“ก่อนการเข้ามาของนิคมอุตสาหกรรม พนัสนิคมก็เป็นเมืองเกษตรกรรมเหมือนเมืองอื่น ๆ ละแวกนี้ แตกต่างก็ตรงคนพนัสฯ มีฝีมือในด้านงานหัตถกรรม สมัยก่อนเขาจะปลูกต้นไผ่ไว้หัวไร่ปลายนา แล้วก็ตัดไผ่มาเป็นเครื่องมือ เป็นข้อง ไซ สุ่ม ไว้จับสัตว์น้ำหากิน หรือทำเป็นภาชนะใช้งาน ตั้งแต่เกิดมา ฉันก็เห็นคนพนัสฯ เขาทำเครื่องจักสานใช้เองแล้ว ซึ่งพวกเราก็ไม่ได้มองว่ามันจะเป็นสินค้าแต่อย่างใด
กระทั่งแม่ฉันเริ่มเอาเครื่องจักสานพวกนี้ลองไปวางขายที่ตลาดนัดตรงสนามหลวงนั่นล่ะ ปรากฏว่าขายดีมาก แม่กลับมาก็เลยเปิดรับซื้อเครื่องจักสานของชาวบ้านไปขาย กระทั่งตลาดนัดย้ายมาเปิดทุกวันเสาร์-อาทิตย์ข้างสวนจตุจักร จากเครื่องใช้ของคนทำนาทำไร่ มันก็กลายมาเป็นของฝากไปจนถึงของแต่งบ้านไป
พนัสนิคมเป็นเมืองเดียวในละแวกนี้ที่ยังมีงานหัตถกรรมชาวบ้านโดดเด่นอยู่ รอบ ๆ เราเขาเป็นโรงงานอุตสาหกรรมกันหมดแล้ว ฉันก็เลยมาคิดว่าในเมื่อเรามีสมบัตินี้ ก็น่าจะทำให้มันเป็นจุดขายของเมืองเราได้นะ จึงคุยกับคนในชุมชนเพื่อทำแหล่งเรียนรู้ เป็นพื้นที่สาธิตการทำเครื่องจักสาน เป็นพิพิธภัณฑ์แสดงผลงาน และเป็นร้านค้าพร้อมกันในตัว
ต้นเดือนพฤษภาคมของทุกปี พนัสนิคมจะมีประเพณีงานบุญกลางบ้าน หน่วยงานราชการเขาก็จะชวนให้ทุกชุมชนทำเครื่องจักสานมาประกวด ฉันเลยคิดว่าชุมชนเราน่าจะทำอะไรเด่น ๆ จึงเลือกทำเครื่องจักสานขนาดใหญ่ ให้อลังการไปเลย ตรงนี้เลยกลายมาเป็นจุดขาย เราทำเครื่องจักสานขนาดใหญ่เอาไปโชว์ทุกปี โดยเปลี่ยนธีมทุกปี บางปีเราเอาตำนานเมืองอย่างพระรถเสน มาทำเป็นประติมากรรมพระรถเสนอุ้มไก่ ปีนี้เพิ่งทำห้องหุ่นเป็นคอลเลกชันเสื้อผ้าไทยเดิมมาจัดแสดง เป็นต้น จากนั้นก็เก็บมาจัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์ ฉันเลยตั้งชื่อพื้นที่นี้ว่า ‘ศูนย์จักสานที่ใหญ่ที่สุดในโลก’ เพราะไม่คิดว่าจะมีใครจะจริงจังกับการทำเครื่องจักสานใหญ่เท่าเราแล้ว (ยิ้ม)
ถามว่ามีคนรุ่นใหม่มาสืบต่อไหม ถ้าที่ศูนย์ฯ ฉัน น้อยสุดก็น่าจะอายุ 50-60 ปีแล้ว (หัวเราะ) เด็กกว่านั้นเขาไม่สนใจหรอก เขาทำงานออฟฟิศหรือราชการน่าจะดีกว่า แต่ใช่ว่าพนัสนิคมจะไม่มีคนสืบต่อเรื่องนี้นะ หลาย ๆ ชุมชนเขาก็มีธุรกิจที่ทำเครื่องจักสานที่มีรูปแบบเฉพาะตัว ซึ่งส่งไปขายต่างประเทศทำรายได้ไม่น้อย และก็มีแนวโน้มที่จะมีมากขึ้นอีกในอนาคต ฉันคิดว่าเครื่องจักสานมันไม่น่าจะหายไปจากบ้านเกิดเราได้ง่าย ๆ หรอก”
#ศูนย์เครื่องจักสานใหญ่ที่สุดในโลก #เทศบาลเมืองพนัสนิคม #บพท #pmua #โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่การเป็นเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด #CIAP #wecitizens
พลังคน พลังโคมลำพูน: เมืองเล็ก ๆ ที่เปี่ยมไปด้วยพลังสร้างสรรค์ แม้ ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์ เป็นคนเชียงใหม่ เธอก็หาใช่เป็นคนอื่นคนไกลสำหรับชาวลำพูนเพราะก่อนจะเข้ามาขับเคลื่อนงานวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดกับเทศบาลเมืองลำพูน เธอได้ทำวิจัยเกี่ยวกับเมืองแห่งนี้มาหลายครั้ง โดยเฉพาะโครงการขับเคลื่อนเยาวชนเพื่อเตรียมพร้อมสู่การเป็นพลเมืองของเมืองแห่งการเรียนรู้ของ UNESCO ในปี 2566-2567 - นั่นล่ะ…
“เป็นสิ่งวิเศษที่สุด ที่ผ้าไหมของจังหวัดลำพูนได้ปรากฏต่อสายตาผู้คนทั้งในและต่างประเทศ ทั้งเมื่อครั้งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงให้การส่งเสริม และทรงฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญต่าง ๆ และกระทั่งในปัจจุบัน สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 10 ก็ทรงส่งเสริมผ้าไหมไทย และฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญเช่นกัน ดิฉันเป็นคนลำพูน มีความภูมิใจในงานหัตถศิลป์การทอผ้าไหมยกดอกนี้มาก ๆ และตั้งใจจะรักษามรดกทางวัฒนธรรม ทำหน้าที่ส่งต่อถึงคนรุ่นต่อไป…
“ความที่โตมาในลำพูน เราตระหนักดีว่าเมืองเรามีต้นทุนทางวัฒนธรรมที่สูงมาก ทั้งยังมีบรรยากาศที่น่าอยู่ อย่างไรก็ดี อาจเพราะเป็นเมืองขนาดเล็ก ลำพูนมักถูกมองข้ามจากแผนการพัฒนาของประเทศ เป็นเหมือนเมืองที่มีศักยภาพ แต่ยังไม่ถูกปลุกให้ตื่นความที่เราเคยทำงานที่ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (ปัจจุบันคือสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA - ผู้เรียบเรียง) ได้เห็นตัวอย่างความสำเร็จของกระบวนการพัฒนาย่านด้วยกรอบพื้นที่สร้างสรรค์ในหลายพื้นที่…
“ผมเป็นคนลำพูน และชอบทำกิจกรรมนอกห้องเรียนมาตั้งแต่เด็ก ปัจจุบันเป็นประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดลำพูน ควบคู่ไปกับกำลังศึกษาคณะรัฐศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จากประสบการณ์การทำงานในสภาฯ ทำให้ผมเห็นว่า เยาวชนลำพูนมีศักยภาพที่หลากหลาย แต่สิ่งที่ขาดไปคือเวทีที่เปิดโอกาสให้พวกเขาได้แสดงความสามารถและพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง นอกเหนือจากการสนับสนุนจากโรงเรียนหรือโครงการของภาคเอกชน ปี 2567 พี่อร (ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์…
“อาคารหลังนี้แต่ก่อนเป็นที่ประทับของเจ้าราชสัมพันธวงษ์ลำพูน (พุทธวงษ์ ณ เชียงใหม่) น้องเขยของเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าหลวงองค์สุดท้ายของลำพูน อาคารถูกสร้างขึ้นเมื่อปี 2455 หลังจากนั้นก็ถูกขายให้พ่อค้าชาวจีนไปทำเป็นโรงเรียนหวุ่นเจิ้ง สอนภาษาจีนและคณิตศาสตร์ โรงเรียนนี้เปิดได้ไม่นานก็ต้องปิด เพราะสมัยนั้นรัฐบาลเพ่งเล็งว่าอะไรที่เป็นของจีนจะเกี่ยวข้องกับลัทธิคอมมิวนิสต์ แต่หนูก็ไม่รู้หรอกว่าโรงเรียนนี้เกี่ยวข้องหรือเปล่า (ยิ้ม) จากนั้นอาคารก็ถูกเปลี่ยนมาเป็นโรงเรียนมงคลวิทยาในปี…
“เราโตมากับวัฒนธรรมของคนลำพูน ชอบไปเดินงานปอย ร่วมงานบุญ ก่อนหน้านี้ก็เคยทำงานรับจ้างทั่วไป จนเทศบาลฯ มาส่งเสริมเรื่องการทำโคม โดยมีสล่าจากชุมชนศรีบุญเรืองมาสอน เราก็ไปเรียนกับเขา ตอนนี้อาชีพหลักคือการทำโคม ทำมาได้ 2 ปีแล้ว สำหรับเรา โคมคืองานศิลปะ เป็นสัญลักษณ์และมรดกที่ยึดโยงกับวัฒนธรรมของคนบ้านเรา ตอนแรกเราไม่มีความคิดเลยว่ามันจะกลายมาเป็นอาชีพได้…