[THE CITIZENS : เมืองสระบุรี]ฐิติมา มีมะโนประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดสระบุรี

“อธิบายความเป็นเมืองสระบุรีก่อนว่า เป็นเส้นทางที่มีถนน 2 เส้นคือถนนพหลโยธินและถนนมิตรภาพ เมืองเป็นศูนย์กลางของทุกภาคส่วน ทั้งส่วนราชการ เศรษฐกิจ สังคม ทีนี้ เกิดถนนวงแหวนเส้นเลี่ยงเมือง จากอำเภอเมืองไปเชื่อมต่ออำเภอเสาไห้เป็นเส้นเลี่ยงเมืองฝั่งตะวันตก เส้นเลี่ยงเมืองฝั่งตะวันออกไปทางตำบลตะกุด ทางอำเภอแก่งคอย จริง ๆ คนในเมืองคือคนในตลาด คนชุมชนเก่าแก่ชาวจีน ก็ไม่ต่างจากพฤติกรรมชุมชนตลาดของแต่ละจังหวัดนะ ที่ไม่ค่อยจับจ่ายใช้สอย แต่เมื่อมีการกระจายของเมืองเป็นวงกลมที่เส้นผ่านศูนย์กลางเป็นรัศมีกว้างขึ้น ๆ มีหมู่บ้านใหม่ ๆ กลุ่มคนเหล่านี้ที่ไม่เคยใช้จ่ายก็เริ่มขยายตัวเองออกไป แต่ยังคงมีกิจการของตัวเองอยู่ในเมือง

ในขณะที่ตัวเองก็ย้ายออกไปอยู่ในหมู่บ้าน ขณะเดียวกัน สถานการณ์โควิด-19 เมืองก็ได้รับผลกระทบ เศรษฐกิจชะลอตัว มีการย้ายถิ่นฐาน แล้วในปัจจุบันและอนาคตจะมีเส้นทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นอีกเส้นทางของโครงการรถไฟความเร็วสูงมาลงที่สถานีสระบุรีตรงศูนย์ราชการใหม่ ก็ต้องเตรียมรับมือว่าเมื่อรถไฟความเร็วสูงเสร็จ จะเกิดอะไรขึ้น

สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวสระบุรี ซึ่งเป็นสาขาหนึ่งของสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย หน้าที่คือเป็นตัวกลางประสานงานระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน แนะนำ ให้คำปรึกษา เราได้เข้าร่วมประชุมเกี่ยวกับการพัฒนาเมืองสระบุรี ว่าควรจะพัฒนาเมืองอย่างไร มีแหล่งตรงไหนที่จะพัฒนา หลังจากนั้นก็มาเริ่มเป็นกิจกรรมที่เป็นเทศกาลตรุษจีนปากเพรียวขึ้นมาก่อน โดยเทศบาลเมืองสระบุรี ทำงานร่วมกับสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวสระบุรี, สมาคมการท่องเที่ยวเพื่อเศรษฐกิจชุมชนสระบุรี, หอการค้าจังหวัดสระบุรี, YEC สระบุรี (ผู้ประกอบการรุ่นใหม่หอการค้า – Young Entrepreneur Chamber of Commerce) อย่างมีการติดโคมบนถนน มีการแสดง เดินแบบ การประกวด ปีที่แล้วก็ Mrs. Chinese Platinum

แล้วทางเทศบาลฯ ต้องยอมรับว่าเป็นทีมที่เข้มแข็ง เขาประสานออกไป ก็จะเป็นแม่ค้า คนในชุมชน ในตลาด คุณครู เข้ามาประกวด กลายเป็นว่ากองเชียร์ของคนข้างในออกมา เป็นคนในพื้นที่จริง ๆ มันก็คึกคัก มีสีสัน เราแนะนำเทศบาลฯ ให้ประสานกับร้านค้า ร้านไหนเข้าร่วมโครงการก็ให้ติดโคมไว้ข้างหน้า ถ่ายรูปเช็กอินแล้วก็มายื่นที่จุดใดจุดนึงว่าชั้นไปครบแล้วนะ แลกของที่ระลึกกลับไป ซึ่งท่านผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี (บัญชา เชาวรินทร์) ให้เกียรติมาเป็นประธานเปิด ต้องชื่นชมท่านมากว่า ให้ความสำคัญกับการท่องเที่ยวเชิงอัตลักษณ์ เป็นนโยบายเลยว่าทั้ง 13 อำเภอต้องมีแหล่งท่องเที่ยวเชิงอัตลักษณ์ มันดีตรงที่สร้างการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

อัตลักษณ์ของเมืองสระบุรีเป็นการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมไทยจีน เพราะสังคมเมืองเป็นชุมชนไทยจีน มีเทพเจ้ากวนอูที่โรงเจบ้วนเฮงตั๊ว ทุกคนต้องมาไหว้ อำเภอเสาไห้ก็เป็นชุมชนไทยญวน ลาวเวียงก็มีอยู่ที่เสาไห้และหนองแซง เพราะฉะนั้น เมืองสระบุรีเป็นศูนย์กลางที่สามารถเชื่อมโยงแต่ละจุดเข้ามาด้วยกันได้ ในส่วนของสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวสระบุรีก็มองเห็นว่า ทำยังไงให้เมืองที่เกิดปัญหาสภาวะหดตัว สร้างรายได้กับชุมชนเพิ่มขึ้น ก็ต้องนำพาคนข้างนอกเข้ามา ก็สอดคล้องกับการจัดอิเวนต์ท่องเที่ยว ก็คือเทศกาลตรุษจีนปากเพรียว ทีนี้ทำยังไงให้ยั่งยืนล่ะ เพราะในเมื่อตรุษจีนก็มีแค่ครั้งเดียว

สิ่งที่เรามอง ก็ตรงใจกับทางทีมวิจัยคณาจารย์จุฬาฯ ก็คือ แผนพัฒนาอาคารวไลยอลงกรณ์ เราอยากให้เกิดเป็นพิพิธภัณฑ์วไลยอลงกรณ์ เป็นการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ได้ด้วย อาคารร้อยปีนะ เรามีภาพซ้อนกันอยู่ที่สามารถเป็นโมเดลได้ อยากให้เป็นแบบมิวเซียมสยาม ที่เดิมเป็นอาคารกระทรวงพาณิชย์ อาจจะออกแบบเป็นโซน โซนนึงแสดงพิพิธภัณฑ์ บอกถึงโครงสร้าง ประวัติศาสตร์ อีกโซนจัดนิทรรศการหมุนเวียน ช่วงสัปดาห์นี้เรามีกิจกรรมอะไร แล้วก็สามารถทำเป็นศูนย์เรียนรู้ได้ คอนเวนชันเซนเตอร์ได้ เชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวต่างอำเภอได้อีก จากอำเภอเมือง ไปแก่งคอย มวกเหล็ก วางแผนเที่ยวเป็นสัปดาห์ เป็นเดือน เป็นซีซัน เหมือนปฏิทินกิจกรรมประจำปีได้


สระบุรีมีศักยภาพ มีแหล่งท่องเที่ยวหลากหลาย ใครจะเชื่อว่า สระบุรีที่เป็นเมืองโรงงาน แต่เรามีอุทยานแห่งชาติ 3 แห่ง ล่าสุดทางอุทยานแห่งชาติน้ำตกเจ็ดสาวน้อยก็ได้รางวัลที่หนึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ธรรมชาติ เมื่อปีที่แล้ว คุณกฤษนะ (กฤษนะ ละไล ประธานมูลนิธิอารยสถาปัตย์เพื่อคนทั้งมวล) พารมต.เสริมศักดิ์ พงษ์พานิช ตอนนั้นท่านเป็นรัฐมนตรีการท่องเที่ยวและกีฬา มาที่อุทยานเจ็ดสาวน้อยฯ มาดูสิ่งที่มนุษย์ล้อต้องการ ห้องน้ำ ทางลาด ซึ่งต้องมีพักหายใจ มีองศาให้วนเข้าไปได้นะ ทำให้เราเห็นว่ามนุษย์ล้อสามารถเข็นขึ้นไปถึงน้ำตกชั้น 1-3 ได้เลยนะ เขากำลังพัฒนาให้ไปถึงชั้น 4-5-6-7 หรือแม้กระทั่งตอนนี้ โรงแรม รีสอร์ต ก็เริ่มปรับปรุงห้องพักให้รองรับอารยสถาปัตย์ประมาณ 2-3 ห้อง คือสิ่งสำคัญเราต้องให้ตระหนัก การให้ข้อมูลเขา ให้คำแนะนำ เพราะเมืองก็กำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ เราจะต้องจัดสิ่งอำนวยความสะดวกให้กับกลุ่มคนต่าง ๆ ทั้งมนุษย์ล้อ ผู้พิการ หรือพิการทางสายตาก็ดี รวมถึงผู้สูงอายุ เด็ก กลุ่ม LGBTQ+ และกลุ่ม pet-friendly ด้วย

สภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวสระบุรีร่วมมือกับทางสาธารณสุขหลายภาคส่วน จัดคิกออฟ Saraburi Wellness Economy สร้างศักยภาพผู้ประกอบการ Wellness ของสระบุรี เราพยายามรวบรวมที่พัก ร้านอาหาร คาเฟ่ แหล่งท่องเที่ยว ขับเคลื่อนเศรษฐกิจสุขภาพและพัฒนาให้เป็นจุดหมายการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ คำว่า Wellness คือทำยังไงให้สุขกาย สบายใจ อาจจะไม่จำเป็นต้องทำอะไรมากมาย เราไปกอดต้นไม้ ก็ฮีลใจเหมือนกัน แล้วอย่าลืมว่าเรามีหอมนสิการ เป็นแหล่งท่องเที่ยว Unseen New Chapter ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย มีพระพุทธรูปหินลาวาที่วัดถ้ำกระบอก ที่เป็นอะเมซิ่งไทยแลนด์ มีวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวเกษตรเชิงอนุรักษ์ชะอม ตำบลชะอม อำเภอแก่งคอย ที่ได้รางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่ง วิสาหกิจชุมชนดีเด่น ระดับประเทศ ปี 2567 ของกรมส่งเสริมการเกษตร คือเราสามารถเชื่อมโยงการท่องเที่ยวทั้งจังหวัด สร้างทางเลือกให้คนเข้ามา

สำหรับเรา เสน่ห์ของเมืองสระบุรี คืออาหาร เราอยู่แก่งคอย ก็ชอบมากินอาหารที่เมืองสระบุรี มีร้านข้าวหมูแดง ร้านราดหน้า ร้านไอศกรีมกะทิสดในตลาด ร้านเย็นตาโฟ ร้านผัดไทย มีร้านกาแฟเยอะแยะ และสิ่งสำคัญคือเจ้าบ้านที่ดี เราเชื่อว่า ไม่ว่าที่จะสวยแค่ไหน แหล่งท่องเที่ยวจะดีงามเท่าไหร่ แต่ถ้าไม่ได้เป็นเจ้าบ้านที่ดี คนมาครั้งเดียว จะไม่กลับมาอีก แต่เทศกาลตรุษจีนปากเพรียว ที่คนกลับมา เพราะความเป็นเจ้าบ้านที่ดีของเรา”

#สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดสระบุรี #เทศบาลเมืองสระบุรี #คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย #โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาดในระดับพื้นที่ #CIAP #บพท #wecitizens

Wecitizens Editor

Recent Posts

[THE RESEARCHER]<br />ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์<br />หัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด เทศบาลเมืองลำพูน<br />นักวิจัยจากสถาบันวิจัยพหุศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

พลังคน พลังโคมลำพูน: เมืองเล็ก ๆ ที่เปี่ยมไปด้วยพลังสร้างสรรค์ แม้ ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์ เป็นคนเชียงใหม่ เธอก็หาใช่เป็นคนอื่นคนไกลสำหรับชาวลำพูนเพราะก่อนจะเข้ามาขับเคลื่อนงานวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดกับเทศบาลเมืองลำพูน เธอได้ทำวิจัยเกี่ยวกับเมืองแห่งนี้มาหลายครั้ง โดยเฉพาะโครงการขับเคลื่อนเยาวชนเพื่อเตรียมพร้อมสู่การเป็นพลเมืองของเมืองแห่งการเรียนรู้ของ UNESCO ในปี 2566-2567 - นั่นล่ะ…

3 weeks ago

[THE CITIZENS]<br />ปริยาพร วีระศิริ<br />เจ้าของแบรนด์ผ้าไหม “อภิรมย์ลำพูน”

“เป็นสิ่งวิเศษที่สุด ที่ผ้าไหมของจังหวัดลำพูนได้ปรากฏต่อสายตาผู้คนทั้งในและต่างประเทศ ทั้งเมื่อครั้งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงให้การส่งเสริม และทรงฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญต่าง ๆ และกระทั่งในปัจจุบัน สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 10 ก็ทรงส่งเสริมผ้าไหมไทย และฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญเช่นกัน ดิฉันเป็นคนลำพูน มีความภูมิใจในงานหัตถศิลป์การทอผ้าไหมยกดอกนี้มาก ๆ   และตั้งใจจะรักษามรดกทางวัฒนธรรม   ทำหน้าที่ส่งต่อถึงคนรุ่นต่อไป…

4 weeks ago

[THE CITIZENS]<br />ไชยยง รัตนอังกูร<br />ผู้ก่อตั้ง ลำพูน ซิตี้ แลป

“ความที่โตมาในลำพูน เราตระหนักดีว่าเมืองเรามีต้นทุนทางวัฒนธรรมที่สูงมาก ทั้งยังมีบรรยากาศที่น่าอยู่ อย่างไรก็ดี อาจเพราะเป็นเมืองขนาดเล็ก ลำพูนมักถูกมองข้ามจากแผนการพัฒนาของประเทศ เป็นเหมือนเมืองที่มีศักยภาพ แต่ยังไม่ถูกปลุกให้ตื่นความที่เราเคยทำงานที่ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (ปัจจุบันคือสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA - ผู้เรียบเรียง) ได้เห็นตัวอย่างความสำเร็จของกระบวนการพัฒนาย่านด้วยกรอบพื้นที่สร้างสรรค์ในหลายพื้นที่…

4 weeks ago

[THE CITIZENS]<br />ธีรธรรม เตชฤทธ์<br />ประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดลำพูน

“ผมเป็นคนลำพูน และชอบทำกิจกรรมนอกห้องเรียนมาตั้งแต่เด็ก ปัจจุบันเป็นประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดลำพูน ควบคู่ไปกับกำลังศึกษาคณะรัฐศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จากประสบการณ์การทำงานในสภาฯ ทำให้ผมเห็นว่า เยาวชนลำพูนมีศักยภาพที่หลากหลาย แต่สิ่งที่ขาดไปคือเวทีที่เปิดโอกาสให้พวกเขาได้แสดงความสามารถและพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง นอกเหนือจากการสนับสนุนจากโรงเรียนหรือโครงการของภาคเอกชน ปี 2567 พี่อร (ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์…

4 weeks ago

[THE CITIZENS]<br />ชนัญชิดา บุณฑริกบุตร<br />ผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์ชุมชนเมืองลำพูน

“อาคารหลังนี้แต่ก่อนเป็นที่ประทับของเจ้าราชสัมพันธวงษ์ลำพูน (พุทธวงษ์ ณ เชียงใหม่) น้องเขยของเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าหลวงองค์สุดท้ายของลำพูน อาคารถูกสร้างขึ้นเมื่อปี 2455 หลังจากนั้นก็ถูกขายให้พ่อค้าชาวจีนไปทำเป็นโรงเรียนหวุ่นเจิ้ง สอนภาษาจีนและคณิตศาสตร์ โรงเรียนนี้เปิดได้ไม่นานก็ต้องปิด เพราะสมัยนั้นรัฐบาลเพ่งเล็งว่าอะไรที่เป็นของจีนจะเกี่ยวข้องกับลัทธิคอมมิวนิสต์ แต่หนูก็ไม่รู้หรอกว่าโรงเรียนนี้เกี่ยวข้องหรือเปล่า (ยิ้ม)  จากนั้นอาคารก็ถูกเปลี่ยนมาเป็นโรงเรียนมงคลวิทยาในปี…

4 weeks ago

[THE CITIZENS]<br />นงเยาว์ ชัยพรหม<br />คนทำโคมจากชุมชนชัยมงคล

“เราโตมากับวัฒนธรรมของคนลำพูน ชอบไปเดินงานปอย ร่วมงานบุญ ก่อนหน้านี้ก็เคยทำงานรับจ้างทั่วไป จนเทศบาลฯ มาส่งเสริมเรื่องการทำโคม โดยมีสล่าจากชุมชนศรีบุญเรืองมาสอน เราก็ไปเรียนกับเขา ตอนนี้อาชีพหลักคือการทำโคม ทำมาได้ 2 ปีแล้ว  สำหรับเรา โคมคืองานศิลปะ เป็นสัญลักษณ์และมรดกที่ยึดโยงกับวัฒนธรรมของคนบ้านเรา ตอนแรกเราไม่มีความคิดเลยว่ามันจะกลายมาเป็นอาชีพได้…

4 weeks ago