“สำหรับเรา ปากเกร็ดเป็นภาพสะท้อนของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในภาพใหญ่ได้ดี
เรามาอยู่ที่นี่เมื่อสี่สิบกว่าปีที่แล้ว ตอนนั้นเมืองยังไม่พลุกพล่าน สงบ อากาศดี และผู้คนในชุมชนก็รู้จักกันหมด เป็นเพื่อนบ้านที่ดี แต่พอเมืองขยายขึ้น สิ่งที่ตามมาคือมลภาวะอย่าง PM 2.5 ปัญหาขยะ หรือน้ำขังแบบเมืองใหญ่ ๆ ซึ่งเมื่อเมืองยิ่งขยาย ก็ยิ่งเห็นชัดว่าปัญหาโลกร้อน หรือโลกรวนเนี่ย เป็นเรื่องจริง ไม่ใช่เรื่องไกลตัว และที่สำคัญ มันมีท่าทีที่หนักขึ้นเรื่อย ๆ หาได้ทุเลาลงเลย
เราชื่นชมความตั้งใจของเทศบาลนครปากเกร็ดในการดูแลประชาชน คือปัญหานี้เป็นกันทุกเมืองและทุกประเทศ แต่เทศบาลเราเขาก็พยายามทำแผนไว้ตั้งรับ ตั้งแต่การตั้งจุดเฝ้าระวัง มีเครื่องตรวจจับปริมาณฝุ่นควันและระดับน้ำ การพัฒนาสาธารณูปโภคและพื้นที่สีเขียว รวมถึงการร่วมมือกับนักวิจัยในการสร้างเครื่องมือเพื่อช่วยกระตุ้นความตระหนักรู้เกี่ยวกับปัญหาตั้งแต่เยาวชน ซึ่งข้อหลังนี้ช่วยบรรเทาปัญหาตั้งแต่ต้นทาง เพราะถ้าคนส่วนใหญ่ตระหนักในปัญหา เขาก็พยายามจะไม่เป็นส่วนหนึ่งของการสร้างปัญหาในอนาคต
อย่างไรก็ตาม อีกข้อดีที่เราคิดว่าปากเกร็ดยังคงเป็นเมืองที่น่าอยู่คือ ถึงแม้เมืองเราจะขยายไปมาก แต่ก็ยังรักษาเสน่ห์ความเป็นชุมชนเมืองได้อยู่ ในชุมชนเราเองก็ยังมีความเป็นเพื่อนบ้านที่เอื้ออาทรต่อกัน รวมถึงการสร้างการมีส่วนร่วมในกิจกรรมเมืองหรือประเพณีต่าง ๆ ไม่ว่าจะลอยกระทง งานปักสไบมอญ และอื่น ๆ
เรารู้สึกภูมิใจที่อย่างน้อยปากเกร็ดก็ยังมีรากวัฒนธรรมที่ยังคงสืบสานกันอยู่ ถึงเราไม่ใช่คนดั้งเดิม ไม่ได้มีเชื้อสายมอญ แต่เราก็รู้สึกดีใจที่ได้มีส่วนร่วมในวัฒนธรรมของท้องถิ่น นี่คืออีกหนึ่งเสน่ห์ที่ทำให้ปากเกร็ดเป็นเมืองน่าอยู่”
#เทศบาลนครปากเกร็ด #CIAP #โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่การเป็นเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด #PMUA #บพท #Wecitizens
เมื่อความเสี่ยงจากภัยพิบัติกลายมาเป็นต้นทุนของเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด จริงอยู่ที่การเป็นเมืองติดแม่น้ำซึ่งเผชิญกับความเสี่ยงด้านอุทกภัยจะดูไกลห่างจากความเป็น “เมืองน่าอยู่” กระนั้น เทศบาลนครปากเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ก็นำสิ่งที่ถูกมองว่าเป็นจุดด้อย แปรเปลี่ยนเป็นต้นทุนสำคัญในการพัฒนาเมืองอย่างชาญฉลาด โครงการบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด และการพัฒนาความเป็นเลิศในการบริหารจัดการความเสี่ยงอุทกภัย เป็นโครงการที่เกิดจากความร่วมมือระหว่างเทศบาลนครปากเกร็ดและบพท. ในการจัดเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลเมือง (City Data…
น้ำเป็นทั้งพรและภัยของผู้คนในเทศบาลนครปากเกร็ด เมืองริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาเมืองนี้เติบโตมาจากหมู่บ้านชาวสวนในสมัยอยุธยา โดยสายน้ำไม่เพียงหล่อเลี้ยงชีวิต แต่ยังหลอมรวมวัฒนธรรมและภูมิปัญญาของชาวไทย จีน และมอญ เข้าด้วยกัน กลายเป็นอัตลักษณ์และรากฐานสำคัญของการพัฒนาเมืองจนถึงปัจจุบันแต่ดังที่กล่าว น้ำก็เป็นภัยคุกคามที่ไม่อาจมองข้าม ในพื้นที่ 36 ตารางกิโลเมตรของเทศบาลนครปากเกร็ด แนวริมน้ำยาวกว่า 15 กิโลเมตรคือแนวหน้าที่ชุมชนหลายสิบแห่งต้องเผชิญกับมวลน้ำมหาศาลของเจ้าพระยา…
WeCitizens สนทนากับ รศ. ดร.สมพร คุณวิชิต หัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด เทศบาลนครปากเกร็ด ถึง “โครงการบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดและการพัฒนาความเป็นเลิศในการบริหารจัดการความเสี่ยงอุทกภัยในพื้นที่เทศบาลนครปากเกร็ด” ที่เขาขับเคลื่อน ว่าด้วยจุดเริ่มต้นและเป้าหมายในการทำให้ปากเกร็ดเป็นเมืองต้นแบบของการจัดการภัยพิบัติในระดับนานาชาติ เทศบาลนครปากเกร็ดมีความพร้อมมากน้อยแค่ไหน และการจัดการน้ำท่วมส่งผลต่อการทำปากเกร็ดให้เป็นเมืองน่าอยู่ได้อย่างไร ไปติดตามกัน ก่อนอื่น…
“ป้าเป็นคนอ่างทอง แต่ย้ายมาเรียนที่กรุงเทพฯ ตั้งแต่ประถมฯ พอเรียนจบ ไม่อยากอยู่เมืองที่พลุกพล่าน น้ำท่วมบ่อย บ้านแพง เลยมองหาชานเมืองที่สงบและราคาจับต้องได้ จนมาเจอปากเกร็ด ชุมชนประชานิเวศน์ 2 ระยะ 3 เป็นบ้านจัดสรรของการเคหะ ตั้งอยู่เยื้อง…
“คลองในพื้นที่ปากเกร็ดเป็นทั้งคลองดั้งเดิมและคลองที่ขุดขึ้นใหม่ ปัจจุบันมีทั้งหมด 17 คลอง รวมถึงลำราง ลำกระโดง และคูน้ำจำนวนหนึ่ง การดูแลพื้นที่ดังกล่าวเป็นงานที่ซับซ้อน เนื่องจากคลองบางแห่งมีปัญหาด้านกายภาพ ส่งผลกระทบต่อการไหลของน้ำและการป้องกันน้ำท่วมคลองบางพูดเป็นหนึ่งในคลองที่มีปัญหาหนักที่สุด โดยเฉพาะบริเวณใกล้ถนนแจ้งวัฒนะ เนื่องจากคลองมีลักษณะคดเคี้ยวและอยู่ติดกับบ้านเรือนประชาชน อีกทั้งประตูระบายน้ำบางแห่งยังชำรุด ส่งผลให้การควบคุมระดับน้ำเป็นไปได้ยาก เราจึงต้องเฝ้าระวังคุณภาพน้ำอย่างใกล้ชิด…
“ผมเป็นคนสุพรรณบุรี มาได้ภรรยาที่เกาะเกร็ด เลยย้ายมาอยู่ที่นี่ตั้งแต่วัยรุ่น ทำอาชีพขับเรือรับส่งคนจากเกาะเกร็ดไปปากเกร็ดหรือเมืองนนท์บ้าง รับ-ส่งตามท่าเรือต่าง ๆ คล้ายกับวินมอเตอร์ไซค์นี่แหละมีเรือรับส่งทั้งหมด 14 ลำ คนขับทุกคนเป็นคนเกาะเกร็ด ในวันธรรมดา คนบนเกาะส่วนหนึ่งเขาจะเลือกเดินทางเข้าเมืองด้วยการนั่งเรือข้ามฟากที่ท่าวัดสนามเหนือ แล้วก็นั่งรถเมล์ หรือรถสาธารณะอื่น ๆ…