“ความที่โตมาในลำพูน เราตระหนักดีว่าเมืองเรามีต้นทุนทางวัฒนธรรมที่สูงมาก ทั้งยังมีบรรยากาศที่น่าอยู่ อย่างไรก็ดี อาจเพราะเป็นเมืองขนาดเล็ก ลำพูนมักถูกมองข้ามจากแผนการพัฒนาของประเทศ เป็นเหมือนเมืองที่มีศักยภาพ แต่ยังไม่ถูกปลุกให้ตื่น
ความที่เราเคยทำงานที่ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (ปัจจุบันคือสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA – ผู้เรียบเรียง) ได้เห็นตัวอย่างความสำเร็จของกระบวนการพัฒนาย่านด้วยกรอบพื้นที่สร้างสรรค์ในหลายพื้นที่ จึงย้อนกลับมามองบ้านเกิดเราว่าจริง ๆ เมืองเราก็เป็นแบบนั้นได้ โดยที่ผ่านมา เราก็ได้รับการสนับสนุนจากบริษัทเอกชนต่าง ๆ ในการประสานความร่วมมือกับชุมชนและคนรุ่นใหม่ในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ของเมือง
จุดเปลี่ยนที่สำคัญมาจากการที่บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ให้งบประมาณเรามาก้อนหนึ่ง อยากให้จัดงาน River Festival ในช่วงเทศกาลลอยกระทงปี 2562 เขามีชุดไฟและเครื่องเสียงระดับจัดเทศกาลดนตรีใหญ่ ๆ ได้สบายเลยมาให้ แต่ไม่มีทีมงานสร้างสรรค์ จากที่เราทำงานเมืองมาหลายโพรเจกต์ก่อนหน้า ก็เลยรวบรวมทีมเครือข่ายคนรุ่นใหม่และนักเรียนจากโรงเรียนในลำพูนมาช่วยกันจัดงานนี้ ตั้งแต่การเก็บขยะ เคลียร์พื้นที่ ดูแลต้นไม้ริมน้ำ และออกแบบทิศทางของแสง สี และเสียง เพื่อให้ขับเน้นความงามของภูมิทัศน์แม่น้ำยามค่ำคืน เว้นก็แค่ช่างเทคนิคจากกรุงเทพฯ ทีมงานที่จัด River Festival คือคนลำพูนทั้งหมด
งานในปีนั้นไม่เพียงประสบความสำเร็จด้วยดี แต่ทำให้เราเห็นความหวังในการปลุกเมืองที่หลับใหลเมืองนี้ ให้ตื่นขึ้นจากความร่วมแรงของคนรุ่นใหม่ ซึ่งพอเป็นแบบนั้น เราจึงคิดว่าเมืองมันต้องมีกลไกที่เป็นทางการมาขับเคลื่อน จึงเป็นที่มาของการก่อตั้ง ลำพูน ซิตี้ แลป (Lamphun City Lab) ในปีเดียวกัน
นี่คือกลุ่มของคนทำงานเพื่อพัฒนาเมืองลำพูน ซึ่งประกอบไปด้วย นักกิจกรรม นักออกแบบ สถาปนิก และอื่น ๆ ทำหน้าที่เป็น Think Tank ที่ประสานงานร่วมกับภาครัฐและเอกชน ช่วยเติมเต็มสิ่งที่เมืองขาด อาทิ การออกแบบเทศกาลให้เชื่อมโยงกับคนในพื้นที่ หรือการผลักดันให้ชุมชนมีบทบาทในกิจกรรมของภาครัฐ โดยเน้นบทบาทของนักสร้างสรรค์รุ่นใหม่ เป็นต้น เราหวังจะทำให้โมเดลนี้เป็นวิสาหกิจเพื่อสังคมในอนาคต ไม่ใช่กลุ่มที่ตั้งขึ้นมาเฉพาะกิจแล้วก็แยกย้ายกันไป
สำนักงานเราอยู่ที่ Temple House คาเฟ่และแกลเลอรีที่ ดร.สิงห์ อินทรชูโต หนึ่งในผู้ก่อตั้ง รีโนเวตจากอาคารพาณิชย์เก่าหลังวัดพระธาตุหริภุญชัย ด้วยทำเลที่อยู่กลางเมือง และมีรูปแบบคล้ายห้องรับแขกของเมืองด้วย เราใช้ที่นี่เป็นที่จัดประชุมเครือข่ายคนลำพูนต่าง ๆ มาร่วมกันคิด ร่วมกันทำ โดยโฟกัสที่ลำพูนทั้งจังหวัด แต่ช่วงแรกก็เริ่มที่ตัวเมืองในเขตเทศบาลก่อน แล้วค่อยขยับขยายกันไป
เราทำโครงการกันหลากหลาย ตั้งแต่นิทรรศการที่ใช้พื้นที่โกดังร้างกลางเมืองมาเป็นที่จัดงาน นิทรรศการเกี่ยวกับจินตภาพเมืองลำพูนที่คนอยากเห็น โครงการส่งเสริมการเดินเท้า กิจกรรมส่งเสริมนิเวศศิลปะและหัตถกรรมร่วมสมัย ไปจนถึงการร่วมกับเทศบาลฯ ออกแบบกิจกรรมในเทศกาลโคมแสนดวง เพื่อดึงดูดให้นักท่องเที่ยวจับจ่ายในเมืองเราช่วงเทศกาลให้นานขึ้น หรือล่าสุดกับการชวนเครือข่ายชุมชนมาร่วมกันกำหนดทิศทางการใช้งานอาคารศาลากลางหลังเก่า เป็นต้น
ถามว่าเราเอาเงินจากไหนมาจัดกิจกรรม ส่วนสำคัญเลยคือ ลำพูน ซิตี้ แลป ยังรับเป็นที่ปรึกษาให้กับบริษัทเอกชนในการทำ CSR ต่าง ๆ เราก็นำรายได้ส่วนนี้มาขับเคลื่อนกิจกรรม ซึ่งส่วนหนึ่งเราก็ชวนบริษัทเอกชนเหล่านั้น มาซัปพอร์ตกิจกรรมที่เกิดในเมืองลำพูนด้วย จึงได้ประโยชน์กันทั้งสองทาง
ถามว่าอยากเห็นลำพูน ‘ตื่น’ อย่างไร จริง ๆ คำถามนี้น่าจะไปถามคนรุ่นใหม่มากกว่านะครับ (ยิ้ม) แต่ส่วนตัวผมก็มองไม่ต่างจากคนอื่นเท่าไหร่ ก็อยากเห็นบ้านเกิดเราเป็นเมืองที่น่าอยู่ เป็นเมืองที่คนอยากมาอยู่ ใครอยากมาเที่ยวก็มา เรายินดีต้อนรับ แต่ที่สำคัญที่สุดคือ เราอยากให้คนลำพูนมีความสุข และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ส่วนตัวผมเป็นคนที่นี่ ผมเลยเชื่อว่าถ้าคนที่นี่มีความสุข คนที่มาเที่ยวหรือคนที่มาอยู่ ก็ต้องมีความสุข”
https://www.facebook.com/lamphuncitylab
#lamphuncitylab #เทศบาลเมืองลำพูน #มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ #CIAP #โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่การเป็นเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด #บพท #pmua #wecitizens
“การจะพัฒนาเมือง ไม่ใช่แค่เรื่องสาธารณูปโภคแต่ต้องพุ่งเป้าไปที่พัฒนาคนและไม่มีเครื่องมือไหนจะพัฒนาคนได้ดีไปกว่า การศึกษา” “แม้เทศบาลนครเชียงรายจะเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ของยูเนสโกแห่งแรกของไทยในปี 2562 แต่การเตรียมเมืองเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ว่านี้ เกิดขึ้นก่อนหน้านั้นหลายสิบปี ในอดีต เชียงรายเป็นเมืองที่ห่างไกลความเจริญ ทางเทศบาลฯ เล็งเห็นว่าการจะพัฒนาเมือง ไม่สามารถทำได้แค่การทำให้เมืองมีสาธารณูปโภคครบ แต่ต้องพัฒนาผู้คนที่เป็นหัวใจสำคัญของเมือง และไม่มีเครื่องมือไหนจะพัฒนาคนได้ดีไปกว่า ‘การศึกษา’…
“ถ้าอาหารปลอดภัยเป็นทางเลือกหลักของผู้บริโภคเชียงรายจะเป็นเมืองที่น่าอยู่กว่านี้อีกเยอะ” “นอกจากบทบาทของการพัฒนาชุมชนและสังคมสงเคราะห์ กองสวัสดิการสังคม เทศบาลนครเชียงราย ยังมีกลไกในการส่งเสริมเศรษฐกิจของพี่น้อง 65 ชุมชน ภายในเขตเทศบาลฯ โดยกลไกนี้ครอบคลุมการส่งเสริมสุขภาพ และช่วยดูแลสิ่งแวดล้อมในทางอ้อมด้วยกลไกที่ว่าคือ ‘สหกรณ์นครเชียงราย’ โดยสหกรณ์ฯ นี้เริ่มต้นมาตั้งแต่ปี 2560 หลักเราคือการสนับสนุนเศรษฐกิจชุมชน…
“แม่อยากปลูกผักปลอดภัยให้ตัวเองและคนในเมืองกินไม่ใช่ปลูกผักเพื่อส่งขาย แต่คนปลูกไม่กล้ากินเอง” “บ้านป่างิ้ว ตั้งอยู่ละแวกสวนสาธารณะหาดนครเชียงราย เราและชุมชนฮ่องลี่ที่อยู่ข้างเคียงเป็นชุมชนเกษตรที่ปลูกพริก ปลูกผักไปขายตามตลาดมาแต่ไหนแต่ไร กระทั่งราวปี 2548 สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองเชียงราย มาส่งเสริมให้ทำเกษตรปลอดภัย คนในชุมชนก็เห็นด้วย เพราะอยากทำให้สิ่งที่เราปลูกมันกินได้จริง ๆ ไม่ใช่ว่าเกษตรกรปลูกแล้วส่งขาย แต่ไม่กล้าเก็บไว้กินเองเพราะกลัวยาฆ่าแมลงที่ตัวเองใส่…
“วิวเมืองเชียงรายจากสกายวอล์กสวยมาก ๆขณะที่ผืนป่าชุมชนของที่นี่ก็มีความอุดมสมบูรณ์จนไม่น่าเชื่อว่านี่คือป่าที่อยู่ในตัวเมืองเชียงราย” “ก่อนหน้านี้เราเป็นพนักงานบริษัทเอกชนที่ต่างจังหวัด จนเทศบาลนครเชียงรายเขาเปิดสกายวอล์กที่ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนดอยสะเก็น และหาพนักงานนำชม เราก็เลยกลับมาสมัคร เพราะจะได้กลับมาอยู่บ้านด้วย ตรงนี้มีหอคอยชมวิวอยู่แล้ว แต่เทศบาลฯ อยากทำให้ที่นี่เป็นแหล่งท่องเที่ยว ก็เลยต่อขยายเป็นสกายวอล์กอย่างที่เห็น ซึ่งสุดปลายของมันยังอยู่ใกล้กับต้นยวนผึ้งเก่าแก่ที่มีผึ้งหลวงมาทำรังหลายร้อยรัง รวมถึงยังมีเส้นทางศึกษาธรรมชาติบนภูเขา ในป่าชุมชนผืนนี้ จริง…
“ไม่ว่าเชียงรายจะพัฒนาสู่เมืองในนิยามใดเป้าหมายเหล่านี้จะเกิดขึ้นไม่ได้เลย ถ้าผู้คนไม่รู้จักเรียนรู้ต้นทุนของเมือง และไม่รู้จักปรับตัวรับกับการเปลี่ยนแปลง” “เวลาพูดถึงเครื่องมือการพัฒนาเมือง ความยากของเชียงรายคือ เราต้องรับมือกับความท้าทายหลายมิติ และไม่อาจละทิ้งประเด็นใดได้เลย เชียงรายเป็นเมืองท่องเที่ยวเชิงศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ (Brown City) ที่กำลังเผชิญปัญหาเศรษฐกิจซบเซาเหมือนหลายเมืองทั่วประเทศ ขณะเดียวกันก็ต้องรับมือกับสังคมสูงวัย (Silver City) รวมถึงภัยคุกคามด้านสิ่งแวดล้อม…
“เราหวังให้ที่นี่เป็นมากกว่าห้องสมุดแต่เป็นพื้นที่กลางให้ผู้คนทุกช่วงวัยได้มีความสุขร่วมกัน” “ห้องสมุดเสมสิกขาลัย เกิดจากดำริของ ศ. นพ.เสม พริ้งพวงแก้ว นายแพทย์คนสำคัญผู้บุกเบิกการแพทย์ชนบท และผู้ร่วมจัดทำแผนสาธารณสุขแห่งชาติ ห้องสมุดแห่งนี้ตั้งอยู่บนที่ดินของท่านซึ่งมอบให้เทศบาลนครเชียงรายนำไปใช้เป็นสาธารณประโยชน์ห้องสมุดเปิดเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2556 ซึ่งตรงกับวันคล้ายวันเกิดของท่าน (เกิดปี 2454…