“ผมย้ายตามพ่อมาอยู่ที่ปากเกร็ดตั้งแต่ปี 2526 ตอนนั้นถนนแจ้งวัฒนะเป็นถนนที่มีคูน้ำสองข้าง และตรงกลางเป็นคูน้ำ ปากเกร็ดยังมีความเป็นชนบทที่สุขสงบ แต่หลังจากมีทางด่วนมา ทุกอย่างก็มาลงที่นี่ ห้างสรรพสินค้า โรงเรียน โรงพยาบาล มหาวิทยาลัย สมัยก่อนหมู่บ้านจัดสรรเป็นแนวราบเพราะพื้นที่เยอะ แต่ตอนนี้เป็นคอนโดฯ หมดแล้ว เพราะมีรถไฟฟ้า ผมคิดว่าพื้นที่ตรงนี้เหมาะเป็นที่อยู่อาศัยให้คนเดินทางไปทำงานในกรุงเทพฯ
อย่างไรก็ตาม ที่น่าประทับใจคือ ถึงปากเกร็ดจะเติบโตไปมาก แต่คาแรกเตอร์ความเป็นชุมชนก็ยังคงชัดเจน เมืองยังมีความเป็นเพื่อนบ้าน ผู้คนเก่าแก่ยังไปมาหาสู่ และคนมาอยู่ใหม่ก็ค่อนข้างกลมกลืนกับคนที่อยู่มาก่อน ซึ่งสิ่งนี้มันหาได้ยากจากเมืองใหญ่ ๆ ในทุกวันนี้ครับ
และอาจด้วยลักษณะพิเศษเช่นนี้ ชาวปากเกร็ดจึงมีความพร้อม ให้ความร่วมมือกับภาครัฐค่อนข้างดี เห็นได้ชัดจากอาสาสมัครที่ช่วยเทศบาลฯ รับมือน้ำท่วมเมื่อปี 2554 หรือการคอยเป็นหูเป็นตาแจ้งเตือนถึงระดับน้ำในทุกฤดูน้ำหลาก รวมถึงปัจจัยเสี่ยง ๆ ตลอดหลายปีที่ผ่านมา สิ่งนี้คือต้นทุน ที่เมื่อเทศบาลฯ ตั้งใจทำระบบป้องกันน้ำท่วมในปัจจุบัน มันจึงมีแนวโน้มจะลุล่วงไปด้วยดี
ด้วยความที่ผมทำงานไอที การนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้งานแบบนี้ถือว่าดีในแง่การสร้างประสบการณ์หรือบทเรียนสำหรับการรับมือกับปัญหาต่าง ๆ ในอนาคต เพราะถ้าไม่ทำระบบเลย ประสบการณ์จะไม่มี เหมือนเมื่อก่อนที่เราไม่รู้จัก Google Maps แต่พอรู้จัก ชีวิตพวกเราก็สะดวกสบายขึ้นเยอะ ระบบพวกนี้ก็เหมือนกัน ตอนนี้เราเข้าใจว่าเจ้าหน้าที่เทศบาลฯ มีความเข้าใจในระบบรับมือภัยพิบัติที่ทางเทศบาลฯ ทำเอง แต่ขั้นต่อไปคือ จะทำยังไงให้ประชาชนรับรู้ด้วย เพราะนี่ไม่ใช่การพัฒนาพื้นที่อย่างเดียว แต่เป็นการพัฒนาตัวบุคลากรไปด้วย มันจะยิ่งสร้างให้คนทำงานมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลขึ้น ต่อยอดให้เห็นว่าถ้ามีระบบนี้แล้ว พื้นที่อื่นก็น่าจะดีขึ้นได้ด้วยนะ”
พัฒนะ ธนาธิปัตย์
ผู้ประกอบการบริษัทไอที
#เทศบาลนครปากเกร็ด #CIAP #โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่การเป็นเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด #PMUA #บพท #Wecitizens
พลังคน พลังโคมลำพูน: เมืองเล็ก ๆ ที่เปี่ยมไปด้วยพลังสร้างสรรค์ แม้ ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์ เป็นคนเชียงใหม่ เธอก็หาใช่เป็นคนอื่นคนไกลสำหรับชาวลำพูนเพราะก่อนจะเข้ามาขับเคลื่อนงานวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดกับเทศบาลเมืองลำพูน เธอได้ทำวิจัยเกี่ยวกับเมืองแห่งนี้มาหลายครั้ง โดยเฉพาะโครงการขับเคลื่อนเยาวชนเพื่อเตรียมพร้อมสู่การเป็นพลเมืองของเมืองแห่งการเรียนรู้ของ UNESCO ในปี 2566-2567 - นั่นล่ะ…
“เป็นสิ่งวิเศษที่สุด ที่ผ้าไหมของจังหวัดลำพูนได้ปรากฏต่อสายตาผู้คนทั้งในและต่างประเทศ ทั้งเมื่อครั้งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงให้การส่งเสริม และทรงฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญต่าง ๆ และกระทั่งในปัจจุบัน สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 10 ก็ทรงส่งเสริมผ้าไหมไทย และฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญเช่นกัน ดิฉันเป็นคนลำพูน มีความภูมิใจในงานหัตถศิลป์การทอผ้าไหมยกดอกนี้มาก ๆ และตั้งใจจะรักษามรดกทางวัฒนธรรม ทำหน้าที่ส่งต่อถึงคนรุ่นต่อไป…
“ความที่โตมาในลำพูน เราตระหนักดีว่าเมืองเรามีต้นทุนทางวัฒนธรรมที่สูงมาก ทั้งยังมีบรรยากาศที่น่าอยู่ อย่างไรก็ดี อาจเพราะเป็นเมืองขนาดเล็ก ลำพูนมักถูกมองข้ามจากแผนการพัฒนาของประเทศ เป็นเหมือนเมืองที่มีศักยภาพ แต่ยังไม่ถูกปลุกให้ตื่นความที่เราเคยทำงานที่ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (ปัจจุบันคือสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA - ผู้เรียบเรียง) ได้เห็นตัวอย่างความสำเร็จของกระบวนการพัฒนาย่านด้วยกรอบพื้นที่สร้างสรรค์ในหลายพื้นที่…
“ผมเป็นคนลำพูน และชอบทำกิจกรรมนอกห้องเรียนมาตั้งแต่เด็ก ปัจจุบันเป็นประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดลำพูน ควบคู่ไปกับกำลังศึกษาคณะรัฐศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จากประสบการณ์การทำงานในสภาฯ ทำให้ผมเห็นว่า เยาวชนลำพูนมีศักยภาพที่หลากหลาย แต่สิ่งที่ขาดไปคือเวทีที่เปิดโอกาสให้พวกเขาได้แสดงความสามารถและพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง นอกเหนือจากการสนับสนุนจากโรงเรียนหรือโครงการของภาคเอกชน ปี 2567 พี่อร (ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์…
“อาคารหลังนี้แต่ก่อนเป็นที่ประทับของเจ้าราชสัมพันธวงษ์ลำพูน (พุทธวงษ์ ณ เชียงใหม่) น้องเขยของเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าหลวงองค์สุดท้ายของลำพูน อาคารถูกสร้างขึ้นเมื่อปี 2455 หลังจากนั้นก็ถูกขายให้พ่อค้าชาวจีนไปทำเป็นโรงเรียนหวุ่นเจิ้ง สอนภาษาจีนและคณิตศาสตร์ โรงเรียนนี้เปิดได้ไม่นานก็ต้องปิด เพราะสมัยนั้นรัฐบาลเพ่งเล็งว่าอะไรที่เป็นของจีนจะเกี่ยวข้องกับลัทธิคอมมิวนิสต์ แต่หนูก็ไม่รู้หรอกว่าโรงเรียนนี้เกี่ยวข้องหรือเปล่า (ยิ้ม) จากนั้นอาคารก็ถูกเปลี่ยนมาเป็นโรงเรียนมงคลวิทยาในปี…
“เราโตมากับวัฒนธรรมของคนลำพูน ชอบไปเดินงานปอย ร่วมงานบุญ ก่อนหน้านี้ก็เคยทำงานรับจ้างทั่วไป จนเทศบาลฯ มาส่งเสริมเรื่องการทำโคม โดยมีสล่าจากชุมชนศรีบุญเรืองมาสอน เราก็ไปเรียนกับเขา ตอนนี้อาชีพหลักคือการทำโคม ทำมาได้ 2 ปีแล้ว สำหรับเรา โคมคืองานศิลปะ เป็นสัญลักษณ์และมรดกที่ยึดโยงกับวัฒนธรรมของคนบ้านเรา ตอนแรกเราไม่มีความคิดเลยว่ามันจะกลายมาเป็นอาชีพได้…