“ด้วยความที่เมืองปากเกร็ดเป็นส่วนขยายของกรุงเทพฯ ที่มีประชากรจากกรุงเทพฯ ออกมาอาศัยอยู่มาก และเป็นแหล่งเศรษฐกิจสำคัญของนนทบุรี มีเมืองทองธานีเป็นจุดศูนย์กลาง ทำให้มีคนเข้ามาในพื้นที่เยอะ ถ้าฝนตกน้ำท่วม ระบายน้ำออกไม่ทัน มันก็กระทบเป็นวงกว้าง และส่งผลหนักหนาไม่ต่างจากพื้นที่ศูนย์กลางกรุงเทพฯ เลย
ช่วงน้ำท่วมที่ผ่านมา เราทำแดชบอร์ดเผยแพร่ทุกวันว่าระดับน้ำถึงไหนแล้ว ประชาชนเข้ามาเช็กได้เรียลไทม์ นำภาพกล้องวงจรปิดมาใส่ไว้ในเพจเฟซบุ๊กเทศบาลนครปากเกร็ด ประชาชนคลิกดูแล้วรู้เลยว่าน้ำอยู่ระดับไหน มีเสาที่วัดแล้วอ่านค่าให้เลยว่า ตรงไหนควรเตรียมตัว ตรงไหนอันตรายแล้ว เรารวบรวมข้อมูลและนำมาเผยแพร่ สรุปออกมาเป็นข้อมูลที่เข้าใจง่าย เข้าถึงง่าย
ด้วยเหตุนี้ ทางเทศบาลฯ จึงเห็นความสำคัญกับการนำงานวิจัยมาใช้เพื่อสร้างฐานข้อมูลในการรับมือกับภัยพิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
อย่างการที่เราทำเขื่อนเป็นการป้องกันภายนอก แต่งานวิจัยที่เราทำกันอยู่เป็นการระบายน้ำ จัดการบริหารน้ำข้างใน ตอนที่ฝนตกหนัก ๆ น้ำท่วมขังถนนแจ้งวัฒนะ ประชาชนร้องเรียนค่อนข้างมาก เราก็อยากให้งานวิจัยนี้ทำให้ระดับน้ำที่ท่วมขังลดลงได้อย่างรวดเร็ว เพราะมันจะส่งผลดีต่อเมืองเป็นอย่างมาก เราต้องมาดูว่าท่อตรงไหนตันหรือเปล่า มีเทคโนโลยีอะไรที่จะตรวจสอบได้ เพื่อทำให้มีการขุดลอกที่เป็นระบบมากขึ้น เพิ่มศักยภาพในการระบายน้ำได้ดีขึ้น จากที่คนต้องเลี่ยงถนนเส้นนั้นเวลาฝนตก พอระบายน้ำได้ภายในสิบนาที เมืองของเราก็ไม่เสียโอกาส”
ว่าที่ร้อยตรี อลงกรณ์ กลิ่นสุคนธ์
ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์และงบประมาณ เทศบาลนครปากเกร็ด
#เทศบาลนครปากเกร็ด #CIAP #โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่การเป็นเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด #PMUA #บพท #Wecitizens
อาจารย์คณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังนักวิจัยโครงการเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด พนัสนิคม“ความที่เมืองพนัสนิคมแต่เดิมเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างเมืองชายทะเล กับเมืองที่อยู่ใกล้ป่าเขา ที่นี่จึงมีลักษณะเป็นชุมทางการค้าที่ผู้คนนำสินค้าจากทะเลและป่าเข้ามาแลกเปลี่ยนกัน เมืองจึงถูกขยับขยายและเติบโตด้วยอัตลักษณ์แบบที่เห็นขณะเดียวกัน ความที่พนัสนิคมเป็นชุมชนการค้าที่มีความรุ่งเรืองมาก่อนจะเกิดการตัดถนน จึงสังเกตได้ว่าเส้นทางในเมืองมีความคดเคี้ยว ซึ่งหาไม่ได้จากเมืองใหญ่ จริงอยู่จุดนี้อาจเป็นปัญหาในการขยายเมือง แต่ขณะเดียวกันมันก็เป็นเสน่ห์ของการเป็นเมืองเก่า สังเกตดู ถ้าเราขับรถจากทางหลวงที่เรียงรายด้วยโรงงานอุตสาหกรรมเข้ามาในเขตเทศบาลเมือง พอมาถึงเราจะเจอทุ่งนารายล้อมด้านนอก ก่อนจะเจอถนนแคบ…
“ผมย้ายตามพ่อมาอยู่ที่ปากเกร็ดตั้งแต่ปี 2526 ตอนนั้นถนนแจ้งวัฒนะเป็นถนนที่มีคูน้ำสองข้าง และตรงกลางเป็นคูน้ำ ปากเกร็ดยังมีความเป็นชนบทที่สุขสงบ แต่หลังจากมีทางด่วนมา ทุกอย่างก็มาลงที่นี่ ห้างสรรพสินค้า โรงเรียน โรงพยาบาล มหาวิทยาลัย สมัยก่อนหมู่บ้านจัดสรรเป็นแนวราบเพราะพื้นที่เยอะ แต่ตอนนี้เป็นคอนโดฯ หมดแล้ว เพราะมีรถไฟฟ้า…
“บทบาทของสำนักช่าง คือ การทำงานเรื่องสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นอากาศหรือน้ำ อย่างเรื่องอุทกภัย เรามีศูนย์ข้อมูลกลางความปลอดภัยของเทศบาลนครปากเกร็ด เป็นหน่วยงานที่ผลิตข้อมูลแจ้งเตือนในรูปแบบต่าง ๆ ที่น่าเชื่อถือและรวดเร็ว ซึ่งสุดท้ายข้อมูลชุดนั้นจะกลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของประชาชนที่ขาดไม่ได้ สำหรับการตัดสินใจเรื่องใดเรื่องหนึ่งเกี่ยวกับการจัดการภัย ซึ่งผมมองว่าองค์ประกอบทั้งหมดจะครบถ้วนได้ต้องมี Data Culture เกิดขึ้นส่วนงานของสำนักช่างคือการป้องกัน…
“เมืองปากเกร็ดมีความเป็นเมืองพหุวัฒนธรรม ซึ่งนอกจากวัฒนธรรมเก่าที่คนโหยหาและมีราคา เรายังมองเห็นประสบการณ์บางอย่างที่คนรุ่นเก่ามีอยู่ และดูมีประโยชน์กับกลุ่มคนใหม่ ๆ โดยต้องหาวิธีจัดการองค์ความรู้นั้นมาใช้ให้ได้ เราจะพาวิธีคิดแบบพิเศษของคนกลุ่มนั้นมาสู่ Digital Workflow ได้อย่างไร ในแบบที่คนรุ่นหลังจะนำไปใช้งานต่อยาว ๆอย่างแรกไปดูก่อนว่าใครเชี่ยวชาญในด้านอะไร แล้วถอดมาเป็น Knowledge Management…
“ในปี 2554 ปากเกร็ดเป็นที่รู้จักของคนในประเทศและต่างประเทศ เนื่องจากผลงานการป้องกันแก้ไขปัญหาน้ำท่วม ความที่ทีมผู้บริหารท้องถิ่นล้วนแล้วแต่เติบโตมากับชาวบ้าน ทำให้รอบรู้ถึงบริบทของเมืองและลักษณะพื้นฐานของประชากร เมื่อเรารู้จักพื้นที่ รู้เขา รู้เรา และทุ่มเททำงานอย่างไม่หยุดโดยไม่เกี่ยงตำแหน่งงาน เราจึงสามารถรับมือกับวิกฤตครั้งนั้นได้หลังจากผ่านเหตุการณ์ครั้งนั้นมาได้ เหมือนเราก็มีโมเดลในการป้องกันน้ำท่วมแล้ว เราก็พยายามพัฒนามาเรื่อย ๆ ว่า…
ก่อนที่ปากเกร็ดจะได้รับการเปลี่ยนแปลงยกฐานะจากสุขาภิบาลเป็นเทศบาลตำบลในปี 2535 วิชัย บรรดาศักดิ์ ชาวปากเกร็ดโดยกำเนิด เคยทำงานในฐานะผู้ใหญ่บ้าน และกำนันตำบลบ้านใหม่ มาก่อนแล้วกว่า 10 ปี และเมื่อเขาได้รับเลือกดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองปากเกร็ด (ในสมัยนั้น) ประสบการณ์จากการทำงานกับชุมชน ทำให้วิชัยไม่เพียงเข้าใจปัญหาเชิงลึกของท้องถิ่น แต่ตระหนักดีว่า…