“เราเรียนจบมาด้านสิ่งแวดล้อม (ปริญญาตรีด้านวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม และปริญญาโทด้านวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ – ผู้เรียบเรียง) จบมาเราก็ได้งานเป็นนักวิชาการสิ่งแวดล้อมที่เทศบาลนครปากเกร็ด ซึ่งทำต่อเนื่องมา 7 ปีแล้ว
ถึงจะเป็นเมืองปริมณฑลขนาดใหญ่ แต่ปากเกร็ดก็ยังมีธรรมชาติที่สมดุล เมืองเราติดแม่น้ำเจ้าพระยา มีสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์เป็นพื้นที่สีเขียวขนาดใหญ่ และยังมีชุมชนที่ยังทำเกษตรกรรมอยู่โดยรอบ ซึ่งเป็นสิ่งที่หาได้ยากขึ้นทุกทีในเมืองใหญ่แบบนี้
แต่รากฐานที่ดีอย่างเดียวไม่พอ ต้องมีการต่อยอดด้วย เทศบาลนครปากเกร็ดจึงได้ร่วมกับภาคเอกชนและเครือข่ายภาคประชาชน ผลักดันให้เกิดโครงการอนุรักษ์ทุเรียนนนท์กว่า 60 สายพันธุ์ที่สวนสมเด็จฯ มีการปรับพื้นที่ริมน้ำให้เป็นจุดพักผ่อนของคนเมือง และพัฒนาระบบจัดการขยะในชุมชนให้เป็นวงจรที่ยั่งยืน รวมถึงแผนการอย่างรอบด้านในการรับมือกับปัญหาน้ำท่วมขังที่เป็นความท้าทายหลักที่เมืองติดน้ำของเราเผชิญมาตลอด
ด้วยต้นทุนและการต่อยอดเหล่านี้ ทำให้ปากเกร็ดกลายเป็นเมืองที่ครบเกณฑ์ของเมืองสิ่งแวดล้อมยั่งยืน ไม่ว่าจะเป็น เมืองอยู่ดี คนมีสุข สิ่งแวดล้อมดี และเป็นเมืองที่บริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตอนที่ได้รับมอบหมายให้ประเมินเพื่อส่งเทศบาลนครปากเกร็ดเข้าประกวดระดับประเทศ เรามั่นใจว่าเรามีศักยภาพ และผลก็เป็นไปตามคาด
ปี 2564 ปากเกร็ดคว้ารางวัลเมืองสิ่งแวดล้อมยั่งยืนระดับประเทศ พร้อมกับรางวัลเทศบาลน่าอยู่อย่างยั่งยืนอันดับ 1 และในปี 2567 เราก็ได้เป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าชิงรางวัลอาเซียนด้านสิ่งแวดล้อมเมืองยั่งยืน ซึ่งถือเป็นก้าวสำคัญของเมืองเรา
อย่างไรก็ตาม เราไม่ได้มองว่ารางวัลคือปลายทางของความสำเร็จ กลับกัน นี่เป็นเพียงจุดเริ่มต้นและแรงผลักดันที่จะทำให้ปากเกร็ดพัฒนาไปได้ไกลกว่านี้ อยากให้ทุกคนที่อยู่ที่นี่ภูมิใจ และอยากช่วยกันทำให้เมืองนี้น่าอยู่ขึ้นทุกวัน เพราะสิ่งแวดล้อมที่ดีไม่ใช่แค่เรื่องของต้นไม้หรือแม่น้ำ แต่มันคือรากฐานของคุณภาพชีวิตที่ดีของทุกคน”
#เทศบาลนครปากเกร็ด #CIAP #โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่การเป็นเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด #PMUA #บพท #Wecitizens
“เมืองอาหารปลอดภัยไม่ได้ให้ประโยชน์แค่เฉพาะผู้คนในเขตเทศบาลฯแต่มันสามารถเป็นต้นแบบให้เมืองอื่น ๆ ที่อยากส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้คนได้เช่นกัน” “งานประชุมนานาชาติของสมาคมพืชสวนโลก (AIPH Spring Meeting Green City Conference 2025) ที่เชียงรายเป็นเจ้าภาพเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2568 ที่ผ่านมา เน้นย้ำถึงทิศทางการพัฒนาเมืองสีเขียว…
“ทั้งพื้นที่การเรียนรู้ นโยบายเมืองอาหารปลอดภัย และโรงเรียนสำหรับผู้สูงวัยคือสารตั้งต้นที่จะทำให้เชียงรายเป็นเมืองแห่งสุขภาพ (Wellness City)” “กล่าวอย่างรวบรัด ภารกิจของกองการแพทย์ เทศบาลนครเชียงราย คือการทำให้ประชาชนไม่เจ็บป่วย หรือถ้าป่วยแล้วก็ต้องมีกระบวนการรักษาที่เหมาะสม ครบวงจร ที่นี่เราจึงมีครบทั้งงานส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค การรักษาเมื่อเจ็บป่วย และระบบดูแลต่อเนื่องถึงบ้าน…
“การจะพัฒนาเมือง ไม่ใช่แค่เรื่องสาธารณูปโภคแต่ต้องพุ่งเป้าไปที่พัฒนาคนและไม่มีเครื่องมือไหนจะพัฒนาคนได้ดีไปกว่า การศึกษา” “แม้เทศบาลนครเชียงรายจะเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ของยูเนสโกแห่งแรกของไทยในปี 2562 แต่การเตรียมเมืองเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ว่านี้ เกิดขึ้นก่อนหน้านั้นหลายสิบปี ในอดีต เชียงรายเป็นเมืองที่ห่างไกลความเจริญ ทางเทศบาลฯ เล็งเห็นว่าการจะพัฒนาเมือง ไม่สามารถทำได้แค่การทำให้เมืองมีสาธารณูปโภคครบ แต่ต้องพัฒนาผู้คนที่เป็นหัวใจสำคัญของเมือง และไม่มีเครื่องมือไหนจะพัฒนาคนได้ดีไปกว่า ‘การศึกษา’…
“ถ้าอาหารปลอดภัยเป็นทางเลือกหลักของผู้บริโภคเชียงรายจะเป็นเมืองที่น่าอยู่กว่านี้อีกเยอะ” “นอกจากบทบาทของการพัฒนาชุมชนและสังคมสงเคราะห์ กองสวัสดิการสังคม เทศบาลนครเชียงราย ยังมีกลไกในการส่งเสริมเศรษฐกิจของพี่น้อง 65 ชุมชน ภายในเขตเทศบาลฯ โดยกลไกนี้ครอบคลุมการส่งเสริมสุขภาพ และช่วยดูแลสิ่งแวดล้อมในทางอ้อมด้วยกลไกที่ว่าคือ ‘สหกรณ์นครเชียงราย’ โดยสหกรณ์ฯ นี้เริ่มต้นมาตั้งแต่ปี 2560 หลักเราคือการสนับสนุนเศรษฐกิจชุมชน…
“แม่อยากปลูกผักปลอดภัยให้ตัวเองและคนในเมืองกินไม่ใช่ปลูกผักเพื่อส่งขาย แต่คนปลูกไม่กล้ากินเอง” “บ้านป่างิ้ว ตั้งอยู่ละแวกสวนสาธารณะหาดนครเชียงราย เราและชุมชนฮ่องลี่ที่อยู่ข้างเคียงเป็นชุมชนเกษตรที่ปลูกพริก ปลูกผักไปขายตามตลาดมาแต่ไหนแต่ไร กระทั่งราวปี 2548 สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองเชียงราย มาส่งเสริมให้ทำเกษตรปลอดภัย คนในชุมชนก็เห็นด้วย เพราะอยากทำให้สิ่งที่เราปลูกมันกินได้จริง ๆ ไม่ใช่ว่าเกษตรกรปลูกแล้วส่งขาย แต่ไม่กล้าเก็บไว้กินเองเพราะกลัวยาฆ่าแมลงที่ตัวเองใส่…
“วิวเมืองเชียงรายจากสกายวอล์กสวยมาก ๆขณะที่ผืนป่าชุมชนของที่นี่ก็มีความอุดมสมบูรณ์จนไม่น่าเชื่อว่านี่คือป่าที่อยู่ในตัวเมืองเชียงราย” “ก่อนหน้านี้เราเป็นพนักงานบริษัทเอกชนที่ต่างจังหวัด จนเทศบาลนครเชียงรายเขาเปิดสกายวอล์กที่ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนดอยสะเก็น และหาพนักงานนำชม เราก็เลยกลับมาสมัคร เพราะจะได้กลับมาอยู่บ้านด้วย ตรงนี้มีหอคอยชมวิวอยู่แล้ว แต่เทศบาลฯ อยากทำให้ที่นี่เป็นแหล่งท่องเที่ยว ก็เลยต่อขยายเป็นสกายวอล์กอย่างที่เห็น ซึ่งสุดปลายของมันยังอยู่ใกล้กับต้นยวนผึ้งเก่าแก่ที่มีผึ้งหลวงมาทำรังหลายร้อยรัง รวมถึงยังมีเส้นทางศึกษาธรรมชาติบนภูเขา ในป่าชุมชนผืนนี้ จริง…