[The Citizens]ลำยวง พรหมจันทร์

“พื้นเพดั้งเดิมของป้าเป็นคนสมุทรสงคราม แต่ไปทำงานที่มูลนิธิแพทย์อาสาสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (พอ.สว.) ในกรุงเทพฯ แต่เลือกซื้อบ้านที่นนทบุรี เพราะเมื่อก่อนราคายังไม่สูงมาก เงียบสงบ และก็ใกล้กรุงเทพฯ เดินทางสะดวก ป้าย้ายมาอยู่ที่ชุมชนหมู่ 3 โซน 2 นี้ตั้งแต่ปี 2535 แล้วก็ยังทำงานในกรุงเทพฯ ต่อจนเกษียณ ก่อนจะเกษียณ ป้าก็เริ่มช่วยงานชุมชนมาตลอด จนสุดท้ายเขาก็ให้ป้ามาเป็นประธานชุมชน ตอนนี้ป้าอายุ 78 ปีแล้วค่ะ (ยิ้ม)

ชุมชนเรานี่เมื่อก่อนมันก็เป็นสวน เป็นแบบบ้าน ๆ คนทำนา ทำสวน แต่มาตอนนี้กลายเป็นชุมชนเมืองเต็มตัวแล้วนะ สวนไม่เหลือแล้ว ทุกคนก็ออกไปทำงานกัน ไม่เหมือนเมื่อก่อนเลย

แต่ถึงจะเป็นชุมชนเมือง ความสัมพันธ์แบบชาวบ้านดั้งเดิมก็ยังมีอยู่ คนในชุมชนยังช่วยเหลือ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กันดี ทุกคนดูแลหน้าบ้านตัวเองให้สะอาดน่าอยู่ มีการแยกขยะด้วย แล้วก็ช่วยกันดูแลคลองบางซื่อที่อยู่ติดกับชุมชน เราทำกันมาต่อเนื่องเลยนะ เป็นสิบ ๆ ปีแล้วที่ช่วยกันทำให้คลองสะอาด น้ำใส ร่วมกับเทศบาลฯ

คนรุ่นป้าก็ยังอยู่กันเยอะในชุมชนนี้ ส่วนใหญ่ลูกหลานจะไปทำงานกันตอนกลางวัน เหลือแต่ผู้สูงอายุอยู่บ้าน อย่างป้าก็อยู่กับลูกชายคนเล็ก ลูกชายสองคน คนโตไปอยู่แถวรัชดา ทำงานแถวฟอร์จูน ส่วนคนเล็กยังอยู่ด้วยกันนี่แหละ เขาทำงานอยู่กรมอนามัย แล้วก็คอยดูแลป้าด้วย ยังไม่มีครอบครัว ก็เลยยังอยู่ด้วยกัน

ที่ชอบเมืองนนท์อีกอย่างคือเขามีสถานบริการหลายอย่างที่ตอบโจทย์ผู้สูงอายุ โดยเฉพาะศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ที่อยู่ด้านหลังศูนย์บริการสาธารณสุขที่ 6 เขามีกิจกรรมให้ทำตลอดวัน มีคลาสออกกำลังกาย เต้นลีลาศ ร้องคาราโอเกะ นั่งสมาธิ เรียกได้ว่าไปใช้ชีวิตอยู่ที่นั่นได้ทั้งวัน เจอเพื่อน มีกิจกรรมหลากหลาย สนุกค่ะ

แต่นั่นล่ะ พอป้าเป็นประธานชุมชน เลยไม่ค่อยมีเวลาไปใช้บริการเท่าไหร่ แต่ละวันก็มีธุระมากมาย รวมถึงการดูแลกองทุนหมู่บ้าน เมื่อก่อนป้าทำธุรการและบัญชีที่ พอ.สว. ก็เลยเอาทักษะนี้มาช่วยบริหารจัดการ

คนรุ่นใหม่เนี่ย…น้อยมากเลยที่จะเข้ามาทำงานชุมชน เราก็พยายามนะ อย่างตอนทำโครงการคลองสวยน้ำใส เราก็ให้เด็ก ๆ มาดูว่าต้องดูแลสิ่งแวดล้อมยังไง ให้เขามาช่วยวัดคุณภาพน้ำ พาเดินดูคลอง แล้วก็เล่าให้ฟังว่าเมื่อก่อนน้ำในคลองมันใสแค่ไหน เรายังเห็นคนกระโดดเล่นน้ำอยู่เลย แต่เดี๋ยวนี้สัตว์น้ำยังอยู่ลำบาก คลองถึงแม้จะไม่มีขยะ แต่น้ำก็ไม่ใสเหมือนเดิม เพราะเมืองมันเปลี่ยน

สำหรับป้า นนทบุรีเป็นเมืองที่น่าอยู่แล้ว แต่ก็เข้าใจว่าพอเมืองเจริญ คนก็เยอะขึ้น สิ่งแวดล้อมก็แย่ลง ก็อยากให้ทุกภาคส่วนช่วยกันดูแลเรื่องนี้ อยากให้ทุกคนมองว่าเมืองทั้งเมืองคือบ้านของเรา มาช่วยกันทำให้มันน่าอยู่และดีกว่านี้กันเถอะ”

#เทศบาลนครนนทบุรี #มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ #บพท #pmua #CIAP #โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่การเป็นเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด

Wecitizens Editor

Recent Posts

[The Insider]<br />พัชรี แซมสนธ์

“เมืองอาหารปลอดภัยไม่ได้ให้ประโยชน์แค่เฉพาะผู้คนในเขตเทศบาลฯแต่มันสามารถเป็นต้นแบบให้เมืองอื่น ๆ ที่อยากส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้คนได้เช่นกัน” “งานประชุมนานาชาติของสมาคมพืชสวนโลก (AIPH Spring Meeting Green City Conference 2025) ที่เชียงรายเป็นเจ้าภาพเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2568 ที่ผ่านมา เน้นย้ำถึงทิศทางการพัฒนาเมืองสีเขียว…

2 weeks ago

[The Insider]<br />พรทิพย์ จันทร์ตระกูล

“ทั้งพื้นที่การเรียนรู้ นโยบายเมืองอาหารปลอดภัย และโรงเรียนสำหรับผู้สูงวัยคือสารตั้งต้นที่จะทำให้เชียงรายเป็นเมืองแห่งสุขภาพ (Wellness City)” “กล่าวอย่างรวบรัด ภารกิจของกองการแพทย์ เทศบาลนครเชียงราย คือการทำให้ประชาชนไม่เจ็บป่วย หรือถ้าป่วยแล้วก็ต้องมีกระบวนการรักษาที่เหมาะสม ครบวงจร ที่นี่เราจึงมีครบทั้งงานส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค การรักษาเมื่อเจ็บป่วย และระบบดูแลต่อเนื่องถึงบ้าน…

2 weeks ago

[The Insider]<br />ณรงค์ศักดิ์ เตือนสกุล

“การจะพัฒนาเมือง ไม่ใช่แค่เรื่องสาธารณูปโภคแต่ต้องพุ่งเป้าไปที่พัฒนาคนและไม่มีเครื่องมือไหนจะพัฒนาคนได้ดีไปกว่า การศึกษา” “แม้เทศบาลนครเชียงรายจะเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ของยูเนสโกแห่งแรกของไทยในปี 2562 แต่การเตรียมเมืองเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ว่านี้ เกิดขึ้นก่อนหน้านั้นหลายสิบปี ในอดีต เชียงรายเป็นเมืองที่ห่างไกลความเจริญ ทางเทศบาลฯ เล็งเห็นว่าการจะพัฒนาเมือง ไม่สามารถทำได้แค่การทำให้เมืองมีสาธารณูปโภคครบ แต่ต้องพัฒนาผู้คนที่เป็นหัวใจสำคัญของเมือง และไม่มีเครื่องมือไหนจะพัฒนาคนได้ดีไปกว่า ‘การศึกษา’…

2 weeks ago

[The Insider]<br />นนทพัฒ ถปะติวงศ์

“ถ้าอาหารปลอดภัยเป็นทางเลือกหลักของผู้บริโภคเชียงรายจะเป็นเมืองที่น่าอยู่กว่านี้อีกเยอะ” “นอกจากบทบาทของการพัฒนาชุมชนและสังคมสงเคราะห์ กองสวัสดิการสังคม เทศบาลนครเชียงราย ยังมีกลไกในการส่งเสริมเศรษฐกิจของพี่น้อง 65 ชุมชน ภายในเขตเทศบาลฯ โดยกลไกนี้ครอบคลุมการส่งเสริมสุขภาพ และช่วยดูแลสิ่งแวดล้อมในทางอ้อมด้วยกลไกที่ว่าคือ ‘สหกรณ์นครเชียงราย’ โดยสหกรณ์ฯ นี้เริ่มต้นมาตั้งแต่ปี 2560 หลักเราคือการสนับสนุนเศรษฐกิจชุมชน…

2 weeks ago

[The Citizens]<br />ชวนพิศ สุริยวงค์

“แม่อยากปลูกผักปลอดภัยให้ตัวเองและคนในเมืองกินไม่ใช่ปลูกผักเพื่อส่งขาย แต่คนปลูกไม่กล้ากินเอง” “บ้านป่างิ้ว  ตั้งอยู่ละแวกสวนสาธารณะหาดนครเชียงราย เราและชุมชนฮ่องลี่ที่อยู่ข้างเคียงเป็นชุมชนเกษตรที่ปลูกพริก ปลูกผักไปขายตามตลาดมาแต่ไหนแต่ไร กระทั่งราวปี 2548 สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองเชียงราย มาส่งเสริมให้ทำเกษตรปลอดภัย คนในชุมชนก็เห็นด้วย เพราะอยากทำให้สิ่งที่เราปลูกมันกินได้จริง ๆ ไม่ใช่ว่าเกษตรกรปลูกแล้วส่งขาย แต่ไม่กล้าเก็บไว้กินเองเพราะกลัวยาฆ่าแมลงที่ตัวเองใส่…

2 weeks ago

[The Citizens]<br />กาญจนา ใจปา และพิทักษ์พงศ์ เชอมือ

“วิวเมืองเชียงรายจากสกายวอล์กสวยมาก ๆขณะที่ผืนป่าชุมชนของที่นี่ก็มีความอุดมสมบูรณ์จนไม่น่าเชื่อว่านี่คือป่าที่อยู่ในตัวเมืองเชียงราย” “ก่อนหน้านี้เราเป็นพนักงานบริษัทเอกชนที่ต่างจังหวัด จนเทศบาลนครเชียงรายเขาเปิดสกายวอล์กที่ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนดอยสะเก็น และหาพนักงานนำชม เราก็เลยกลับมาสมัคร เพราะจะได้กลับมาอยู่บ้านด้วย ตรงนี้มีหอคอยชมวิวอยู่แล้ว แต่เทศบาลฯ อยากทำให้ที่นี่เป็นแหล่งท่องเที่ยว ก็เลยต่อขยายเป็นสกายวอล์กอย่างที่เห็น ซึ่งสุดปลายของมันยังอยู่ใกล้กับต้นยวนผึ้งเก่าแก่ที่มีผึ้งหลวงมาทำรังหลายร้อยรัง รวมถึงยังมีเส้นทางศึกษาธรรมชาติบนภูเขา ในป่าชุมชนผืนนี้ จริง…

2 weeks ago