[THE CITIZENS]ปริยาพร วีระศิริเจ้าของแบรนด์ผ้าไหม “อภิรมย์ลำพูน”

“เป็นสิ่งวิเศษที่สุด ที่ผ้าไหมของจังหวัดลำพูนได้ปรากฏต่อสายตาผู้คนทั้งในและต่างประเทศ ทั้งเมื่อครั้งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงให้การส่งเสริม และทรงฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญต่าง ๆ และกระทั่งในปัจจุบัน สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 10 ก็ทรงส่งเสริมผ้าไหมไทย และฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญเช่นกัน

ดิฉันเป็นคนลำพูน มีความภูมิใจในงานหัตถศิลป์การทอผ้าไหมยกดอกนี้มาก ๆ   และตั้งใจจะรักษามรดกทางวัฒนธรรม   ทำหน้าที่ส่งต่อถึงคนรุ่นต่อไป ผ่านการทำร้าน ‘อภิรมย์ลำพูน’ โดยยังคงความงามผ้าไหมในเอกลักษณ์การทอ   มีการคิดรวบรวมเทคนิคการทอต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ มีการบันทึกข้อมูลไว้บน Cloud เพื่อประโยชน์ในอนาคตและการศึกษา มีการตรวจสอบคุณภาพและลดข้อจำกัดต่าง ๆ ที่ไม่เคยทำได้ในอดีต  รวมถึงเพิ่มมาตรฐานอื่น ๆ ที่จำเป็น 

ปัจจุบันนอกจากจะมีการทอเป็นผ้าชุดสำหรับตัดชุดไทยพระราชนิยมแล้ว ยังมีการนำมาออกแบบตัดชุดอื่น ๆ ได้ และอภิรมย์ลำพูนได้นำผ้าไหมยกดอกลำพูนมาประดิษฐ์เป็นของที่ระลึกที่งดงามหลายแบบ เช่น ตลับกระจกสำหรับสุภาพสตรีเพื่อพกพา พัดต่างหู กล่องไม้เก็บเครื่องประดับ กระเป๋าถือสตรี ผ้าคลุมไหล่ ผ้าพันคอ สิ่งเหล่านี้ทำให้ผู้คนที่แม้ไม่ได้สวมใส่ผ้าไหมก็ได้เป็นเจ้าของชิ้นงานที่ทำจากผ้าไหมยกดอกลำพูนได้

ทั้งตัวดิฉันเองและช่างทอผ้าของอภิรมย์ลำพูนทุกคนมีเป้าหมายเดียวกัน คืออยากให้ อภิรมย์ลำพูน เป็นดั่ง ‘เกสรของนครหริภุญชัย’ ให้หอมกำจาย ดึงดูดผู้คนทั้งโลก ให้มาชื่นชมผ้าไหมยกดอกของลำพูน เพราะผ้าไหมยกดอกลำพูน คือลมหายใจของลำพูน 

ถ้าผ้าไหมขายได้ คนทอมีรายได้ ผู้คนในเมืองมีเงินจับจ่าย เศรษฐกิจคงจะค่อย ๆ ดีขึ้น ในขณะเดียวกัน ผ้าไหมก็ทำให้ดิฉันอยากมีชีวิตยืนยาว อยากอยู่ให้นานพอที่จะสร้างผลงานและส่งต่อถึงคนรุ่นต่อ ๆ ไปค่ะ

ดิฉันคิดว่าการพัฒนาลำพูน อาจไม่ใช่เรื่องของการสร้างตึกสูงหรือศูนย์การค้าขนาดใหญ่ แต่เป็นการทำให้มรดกทางวัฒนธรรมดั้งเดิมของเมืองที่เป็นเอกลักษณ์ได้รับการสืบสานและยกระดับ สิ่งนี้จะทำให้เศรษฐกิจของเมืองเคลื่อนตัว เติบโต และยั่งยืน”

ติดตามผลงานร้านอภิรมย์ลำพูนได้ที่ https://www.facebook.com/Apiromlamphun

#อภิรมย์ลำพูน #เทศบาลเมืองลำพูน #มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ #CIAP #โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่การเป็นเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด #บพท #pmua #wecitizens

Wecitizens Editor

Recent Posts

[THE CITIZENS]<br />ไชยยง รัตนอังกูร<br />ผู้ก่อตั้ง ลำพูน ซิตี้ แลป

“ความที่โตมาในลำพูน เราตระหนักดีว่าเมืองเรามีต้นทุนทางวัฒนธรรมที่สูงมาก ทั้งยังมีบรรยากาศที่น่าอยู่ อย่างไรก็ดี อาจเพราะเป็นเมืองขนาดเล็ก ลำพูนมักถูกมองข้ามจากแผนการพัฒนาของประเทศ เป็นเหมือนเมืองที่มีศักยภาพ แต่ยังไม่ถูกปลุกให้ตื่นความที่เราเคยทำงานที่ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (ปัจจุบันคือสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA - ผู้เรียบเรียง) ได้เห็นตัวอย่างความสำเร็จของกระบวนการพัฒนาย่านด้วยกรอบพื้นที่สร้างสรรค์ในหลายพื้นที่…

2 days ago

[THE CITIZENS]<br />ธีรธรรม เตชฤทธ์<br />ประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดลำพูน

“ผมเป็นคนลำพูน และชอบทำกิจกรรมนอกห้องเรียนมาตั้งแต่เด็ก ปัจจุบันเป็นประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดลำพูน ควบคู่ไปกับกำลังศึกษาคณะรัฐศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จากประสบการณ์การทำงานในสภาฯ ทำให้ผมเห็นว่า เยาวชนลำพูนมีศักยภาพที่หลากหลาย แต่สิ่งที่ขาดไปคือเวทีที่เปิดโอกาสให้พวกเขาได้แสดงความสามารถและพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง นอกเหนือจากการสนับสนุนจากโรงเรียนหรือโครงการของภาคเอกชน ปี 2567 พี่อร (ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์…

3 days ago

[THE CITIZENS]<br />ชนัญชิดา บุณฑริกบุตร<br />ผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์ชุมชนเมืองลำพูน

“อาคารหลังนี้แต่ก่อนเป็นที่ประทับของเจ้าราชสัมพันธวงษ์ลำพูน (พุทธวงษ์ ณ เชียงใหม่) น้องเขยของเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าหลวงองค์สุดท้ายของลำพูน อาคารถูกสร้างขึ้นเมื่อปี 2455 หลังจากนั้นก็ถูกขายให้พ่อค้าชาวจีนไปทำเป็นโรงเรียนหวุ่นเจิ้ง สอนภาษาจีนและคณิตศาสตร์ โรงเรียนนี้เปิดได้ไม่นานก็ต้องปิด เพราะสมัยนั้นรัฐบาลเพ่งเล็งว่าอะไรที่เป็นของจีนจะเกี่ยวข้องกับลัทธิคอมมิวนิสต์ แต่หนูก็ไม่รู้หรอกว่าโรงเรียนนี้เกี่ยวข้องหรือเปล่า (ยิ้ม)  จากนั้นอาคารก็ถูกเปลี่ยนมาเป็นโรงเรียนมงคลวิทยาในปี…

3 days ago

[THE CITIZENS]<br />นงเยาว์ ชัยพรหม<br />คนทำโคมจากชุมชนชัยมงคล

“เราโตมากับวัฒนธรรมของคนลำพูน ชอบไปเดินงานปอย ร่วมงานบุญ ก่อนหน้านี้ก็เคยทำงานรับจ้างทั่วไป จนเทศบาลฯ มาส่งเสริมเรื่องการทำโคม โดยมีสล่าจากชุมชนศรีบุญเรืองมาสอน เราก็ไปเรียนกับเขา ตอนนี้อาชีพหลักคือการทำโคม ทำมาได้ 2 ปีแล้ว  สำหรับเรา โคมคืองานศิลปะ เป็นสัญลักษณ์และมรดกที่ยึดโยงกับวัฒนธรรมของคนบ้านเรา ตอนแรกเราไม่มีความคิดเลยว่ามันจะกลายมาเป็นอาชีพได้…

3 days ago

[THE CITIZENS] อัญมณี มาตยาบุญ<br />ครีเอทีฟ ไดเรกเตอร์ ลำพูน ซิตี้ แลป

“ก่อนหน้านี้เราเป็นสถาปนิก และกระบวนกรจัดประชุมสัมมนาด้านวิชาการ โดยหลัก ๆ จะอยู่เชียงใหม่ ช่วงปี 2562 เรากลับลำพูนและเห็นเทศกาล River Festival Lamphun ริมแม่น้ำกวง รู้สึกตื่นตามาก ๆ ไม่เคยคิดว่าเราจะได้เห็นโชว์แสง…

4 days ago

[THE CITIZENS]<br />เจริญ คำพรหม และ แสงทอง คำพรหม <br />กลุ่มทำโคมชุมชนสันป่ายางหลวง

“ผมเคยทำงานที่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยมาก่อน พอเกษียณก็มาเป็นอาสาสมัครชุมชน และก็อยู่บ้านเฉย ๆ จนเทศบาลเขาชวนผมกับภรรยาไปเรียนทำโคม เพื่อจะให้ชุมชนเราผลิตโคมไปขายให้กับเทศบาลฯ ต่อ  ชุมชนเรา (ชุมชนสันป่ายางหลวง) เป็นชุมชนแรกที่เข้าไปเรียนทำโคม น่าจะ 6-7 ปีก่อนได้ ตอนแรกก็ไม่ได้คิดว่าจะจริงจังอะไรนัก แค่เห็นว่าเป็นงานฝีมือที่น่าสนใจ และสามารถสร้างรายได้เสริมได้ด้วย แต่ทำไปทำมาชักสนุก…

4 days ago