“พนัสนิคมยังรองรับแค่กับคนวัยทำงานที่ทำงานในระบบราชการหรือไม่ก็ผู้ประกอบการ
แต่สำหรับคนทำงานออฟฟิศ พวกเขาก็ต้องไปหางานทำในกรุงเทพฯ หรือเมืองใหญ่รอบ ๆ อยู่ดี”
“ตั้งแต่เรียนจบ ผมกับแฟนก็รู้ตัวว่าเราไม่ชอบทำงานประจำ เลยเลือกที่จะกลับมาหาอะไรทำที่บ้าน ตอนแรกก็ทำข้าวกล่องขาย แล้วก็เห็นช่องทางว่าพนัสนิคมยังไม่ค่อยมีร้านกาแฟแบบที่คนรุ่นใหม่ดื่มกันเท่าไหร่ ผมกับแฟนเรียนจบจาก ม.บูรพา ซึ่งอยู่ห่างจากนี่แค่ 20 กิโลเมตรเอง ที่นั่นมีร้านกาแฟให้เลือกนับไม่ถ้วน แต่พอกลับมาพนัสนิคม เรากลับไม่มีทางเลือกนัก เพราะผู้คนในเมืองยังติดรสชาติของกาแฟรสเข้ม ๆ แบบดั้งเดิมอยู่ ก็เลยคิดว่าเราน่าจะลองทำร้านที่นี่ดู
สองปีแรกก็พอถูไถครับ พออยู่ได้ กระทั่งมาเจอโควิด ที่บังคับให้คนทำงานในเมืองต้อง Work From Home ที่บ้าน คนรุ่นใหม่หลายคนกลับมาอยู่พนัสนิคม ร้านผมจึงขายดีจากคนกลุ่มนี้ ก่อนที่พวกเขาจะบอกต่อ ๆ กันจนมีฐานลูกค้าเพิ่มมากขึ้น กลายเป็นว่าทุกวันนี้ ร้านเปิดมาจะ 6 ปีแล้ว ผมแทบไม่ต้องทำการตลาดเพื่อประชาสัมพันธ์ร้านเลย
ลูกค้าประจำทุกวันนี้มีทั้งคนที่ทำงานในโรงพยาบาล สำนักงานราชการ โรงเรียน ตำรวจ และผู้ประกอบการในตลาด เสาร์-อาทิตย์จะได้กลุ่มนักท่องเที่ยว และคนพนัสฯ เองที่ทำงานที่อื่นซึ่งจะกลับบ้านในวันหยุด กลุ่มลูกค้าเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงฐานประชากรในเมืองพนัสนิคมเหมือนกัน คือพนัสนิคมมันรองรับแค่คนวัยทำงานที่ทำงานในระบบราชการหรือไม่ก็ผู้ประกอบการ แต่สำหรับคนทำงานออฟฟิศ พวกเขาก็ต้องไปหางานทำในกรุงเทพฯ หรือเมืองใหญ่รอบ ๆ อยู่ดี
ถ้าถามว่าเราจะดึงดูดคนวัยทำงานกลับมาบ้านเกิดได้อย่างไร ? ผมคิดว่ามันต้องมีหลาย ๆ องค์ประกอบนะ โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจระดับประเทศ แต่ถ้ามองในเชิงภาพลักษณ์ ผมคิดว่าเราน่าจะสื่อสารผ่านต้นทุนที่เรามีดีอยู่แล้ว อย่างเมืองเราขึ้นชื่อเรื่องเครื่องจักสาน เราก็น่าจะใช้มันเป็นเครื่องมือได้ด้วยเช่นกัน เช่นการทำแบรนด์เมือง การใช้เครื่องจักสานมาออกแบบใหม่ให้ร่วมสมัย เพื่อนำมาตบแต่งตามพื้นที่สาธารณะ หรือถนนสายหลัก เป็นแลนด์มาร์กเพื่อบอกต้นทุนของเมือง ไปจนถึงการชวนนักออกแบบรุ่นใหม่มาร่วมพัฒนารูปแบบเครื่องจักสาน เป็นการประกวดเชิงศิลปะหรืองานดีไซน์ก็ได้ ทำให้เป็นของฝากแนวใหม่ แม้มันอาจเป็นแค่เพียงส่วนเล็ก ๆ ส่วนหนึ่ง แต่ก็พอจะเปลี่ยนมุมมองให้ผู้คนเห็นว่า เมืองเรามันมีที่ทางให้คนทำงานสร้างสรรค์รุ่นใหม่ได้บ้าง น่าจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี”
ติดตามร้านกาแฟโอเวอร์คัม (Overcome) พนัสนิคม ได้ที่ https://www.facebook.com/overcome.coffee
#overcomeพนัสนิคม #เทศบาลเทืองพนัสนิคม #CIAP #โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่การเป็นเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด #PMUA #บพท #Wecitizens
พลังคน พลังโคมลำพูน: เมืองเล็ก ๆ ที่เปี่ยมไปด้วยพลังสร้างสรรค์ แม้ ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์ เป็นคนเชียงใหม่ เธอก็หาใช่เป็นคนอื่นคนไกลสำหรับชาวลำพูนเพราะก่อนจะเข้ามาขับเคลื่อนงานวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดกับเทศบาลเมืองลำพูน เธอได้ทำวิจัยเกี่ยวกับเมืองแห่งนี้มาหลายครั้ง โดยเฉพาะโครงการขับเคลื่อนเยาวชนเพื่อเตรียมพร้อมสู่การเป็นพลเมืองของเมืองแห่งการเรียนรู้ของ UNESCO ในปี 2566-2567 - นั่นล่ะ…
“เป็นสิ่งวิเศษที่สุด ที่ผ้าไหมของจังหวัดลำพูนได้ปรากฏต่อสายตาผู้คนทั้งในและต่างประเทศ ทั้งเมื่อครั้งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงให้การส่งเสริม และทรงฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญต่าง ๆ และกระทั่งในปัจจุบัน สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 10 ก็ทรงส่งเสริมผ้าไหมไทย และฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญเช่นกัน ดิฉันเป็นคนลำพูน มีความภูมิใจในงานหัตถศิลป์การทอผ้าไหมยกดอกนี้มาก ๆ และตั้งใจจะรักษามรดกทางวัฒนธรรม ทำหน้าที่ส่งต่อถึงคนรุ่นต่อไป…
“ความที่โตมาในลำพูน เราตระหนักดีว่าเมืองเรามีต้นทุนทางวัฒนธรรมที่สูงมาก ทั้งยังมีบรรยากาศที่น่าอยู่ อย่างไรก็ดี อาจเพราะเป็นเมืองขนาดเล็ก ลำพูนมักถูกมองข้ามจากแผนการพัฒนาของประเทศ เป็นเหมือนเมืองที่มีศักยภาพ แต่ยังไม่ถูกปลุกให้ตื่นความที่เราเคยทำงานที่ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (ปัจจุบันคือสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA - ผู้เรียบเรียง) ได้เห็นตัวอย่างความสำเร็จของกระบวนการพัฒนาย่านด้วยกรอบพื้นที่สร้างสรรค์ในหลายพื้นที่…
“ผมเป็นคนลำพูน และชอบทำกิจกรรมนอกห้องเรียนมาตั้งแต่เด็ก ปัจจุบันเป็นประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดลำพูน ควบคู่ไปกับกำลังศึกษาคณะรัฐศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จากประสบการณ์การทำงานในสภาฯ ทำให้ผมเห็นว่า เยาวชนลำพูนมีศักยภาพที่หลากหลาย แต่สิ่งที่ขาดไปคือเวทีที่เปิดโอกาสให้พวกเขาได้แสดงความสามารถและพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง นอกเหนือจากการสนับสนุนจากโรงเรียนหรือโครงการของภาคเอกชน ปี 2567 พี่อร (ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์…
“อาคารหลังนี้แต่ก่อนเป็นที่ประทับของเจ้าราชสัมพันธวงษ์ลำพูน (พุทธวงษ์ ณ เชียงใหม่) น้องเขยของเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าหลวงองค์สุดท้ายของลำพูน อาคารถูกสร้างขึ้นเมื่อปี 2455 หลังจากนั้นก็ถูกขายให้พ่อค้าชาวจีนไปทำเป็นโรงเรียนหวุ่นเจิ้ง สอนภาษาจีนและคณิตศาสตร์ โรงเรียนนี้เปิดได้ไม่นานก็ต้องปิด เพราะสมัยนั้นรัฐบาลเพ่งเล็งว่าอะไรที่เป็นของจีนจะเกี่ยวข้องกับลัทธิคอมมิวนิสต์ แต่หนูก็ไม่รู้หรอกว่าโรงเรียนนี้เกี่ยวข้องหรือเปล่า (ยิ้ม) จากนั้นอาคารก็ถูกเปลี่ยนมาเป็นโรงเรียนมงคลวิทยาในปี…
“เราโตมากับวัฒนธรรมของคนลำพูน ชอบไปเดินงานปอย ร่วมงานบุญ ก่อนหน้านี้ก็เคยทำงานรับจ้างทั่วไป จนเทศบาลฯ มาส่งเสริมเรื่องการทำโคม โดยมีสล่าจากชุมชนศรีบุญเรืองมาสอน เราก็ไปเรียนกับเขา ตอนนี้อาชีพหลักคือการทำโคม ทำมาได้ 2 ปีแล้ว สำหรับเรา โคมคืองานศิลปะ เป็นสัญลักษณ์และมรดกที่ยึดโยงกับวัฒนธรรมของคนบ้านเรา ตอนแรกเราไม่มีความคิดเลยว่ามันจะกลายมาเป็นอาชีพได้…