“ผมเคยทำงานที่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยมาก่อน พอเกษียณก็มาเป็นอาสาสมัครชุมชน และก็อยู่บ้านเฉย ๆ จนเทศบาลเขาชวนผมกับภรรยาไปเรียนทำโคม เพื่อจะให้ชุมชนเราผลิตโคมไปขายให้กับเทศบาลฯ ต่อ
ชุมชนเรา (ชุมชนสันป่ายางหลวง) เป็นชุมชนแรกที่เข้าไปเรียนทำโคม น่าจะ 6-7 ปีก่อนได้ ตอนแรกก็ไม่ได้คิดว่าจะจริงจังอะไรนัก แค่เห็นว่าเป็นงานฝีมือที่น่าสนใจ และสามารถสร้างรายได้เสริมได้ด้วย แต่ทำไปทำมาชักสนุก พอเห็นว่าโคมที่เราทำมันถูกไปใช้ในเทศกาลโคมแสนดวงด้วย ก็รู้สึกภูมิใจ
เราทำโคมกันเองที่บ้าน ผมเป็นคนขึ้นโครง ภรรยาเป็นคนติดกระดาษและตบแต่ง ปีนี้เรามีออร์เดอร์ 800 กว่าลูก ก็นั่งทำกันไปทั้งปี บางวันขยันหน่อยก็ทำได้หลายลูก บางวันยุ่งกับเรื่องอื่นก็ไม่ทำ ต้องบริหารเวลาดี ๆ สิ่งนี้ช่วยให้มีรายได้เสริมขึ้นมา ได้ฝึกสมาธิและฝีมือไปในตัวด้วย บางวันก็มีเพื่อนบ้านมาช่วย ทำไป คุยกันไป สนุก
ปีนี้ผมอายุ 82 แล้ว แต่ก็อยากทำโคมต่อไปเรื่อย ๆ ซึ่งจริง ๆ ทั้งหมดแล้วมันไม่ใช่เรื่องรายได้หรอก แต่การได้ทำโคม เป็นกิจกรรมที่เข้ามาช่วยเติมเต็มชีวิตช่วงนี้ มันมีความหมายกับเรานะ”
#เทศบาลเมืองลำพูน #มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ #CIAP #โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่การเป็นเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด #บพท #pmua #wecitizens
“พื้นเพของครอบครัวผมเป็นนักการเมืองและนักธุรกิจ คุณตาของผม สันติ์ เทพมณี เป็นอดีตรัฐมนตรี สส. และ สว. ของจังหวัดลำพูน พ่อของคุณตา - สุข เทพมณี ก็เป็นอดีตนายกเทศมนตรีเมืองลำพูน (พ.ศ.…
“ตอนเด็ก ๆ เราแทบไม่ได้ผูกพันกับลำพูน บ้านเกิดเลยนะ เราถูกส่งไปเรียนที่เชียงใหม่ เรียนมหาวิทยาลัยที่ขอนแก่น จบมาก็ไปทำงานกรุงเทพฯ อยู่หลายปี ระหว่างนั้นก็กลับมาเยี่ยมแม่บ้าง ไป ๆ มา ๆ ก็เริ่มรู้สึกเป็นห่วงเขา สุดท้ายเลยตัดสินใจย้ายกลับมาทำงานในนิคมอุตสาหกรรมที่ลำพูนถึงพ่อแม่เราจะรับราชการครู…
ความสําเร็จของเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดบนฐานงานวิจัยและนวัตกรรม บพท. คุณสมศักดิ์ ลามอ รองนายกเทศมนตรีเทศบาลนครปากเกร็ด (ดำรงตำแหน่ง มีนาคม 2567 - มีนาคม 2568) มุ่งยกระดับการบริการประชาชนด้วยนวัตกรรมและยุทธศาสตร์ทันสมัย เทศบาลนครปากเกร็ด ซึ่งเป็นเทศบาลขนาดใหญ่ที่มีพื้นที่ติดต่อกับกรุงเทพมหานคร มีประชากรในความดูแลกว่า 400,000…
ก้าวสู่ความสําเร็จของเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดบนฐานงานวิจัยและนวัตกรรม บพท. | ดร.นิมิตร จิวะสันติการ นายกเทศมนตรีนครลำปาง (ดำรงตำแหน่ง มีนาคม 2564- มีนาคม 2568) “เทศบาลนครลำปางในปี 2567-2568 เราได้ร่วมงานกับ บพท. ในการทำงานร่วมกันเพื่อช่วยบริหารจัดการเมืองของเราให้เดินหน้าสู่การเป็นเมืองน่าอยู่ ซึ่งก็ตรงกับแนวทางที่เรากำลังทำกันอยู่ที่ ด้วยเป้าหมายสิ่งที่เราปรารถนาที่สุดคือ จะทำให้เมืองของเราเป็นเมืองที่สมบูรณ์แบบ…
พลังคน พลังโคมลำพูน: เมืองเล็ก ๆ ที่เปี่ยมไปด้วยพลังสร้างสรรค์ แม้ ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์ เป็นคนเชียงใหม่ เธอก็หาใช่เป็นคนอื่นคนไกลสำหรับชาวลำพูนเพราะก่อนจะเข้ามาขับเคลื่อนงานวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดกับเทศบาลเมืองลำพูน เธอได้ทำวิจัยเกี่ยวกับเมืองแห่งนี้มาหลายครั้ง โดยเฉพาะโครงการขับเคลื่อนเยาวชนเพื่อเตรียมพร้อมสู่การเป็นพลเมืองของเมืองแห่งการเรียนรู้ของ UNESCO ในปี 2566-2567 - นั่นล่ะ…
“เป็นสิ่งวิเศษที่สุด ที่ผ้าไหมของจังหวัดลำพูนได้ปรากฏต่อสายตาผู้คนทั้งในและต่างประเทศ ทั้งเมื่อครั้งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงให้การส่งเสริม และทรงฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญต่าง ๆ และกระทั่งในปัจจุบัน สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 10 ก็ทรงส่งเสริมผ้าไหมไทย และฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญเช่นกัน ดิฉันเป็นคนลำพูน มีความภูมิใจในงานหัตถศิลป์การทอผ้าไหมยกดอกนี้มาก ๆ และตั้งใจจะรักษามรดกทางวัฒนธรรม ทำหน้าที่ส่งต่อถึงคนรุ่นต่อไป…