“เราโตมากับวัฒนธรรมของคนลำพูน ชอบไปเดินงานปอย ร่วมงานบุญ ก่อนหน้านี้ก็เคยทำงานรับจ้างทั่วไป จนเทศบาลฯ มาส่งเสริมเรื่องการทำโคม โดยมีสล่าจากชุมชนศรีบุญเรืองมาสอน เราก็ไปเรียนกับเขา ตอนนี้อาชีพหลักคือการทำโคม ทำมาได้ 2 ปีแล้ว
สำหรับเรา โคมคืองานศิลปะ เป็นสัญลักษณ์และมรดกที่ยึดโยงกับวัฒนธรรมของคนบ้านเรา ตอนแรกเราไม่มีความคิดเลยว่ามันจะกลายมาเป็นอาชีพได้ เพราะปกติเขาก็มีคนทำโคมขายกันอยู่แล้ว จนเทศบาลฯ ริเริ่มความคิดให้ชุมชนมาช่วยกันทำโคมขายนี่แหละ ปีนี้ชุมชนเรา (ชุมชนชัยมงคล) ต้องทำส่งเทศบาลตั้ง 4,000 ลูก
การทำโคมไม่ใช่เรื่องง่าย มันมีหลายขั้นตอน ตั้งแต่การทำโครงไม้ไผ่ขึ้นรูป ตัดกระดาษสา ติดลวดลาย ทาสี และต้องรอให้แห้ง ถ้าหน้าฝนนี่จะทำได้ช้ามาก เพราะกาวไม่แห้งสักที (หัวเราะ) แต่สิ่งสำคัญคือการแบ่งหน้าที่ไปตามแต่ละคนถนัด ซึ่งจะทำให้เราผลิตได้เร็วขึ้น วันหนึ่งเราทำได้ประมาณ 8-10 ลูก ยังถือว่าทำได้น้อยอยู่ เพราะมีออร์เดอร์เยอะ ไม่ใช่แค่ของเทศบาลฯ อย่างเดียว แต่ยังมีผู้จัดงานที่อื่น ผู้ประกอบการที่ซื้อไปแต่งร้าน รวมถึงนักท่องเที่ยวที่จะมาซื้อเราตลอดปี
สิ่งที่น่าดีใจคือการได้ทำงานร่วมกับเพื่อน ๆ พี่ ๆ น้อง ๆ และช่วยสืบสานวัฒนธรรมของลำพูน การได้เห็นผู้สูงอายุที่ไม่มีอะไรทำ แล้วมาช่วยกันทำโคม มันช่วยให้พวกเขามีเพื่อนคุย และมีกิจกรรมอื่น ๆ ที่เราชวนกันทำร่วมกันอีก
พอได้เห็นโคมที่พวกเราทำมันถูกแขวนเป็นร้อยเป็นพันดวงในงานโคมแสนดวง หรืองานบุญอื่น ๆ มันอิ่มใจนะ คิดว่ามันเหมือนงานบุญที่ทุกคนมาก่อกองทรายร่วมกัน เหมือนร่วมฮอมแรงหรือฮอมเงินกันสร้างวัด แบบนั้นเลย”
#กลุ่มทำโคมล้านนาชุมชนชัยมงคล #เทศบาลเมืองลำพูน #มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ #CIAP #โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่การเป็นเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด #บพท #pmua #wecitizens
“ความที่โตมาในลำพูน เราตระหนักดีว่าเมืองเรามีต้นทุนทางวัฒนธรรมที่สูงมาก ทั้งยังมีบรรยากาศที่น่าอยู่ อย่างไรก็ดี อาจเพราะเป็นเมืองขนาดเล็ก ลำพูนมักถูกมองข้ามจากแผนการพัฒนาของประเทศ เป็นเหมือนเมืองที่มีศักยภาพ แต่ยังไม่ถูกปลุกให้ตื่นความที่เราเคยทำงานที่ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (ปัจจุบันคือสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA - ผู้เรียบเรียง) ได้เห็นตัวอย่างความสำเร็จของกระบวนการพัฒนาย่านด้วยกรอบพื้นที่สร้างสรรค์ในหลายพื้นที่…
“ผมเป็นคนลำพูน และชอบทำกิจกรรมนอกห้องเรียนมาตั้งแต่เด็ก ปัจจุบันเป็นประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดลำพูน ควบคู่ไปกับกำลังศึกษาคณะรัฐศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จากประสบการณ์การทำงานในสภาฯ ทำให้ผมเห็นว่า เยาวชนลำพูนมีศักยภาพที่หลากหลาย แต่สิ่งที่ขาดไปคือเวทีที่เปิดโอกาสให้พวกเขาได้แสดงความสามารถและพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง นอกเหนือจากการสนับสนุนจากโรงเรียนหรือโครงการของภาคเอกชน ปี 2567 พี่อร (ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์…
“อาคารหลังนี้แต่ก่อนเป็นที่ประทับของเจ้าราชสัมพันธวงษ์ลำพูน (พุทธวงษ์ ณ เชียงใหม่) น้องเขยของเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าหลวงองค์สุดท้ายของลำพูน อาคารถูกสร้างขึ้นเมื่อปี 2455 หลังจากนั้นก็ถูกขายให้พ่อค้าชาวจีนไปทำเป็นโรงเรียนหวุ่นเจิ้ง สอนภาษาจีนและคณิตศาสตร์ โรงเรียนนี้เปิดได้ไม่นานก็ต้องปิด เพราะสมัยนั้นรัฐบาลเพ่งเล็งว่าอะไรที่เป็นของจีนจะเกี่ยวข้องกับลัทธิคอมมิวนิสต์ แต่หนูก็ไม่รู้หรอกว่าโรงเรียนนี้เกี่ยวข้องหรือเปล่า (ยิ้ม) จากนั้นอาคารก็ถูกเปลี่ยนมาเป็นโรงเรียนมงคลวิทยาในปี…
“ก่อนหน้านี้เราเป็นสถาปนิก และกระบวนกรจัดประชุมสัมมนาด้านวิชาการ โดยหลัก ๆ จะอยู่เชียงใหม่ ช่วงปี 2562 เรากลับลำพูนและเห็นเทศกาล River Festival Lamphun ริมแม่น้ำกวง รู้สึกตื่นตามาก ๆ ไม่เคยคิดว่าเราจะได้เห็นโชว์แสง…
“ผมเคยทำงานที่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยมาก่อน พอเกษียณก็มาเป็นอาสาสมัครชุมชน และก็อยู่บ้านเฉย ๆ จนเทศบาลเขาชวนผมกับภรรยาไปเรียนทำโคม เพื่อจะให้ชุมชนเราผลิตโคมไปขายให้กับเทศบาลฯ ต่อ ชุมชนเรา (ชุมชนสันป่ายางหลวง) เป็นชุมชนแรกที่เข้าไปเรียนทำโคม น่าจะ 6-7 ปีก่อนได้ ตอนแรกก็ไม่ได้คิดว่าจะจริงจังอะไรนัก แค่เห็นว่าเป็นงานฝีมือที่น่าสนใจ และสามารถสร้างรายได้เสริมได้ด้วย แต่ทำไปทำมาชักสนุก…
“ผมเกิดและโตที่ลำพูน บ้านผมอยู่นอกเขตเทศบาล แต่ห่างจากเมืองแค่ 6 กิโลเมตร ตอนเด็กเรียนโรงเรียนประถมแถวบ้าน ก่อนเข้าเรียนมัธยมต้นที่โรงเรียนวัดพระธาตุหริภุญชัย ผมบวชเรียนอยู่ 2 ปี แล้วจึงย้ายไปเรียนมัธยมปลายที่โรงเรียนประจำจังหวัดหลังจากเรียนจบ ผมเข้ารับราชการ งานแรกอยู่ที่เชียงใหม่ ก่อนจะย้ายไปหลายเมือง กระทั่งได้กลับมาประจำที่เทศบาลเมืองลำพูนเมื่อธันวาคม…