[The Citizens]ยุทธพงษ์ คำพีรพงศ์กราฟิกดิไซเนอร์ และอาสาสมัครชุมชนวัดทางหลวง

ผมเป็นฟรีแลนซ์กราฟิกดิไซเนอร์ และขายของออนไลน์ควบคู่ไปด้วย บ้านผมอยู่ในชุมชนวัดทางหลวง บางเขน ความที่โตมากับชุมชนนี้ ก็เลยมีความผูกพัน พอเห็นว่าอาสาสมัครชุมชนไม่ค่อยมีคนรุ่นใหม่มาทำเท่าไหร่ ทั้งที่มันเป็นงานที่ต้องใช้แรงพอสมควร ผมก็เลยอาสามาช่วยทำ 

ชุมชนเราตั้งอยู่ชายขอบของเขตเทศบาลนครนนทบุรี ติดกับเขตบางซื่อของกรุงเทพฯ ตรงนั้นมีรถไฟฟ้าสายสีม่วงผ่าน แต่สถานีไม่ได้ตั้งอยู่ในชุมชนเรา ถ้าจะขึ้นรถไฟฟ้า ต้องเดินข้ามคลองไปที่เขตบางซื่อ ตรงนี้จึงเห็นความต่างชัดเจน เพราะบางซื่อมีทางเท้าที่ค่อนข้างดี แต่ของชุมชนเรา ถ้าเป็นคนแก่หรือคนพิการจะสัญจรลำบาก เราก็แจ้งหน่วยงานที่รับผิดชอบให้มาช่วยพัฒนา เพราะชุมชนเรามีผู้สูงอายุอยู่เยอะ แต่สภาพแวดล้อมกลับไม่เอื้ออำนวยเท่าไหร่

ด้วยความที่ชุมชนเราอยู่ติดกรุงเทพฯ จะเห็นว่าสัดส่วนประชากรมีความหลากหลายมาก มีทั้งคนดั้งเดิม คนกรุงเทพฯ คนต่างจังหวัด และแรงงานจากต่างถิ่น ชุมชนเราจึงมีทั้งหมู่บ้านเก่า โครงการบ้านจัดสรร ไปจนถึงชุมชนแออัด ในฐานะคนทำงานชุมชนที่ต้องประสานงานกับทุกครัวเรือน ก็เหนื่อยพอสมควร อย่างบ้านจัดสรรหรือคอนโดมิเนียม เขาก็มีผู้จัดการนิติบุคคลดูแล บางแห่งก็ประสานงานร่วมกับเรา บางแห่งก็จัดการกันเอง การสร้างการมีส่วนร่วมจึงไม่ทั่วถึงเท่าที่ควร

หมู่บ้านจัดสรรบางแห่งก็เป็นเอกเทศ เวลาจะทำข้อเสนอไปยังเทศบาลฯ หรือหน่วยงานรัฐอื่น ๆ จึงอาจไม่ครอบคลุมความต้องการทั้งหมด แต่ถึงอย่างนั้น โครงสร้างพื้นฐานอย่างถนน ทางเท้า ท่อระบายน้ำ และอื่น ๆ เราก็ต้องเป็นตัวแทนให้ หรือถ้าเขาต้องการให้ช่วยส่งผู้สูงอายุไปโรงพยาบาล หรืองานด้านสาธารณสุขอื่น ๆ เราก็ยินดีเต็มที่

หลัก ๆ เราทำงานผ่านแอปพลิเคชัน ‘สมาร์ท อสม.’ ที่ขับเคลื่อนโดยกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข แอปพลิเคชันนี้เน้นเรื่องการเฝ้าระวังและควบคุมโรค ซึ่งพอทราบว่าทาง บพท. จะพัฒนาแอปพลิเคชัน ‘เวชศาสตร์วิถีชีวิต’ เพิ่มเติมในแอปฯ ‘นครนนท์’ ผมคิดว่าน่าจะช่วยเติมเต็มเรื่องการดูแลสุขภาพของคนในเขตเทศบาลให้ครอบคลุมมากขึ้น

อย่างไรก็ดี อย่างที่บอกไป ในฐานะตัวแทนชุมชนวัดทางหลวง จริง ๆ แล้วพวกสวนสาธารณะหรือพื้นที่พักผ่อน ชุมชนเรายังพอเข้าถึงได้ แต่ก็อยากให้เทศบาลฯ มาช่วยปรับปรุงทางเท้าให้ดีขึ้น เพื่อให้ผู้สูงอายุและคนทั่วไปสัญจรได้สะดวกขึ้นครับ”

Wecitizens Editor

Recent Posts

[The Insider]<br />พัชรี แซมสนธ์

“เมืองอาหารปลอดภัยไม่ได้ให้ประโยชน์แค่เฉพาะผู้คนในเขตเทศบาลฯแต่มันสามารถเป็นต้นแบบให้เมืองอื่น ๆ ที่อยากส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้คนได้เช่นกัน” “งานประชุมนานาชาติของสมาคมพืชสวนโลก (AIPH Spring Meeting Green City Conference 2025) ที่เชียงรายเป็นเจ้าภาพเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2568 ที่ผ่านมา เน้นย้ำถึงทิศทางการพัฒนาเมืองสีเขียว…

2 weeks ago

[The Insider]<br />พรทิพย์ จันทร์ตระกูล

“ทั้งพื้นที่การเรียนรู้ นโยบายเมืองอาหารปลอดภัย และโรงเรียนสำหรับผู้สูงวัยคือสารตั้งต้นที่จะทำให้เชียงรายเป็นเมืองแห่งสุขภาพ (Wellness City)” “กล่าวอย่างรวบรัด ภารกิจของกองการแพทย์ เทศบาลนครเชียงราย คือการทำให้ประชาชนไม่เจ็บป่วย หรือถ้าป่วยแล้วก็ต้องมีกระบวนการรักษาที่เหมาะสม ครบวงจร ที่นี่เราจึงมีครบทั้งงานส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค การรักษาเมื่อเจ็บป่วย และระบบดูแลต่อเนื่องถึงบ้าน…

2 weeks ago

[The Insider]<br />ณรงค์ศักดิ์ เตือนสกุล

“การจะพัฒนาเมือง ไม่ใช่แค่เรื่องสาธารณูปโภคแต่ต้องพุ่งเป้าไปที่พัฒนาคนและไม่มีเครื่องมือไหนจะพัฒนาคนได้ดีไปกว่า การศึกษา” “แม้เทศบาลนครเชียงรายจะเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ของยูเนสโกแห่งแรกของไทยในปี 2562 แต่การเตรียมเมืองเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ว่านี้ เกิดขึ้นก่อนหน้านั้นหลายสิบปี ในอดีต เชียงรายเป็นเมืองที่ห่างไกลความเจริญ ทางเทศบาลฯ เล็งเห็นว่าการจะพัฒนาเมือง ไม่สามารถทำได้แค่การทำให้เมืองมีสาธารณูปโภคครบ แต่ต้องพัฒนาผู้คนที่เป็นหัวใจสำคัญของเมือง และไม่มีเครื่องมือไหนจะพัฒนาคนได้ดีไปกว่า ‘การศึกษา’…

2 weeks ago

[The Insider]<br />นนทพัฒ ถปะติวงศ์

“ถ้าอาหารปลอดภัยเป็นทางเลือกหลักของผู้บริโภคเชียงรายจะเป็นเมืองที่น่าอยู่กว่านี้อีกเยอะ” “นอกจากบทบาทของการพัฒนาชุมชนและสังคมสงเคราะห์ กองสวัสดิการสังคม เทศบาลนครเชียงราย ยังมีกลไกในการส่งเสริมเศรษฐกิจของพี่น้อง 65 ชุมชน ภายในเขตเทศบาลฯ โดยกลไกนี้ครอบคลุมการส่งเสริมสุขภาพ และช่วยดูแลสิ่งแวดล้อมในทางอ้อมด้วยกลไกที่ว่าคือ ‘สหกรณ์นครเชียงราย’ โดยสหกรณ์ฯ นี้เริ่มต้นมาตั้งแต่ปี 2560 หลักเราคือการสนับสนุนเศรษฐกิจชุมชน…

2 weeks ago

[The Citizens]<br />ชวนพิศ สุริยวงค์

“แม่อยากปลูกผักปลอดภัยให้ตัวเองและคนในเมืองกินไม่ใช่ปลูกผักเพื่อส่งขาย แต่คนปลูกไม่กล้ากินเอง” “บ้านป่างิ้ว  ตั้งอยู่ละแวกสวนสาธารณะหาดนครเชียงราย เราและชุมชนฮ่องลี่ที่อยู่ข้างเคียงเป็นชุมชนเกษตรที่ปลูกพริก ปลูกผักไปขายตามตลาดมาแต่ไหนแต่ไร กระทั่งราวปี 2548 สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองเชียงราย มาส่งเสริมให้ทำเกษตรปลอดภัย คนในชุมชนก็เห็นด้วย เพราะอยากทำให้สิ่งที่เราปลูกมันกินได้จริง ๆ ไม่ใช่ว่าเกษตรกรปลูกแล้วส่งขาย แต่ไม่กล้าเก็บไว้กินเองเพราะกลัวยาฆ่าแมลงที่ตัวเองใส่…

2 weeks ago

[The Citizens]<br />กาญจนา ใจปา และพิทักษ์พงศ์ เชอมือ

“วิวเมืองเชียงรายจากสกายวอล์กสวยมาก ๆขณะที่ผืนป่าชุมชนของที่นี่ก็มีความอุดมสมบูรณ์จนไม่น่าเชื่อว่านี่คือป่าที่อยู่ในตัวเมืองเชียงราย” “ก่อนหน้านี้เราเป็นพนักงานบริษัทเอกชนที่ต่างจังหวัด จนเทศบาลนครเชียงรายเขาเปิดสกายวอล์กที่ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนดอยสะเก็น และหาพนักงานนำชม เราก็เลยกลับมาสมัคร เพราะจะได้กลับมาอยู่บ้านด้วย ตรงนี้มีหอคอยชมวิวอยู่แล้ว แต่เทศบาลฯ อยากทำให้ที่นี่เป็นแหล่งท่องเที่ยว ก็เลยต่อขยายเป็นสกายวอล์กอย่างที่เห็น ซึ่งสุดปลายของมันยังอยู่ใกล้กับต้นยวนผึ้งเก่าแก่ที่มีผึ้งหลวงมาทำรังหลายร้อยรัง รวมถึงยังมีเส้นทางศึกษาธรรมชาติบนภูเขา ในป่าชุมชนผืนนี้ จริง…

2 weeks ago