“เอ็งกอคือ 108 วีรบุรุษแห่งเขาเหลียงซาน สมัยราชวงศ์ซ่ง เหล่าขุนนางฉ้อฉล ประชาชนประสบความทุกข์ยาก อดีตนักโทษ 108 คนจึงวางแผนลอบปลงพระชนม์ฮ่องเต้ในงานเทศกาลไหว้พระจันทร์ ความที่พวกเขาเคยเป็นนักโทษซึ่งถูกตีตราบนใบหน้า จึงต้องวาดรูปบนหน้าเพื่ออำพราง นี่คือเรื่องเล่าเกี่ยวกับเหล่าวีรบุรุษที่เสียสละตนเองเพื่อผดุงความยุติธรรม ก่อนที่คนจีนในยุคหลังได้ดัดแปลงเรื่องราวดังกล่าวเป็นศิลปวัฒนธรรม เพื่อใช้เฉลิมฉลองในงานตรุษจีน หรืองานสำคัญอื่น ๆ
เล่ากันว่าเอ็งกอเข้ามาเมืองไทยจากกลุ่มคนแต้จิ๋วจากเมืองซัวเถา กลุ่มหนึ่งนั่งเรือสำเภาสีแดงไปเทียบท่าที่นครสวรรค์ อีกกลุ่มนั่งเรือสีเขียวมาเทียบท่าที่ชลบุรี หลังจากตั้งรกรากในดินแดนใหม่ได้สำเร็จ พวกเขาก็นำศิลปะการแสดงนี้มาเล่นกัน เพื่อรำลึกถึงบ้านเกิด
พนัสนิคมเป็นเมืองที่มีคณะเอ็งกอที่มีการสืบสานกันอย่างจริงจัง พวกเขาจะออกแสดงในงานตรุษจีน ไหว้พระจันทร์ และงานบุญกลางบ้าน ซึ่งเป็นเทศกาลประจำปีของพนัสนิคม ซึ่งทาง ผอ.บุญชัย ทิพยางกูร (ผู้อำนวยการโรงเรียนเทศบาล 2 วัดกลางทุมมาวาส) เขาเล็งเห็นถึงคุณค่าของศิลปวัฒนธรรมนี้ รวมถึงโรงเรียนของเราตั้งอยู่ใกล้ชุมชนชาวจีน จึงริเริ่มบรรจุการละเล่นเอ็งกอเข้าเป็นหลักสูตรในชั่วโมงกิจกรรมชุมนุม ตั้งแต่ปี 2545
ผมเริ่มเรียนเอ็งกอจากโรงเรียนนี้ พอเรียนจบ ก็กลับมาเป็นครูสอนศิลปะ และสอนเอ็งกอในชั่วโมงชุมนุมที่นี่ สอนมา 16 ปีแล้ว มีเด็กนักเรียนที่เริ่มเรียนกับเราตั้งแต่ชั้นอนุบาล หลายคนจบไปก็ไปเข้าร่วมคณะเซียนซือ คณะเต็กกา และอื่น ๆ ที่มีในพนัสนิคม
สำหรับพนัสนิคม เอ็งกอไม่ใช่แค่การละเล่น แต่เป็นอัตลักษณ์ของเมือง เราจริงจังถึงขั้นออกแบบชุดเอ็งกอประจำเมืองของเรา สีเขียวและสีเหลืองบนชุดเอ็งกอ คือสีสัญลักษณ์ของพนัสนิคม หมวกสานที่พวกเราสวมก็เป็นหมวกที่สะท้อนความเป็นเมืองเครื่องจักสาน ตัวอักษรภาษาจีนที่เห็นแปลว่า ‘เอ็งกอพนัสนิคม’ ไม่เพียงเท่านั้น เทศบาลฯ ยังส่งคนไปดูงานจริงที่ Academy ในเมืองซัวเถา และก็เชิญคณะเอ็งกอจากซัวเถามาร่วมแสดงในเทศกาลงานบุญกลางบ้านของเรา
ขณะเดียวกันคณะเอ็งกอบ้านเราก็ได้รับเชิญไปแสดงตามงานต่าง ๆ ทั่วประเทศ ทั้งยังไปเปิดหลักสูตรให้โรงเรียนเทศบาลในจังหวัดอื่น ๆ ด้วย
จริงอยู่ เอ็งกอมันยังเป็นอาชีพไม่ได้ แต่ถ้าพิจารณาดู คนที่แสดงเอ็งกอตามคณะต่าง ๆ หลายคนก็เป็นทั้งวิศวกร เป็นหมอ เป็นคนทำงานออฟฟิศนะครับ สิ่งเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงการอยากมีส่วนร่วม ความสนุก และความภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการสืบสานรากเหง้าของตัวเอง เช่นเดียวกับผมในฐานะครูผู้สอน ที่รู้สึกภูมิใจที่ได้มีส่วนในการเพาะต้นกล้าให้เด็กพนัสนิคมในการเติบโตบนเส้นทางนี้ต่อไป”
#เทศบาลเมืองพนัสนิคม #CIAP #โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่การเป็นเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด #PMUA #บพท #Wecitizens
พลังคน พลังโคมลำพูน: เมืองเล็ก ๆ ที่เปี่ยมไปด้วยพลังสร้างสรรค์ แม้ ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์ เป็นคนเชียงใหม่ เธอก็หาใช่เป็นคนอื่นคนไกลสำหรับชาวลำพูนเพราะก่อนจะเข้ามาขับเคลื่อนงานวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดกับเทศบาลเมืองลำพูน เธอได้ทำวิจัยเกี่ยวกับเมืองแห่งนี้มาหลายครั้ง โดยเฉพาะโครงการขับเคลื่อนเยาวชนเพื่อเตรียมพร้อมสู่การเป็นพลเมืองของเมืองแห่งการเรียนรู้ของ UNESCO ในปี 2566-2567 - นั่นล่ะ…
“เป็นสิ่งวิเศษที่สุด ที่ผ้าไหมของจังหวัดลำพูนได้ปรากฏต่อสายตาผู้คนทั้งในและต่างประเทศ ทั้งเมื่อครั้งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงให้การส่งเสริม และทรงฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญต่าง ๆ และกระทั่งในปัจจุบัน สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 10 ก็ทรงส่งเสริมผ้าไหมไทย และฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญเช่นกัน ดิฉันเป็นคนลำพูน มีความภูมิใจในงานหัตถศิลป์การทอผ้าไหมยกดอกนี้มาก ๆ และตั้งใจจะรักษามรดกทางวัฒนธรรม ทำหน้าที่ส่งต่อถึงคนรุ่นต่อไป…
“ความที่โตมาในลำพูน เราตระหนักดีว่าเมืองเรามีต้นทุนทางวัฒนธรรมที่สูงมาก ทั้งยังมีบรรยากาศที่น่าอยู่ อย่างไรก็ดี อาจเพราะเป็นเมืองขนาดเล็ก ลำพูนมักถูกมองข้ามจากแผนการพัฒนาของประเทศ เป็นเหมือนเมืองที่มีศักยภาพ แต่ยังไม่ถูกปลุกให้ตื่นความที่เราเคยทำงานที่ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (ปัจจุบันคือสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA - ผู้เรียบเรียง) ได้เห็นตัวอย่างความสำเร็จของกระบวนการพัฒนาย่านด้วยกรอบพื้นที่สร้างสรรค์ในหลายพื้นที่…
“ผมเป็นคนลำพูน และชอบทำกิจกรรมนอกห้องเรียนมาตั้งแต่เด็ก ปัจจุบันเป็นประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดลำพูน ควบคู่ไปกับกำลังศึกษาคณะรัฐศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จากประสบการณ์การทำงานในสภาฯ ทำให้ผมเห็นว่า เยาวชนลำพูนมีศักยภาพที่หลากหลาย แต่สิ่งที่ขาดไปคือเวทีที่เปิดโอกาสให้พวกเขาได้แสดงความสามารถและพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง นอกเหนือจากการสนับสนุนจากโรงเรียนหรือโครงการของภาคเอกชน ปี 2567 พี่อร (ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์…
“อาคารหลังนี้แต่ก่อนเป็นที่ประทับของเจ้าราชสัมพันธวงษ์ลำพูน (พุทธวงษ์ ณ เชียงใหม่) น้องเขยของเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าหลวงองค์สุดท้ายของลำพูน อาคารถูกสร้างขึ้นเมื่อปี 2455 หลังจากนั้นก็ถูกขายให้พ่อค้าชาวจีนไปทำเป็นโรงเรียนหวุ่นเจิ้ง สอนภาษาจีนและคณิตศาสตร์ โรงเรียนนี้เปิดได้ไม่นานก็ต้องปิด เพราะสมัยนั้นรัฐบาลเพ่งเล็งว่าอะไรที่เป็นของจีนจะเกี่ยวข้องกับลัทธิคอมมิวนิสต์ แต่หนูก็ไม่รู้หรอกว่าโรงเรียนนี้เกี่ยวข้องหรือเปล่า (ยิ้ม) จากนั้นอาคารก็ถูกเปลี่ยนมาเป็นโรงเรียนมงคลวิทยาในปี…
“เราโตมากับวัฒนธรรมของคนลำพูน ชอบไปเดินงานปอย ร่วมงานบุญ ก่อนหน้านี้ก็เคยทำงานรับจ้างทั่วไป จนเทศบาลฯ มาส่งเสริมเรื่องการทำโคม โดยมีสล่าจากชุมชนศรีบุญเรืองมาสอน เราก็ไปเรียนกับเขา ตอนนี้อาชีพหลักคือการทำโคม ทำมาได้ 2 ปีแล้ว สำหรับเรา โคมคืองานศิลปะ เป็นสัญลักษณ์และมรดกที่ยึดโยงกับวัฒนธรรมของคนบ้านเรา ตอนแรกเราไม่มีความคิดเลยว่ามันจะกลายมาเป็นอาชีพได้…