปอย่างมีความสุขได้”
นพกร หวังพราย
ผู้อำนวยการสำนักช่าง เทศบาลนครปากเกร็ด
#เทศบาลนครปากเกร็ด #CIAP #โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่การเป็นเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด #PMUA #บพท #Wecitizens
พลังคน พลังโคมลำพูน: เมืองเล็ก ๆ ที่เปี่ยมไปด้วยพลังสร้างสรรค์ แม้ ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์ เป็นคนเชียงใหม่ เธอก็หาใช่เป็นคนอื่นคนไกลสำหรับชาวลำพูนเพราะก่อนจะเข้ามาขับเคลื่อนงานวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดกับเทศบาลเมืองลำพูน เธอได้ทำวิจัยเกี่ยวกับเมืองแห่งนี้มาหลายครั้ง โดยเฉพาะโครงการขับเคลื่อนเยาวชนเพื่อเตรียมพร้อมสู่การเป็นพลเมืองของเมืองแห่งการเรียนรู้ของ UNESCO ในปี 2566-2567 - นั่นล่ะ…
“เป็นสิ่งวิเศษที่สุด ที่ผ้าไหมของจังหวัดลำพูนได้ปรากฏต่อสายตาผู้คนทั้งในและต่างประเทศ ทั้งเมื่อครั้งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงให้การส่งเสริม และทรงฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญต่าง ๆ และกระทั่งในปัจจุบัน สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 10 ก็ทรงส่งเสริมผ้าไหมไทย และฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญเช่นกัน ดิฉันเป็นคนลำพูน มีความภูมิใจในงานหัตถศิลป์การทอผ้าไหมยกดอกนี้มาก ๆ และตั้งใจจะรักษามรดกทางวัฒนธรรม ทำหน้าที่ส่งต่อถึงคนรุ่นต่อไป…
“ความที่โตมาในลำพูน เราตระหนักดีว่าเมืองเรามีต้นทุนทางวัฒนธรรมที่สูงมาก ทั้งยังมีบรรยากาศที่น่าอยู่ อย่างไรก็ดี อาจเพราะเป็นเมืองขนาดเล็ก ลำพูนมักถูกมองข้ามจากแผนการพัฒนาของประเทศ เป็นเหมือนเมืองที่มีศักยภาพ แต่ยังไม่ถูกปลุกให้ตื่นความที่เราเคยทำงานที่ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (ปัจจุบันคือสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA - ผู้เรียบเรียง) ได้เห็นตัวอย่างความสำเร็จของกระบวนการพัฒนาย่านด้วยกรอบพื้นที่สร้างสรรค์ในหลายพื้นที่…
“ผมเป็นคนลำพูน และชอบทำกิจกรรมนอกห้องเรียนมาตั้งแต่เด็ก ปัจจุบันเป็นประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดลำพูน ควบคู่ไปกับกำลังศึกษาคณะรัฐศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จากประสบการณ์การทำงานในสภาฯ ทำให้ผมเห็นว่า เยาวชนลำพูนมีศักยภาพที่หลากหลาย แต่สิ่งที่ขาดไปคือเวทีที่เปิดโอกาสให้พวกเขาได้แสดงความสามารถและพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง นอกเหนือจากการสนับสนุนจากโรงเรียนหรือโครงการของภาคเอกชน ปี 2567 พี่อร (ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์…
“อาคารหลังนี้แต่ก่อนเป็นที่ประทับของเจ้าราชสัมพันธวงษ์ลำพูน (พุทธวงษ์ ณ เชียงใหม่) น้องเขยของเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าหลวงองค์สุดท้ายของลำพูน อาคารถูกสร้างขึ้นเมื่อปี 2455 หลังจากนั้นก็ถูกขายให้พ่อค้าชาวจีนไปทำเป็นโรงเรียนหวุ่นเจิ้ง สอนภาษาจีนและคณิตศาสตร์ โรงเรียนนี้เปิดได้ไม่นานก็ต้องปิด เพราะสมัยนั้นรัฐบาลเพ่งเล็งว่าอะไรที่เป็นของจีนจะเกี่ยวข้องกับลัทธิคอมมิวนิสต์ แต่หนูก็ไม่รู้หรอกว่าโรงเรียนนี้เกี่ยวข้องหรือเปล่า (ยิ้ม) จากนั้นอาคารก็ถูกเปลี่ยนมาเป็นโรงเรียนมงคลวิทยาในปี…
“เราโตมากับวัฒนธรรมของคนลำพูน ชอบไปเดินงานปอย ร่วมงานบุญ ก่อนหน้านี้ก็เคยทำงานรับจ้างทั่วไป จนเทศบาลฯ มาส่งเสริมเรื่องการทำโคม โดยมีสล่าจากชุมชนศรีบุญเรืองมาสอน เราก็ไปเรียนกับเขา ตอนนี้อาชีพหลักคือการทำโคม ทำมาได้ 2 ปีแล้ว สำหรับเรา โคมคืองานศิลปะ เป็นสัญลักษณ์และมรดกที่ยึดโยงกับวัฒนธรรมของคนบ้านเรา ตอนแรกเราไม่มีความคิดเลยว่ามันจะกลายมาเป็นอาชีพได้…