[The Citizens]สรวิทย์ ฤกษ์จิรัฐติกาลประธานชุมชนหมู่ 2 บางเขนและอดีตประธานสภาเทศบาลนครนนทบุรี

“พื้นเพเดิมผมเป็นคนบางพลัด กรุงเทพฯ อยากเริ่มต้นธุรกิจของตัวเอง เลยย้ายมาอยู่เมืองนนท์ตอนปี 2527 ที่เลือกย้ายมา ส่วนหนึ่งเพราะที่ดินยังไม่แพง และเห็นโอกาสว่าอีกหน่อยกรุงเทพฯ จะแน่น คนจะกระจายไปอยู่รอบ ๆ ปริมณฑลมากขึ้น

สมัยนั้นแถวพงษ์เพชรยังเงียบ มีแต่ทุ่งนา ถนนหนทางยังไม่ดี และยังไม่มีการจัดตั้งเทศบาลนครเหมือนทุกวันนี้ ผมเริ่มทำธุรกิจเบเกอรี และมันก็ค่อย ๆ เติบโตไปพร้อมกับเมือง

จุดเปลี่ยนสำคัญของเมืองนนท์น่าจะอยู่ช่วงที่มีการสร้างทางด่วนราวปี 2530 ซึ่งถือว่าเป็นก้าวกระโดด เพราะพอการเดินทางสะดวก ศูนย์การค้าขนาดใหญ่ก็เริ่มเกิดขึ้น ตามมาด้วยโครงการบ้านจัดสรรและคอนโดมิเนียม จากเดิมที่เป็นพื้นที่กึ่งชนบท ก็ค่อย ๆ กลายเป็นเมืองโดยสมบูรณ์ อย่างชุมชนหมู่ 2 บางเขนที่ผมอยู่ เมื่อก่อนอยู่กันอย่างหลวม ๆ ทุกวันนี้มีมากถึง 7,500 ครัวเรือน กลายเป็นศูนย์กลางของเมืองนนท์ไปแล้ว

สิ่งที่ผมเห็นมาตลอดคือ เมืองพัฒนา แต่การบริหารจัดการหลายอย่างยังตามไม่ทัน โดยเฉพาะเรื่องภูมิทัศน์ เมืองเรามีทุกอย่างครบ แต่ก็เหมือนเมืองใหญ่หลายแห่งในประเทศที่ยังขาดระเบียบ ไม่มีรสนิยมที่สะท้อนความตั้งใจในการออกแบบ ลองขับรถขึ้นสะพานจากพงษ์เพชรลงมาแล้วมองรอบตัวดู จะรู้สึกว่ามันเหมือนกรุงเทพฯ ไปหมด ไม่มีเอกลักษณ์ ทั้งที่นนท์เองมีต้นทุนทางวัฒนธรรม มีชุมชน มีริมเจ้าพระยา และมีคนที่อยากเห็นเมืองดีขึ้นอยู่มาก แต่สิ่งที่เราขาดคือ ‘ภาพรวม’ เหมือนเมืองถูกสร้างโดยวิศวกร แต่ขาดนักออกแบบภูมิทัศน์

เมืองเรามีพื้นที่สีเขียวและต้นไม้ใหญ่ แต่ขาดรุกขกรที่มาดูแลอย่างเป็นระบบ เรามีผู้บริหารที่เก่ง แต่ขาดคนประสานงานกับหน่วยงานราชการต่าง ๆ ทำให้การซ่อมแซมเมืองซ้ำซ้อน เดี๋ยวก็ขุดถนนวางท่อ เดี๋ยวก็เทพื้นใหม่ แล้วอีกไม่นานก็ขุดซ้ำ วนเวียนอยู่อย่างนี้ไม่จบสิ้น

ผมคิดว่าถ้านนทบุรีมีเอกภาพในการจัดการเมืองมากกว่านี้ มีการวางแผนร่วมกันอย่างเป็นขั้นตอนจากทุกหน่วยงานรัฐ เมืองนี้จะน่าอยู่มาก เพราะมันใกล้กรุงเทพฯ เดินทางสะดวกทั้งทางถนน ทางเรือ และรถไฟฟ้า ระบบบริการประชาชนก็ครอบคลุมทุกวัย และที่สำคัญ เมืองยังมีพื้นที่ธรรมชาติให้พักผ่อนอยู่

ในขณะเดียวกัน องค์ประกอบด้านศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ของเมือง ก็สามารถยกระดับให้เป็นจุดขายด้านการท่องเที่ยวได้ เรามีต้นทุนในด้านนี้ แต่ยังขาดการสร้างเอกลักษณ์เฉพาะตัว ที่ช่วยเพิ่มมูลค่าและความน่าดึงดูด และอาจเพราะเหตุนี้เอง เอกชนยังไม่กล้าลงทุนในธุรกิจท่องเที่ยวเต็มรูปแบบ ผมเสนอว่า ถ้ารัฐไม่ลงทุนเอง ก็ควรหาวิธีเอื้อให้เอกชนเข้ามาช่วย เช่น ลดภาษี หรือมีนโยบายสนับสนุนที่ชัดเจน

ถ้ามีสิ่งเหล่านี้เติมเข้ามา ผมเชื่อว่านนทบุรีจะกลายเป็นเมืองที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจสูงกว่าที่เป็นอยู่มาก”

#เทศบาลนครนนทบุรี #มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ #บพท #pmua #CIAP #โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่การเป็นเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด

Wecitizens Editor

Recent Posts

[The Insider]<br />พัชรี แซมสนธ์

“เมืองอาหารปลอดภัยไม่ได้ให้ประโยชน์แค่เฉพาะผู้คนในเขตเทศบาลฯแต่มันสามารถเป็นต้นแบบให้เมืองอื่น ๆ ที่อยากส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้คนได้เช่นกัน” “งานประชุมนานาชาติของสมาคมพืชสวนโลก (AIPH Spring Meeting Green City Conference 2025) ที่เชียงรายเป็นเจ้าภาพเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2568 ที่ผ่านมา เน้นย้ำถึงทิศทางการพัฒนาเมืองสีเขียว…

2 weeks ago

[The Insider]<br />พรทิพย์ จันทร์ตระกูล

“ทั้งพื้นที่การเรียนรู้ นโยบายเมืองอาหารปลอดภัย และโรงเรียนสำหรับผู้สูงวัยคือสารตั้งต้นที่จะทำให้เชียงรายเป็นเมืองแห่งสุขภาพ (Wellness City)” “กล่าวอย่างรวบรัด ภารกิจของกองการแพทย์ เทศบาลนครเชียงราย คือการทำให้ประชาชนไม่เจ็บป่วย หรือถ้าป่วยแล้วก็ต้องมีกระบวนการรักษาที่เหมาะสม ครบวงจร ที่นี่เราจึงมีครบทั้งงานส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค การรักษาเมื่อเจ็บป่วย และระบบดูแลต่อเนื่องถึงบ้าน…

2 weeks ago

[The Insider]<br />ณรงค์ศักดิ์ เตือนสกุล

“การจะพัฒนาเมือง ไม่ใช่แค่เรื่องสาธารณูปโภคแต่ต้องพุ่งเป้าไปที่พัฒนาคนและไม่มีเครื่องมือไหนจะพัฒนาคนได้ดีไปกว่า การศึกษา” “แม้เทศบาลนครเชียงรายจะเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ของยูเนสโกแห่งแรกของไทยในปี 2562 แต่การเตรียมเมืองเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ว่านี้ เกิดขึ้นก่อนหน้านั้นหลายสิบปี ในอดีต เชียงรายเป็นเมืองที่ห่างไกลความเจริญ ทางเทศบาลฯ เล็งเห็นว่าการจะพัฒนาเมือง ไม่สามารถทำได้แค่การทำให้เมืองมีสาธารณูปโภคครบ แต่ต้องพัฒนาผู้คนที่เป็นหัวใจสำคัญของเมือง และไม่มีเครื่องมือไหนจะพัฒนาคนได้ดีไปกว่า ‘การศึกษา’…

2 weeks ago

[The Insider]<br />นนทพัฒ ถปะติวงศ์

“ถ้าอาหารปลอดภัยเป็นทางเลือกหลักของผู้บริโภคเชียงรายจะเป็นเมืองที่น่าอยู่กว่านี้อีกเยอะ” “นอกจากบทบาทของการพัฒนาชุมชนและสังคมสงเคราะห์ กองสวัสดิการสังคม เทศบาลนครเชียงราย ยังมีกลไกในการส่งเสริมเศรษฐกิจของพี่น้อง 65 ชุมชน ภายในเขตเทศบาลฯ โดยกลไกนี้ครอบคลุมการส่งเสริมสุขภาพ และช่วยดูแลสิ่งแวดล้อมในทางอ้อมด้วยกลไกที่ว่าคือ ‘สหกรณ์นครเชียงราย’ โดยสหกรณ์ฯ นี้เริ่มต้นมาตั้งแต่ปี 2560 หลักเราคือการสนับสนุนเศรษฐกิจชุมชน…

2 weeks ago

[The Citizens]<br />ชวนพิศ สุริยวงค์

“แม่อยากปลูกผักปลอดภัยให้ตัวเองและคนในเมืองกินไม่ใช่ปลูกผักเพื่อส่งขาย แต่คนปลูกไม่กล้ากินเอง” “บ้านป่างิ้ว  ตั้งอยู่ละแวกสวนสาธารณะหาดนครเชียงราย เราและชุมชนฮ่องลี่ที่อยู่ข้างเคียงเป็นชุมชนเกษตรที่ปลูกพริก ปลูกผักไปขายตามตลาดมาแต่ไหนแต่ไร กระทั่งราวปี 2548 สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองเชียงราย มาส่งเสริมให้ทำเกษตรปลอดภัย คนในชุมชนก็เห็นด้วย เพราะอยากทำให้สิ่งที่เราปลูกมันกินได้จริง ๆ ไม่ใช่ว่าเกษตรกรปลูกแล้วส่งขาย แต่ไม่กล้าเก็บไว้กินเองเพราะกลัวยาฆ่าแมลงที่ตัวเองใส่…

2 weeks ago

[The Citizens]<br />กาญจนา ใจปา และพิทักษ์พงศ์ เชอมือ

“วิวเมืองเชียงรายจากสกายวอล์กสวยมาก ๆขณะที่ผืนป่าชุมชนของที่นี่ก็มีความอุดมสมบูรณ์จนไม่น่าเชื่อว่านี่คือป่าที่อยู่ในตัวเมืองเชียงราย” “ก่อนหน้านี้เราเป็นพนักงานบริษัทเอกชนที่ต่างจังหวัด จนเทศบาลนครเชียงรายเขาเปิดสกายวอล์กที่ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนดอยสะเก็น และหาพนักงานนำชม เราก็เลยกลับมาสมัคร เพราะจะได้กลับมาอยู่บ้านด้วย ตรงนี้มีหอคอยชมวิวอยู่แล้ว แต่เทศบาลฯ อยากทำให้ที่นี่เป็นแหล่งท่องเที่ยว ก็เลยต่อขยายเป็นสกายวอล์กอย่างที่เห็น ซึ่งสุดปลายของมันยังอยู่ใกล้กับต้นยวนผึ้งเก่าแก่ที่มีผึ้งหลวงมาทำรังหลายร้อยรัง รวมถึงยังมีเส้นทางศึกษาธรรมชาติบนภูเขา ในป่าชุมชนผืนนี้ จริง…

2 weeks ago