[THE CITIZENS นครปากเกร็ด] กาญจนาภา กลิ่นละออ ผู้อำนวยการโรงเรียนผาสุกมณีจักรมิตรภาพที่ 116

“สำหรับครู ปากเกร็ดเป็นเมืองที่น่าอยู่เสมอมา และครูก็ภูมิใจที่โรงเรียนของเราเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยส่งเสริมให้เมืองมีความน่าอยู่มากขึ้น

โรงเรียนผาสุกมณีจักรมิตรภาพที่ 116 ก่อตั้งขึ้นจากความตั้งใจของคุณผาสุก มณีจักร ที่อยากขยายโอกาสทางการศึกษาให้แก่เด็ก ๆ ชาวปากเกร็ด ท่านจึงบริจาคที่ดินสำหรับตั้งโรงเรียน ก่อนที่ทางหน่วยงานราชการและชาวบ้านจะร่วมกันสมทบทุนในการสร้างอาคาร โดยคำว่า ‘มิตรภาพ’ ในชื่อโรงเรียน จึงสะท้อนถึงความร่วมมือของคนในพื้นที่

นอกจากเรื่องวิชาการ โรงเรียนของเราให้ความสำคัญกับการเรียนรู้นอกห้องเรียน และทักษะการใช้ชีวิต เรามีโครงการสวนสมุนไพรที่เด็ก ๆ ได้เรียนรู้การปลูกพืช ขายผลผลิต และรู้จักการพึ่งพาตัวเอง เราสนับสนุนศิลปะท้องถิ่น เช่น การปั้นดินของปากเกร็ด เพื่อให้เด็ก ๆ รู้จักรากเหง้าของเมืองที่พวกเขาเติบโตมา

การสร้างความตระหนักรู้ให้แก่เด็ก ๆ เรื่องความปลอดภัยก็เป็นเรื่องสำคัญ อย่างที่ทราบกันว่าปากเกร็ดเป็นเมืองที่ติดแม่น้ำเจ้าพระยา เด็ก ๆ จึงต้องเรียนรู้วิธีดูแลตัวเองในเบื้องต้น เราได้ร่วมมือกับเทศบาลนครปากเกร็ด พัฒนาหลักสูตรป้องกันภัยพิบัติ สอนให้เด็ก ๆ เอาตัวรอดจากน้ำท่วม ฝึกการใส่ชูชีพ เรียนรู้การอพยพอย่างปลอดภัย แม้เราไม่มีสระว่ายน้ำ แต่เราสอนให้พวกเขารู้ว่าในชุมชนสามารถเรียนว่ายน้ำได้ที่ไหน และควรทำอย่างไรเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน

นอกจากภัยพิบัติ เรายังให้ความรู้เรื่องสิ่งแวดล้อม เราทำวิจัยร่วมกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เกี่ยวกับฝุ่นละอองในเมืองใหญ่ และนำความรู้นี้มาสร้างความตระหนักให้กับเด็ก ๆ ถ้าถามว่าโรงเรียนช่วยทำให้เมืองปากเกร็ดน่าอยู่ขึ้นอย่างไร? คำตอบของครูคือ เราสร้างเด็กที่เข้าใจชุมชน ใส่ใจสิ่งแวดล้อม และพร้อมเป็นกำลังสำคัญของเมือง

ในอนาคต ครูอยากให้โรงเรียนก้าวไปอีกขั้น ใช้เทคโนโลยี Metaverse ในการเรียนรู้เรื่องภัยพิบัติ ให้เด็กได้ลองเผชิญสถานการณ์จำลองผ่านโลกเสมือน ก่อนจะฝึกปฏิบัติจริง ถ้าเราเตรียมเด็ก ๆ ให้พร้อมกับโลกที่เปลี่ยนแปลง เมืองของเราก็จะน่าอยู่และมั่นคงขึ้นในระยะยาว

#เทศบาลนครปากเกร็ด #CIAP #โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่การเป็นเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด #PMUA #บพท #Wecitizens

Wecitizens Editor

Recent Posts

[The Insider]<br />พัชรี แซมสนธ์

“เมืองอาหารปลอดภัยไม่ได้ให้ประโยชน์แค่เฉพาะผู้คนในเขตเทศบาลฯแต่มันสามารถเป็นต้นแบบให้เมืองอื่น ๆ ที่อยากส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้คนได้เช่นกัน” “งานประชุมนานาชาติของสมาคมพืชสวนโลก (AIPH Spring Meeting Green City Conference 2025) ที่เชียงรายเป็นเจ้าภาพเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2568 ที่ผ่านมา เน้นย้ำถึงทิศทางการพัฒนาเมืองสีเขียว…

3 weeks ago

[The Insider]<br />พรทิพย์ จันทร์ตระกูล

“ทั้งพื้นที่การเรียนรู้ นโยบายเมืองอาหารปลอดภัย และโรงเรียนสำหรับผู้สูงวัยคือสารตั้งต้นที่จะทำให้เชียงรายเป็นเมืองแห่งสุขภาพ (Wellness City)” “กล่าวอย่างรวบรัด ภารกิจของกองการแพทย์ เทศบาลนครเชียงราย คือการทำให้ประชาชนไม่เจ็บป่วย หรือถ้าป่วยแล้วก็ต้องมีกระบวนการรักษาที่เหมาะสม ครบวงจร ที่นี่เราจึงมีครบทั้งงานส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค การรักษาเมื่อเจ็บป่วย และระบบดูแลต่อเนื่องถึงบ้าน…

3 weeks ago

[The Insider]<br />ณรงค์ศักดิ์ เตือนสกุล

“การจะพัฒนาเมือง ไม่ใช่แค่เรื่องสาธารณูปโภคแต่ต้องพุ่งเป้าไปที่พัฒนาคนและไม่มีเครื่องมือไหนจะพัฒนาคนได้ดีไปกว่า การศึกษา” “แม้เทศบาลนครเชียงรายจะเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ของยูเนสโกแห่งแรกของไทยในปี 2562 แต่การเตรียมเมืองเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ว่านี้ เกิดขึ้นก่อนหน้านั้นหลายสิบปี ในอดีต เชียงรายเป็นเมืองที่ห่างไกลความเจริญ ทางเทศบาลฯ เล็งเห็นว่าการจะพัฒนาเมือง ไม่สามารถทำได้แค่การทำให้เมืองมีสาธารณูปโภคครบ แต่ต้องพัฒนาผู้คนที่เป็นหัวใจสำคัญของเมือง และไม่มีเครื่องมือไหนจะพัฒนาคนได้ดีไปกว่า ‘การศึกษา’…

3 weeks ago

[The Insider]<br />นนทพัฒ ถปะติวงศ์

“ถ้าอาหารปลอดภัยเป็นทางเลือกหลักของผู้บริโภคเชียงรายจะเป็นเมืองที่น่าอยู่กว่านี้อีกเยอะ” “นอกจากบทบาทของการพัฒนาชุมชนและสังคมสงเคราะห์ กองสวัสดิการสังคม เทศบาลนครเชียงราย ยังมีกลไกในการส่งเสริมเศรษฐกิจของพี่น้อง 65 ชุมชน ภายในเขตเทศบาลฯ โดยกลไกนี้ครอบคลุมการส่งเสริมสุขภาพ และช่วยดูแลสิ่งแวดล้อมในทางอ้อมด้วยกลไกที่ว่าคือ ‘สหกรณ์นครเชียงราย’ โดยสหกรณ์ฯ นี้เริ่มต้นมาตั้งแต่ปี 2560 หลักเราคือการสนับสนุนเศรษฐกิจชุมชน…

3 weeks ago

[The Citizens]<br />ชวนพิศ สุริยวงค์

“แม่อยากปลูกผักปลอดภัยให้ตัวเองและคนในเมืองกินไม่ใช่ปลูกผักเพื่อส่งขาย แต่คนปลูกไม่กล้ากินเอง” “บ้านป่างิ้ว  ตั้งอยู่ละแวกสวนสาธารณะหาดนครเชียงราย เราและชุมชนฮ่องลี่ที่อยู่ข้างเคียงเป็นชุมชนเกษตรที่ปลูกพริก ปลูกผักไปขายตามตลาดมาแต่ไหนแต่ไร กระทั่งราวปี 2548 สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองเชียงราย มาส่งเสริมให้ทำเกษตรปลอดภัย คนในชุมชนก็เห็นด้วย เพราะอยากทำให้สิ่งที่เราปลูกมันกินได้จริง ๆ ไม่ใช่ว่าเกษตรกรปลูกแล้วส่งขาย แต่ไม่กล้าเก็บไว้กินเองเพราะกลัวยาฆ่าแมลงที่ตัวเองใส่…

3 weeks ago

[The Citizens]<br />กาญจนา ใจปา และพิทักษ์พงศ์ เชอมือ

“วิวเมืองเชียงรายจากสกายวอล์กสวยมาก ๆขณะที่ผืนป่าชุมชนของที่นี่ก็มีความอุดมสมบูรณ์จนไม่น่าเชื่อว่านี่คือป่าที่อยู่ในตัวเมืองเชียงราย” “ก่อนหน้านี้เราเป็นพนักงานบริษัทเอกชนที่ต่างจังหวัด จนเทศบาลนครเชียงรายเขาเปิดสกายวอล์กที่ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนดอยสะเก็น และหาพนักงานนำชม เราก็เลยกลับมาสมัคร เพราะจะได้กลับมาอยู่บ้านด้วย ตรงนี้มีหอคอยชมวิวอยู่แล้ว แต่เทศบาลฯ อยากทำให้ที่นี่เป็นแหล่งท่องเที่ยว ก็เลยต่อขยายเป็นสกายวอล์กอย่างที่เห็น ซึ่งสุดปลายของมันยังอยู่ใกล้กับต้นยวนผึ้งเก่าแก่ที่มีผึ้งหลวงมาทำรังหลายร้อยรัง รวมถึงยังมีเส้นทางศึกษาธรรมชาติบนภูเขา ในป่าชุมชนผืนนี้ จริง…

3 weeks ago