[THE CITIZENS นครปากเกร็ด] มังกร ช้อนแก้ว ผู้อำนวยการส่วนช่างสุขาภิบาล เทศบาลนครปากเกร็ด

“คลองในพื้นที่ปากเกร็ดเป็นทั้งคลองดั้งเดิมและคลองที่ขุดขึ้นใหม่ ปัจจุบันมีทั้งหมด 17 คลอง รวมถึงลำราง ลำกระโดง และคูน้ำจำนวนหนึ่ง การดูแลพื้นที่ดังกล่าวเป็นงานที่ซับซ้อน เนื่องจากคลองบางแห่งมีปัญหาด้านกายภาพ ส่งผลกระทบต่อการไหลของน้ำและการป้องกันน้ำท่วม

คลองบางพูดเป็นหนึ่งในคลองที่มีปัญหาหนักที่สุด โดยเฉพาะบริเวณใกล้ถนนแจ้งวัฒนะ เนื่องจากคลองมีลักษณะคดเคี้ยวและอยู่ติดกับบ้านเรือนประชาชน อีกทั้งประตูระบายน้ำบางแห่งยังชำรุด ส่งผลให้การควบคุมระดับน้ำเป็นไปได้ยาก เราจึงต้องเฝ้าระวังคุณภาพน้ำอย่างใกล้ชิด โดยตรวจสอบค่า DO (ค่าออกซิเจนละลายน้ำ), BOD (ปริมาณออกซิเจนที่จุลินทรีย์ใช้ย่อยสลายสารอินทรีย์), SS (ของแข็งขนาดเล็กแขวนลอยอยู่ในน้ำ), ไนโตรเจน และฟอสฟอรัส เพื่อป้องกันปัญหาน้ำเน่าเสีย ทั้งนี้ แนวทางแก้ไขปัจจุบันคือการนำน้ำจากคลองที่มีคุณภาพดีเข้ามาปรับปรุงคุณภาพน้ำในคลองบางพูด

ในส่วนของแนวทางป้องกันอุทกภัย เทศบาลนครปากเกร็ดเรามีสถานีสูบน้ำ 58 แห่ง และแนวป้องกันน้ำท่วมที่ประกอบด้วยกระสอบทรายและคันดิน ระยะทางกว่า 10 กิโลเมตร อย่างไรก็ตาม โครงสร้างท่อระบายน้ำยังเป็นปัญหาสำคัญ เนื่องจากไม่มีข้อมูลแน่ชัดเกี่ยวกับทิศทางการไหลของน้ำ การสำรวจปัจจุบันยังใช้วิธีเปิดฝาท่อและใช้เหล็กจิ้มตรวจสอบการอุดตัน ซึ่งเป็นกระบวนการที่ล่าช้าและไม่มีประสิทธิภาพนัก

ด้วยเหตุนี้ เราจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องประสานงานวิจัยด้านข้อมูลเข้ากับแนวทางการรับมือกับภัยพิบัติของเมือง โดยในอนาคต แผนพัฒนาระบบระบายน้ำจะเน้นการสำรวจและจัดทำฐานข้อมูลเกี่ยวกับขนาดและทิศทางของท่อ ซึ่งจะช่วยให้สามารถวางแผนการจัดการน้ำได้อย่างแม่นยำขึ้น รวมถึงกำหนดจุดเสี่ยงที่ต้องดำเนินการลอกท่อและซ่อมแซมล่วงหน้า เพราะหัวใจของการรับมือน้ำท่วม คือการจัดการข้อมูล และเตรียมทางระบายน้ำให้พร้อม ซึ่งปัจจุบันเราได้มีการเริ่มต้นเก็บข้อมูลเพื่อใช้ในการวางแผนระยะยาวแล้ว

ที่ผ่านมา พื้นที่ปากเกร็ดเคยประสบปัญหาน้ำท่วมหนัก โดยเฉพาะบริเวณโรงพักและย่านศรีสมาน การแก้ไขปัญหาเริ่มจากการศึกษาลักษณะภูมิประเทศเพื่อทำความเข้าใจทิศทางการไหลของน้ำ หลังจากวิเคราะห์ข้อมูลแล้ว ได้มีการขยายช่องรับน้ำเพื่อลดอัตราการไหลของน้ำที่ท่วมขัง และติดตั้งเครื่องสูบน้ำเพิ่มเติม ทำให้สถานการณ์ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

แม้ปัจจุบันสถานการณ์น้ำท่วมจะถูกควบคุมได้ดีขึ้น แต่ยังต้องพัฒนาในระยะยาว โดยเฉพาะการติดตั้งระบบตรวจสอบอัตโนมัติ ที่สามารถระบุได้ว่าท่ออุดตันกี่เปอร์เซ็นต์ เพื่อให้สามารถลอกท่อและซ่อมแซมได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ การจัดการข้อมูลท่อและระบบระบายน้ำจะช่วยให้สามารถวางแผนเชิงรุกและรับมือกับปัญหาน้ำท่วมได้ดียิ่งขึ้น ในระยะสั้นจะเน้นแก้ไขจุดเสี่ยงก่อนฤดูฝน ส่วนในระยะยาวจะต้องมีการบำรุงรักษาระบบน้ำอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี”

#เทศบาลนครปากเกร็ด #CIAP #โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่การเป็นเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด #PMUA #บพท #Wecitizens

Wecitizens Editor

Recent Posts

[THE RESEARCHER]<br />ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์<br />หัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด เทศบาลเมืองลำพูน<br />นักวิจัยจากสถาบันวิจัยพหุศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

พลังคน พลังโคมลำพูน: เมืองเล็ก ๆ ที่เปี่ยมไปด้วยพลังสร้างสรรค์ แม้ ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์ เป็นคนเชียงใหม่ เธอก็หาใช่เป็นคนอื่นคนไกลสำหรับชาวลำพูนเพราะก่อนจะเข้ามาขับเคลื่อนงานวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดกับเทศบาลเมืองลำพูน เธอได้ทำวิจัยเกี่ยวกับเมืองแห่งนี้มาหลายครั้ง โดยเฉพาะโครงการขับเคลื่อนเยาวชนเพื่อเตรียมพร้อมสู่การเป็นพลเมืองของเมืองแห่งการเรียนรู้ของ UNESCO ในปี 2566-2567 - นั่นล่ะ…

1 week ago

[THE CITIZENS]<br />ปริยาพร วีระศิริ<br />เจ้าของแบรนด์ผ้าไหม “อภิรมย์ลำพูน”

“เป็นสิ่งวิเศษที่สุด ที่ผ้าไหมของจังหวัดลำพูนได้ปรากฏต่อสายตาผู้คนทั้งในและต่างประเทศ ทั้งเมื่อครั้งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงให้การส่งเสริม และทรงฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญต่าง ๆ และกระทั่งในปัจจุบัน สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 10 ก็ทรงส่งเสริมผ้าไหมไทย และฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญเช่นกัน ดิฉันเป็นคนลำพูน มีความภูมิใจในงานหัตถศิลป์การทอผ้าไหมยกดอกนี้มาก ๆ   และตั้งใจจะรักษามรดกทางวัฒนธรรม   ทำหน้าที่ส่งต่อถึงคนรุ่นต่อไป…

2 weeks ago

[THE CITIZENS]<br />ไชยยง รัตนอังกูร<br />ผู้ก่อตั้ง ลำพูน ซิตี้ แลป

“ความที่โตมาในลำพูน เราตระหนักดีว่าเมืองเรามีต้นทุนทางวัฒนธรรมที่สูงมาก ทั้งยังมีบรรยากาศที่น่าอยู่ อย่างไรก็ดี อาจเพราะเป็นเมืองขนาดเล็ก ลำพูนมักถูกมองข้ามจากแผนการพัฒนาของประเทศ เป็นเหมือนเมืองที่มีศักยภาพ แต่ยังไม่ถูกปลุกให้ตื่นความที่เราเคยทำงานที่ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (ปัจจุบันคือสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA - ผู้เรียบเรียง) ได้เห็นตัวอย่างความสำเร็จของกระบวนการพัฒนาย่านด้วยกรอบพื้นที่สร้างสรรค์ในหลายพื้นที่…

2 weeks ago

[THE CITIZENS]<br />ธีรธรรม เตชฤทธ์<br />ประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดลำพูน

“ผมเป็นคนลำพูน และชอบทำกิจกรรมนอกห้องเรียนมาตั้งแต่เด็ก ปัจจุบันเป็นประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดลำพูน ควบคู่ไปกับกำลังศึกษาคณะรัฐศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จากประสบการณ์การทำงานในสภาฯ ทำให้ผมเห็นว่า เยาวชนลำพูนมีศักยภาพที่หลากหลาย แต่สิ่งที่ขาดไปคือเวทีที่เปิดโอกาสให้พวกเขาได้แสดงความสามารถและพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง นอกเหนือจากการสนับสนุนจากโรงเรียนหรือโครงการของภาคเอกชน ปี 2567 พี่อร (ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์…

2 weeks ago

[THE CITIZENS]<br />ชนัญชิดา บุณฑริกบุตร<br />ผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์ชุมชนเมืองลำพูน

“อาคารหลังนี้แต่ก่อนเป็นที่ประทับของเจ้าราชสัมพันธวงษ์ลำพูน (พุทธวงษ์ ณ เชียงใหม่) น้องเขยของเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าหลวงองค์สุดท้ายของลำพูน อาคารถูกสร้างขึ้นเมื่อปี 2455 หลังจากนั้นก็ถูกขายให้พ่อค้าชาวจีนไปทำเป็นโรงเรียนหวุ่นเจิ้ง สอนภาษาจีนและคณิตศาสตร์ โรงเรียนนี้เปิดได้ไม่นานก็ต้องปิด เพราะสมัยนั้นรัฐบาลเพ่งเล็งว่าอะไรที่เป็นของจีนจะเกี่ยวข้องกับลัทธิคอมมิวนิสต์ แต่หนูก็ไม่รู้หรอกว่าโรงเรียนนี้เกี่ยวข้องหรือเปล่า (ยิ้ม)  จากนั้นอาคารก็ถูกเปลี่ยนมาเป็นโรงเรียนมงคลวิทยาในปี…

2 weeks ago

[THE CITIZENS]<br />นงเยาว์ ชัยพรหม<br />คนทำโคมจากชุมชนชัยมงคล

“เราโตมากับวัฒนธรรมของคนลำพูน ชอบไปเดินงานปอย ร่วมงานบุญ ก่อนหน้านี้ก็เคยทำงานรับจ้างทั่วไป จนเทศบาลฯ มาส่งเสริมเรื่องการทำโคม โดยมีสล่าจากชุมชนศรีบุญเรืองมาสอน เราก็ไปเรียนกับเขา ตอนนี้อาชีพหลักคือการทำโคม ทำมาได้ 2 ปีแล้ว  สำหรับเรา โคมคืองานศิลปะ เป็นสัญลักษณ์และมรดกที่ยึดโยงกับวัฒนธรรมของคนบ้านเรา ตอนแรกเราไม่มีความคิดเลยว่ามันจะกลายมาเป็นอาชีพได้…

2 weeks ago