[The City Issue]นิเวศอีสปอร์ต และกลไกการพัฒนานครสวรรค์เมืองอัจฉริยะ

“ระบบนิเวศอีสปอร์ตคือฟันเฟืองสำคัญ
ในการขับเคลื่อนเมืองอัจฉริยะ
ผ่านการยกระดับศักยภาพของผู้คน”

ในยุคที่เทคโนโลยีดิจิทัลกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน สื่อสังคมออนไลน์อย่าง Facebook, Instagram หรือ YouTube ไม่ได้เป็นเพียงช่องทางสื่อสารหรือความบันเทิงอีกต่อไป หากแต่กลายเป็นเครื่องมือสร้างอาชีพ และพัฒนาทักษะของผู้คนทั่วโลก

เช่นเดียวกับ “อีสปอร์ต” (Esports) หรือการแข่งขันวิดีโอเกม ที่เริ่มต้นในมหาวิทยาลัยสหรัฐฯ ตั้งแต่ทศวรรษ 1970 และเติบโตจากกิจกรรมสันทนาการ สู่เวทีที่เยาวชนใช้แสดงศักยภาพ ฝึกทักษะหลากหลาย ไปจนถึงการเป็นอุตสาหกรรมที่สร้างรายได้มหาศาล

นอกจากประโยชน์ในระดับบุคคล หลายเมืองทั่วโลกยังใช้อีสปอร์ตเป็นกลไกพัฒนาเมือง โดยมีเยาวชนเป็นศูนย์กลาง ไม่ว่าจะเป็นกรุงโซล (เกาหลีใต้) ที่รัฐบาลลงทุนสร้างสนามแข่งใจกลางเมือง สิงคโปร์ที่สร้างรายได้จากการท่องเที่ยวผ่านการเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน หรือแอตแลนตา (สหรัฐฯ) ที่บรรจุอีสปอร์ตไว้ในหลักสูตรการศึกษา และดึงดูดนักลงทุนด้านเทคโนโลยี

ด้วยศักยภาพดังกล่าว นครสวรรค์จึงกลายเป็นเมืองแรกในภาคกลางและภาคเหนือที่จัดตั้งสมาคมกีฬาอีสปอร์ตระดับจังหวัด พร้อมตั้งเป้าจัดเทศกาลแข่งขันประจำเดือนเพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยว ขณะเดียวกัน เทศบาลนครนครสวรรค์ยังได้ร่วมกับ บพท. และภาคประชาชน วางแผนยกระดับศักยภาพเยาวชนและเศรษฐกิจของเมือง โดยมี “ระบบนิเวศอีสปอร์ต” เป็นแกนกลาง

โครงการ “นครสวรรค์ Smart City: พัฒนาเมืองอัจฉริยะด้วยอีสปอร์ต” นำโดย ดร.อิศรา คงมี อาจารย์คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร มีเป้าหมายผลักดันนครสวรรค์ให้เป็นศูนย์กลางอีสปอร์ตระดับภูมิภาค โดยใช้อีสปอร์ตเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ พัฒนาชุมชน และสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจแก่เยาวชน พร้อมทั้งเชื่อมความร่วมมือระหว่างรัฐ เอกชน สถานศึกษา นักลงทุน และชุมชน ผ่านกลไกสำคัญ 3 ด้าน:

  • เพิ่มขีดความสามารถทางการศึกษา: บูรณาการอีสปอร์ตเข้ากับหลักสูตรในโรงเรียน ส่งเสริมทักษะวิเคราะห์ แก้ปัญหา และทำงานเป็นทีม พร้อมยกระดับความรู้ดิจิทัลของนักเรียน
  • เสริมพลังทางสังคม: สร้างพื้นที่ปลอดภัยให้เยาวชนได้แสดงออกอย่างสร้างสรรค์ กระชับความสัมพันธ์ในชุมชน และลดความเสี่ยงจากอบายมุข
  • ส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล: เปิดทางสู่อาชีพใหม่ในอุตสาหกรรมเทคโนโลยี เช่น การพัฒนาเกม การจัดการแข่งขัน การสร้างคอนเทนต์ และการตลาดออนไลน์

โครงการนี้ดำเนินงานผ่าน “ระบบนิเวศอีสปอร์ต” ซึ่งประกอบด้วยผู้เล่น ทีมแข่ง ผู้จัดงาน ผู้พัฒนาเกม สปอนเซอร์ สื่อ แพลตฟอร์มถ่ายทอดสด และแฟนเกม โดยทุกภาคส่วนจะทำงานร่วมกันอย่างเกื้อหนุน เพื่อสร้างอุตสาหกรรมอีสปอร์ตที่ยั่งยืนในระดับท้องถิ่น ผ่านกิจกรรมหลากหลาย เช่น การแข่งขันประจำเดือน การพัฒนาสนามฝึกซ้อม ร่วมมือกับสถานศึกษาในการออกแบบหลักสูตร เวิร์กช็อป และการจับมือกับภาคเอกชน

นอกจากนี้ โครงการยังสอดคล้องกับนโยบายการพัฒนา “นครสวรรค์สมาร์ทซิตี้” โดยเน้นการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล เช่น อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง การพัฒนาทุนมนุษย์ผ่านการมีส่วนร่วมของเยาวชน และภาคเอกชน รวมถึงการจัดการข้อมูลระดับเมือง เพื่อนำมาใช้วางนโยบายในมิติต่าง ๆ ของการพัฒนาเมืองในอนาคต

#เทศบาลนครนครสวรรค์ #มหาวิทยาลัยนเรศวร #นครสวรรค์เมืองesports #บพท #หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ #pmua #โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่การเป็นเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด #มหาวิทยาลัยมหาสารคาม #wecitizens

Wecitizens Editor

Recent Posts

[The Insider]<br />พัชรี แซมสนธ์

“เมืองอาหารปลอดภัยไม่ได้ให้ประโยชน์แค่เฉพาะผู้คนในเขตเทศบาลฯแต่มันสามารถเป็นต้นแบบให้เมืองอื่น ๆ ที่อยากส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้คนได้เช่นกัน” “งานประชุมนานาชาติของสมาคมพืชสวนโลก (AIPH Spring Meeting Green City Conference 2025) ที่เชียงรายเป็นเจ้าภาพเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2568 ที่ผ่านมา เน้นย้ำถึงทิศทางการพัฒนาเมืองสีเขียว…

3 weeks ago

[The Insider]<br />พรทิพย์ จันทร์ตระกูล

“ทั้งพื้นที่การเรียนรู้ นโยบายเมืองอาหารปลอดภัย และโรงเรียนสำหรับผู้สูงวัยคือสารตั้งต้นที่จะทำให้เชียงรายเป็นเมืองแห่งสุขภาพ (Wellness City)” “กล่าวอย่างรวบรัด ภารกิจของกองการแพทย์ เทศบาลนครเชียงราย คือการทำให้ประชาชนไม่เจ็บป่วย หรือถ้าป่วยแล้วก็ต้องมีกระบวนการรักษาที่เหมาะสม ครบวงจร ที่นี่เราจึงมีครบทั้งงานส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค การรักษาเมื่อเจ็บป่วย และระบบดูแลต่อเนื่องถึงบ้าน…

3 weeks ago

[The Insider]<br />ณรงค์ศักดิ์ เตือนสกุล

“การจะพัฒนาเมือง ไม่ใช่แค่เรื่องสาธารณูปโภคแต่ต้องพุ่งเป้าไปที่พัฒนาคนและไม่มีเครื่องมือไหนจะพัฒนาคนได้ดีไปกว่า การศึกษา” “แม้เทศบาลนครเชียงรายจะเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ของยูเนสโกแห่งแรกของไทยในปี 2562 แต่การเตรียมเมืองเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ว่านี้ เกิดขึ้นก่อนหน้านั้นหลายสิบปี ในอดีต เชียงรายเป็นเมืองที่ห่างไกลความเจริญ ทางเทศบาลฯ เล็งเห็นว่าการจะพัฒนาเมือง ไม่สามารถทำได้แค่การทำให้เมืองมีสาธารณูปโภคครบ แต่ต้องพัฒนาผู้คนที่เป็นหัวใจสำคัญของเมือง และไม่มีเครื่องมือไหนจะพัฒนาคนได้ดีไปกว่า ‘การศึกษา’…

3 weeks ago

[The Insider]<br />นนทพัฒ ถปะติวงศ์

“ถ้าอาหารปลอดภัยเป็นทางเลือกหลักของผู้บริโภคเชียงรายจะเป็นเมืองที่น่าอยู่กว่านี้อีกเยอะ” “นอกจากบทบาทของการพัฒนาชุมชนและสังคมสงเคราะห์ กองสวัสดิการสังคม เทศบาลนครเชียงราย ยังมีกลไกในการส่งเสริมเศรษฐกิจของพี่น้อง 65 ชุมชน ภายในเขตเทศบาลฯ โดยกลไกนี้ครอบคลุมการส่งเสริมสุขภาพ และช่วยดูแลสิ่งแวดล้อมในทางอ้อมด้วยกลไกที่ว่าคือ ‘สหกรณ์นครเชียงราย’ โดยสหกรณ์ฯ นี้เริ่มต้นมาตั้งแต่ปี 2560 หลักเราคือการสนับสนุนเศรษฐกิจชุมชน…

3 weeks ago

[The Citizens]<br />ชวนพิศ สุริยวงค์

“แม่อยากปลูกผักปลอดภัยให้ตัวเองและคนในเมืองกินไม่ใช่ปลูกผักเพื่อส่งขาย แต่คนปลูกไม่กล้ากินเอง” “บ้านป่างิ้ว  ตั้งอยู่ละแวกสวนสาธารณะหาดนครเชียงราย เราและชุมชนฮ่องลี่ที่อยู่ข้างเคียงเป็นชุมชนเกษตรที่ปลูกพริก ปลูกผักไปขายตามตลาดมาแต่ไหนแต่ไร กระทั่งราวปี 2548 สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองเชียงราย มาส่งเสริมให้ทำเกษตรปลอดภัย คนในชุมชนก็เห็นด้วย เพราะอยากทำให้สิ่งที่เราปลูกมันกินได้จริง ๆ ไม่ใช่ว่าเกษตรกรปลูกแล้วส่งขาย แต่ไม่กล้าเก็บไว้กินเองเพราะกลัวยาฆ่าแมลงที่ตัวเองใส่…

3 weeks ago

[The Citizens]<br />กาญจนา ใจปา และพิทักษ์พงศ์ เชอมือ

“วิวเมืองเชียงรายจากสกายวอล์กสวยมาก ๆขณะที่ผืนป่าชุมชนของที่นี่ก็มีความอุดมสมบูรณ์จนไม่น่าเชื่อว่านี่คือป่าที่อยู่ในตัวเมืองเชียงราย” “ก่อนหน้านี้เราเป็นพนักงานบริษัทเอกชนที่ต่างจังหวัด จนเทศบาลนครเชียงรายเขาเปิดสกายวอล์กที่ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนดอยสะเก็น และหาพนักงานนำชม เราก็เลยกลับมาสมัคร เพราะจะได้กลับมาอยู่บ้านด้วย ตรงนี้มีหอคอยชมวิวอยู่แล้ว แต่เทศบาลฯ อยากทำให้ที่นี่เป็นแหล่งท่องเที่ยว ก็เลยต่อขยายเป็นสกายวอล์กอย่างที่เห็น ซึ่งสุดปลายของมันยังอยู่ใกล้กับต้นยวนผึ้งเก่าแก่ที่มีผึ้งหลวงมาทำรังหลายร้อยรัง รวมถึงยังมีเส้นทางศึกษาธรรมชาติบนภูเขา ในป่าชุมชนผืนนี้ จริง…

3 weeks ago