“ความน่าอยู่ของพนัสนิคมคือโอกาสที่จะส่งเสริมให้เมืองเป็นบ้านหลังที่สองให้คนทำงานในเมืองมาพักผ่อนหรือมาใช้ชีวิตได้”
“พนัสนิคมเป็นเมืองปิด ไม่มีสถานที่ท่องเที่ยว และไม่ใช่เมืองผ่าน คุณจะไปพัทยาก็ไม่ต้องผ่านพนัสนิคม จะไปฉะเชิงเทราก็ไม่ต้องผ่านเรา อันนี้คือโจทย์สำคัญที่ทำให้คนรุ่นใหม่ไม่รู้จะทำงานอะไรในบ้านเกิดของพวกเขา สิ่งนี้ไม่ใช่เพิ่งเกิดขึ้น แต่เกิดมาหลายสิบปีแล้ว พอเข้ามหาวิทยาลัยหรือถึงวัยทำงานเลยเลือกย้ายไปที่อื่น ทำงานจนเกษียณก็ค่อยกลับมาอยู่พนัสฯ เมืองจึงเต็มไปด้วยคนชรากับเด็ก
พอมันเป็นแบบนั้น เมืองจึงไม่มีพื้นที่ให้คนรุ่นใหม่เท่าไหร่ จริงอยู่ที่พอช่วงหลังโควิด เราเห็นแนวโน้มของคนรุ่นใหม่กลับมาทำธุรกิจที่เมืองเรามากขึ้น และเห็นว่าคนพนัสฯ เองก็เริ่มเปิดใจในการจับจ่ายใช้สอยกับธุรกิจใหม่ ๆ มากขึ้น แต่เหมือนเมืองยังขาดพื้นที่ที่สร้างเครือข่ายให้คนรุ่นใหม่เหล่านี้ได้เข้าถึงโอกาส ความรู้ หรือทักษะใหม่ ๆ จุดนี้แหละที่เป็นช่องว่างมาเติมเต็มได้ อาจเป็น Co-working Space, Creative Space หรือ Workshop Space ซึ่งรูปแบบนี้ปัจจุบันมันจะไปอยู่ตามร้านกาแฟ แต่มันไม่ได้มีกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมอย่างเป็นรูปธรรมเท่าไหร่
อีกเรื่องที่เราเห็นโอกาส คือพนัสฯ เป็นเมืองสะอาดและสงบ เทศบาลฯ มีระบบการจัดการดีมาก เลยทำให้เมืองมีความน่าอยู่ ที่สำคัญคือมีอาหารการกินสมบูรณ์และหลากหลาย เราน่าจะส่งเสริมให้พนัสนิคมเป็นบ้านหลังที่สองหรือหลังที่สาม สำหรับคนทำงานในเมืองได้ อย่าลืมว่าพนัสฯ เราห่างจากกรุงเทพฯ แค่ชั่วโมงกว่าๆ ซึ่งล่าสุดเพิ่งได้ข่าวว่ามีคนเริ่มทำชุมชนสวนเกษตรปลอดสารฯ แล้ว เป็นเหมือนโฮมสเตย์ให้คนที่อยากหลีกหนีความวุ่นวายและเรียนรู้เรื่องการทำการเกษตร รูปแบบนี้น่าสนใจมากเลยนะ เรามองว่ามันสามารถประยุกต์ไปยังกิจกรรมอื่น ๆ ได้อีกเยอะ”
#เทศบาลเมืองพนัสนิคม #บพท #pmua #โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่การเป็นเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด #CIAP #wecitizens
“เมืองอาหารปลอดภัยไม่ได้ให้ประโยชน์แค่เฉพาะผู้คนในเขตเทศบาลฯแต่มันสามารถเป็นต้นแบบให้เมืองอื่น ๆ ที่อยากส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้คนได้เช่นกัน” “งานประชุมนานาชาติของสมาคมพืชสวนโลก (AIPH Spring Meeting Green City Conference 2025) ที่เชียงรายเป็นเจ้าภาพเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2568 ที่ผ่านมา เน้นย้ำถึงทิศทางการพัฒนาเมืองสีเขียว…
“ทั้งพื้นที่การเรียนรู้ นโยบายเมืองอาหารปลอดภัย และโรงเรียนสำหรับผู้สูงวัยคือสารตั้งต้นที่จะทำให้เชียงรายเป็นเมืองแห่งสุขภาพ (Wellness City)” “กล่าวอย่างรวบรัด ภารกิจของกองการแพทย์ เทศบาลนครเชียงราย คือการทำให้ประชาชนไม่เจ็บป่วย หรือถ้าป่วยแล้วก็ต้องมีกระบวนการรักษาที่เหมาะสม ครบวงจร ที่นี่เราจึงมีครบทั้งงานส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค การรักษาเมื่อเจ็บป่วย และระบบดูแลต่อเนื่องถึงบ้าน…
“การจะพัฒนาเมือง ไม่ใช่แค่เรื่องสาธารณูปโภคแต่ต้องพุ่งเป้าไปที่พัฒนาคนและไม่มีเครื่องมือไหนจะพัฒนาคนได้ดีไปกว่า การศึกษา” “แม้เทศบาลนครเชียงรายจะเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ของยูเนสโกแห่งแรกของไทยในปี 2562 แต่การเตรียมเมืองเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ว่านี้ เกิดขึ้นก่อนหน้านั้นหลายสิบปี ในอดีต เชียงรายเป็นเมืองที่ห่างไกลความเจริญ ทางเทศบาลฯ เล็งเห็นว่าการจะพัฒนาเมือง ไม่สามารถทำได้แค่การทำให้เมืองมีสาธารณูปโภคครบ แต่ต้องพัฒนาผู้คนที่เป็นหัวใจสำคัญของเมือง และไม่มีเครื่องมือไหนจะพัฒนาคนได้ดีไปกว่า ‘การศึกษา’…
“ถ้าอาหารปลอดภัยเป็นทางเลือกหลักของผู้บริโภคเชียงรายจะเป็นเมืองที่น่าอยู่กว่านี้อีกเยอะ” “นอกจากบทบาทของการพัฒนาชุมชนและสังคมสงเคราะห์ กองสวัสดิการสังคม เทศบาลนครเชียงราย ยังมีกลไกในการส่งเสริมเศรษฐกิจของพี่น้อง 65 ชุมชน ภายในเขตเทศบาลฯ โดยกลไกนี้ครอบคลุมการส่งเสริมสุขภาพ และช่วยดูแลสิ่งแวดล้อมในทางอ้อมด้วยกลไกที่ว่าคือ ‘สหกรณ์นครเชียงราย’ โดยสหกรณ์ฯ นี้เริ่มต้นมาตั้งแต่ปี 2560 หลักเราคือการสนับสนุนเศรษฐกิจชุมชน…
“แม่อยากปลูกผักปลอดภัยให้ตัวเองและคนในเมืองกินไม่ใช่ปลูกผักเพื่อส่งขาย แต่คนปลูกไม่กล้ากินเอง” “บ้านป่างิ้ว ตั้งอยู่ละแวกสวนสาธารณะหาดนครเชียงราย เราและชุมชนฮ่องลี่ที่อยู่ข้างเคียงเป็นชุมชนเกษตรที่ปลูกพริก ปลูกผักไปขายตามตลาดมาแต่ไหนแต่ไร กระทั่งราวปี 2548 สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองเชียงราย มาส่งเสริมให้ทำเกษตรปลอดภัย คนในชุมชนก็เห็นด้วย เพราะอยากทำให้สิ่งที่เราปลูกมันกินได้จริง ๆ ไม่ใช่ว่าเกษตรกรปลูกแล้วส่งขาย แต่ไม่กล้าเก็บไว้กินเองเพราะกลัวยาฆ่าแมลงที่ตัวเองใส่…
“วิวเมืองเชียงรายจากสกายวอล์กสวยมาก ๆขณะที่ผืนป่าชุมชนของที่นี่ก็มีความอุดมสมบูรณ์จนไม่น่าเชื่อว่านี่คือป่าที่อยู่ในตัวเมืองเชียงราย” “ก่อนหน้านี้เราเป็นพนักงานบริษัทเอกชนที่ต่างจังหวัด จนเทศบาลนครเชียงรายเขาเปิดสกายวอล์กที่ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนดอยสะเก็น และหาพนักงานนำชม เราก็เลยกลับมาสมัคร เพราะจะได้กลับมาอยู่บ้านด้วย ตรงนี้มีหอคอยชมวิวอยู่แล้ว แต่เทศบาลฯ อยากทำให้ที่นี่เป็นแหล่งท่องเที่ยว ก็เลยต่อขยายเป็นสกายวอล์กอย่างที่เห็น ซึ่งสุดปลายของมันยังอยู่ใกล้กับต้นยวนผึ้งเก่าแก่ที่มีผึ้งหลวงมาทำรังหลายร้อยรัง รวมถึงยังมีเส้นทางศึกษาธรรมชาติบนภูเขา ในป่าชุมชนผืนนี้ จริง…