“จะว่าไป ชุมชนศรีพรสวรรค์ 2 ที่พวกเราอาศัยอยู่ ก็เป็นชุมชนของคนตลาดก็ว่าได้ เพราะอยู่ใกล้ตลาดฐานเพชรนนท์ ซึ่งเป็นตลาดค้าส่ง-ปลีกที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในจังหวัด นับว่าเป็นการสืบต่อกันจากรุ่นสู่รุ่น ปู่ย่าตายายเคยขายของที่ตลาดนี้ ก็ส่งต่อให้ลูกหลาน ต่อเนื่องกันมาเป็นสิบ ๆ ปี หลายครอบครัวอยู่ที่นี่ก่อนท่านนายกฯ (นายกเทศมนตรี) จะดำรงตำแหน่งเสียอีก พออยู่กันนาน ๆ ก็กลายเป็นรากฐานของชุมชนไปโดยปริยาย
และเพราะเป็นอย่างนั้น พอพูดถึงในบริบทของชุมชน ก็จะเห็นความเป็นชุมชนเมืองเต็มรูปแบบ ซึ่งก็มาพร้อมกับปัญหาน้ำเสีย ขยะ มลภาวะ รวมไปถึงคนไร้บ้าน แต่ที่ผ่านมา เทศบาลฯ และหน่วยงานต่าง ๆ ก็พยายามเข้ามาจัดการ แม้ยังไม่สมบูรณ์นัก แต่ก็ดีขึ้นกว่าก่อนมาก โดยเฉพาะช่วงหลัง ๆ ที่มีแอปพลิเคชันหรือไลน์โอเอไว้ให้ร้องเรียน การจัดการก็รวดเร็วขึ้น
แม้เราจะเป็นชุมชนค้าขาย แต่สัดส่วนผู้สูงอายุในชุมชนก็ค่อนข้างมาก รวมถึงผู้ป่วยติดเตียง และคนที่ต้องไปหาหมอที่โรงพยาบาลทุกสัปดาห์ ในฐานะอาสาสมัครชุมชน เราก็รับผิดชอบเรื่องนี้ คนสูงอายุหลายคนไม่มีลูกหลานหรือญาติพาไปหาหมอ โชคดีที่โรงพยาบาลพระนั่งเกล้าอยู่ไม่ไกล ถ้าไม่ใช่ผู้ป่วยติดเตียง เราก็ให้เขาซ้อนมอเตอร์ไซค์ไป แต่ถ้าเป็นผู้ป่วยติดเตียง ก็ต้องเรียกรถพยาบาลมารับ
ล่าสุด ทีมกองการแพทย์ของเทศบาลฯ มาอบรมเราเรื่องเวชศาสตร์วิถีชีวิต มารณรงค์ให้ช่วยกันดูแลสุขภาพตั้งแต่ต้นทาง ยอมรับว่าทำยากนะ (หัวเราะ) แต่ถ้าทำได้ ก็จะช่วยลดปัญหาสุขภาพของคนในชุมชนได้มาก
ทุกวันนี้ เมืองนนท์ไม่ต่างจากกรุงเทพฯ เท่าไหร่ เรามีห้างสรรพสินค้า รถไฟฟ้า สาธารณูปโภคต่าง ๆ โชคดีที่ยังไม่แออัดเท่ากรุงเทพฯ และยังมีเรือกสวนไร่นาให้พอหายใจได้บ้าง ถ้าถามว่าอยากเห็นอะไรต่อไป ก็อยากเห็นพื้นที่สีเขียว การดูแลสิ่งแวดล้อม และนโยบายจากภาครัฐที่ทำให้ทุกคนเข้าถึงสวัสดิการอย่างเท่าเทียม ซึ่งก็เห็นว่าหลายฝ่ายกำลังทำอยู่
ในฐานะตัวแทนชุมชน เราก็พยายามประสานความร่วมมืออย่างเต็มที่ เพราะภาครัฐทำฝ่ายเดียวไม่ได้ ถ้าประชาชนไม่ร่วมมือด้วย เพราะการดูแลสุขภาพด้วยตัวเองตั้งแต่เนิ่น ๆ ก็เป็นรูปแบบหนึ่งของการมีส่วนร่วมกับภาครัฐ ช่วยลดภาระ และช่วยพัฒนาเมืองของเราได้เหมือนกัน (ยิ้ม)”
#เทศบาลนครนนทบุรี #มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ #บพท #pmua #CIAP #โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่การเป็นเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด
“เมืองอาหารปลอดภัยไม่ได้ให้ประโยชน์แค่เฉพาะผู้คนในเขตเทศบาลฯแต่มันสามารถเป็นต้นแบบให้เมืองอื่น ๆ ที่อยากส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้คนได้เช่นกัน” “งานประชุมนานาชาติของสมาคมพืชสวนโลก (AIPH Spring Meeting Green City Conference 2025) ที่เชียงรายเป็นเจ้าภาพเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2568 ที่ผ่านมา เน้นย้ำถึงทิศทางการพัฒนาเมืองสีเขียว…
“ทั้งพื้นที่การเรียนรู้ นโยบายเมืองอาหารปลอดภัย และโรงเรียนสำหรับผู้สูงวัยคือสารตั้งต้นที่จะทำให้เชียงรายเป็นเมืองแห่งสุขภาพ (Wellness City)” “กล่าวอย่างรวบรัด ภารกิจของกองการแพทย์ เทศบาลนครเชียงราย คือการทำให้ประชาชนไม่เจ็บป่วย หรือถ้าป่วยแล้วก็ต้องมีกระบวนการรักษาที่เหมาะสม ครบวงจร ที่นี่เราจึงมีครบทั้งงานส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค การรักษาเมื่อเจ็บป่วย และระบบดูแลต่อเนื่องถึงบ้าน…
“การจะพัฒนาเมือง ไม่ใช่แค่เรื่องสาธารณูปโภคแต่ต้องพุ่งเป้าไปที่พัฒนาคนและไม่มีเครื่องมือไหนจะพัฒนาคนได้ดีไปกว่า การศึกษา” “แม้เทศบาลนครเชียงรายจะเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ของยูเนสโกแห่งแรกของไทยในปี 2562 แต่การเตรียมเมืองเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ว่านี้ เกิดขึ้นก่อนหน้านั้นหลายสิบปี ในอดีต เชียงรายเป็นเมืองที่ห่างไกลความเจริญ ทางเทศบาลฯ เล็งเห็นว่าการจะพัฒนาเมือง ไม่สามารถทำได้แค่การทำให้เมืองมีสาธารณูปโภคครบ แต่ต้องพัฒนาผู้คนที่เป็นหัวใจสำคัญของเมือง และไม่มีเครื่องมือไหนจะพัฒนาคนได้ดีไปกว่า ‘การศึกษา’…
“ถ้าอาหารปลอดภัยเป็นทางเลือกหลักของผู้บริโภคเชียงรายจะเป็นเมืองที่น่าอยู่กว่านี้อีกเยอะ” “นอกจากบทบาทของการพัฒนาชุมชนและสังคมสงเคราะห์ กองสวัสดิการสังคม เทศบาลนครเชียงราย ยังมีกลไกในการส่งเสริมเศรษฐกิจของพี่น้อง 65 ชุมชน ภายในเขตเทศบาลฯ โดยกลไกนี้ครอบคลุมการส่งเสริมสุขภาพ และช่วยดูแลสิ่งแวดล้อมในทางอ้อมด้วยกลไกที่ว่าคือ ‘สหกรณ์นครเชียงราย’ โดยสหกรณ์ฯ นี้เริ่มต้นมาตั้งแต่ปี 2560 หลักเราคือการสนับสนุนเศรษฐกิจชุมชน…
“แม่อยากปลูกผักปลอดภัยให้ตัวเองและคนในเมืองกินไม่ใช่ปลูกผักเพื่อส่งขาย แต่คนปลูกไม่กล้ากินเอง” “บ้านป่างิ้ว ตั้งอยู่ละแวกสวนสาธารณะหาดนครเชียงราย เราและชุมชนฮ่องลี่ที่อยู่ข้างเคียงเป็นชุมชนเกษตรที่ปลูกพริก ปลูกผักไปขายตามตลาดมาแต่ไหนแต่ไร กระทั่งราวปี 2548 สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองเชียงราย มาส่งเสริมให้ทำเกษตรปลอดภัย คนในชุมชนก็เห็นด้วย เพราะอยากทำให้สิ่งที่เราปลูกมันกินได้จริง ๆ ไม่ใช่ว่าเกษตรกรปลูกแล้วส่งขาย แต่ไม่กล้าเก็บไว้กินเองเพราะกลัวยาฆ่าแมลงที่ตัวเองใส่…
“วิวเมืองเชียงรายจากสกายวอล์กสวยมาก ๆขณะที่ผืนป่าชุมชนของที่นี่ก็มีความอุดมสมบูรณ์จนไม่น่าเชื่อว่านี่คือป่าที่อยู่ในตัวเมืองเชียงราย” “ก่อนหน้านี้เราเป็นพนักงานบริษัทเอกชนที่ต่างจังหวัด จนเทศบาลนครเชียงรายเขาเปิดสกายวอล์กที่ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนดอยสะเก็น และหาพนักงานนำชม เราก็เลยกลับมาสมัคร เพราะจะได้กลับมาอยู่บ้านด้วย ตรงนี้มีหอคอยชมวิวอยู่แล้ว แต่เทศบาลฯ อยากทำให้ที่นี่เป็นแหล่งท่องเที่ยว ก็เลยต่อขยายเป็นสกายวอล์กอย่างที่เห็น ซึ่งสุดปลายของมันยังอยู่ใกล้กับต้นยวนผึ้งเก่าแก่ที่มีผึ้งหลวงมาทำรังหลายร้อยรัง รวมถึงยังมีเส้นทางศึกษาธรรมชาติบนภูเขา ในป่าชุมชนผืนนี้ จริง…