“ด้วยความที่เมืองปากเกร็ดเป็นส่วนขยายของกรุงเทพฯ ที่มีประชากรจากกรุงเทพฯ ออกมาอาศัยอยู่มาก และเป็นแหล่งเศรษฐกิจสำคัญของนนทบุรี มีเมืองทองธานีเป็นจุดศูนย์กลาง ทำให้มีคนเข้ามาในพื้นที่เยอะ ถ้าฝนตกน้ำท่วม ระบายน้ำออกไม่ทัน มันก็กระทบเป็นวงกว้าง และส่งผลหนักหนาไม่ต่างจากพื้นที่ศูนย์กลางกรุงเทพฯ เลย
ช่วงน้ำท่วมที่ผ่านมา เราทำแดชบอร์ดเผยแพร่ทุกวันว่าระดับน้ำถึงไหนแล้ว ประชาชนเข้ามาเช็กได้เรียลไทม์ นำภาพกล้องวงจรปิดมาใส่ไว้ในเพจเฟซบุ๊กเทศบาลนครปากเกร็ด ประชาชนคลิกดูแล้วรู้เลยว่าน้ำอยู่ระดับไหน มีเสาที่วัดแล้วอ่านค่าให้เลยว่า ตรงไหนควรเตรียมตัว ตรงไหนอันตรายแล้ว เรารวบรวมข้อมูลและนำมาเผยแพร่ สรุปออกมาเป็นข้อมูลที่เข้าใจง่าย เข้าถึงง่าย
ด้วยเหตุนี้ ทางเทศบาลฯ จึงเห็นความสำคัญกับการนำงานวิจัยมาใช้เพื่อสร้างฐานข้อมูลในการรับมือกับภัยพิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
อย่างการที่เราทำเขื่อนเป็นการป้องกันภายนอก แต่งานวิจัยที่เราทำกันอยู่เป็นการระบายน้ำ จัดการบริหารน้ำข้างใน ตอนที่ฝนตกหนัก ๆ น้ำท่วมขังถนนแจ้งวัฒนะ ประชาชนร้องเรียนค่อนข้างมาก เราก็อยากให้งานวิจัยนี้ทำให้ระดับน้ำที่ท่วมขังลดลงได้อย่างรวดเร็ว เพราะมันจะส่งผลดีต่อเมืองเป็นอย่างมาก เราต้องมาดูว่าท่อตรงไหนตันหรือเปล่า มีเทคโนโลยีอะไรที่จะตรวจสอบได้ เพื่อทำให้มีการขุดลอกที่เป็นระบบมากขึ้น เพิ่มศักยภาพในการระบายน้ำได้ดีขึ้น จากที่คนต้องเลี่ยงถนนเส้นนั้นเวลาฝนตก พอระบายน้ำได้ภายในสิบนาที เมืองของเราก็ไม่เสียโอกาส”
ว่าที่ร้อยตรี อลงกรณ์ กลิ่นสุคนธ์
ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์และงบประมาณ เทศบาลนครปากเกร็ด
#เทศบาลนครปากเกร็ด #CIAP #โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่การเป็นเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด #PMUA #บพท #Wecitizens