“ครอบครัวตั้งแต่รุ่นอากงอาม่าอยู่ที่นี่กันหมด ค้าขายอยู่ตรงท่าน้ำดับเพลิง สมัยก่อนเรียก ท่าปากเพรียว คนจีนเรียก ปั๊กเพียว เป็นท่าเรือริมแม่น้ำป่าสักที่ลงของจากกรุงเทพฯ เข้ามา บ้านที่อยู่ก็โยกย้ายบ้างแต่ก็อยู่บริเวณตลาดนี่แหละ เราเคยชินกับชีวิตที่อยู่ใจกลางเมือง เราหิวเดินไปซื้อได้ เหงา ๆ ก็เดินมาหาเพื่อนในตลาด ทุกคนในตลาดก็รู้จักกันเกือบทั้งหมด เราเคยไปอยู่กรุงเทพฯ กับต่างประเทศหลายปี ช่วงโควิด-19 ก็อยากกลับบ้านมาอยู่กับครอบครัว เมื่อปีที่แล้ว เราทำงานอาสาสมัครชุมชน และได้รับเลือกตั้งเป็นประธานกรรมการชุมชนวัดศรีบุรีรตนาราม (วัดเพรียว) ครอบคลุมเขตตลาดใน โรงเจบ้วนเฮงตั๊ว สถานีรถไฟ จำนวนประชากรในชุมชนประมาณ 2,000 คนเศษ
กิจวัตรประจำทุกวันคือ เดินจากบ้านไม่กี่ก้าวถึงในตัวตลาด ก็เดินทักทายอากู๋ อาซิ่ม อาแปะ อาเจ้ หรือเรามีข่าวสารประชาสัมพันธ์ หรือรับฟังความคิดเห็นในแต่ละวัน อาจจะถนนวันนี้มีเสียงดังนะ วันนี้ไฟฟ้าดับนะ ก็ต้องขอความอนุเคราะห์จากบ้านใกล้เรือนเคียงหรือแต่ละจุดด้วยว่าถ้าเห็นอะไรผิดปกติช่วยโทรมาแจ้ง เราก็แจ้งต่อไปหน่วยงานที่รับผิดชอบหรือทางเทศบาลฯ เรารีบดำเนินการให้ทันที เพราะที่นี่คือบ้านเรา เจ้าหน้าที่หรือผู้เกี่ยวข้องเองก็มาดำเนินการแก้ไขให้ไวเหมือนกัน
กลับมาอยู่บ้านประมาณ 3 ปี ก็เห็นว่าสภาพเศรษฐกิจในเมืองค่อนข้างซบเซา ส่วนหนึ่งจากการขยายตัวเศรษฐกิจออกรอบนอก คนที่อยู่ในเมืองใช้ชีวิตเปลี่ยนไป บางคนมีร้านอยู่ในตลาด มีบ้านอยู่รอบนอก ตอนเช้ามาค้าขาย ตอนเย็นกลับ แล้วพฤติกรรมคนส่วนมากก็เปลี่ยนมาซื้อของออนไลน์ หรือดิลิเวอรี การแข่งขันค่อนข้างสูง มีการกระจายตัวมากขึ้น คนไม่จำเป็นต้องเข้าเมือง ที่จอดรถก็หายาก ใจกลางเมืองที่เราอยู่ ณ ปัจจุบัน ไม่ใช่เป็นเมืองใหญ่ ค่อนข้างมีขอบเขตจำกัด พื้นที่ของเอกชนเยอะ พื้นที่หลวงจริง ๆ คือน้อยมาก ตลาดก็ขยายตัวได้แค่นี้เนอะ ผู้บริโภคก็น้อยลง เขาจะเข้ามาก็ต่อเมื่อต้องการซื้อสินค้าที่จำเป็นจริง ๆ ที่รอบนอกไม่มี ก็คิดว่าตลาดจะหมุนเวียนคึกคักขึ้นคือมีของหรือบริการที่ต้องเข้ามาซื้อที่นี่เท่านั้น อย่างช่วงโรงเรียนเปิดเทอม ผู้ปกครองจะพาเด็กมาซื้อเสื้อผ้า กระเป๋า รองเท้า เขายังนิยมมา เพราะซื้อแล้วร้านค้าปักชื่อให้เลย อำนวยความสะดวก ถ้าไปซื้อตามห้าง ก็ต้องมาหาที่ปักชื่ออยู่ดี
ของที่ขายในตลาดก็บอกช่วงเวลาเหมือนกัน เทศกาลตรุษจีน วาเลนไทน์ เชงเม้ง หรือสงกรานต์ที่ทุกคนก็เข้ามาซื้อพวกเสื้อลายดอก ผ้าขาวม้า ผ้าถุง ผ้านุ่ง ผ้าไหม ผ้าซิ่น คือจะไปซื้อห้างก็ไม่ได้ครอบคลุมทุกอย่างนะ ที่นี่มีความหลากหลายเยอะกว่า ลองใส่ได้ หลายสี หลายลาย หลายรุ่น หลายไซส์ อย่างช่วงงานตรุษจีน คนเข้ามาซื้อชุดจีน ชุดสีแดง ซื้อตรงนี้ปุ๊บก็ใส่เดินไปถ่ายรูปได้เลย แล้วเป็นเรื่อง human touch ด้วย เข้ามาพูดคุยกับอาเฮียอาเจ้ ร้านนี้รู้จักกันเดี๋ยวมาอุดหนุนหน่อย สังคมคนไทยยังมีความเอื้อเฟื้อ คุ้นเคยกัน หรือเวลามีกิจกรรมอะไร เราอุดหนุนคนในชุมชนเรา ซื้อแกงร้านนี้ ซื้อขนมร้านนี้ ซื้อน้ำร้านนี้ เป็นการกระจายรายได้ในชุมชน
สิ่งที่คนในชุมชนรวมทั้งเราด้วยอยากให้พัฒนา หนึ่ง) สภาพการจราจร ช่วงเช้ากับช่วงเย็นทุกวันคือรถติดมาก รางรถไฟก็อยู่ใจกลางเมือง พอรถไฟมา ก็ต้องรอรถไฟอีก สอง) อยากกระตุ้นเศรษฐกิจในชุมชน นายกเชน (ธีรรัตน์ จึงยิ่งเรืองรุ่ง นายกเทศมนตรีเมืองสระบุรี) ก็จัดกิจกรรมต่าง ๆ ขึ้นมา โซนเมืองของเราเป็นตรงกลางของการจัดงานเลย ไม่ว่าจะเป็นตรุษจีน สงกรานต์ ลอยกระทง มันอาจจะกระตุ้นเศรษฐกิจช่วงเทศกาล แต่ก็ยังดีกว่าไม่มีเลย หากมีการจัดงาน ประชาสัมพันธ์ให้คนเข้ามา ตรงนี้มีจุดเช็กอิน มีวัดโบราณ มีของกินอร่อย ๆ คือเขาจัดกิจกรรมอะไร คนในชุมชนพร้อมที่จะร่วมอยู่แล้วทุกครั้ง ทุกคนไม่อยากให้เมืองเงียบ และซบเซา”
#ชุมชนวัดศรีรตนาราม #เทศบาลเมืองสระบุรี #คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย #โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาดในระดับพื้นที่ #CIAP #บพท #wecitizens
พลังคน พลังโคมลำพูน: เมืองเล็ก ๆ ที่เปี่ยมไปด้วยพลังสร้างสรรค์ แม้ ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์ เป็นคนเชียงใหม่ เธอก็หาใช่เป็นคนอื่นคนไกลสำหรับชาวลำพูนเพราะก่อนจะเข้ามาขับเคลื่อนงานวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดกับเทศบาลเมืองลำพูน เธอได้ทำวิจัยเกี่ยวกับเมืองแห่งนี้มาหลายครั้ง โดยเฉพาะโครงการขับเคลื่อนเยาวชนเพื่อเตรียมพร้อมสู่การเป็นพลเมืองของเมืองแห่งการเรียนรู้ของ UNESCO ในปี 2566-2567 - นั่นล่ะ…
“เป็นสิ่งวิเศษที่สุด ที่ผ้าไหมของจังหวัดลำพูนได้ปรากฏต่อสายตาผู้คนทั้งในและต่างประเทศ ทั้งเมื่อครั้งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงให้การส่งเสริม และทรงฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญต่าง ๆ และกระทั่งในปัจจุบัน สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 10 ก็ทรงส่งเสริมผ้าไหมไทย และฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญเช่นกัน ดิฉันเป็นคนลำพูน มีความภูมิใจในงานหัตถศิลป์การทอผ้าไหมยกดอกนี้มาก ๆ และตั้งใจจะรักษามรดกทางวัฒนธรรม ทำหน้าที่ส่งต่อถึงคนรุ่นต่อไป…
“ความที่โตมาในลำพูน เราตระหนักดีว่าเมืองเรามีต้นทุนทางวัฒนธรรมที่สูงมาก ทั้งยังมีบรรยากาศที่น่าอยู่ อย่างไรก็ดี อาจเพราะเป็นเมืองขนาดเล็ก ลำพูนมักถูกมองข้ามจากแผนการพัฒนาของประเทศ เป็นเหมือนเมืองที่มีศักยภาพ แต่ยังไม่ถูกปลุกให้ตื่นความที่เราเคยทำงานที่ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (ปัจจุบันคือสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA - ผู้เรียบเรียง) ได้เห็นตัวอย่างความสำเร็จของกระบวนการพัฒนาย่านด้วยกรอบพื้นที่สร้างสรรค์ในหลายพื้นที่…
“ผมเป็นคนลำพูน และชอบทำกิจกรรมนอกห้องเรียนมาตั้งแต่เด็ก ปัจจุบันเป็นประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดลำพูน ควบคู่ไปกับกำลังศึกษาคณะรัฐศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จากประสบการณ์การทำงานในสภาฯ ทำให้ผมเห็นว่า เยาวชนลำพูนมีศักยภาพที่หลากหลาย แต่สิ่งที่ขาดไปคือเวทีที่เปิดโอกาสให้พวกเขาได้แสดงความสามารถและพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง นอกเหนือจากการสนับสนุนจากโรงเรียนหรือโครงการของภาคเอกชน ปี 2567 พี่อร (ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์…
“อาคารหลังนี้แต่ก่อนเป็นที่ประทับของเจ้าราชสัมพันธวงษ์ลำพูน (พุทธวงษ์ ณ เชียงใหม่) น้องเขยของเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าหลวงองค์สุดท้ายของลำพูน อาคารถูกสร้างขึ้นเมื่อปี 2455 หลังจากนั้นก็ถูกขายให้พ่อค้าชาวจีนไปทำเป็นโรงเรียนหวุ่นเจิ้ง สอนภาษาจีนและคณิตศาสตร์ โรงเรียนนี้เปิดได้ไม่นานก็ต้องปิด เพราะสมัยนั้นรัฐบาลเพ่งเล็งว่าอะไรที่เป็นของจีนจะเกี่ยวข้องกับลัทธิคอมมิวนิสต์ แต่หนูก็ไม่รู้หรอกว่าโรงเรียนนี้เกี่ยวข้องหรือเปล่า (ยิ้ม) จากนั้นอาคารก็ถูกเปลี่ยนมาเป็นโรงเรียนมงคลวิทยาในปี…
“เราโตมากับวัฒนธรรมของคนลำพูน ชอบไปเดินงานปอย ร่วมงานบุญ ก่อนหน้านี้ก็เคยทำงานรับจ้างทั่วไป จนเทศบาลฯ มาส่งเสริมเรื่องการทำโคม โดยมีสล่าจากชุมชนศรีบุญเรืองมาสอน เราก็ไปเรียนกับเขา ตอนนี้อาชีพหลักคือการทำโคม ทำมาได้ 2 ปีแล้ว สำหรับเรา โคมคืองานศิลปะ เป็นสัญลักษณ์และมรดกที่ยึดโยงกับวัฒนธรรมของคนบ้านเรา ตอนแรกเราไม่มีความคิดเลยว่ามันจะกลายมาเป็นอาชีพได้…