เมืองอัจฉริยะ (Smart City) ไม่ใช่แค่เรื่องของเซ็นเซอร์ แพลตฟอร์ม หรือระบบ AI ที่แม่นยำ แต่หัวใจที่แท้จริงของมันคือ “ผู้คน” – เพราะถ้าขาดการรับฟังเสียงสะท้อน หรือกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน เมืองจะไม่มีวันรู้ว่าควรก้าวไปทางไหน
แต่ในโลกหลังโควิด-19 ที่ลานกิจกรรมถูกแทนที่ด้วยหน้าจอมือถือ—หน่วยงานรัฐที่ทำหน้าที่บริหารเมืองกลับเข้าไม่ถึงประชาชนได้มากพอ และข้อมูลที่เก็บได้ก็มักจะตื้นเขินเกินไป
อย่างไรก็ตาม ยังมีพื้นที่หนึ่งที่ผู้คน โดยเฉพาะกลุ่มเด็กและเยาวชน ยังคงรวมตัวกัน พูดคุย เชื่อมต่อ และแสดงตัวตนอย่างมีชีวิตชีวา…พื้นที่นั้นคือ “เกมออนไลน์”
จากเกมสู่ชุมชน จากผู้เล่นสู่พลเมือง
ในบทความ How esports can help cities engage residents and build community โดย ออสติน สมิท (Austin Smith) บนเว็บไซต์ American City & County ชี้ให้เห็นว่าอีสปอร์ตไม่ใช่แค่กีฬา แต่มันคือ “สังคมเสมือน” ที่มีคุณสมบัติของการมีส่วนร่วมทางสังคมอย่างครบถ้วน
เพราะเกมไม่ได้มีแค่การแข่งขัน แต่ยังเป็นพื้นที่ที่ส่งเสริมการทำงานเป็นทีม การสื่อสาร และการสร้างอัตลักษณ์ของผู้เล่น ที่สำคัญคือ มันเปิดทางให้คนที่อาจไม่กล้า หรือไม่คุ้นเคยกับการเข้าร่วมกิจกรรมแบบดั้งเดิม โดยเฉพาะ “วัยรุ่น” ได้เข้ามามีส่วนร่วมในรูปแบบที่เขาสะดวกและเต็มใจ
เมืองจึงสามารถใช้โครงสร้างของเกม เช่น การตั้ง “ลีกอีสปอร์ต” หรือจัดกิจกรรมในโลกเสมือน เพื่อเปิดพื้นที่สำหรับการรวมกลุ่ม พูดคุย และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น พร้อมไปกับการเก็บข้อมูลพฤติกรรมของผู้เล่นและผู้ชม ซึ่งสามารถนำไปวิเคราะห์และต่อยอดในการออกแบบนโยบายสาธารณะ ที่ตอบโจทย์คนในเมืองได้ลึกขึ้น แบบเดียวกับที่แบรนด์สินค้าระดับโลกวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภคเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์
แนวคิดนี้สอดคล้องกับ แยน ช็อต (Jan Szot) นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพอซนัน ผู้เขียนบทความ Gamification as a Tool for Participatory Urban Planning เขาระบุว่าเกมและกระบวนการเกมมิฟิเคชัน (Gamification) ไม่เพียงช่วยให้ประชาชนเข้าใจโครงสร้างของเมืองได้ดีขึ้น แต่ยังช่วยให้พวกเขาตัดสินใจ มีส่วนร่วม และเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในชีวิตจริงได้ สิ่งนี้เป็นกลไกสำคัญที่ช่วยให้รัฐสามารถออกแบบผังเมืองได้ตรงตามความต้องการของประชาชน
จากแผนของ WHO สู่ Chinatown Boston
เพื่อให้เห็นรูปธรรมของกระบวนการนี้มากยิ่งขึ้น ย้อนกลับไปในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ผ่านมา องค์การอนามัยโลก (WHO) ยังร่วมมือกับเครือข่ายอุตสาหกรรมเกมในแคมเปญ #PlayApartTogether เพื่อส่งเสริมการเว้นระยะห่างทางสังคมผ่านการเล่นเกมออนไลน์
หรืออย่างในปี 2553 ในยุคสมัยที่อีสปอร์ตยังไม่แพร่หลายเช่นทุกวันนี้ Engagement Game Lab จากวิทยาลัย Emerson College สหรัฐอเมริกา ยังได้พัฒนาเกม Participatory Chinatown ที่เปิดให้ผู้เล่นสวมบทบาทเป็นประชากรในย่านไชนาทาวน์ของเมืองบอสตัน เพื่อทำภารกิจหลากหลาย อย่างการหางาน หาที่อยู่ และเข้าสังคม โดยผู้เล่นยังสามารถสะท้อนความคิดเห็นและทางเลือกของตัวเอง และเมื่อจบเกม ข้อมูลเหล่านั้นจะถูกส่งให้รัฐบาลท้องถิ่นนำไปใช้ในการออกแบบ “แผนแม่บท” ของย่านนั้นจริง ๆ
นั่นคือการเชื่อมระหว่าง “เกม” และ “การออกแบบเมือง” อย่างเป็นรูปธรรม และเปี่ยมด้วยพลังจากเสียงของประชาชน
นั่นล่ะ ควบคู่ไปกับการเก็บข้อมูลจากประชาชนแบบดั้งเดิม เมืองอาจไม่จำเป็นต้องลงทุนสร้างเครื่องมืออะไรใหม่ให้ยุ่งยาก แค่รู้จัก “เชื่อมต่อ” กับชุมชนเกมที่มีอยู่แล้ว ศึกษาข้อมูลที่ได้ และเปิดใจ ให้เกมเป็นส่วนหนึ่งของกลไกสร้างเมืองที่มีชีวิต มีส่วนร่วม และเป็นมิตรกับคนทุกกลุ่มมากขึ้น
เพราะบางทีสายใยแห่งเมืองอัจฉริยะ อาจเริ่มต้นจากสิ่งที่ผู้ใหญ่หลายคนเคยมองข้าม – แค่เปิดหน้าจอ ล็อกอิน และสนุกไปกับเกม ผลลัพธ์อาจไปไกลกว่าที่เราคิด
ที่มา:
“เมืองอาหารปลอดภัยไม่ได้ให้ประโยชน์แค่เฉพาะผู้คนในเขตเทศบาลฯแต่มันสามารถเป็นต้นแบบให้เมืองอื่น ๆ ที่อยากส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้คนได้เช่นกัน” “งานประชุมนานาชาติของสมาคมพืชสวนโลก (AIPH Spring Meeting Green City Conference 2025) ที่เชียงรายเป็นเจ้าภาพเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2568 ที่ผ่านมา เน้นย้ำถึงทิศทางการพัฒนาเมืองสีเขียว…
“ทั้งพื้นที่การเรียนรู้ นโยบายเมืองอาหารปลอดภัย และโรงเรียนสำหรับผู้สูงวัยคือสารตั้งต้นที่จะทำให้เชียงรายเป็นเมืองแห่งสุขภาพ (Wellness City)” “กล่าวอย่างรวบรัด ภารกิจของกองการแพทย์ เทศบาลนครเชียงราย คือการทำให้ประชาชนไม่เจ็บป่วย หรือถ้าป่วยแล้วก็ต้องมีกระบวนการรักษาที่เหมาะสม ครบวงจร ที่นี่เราจึงมีครบทั้งงานส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค การรักษาเมื่อเจ็บป่วย และระบบดูแลต่อเนื่องถึงบ้าน…
“การจะพัฒนาเมือง ไม่ใช่แค่เรื่องสาธารณูปโภคแต่ต้องพุ่งเป้าไปที่พัฒนาคนและไม่มีเครื่องมือไหนจะพัฒนาคนได้ดีไปกว่า การศึกษา” “แม้เทศบาลนครเชียงรายจะเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ของยูเนสโกแห่งแรกของไทยในปี 2562 แต่การเตรียมเมืองเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ว่านี้ เกิดขึ้นก่อนหน้านั้นหลายสิบปี ในอดีต เชียงรายเป็นเมืองที่ห่างไกลความเจริญ ทางเทศบาลฯ เล็งเห็นว่าการจะพัฒนาเมือง ไม่สามารถทำได้แค่การทำให้เมืองมีสาธารณูปโภคครบ แต่ต้องพัฒนาผู้คนที่เป็นหัวใจสำคัญของเมือง และไม่มีเครื่องมือไหนจะพัฒนาคนได้ดีไปกว่า ‘การศึกษา’…
“ถ้าอาหารปลอดภัยเป็นทางเลือกหลักของผู้บริโภคเชียงรายจะเป็นเมืองที่น่าอยู่กว่านี้อีกเยอะ” “นอกจากบทบาทของการพัฒนาชุมชนและสังคมสงเคราะห์ กองสวัสดิการสังคม เทศบาลนครเชียงราย ยังมีกลไกในการส่งเสริมเศรษฐกิจของพี่น้อง 65 ชุมชน ภายในเขตเทศบาลฯ โดยกลไกนี้ครอบคลุมการส่งเสริมสุขภาพ และช่วยดูแลสิ่งแวดล้อมในทางอ้อมด้วยกลไกที่ว่าคือ ‘สหกรณ์นครเชียงราย’ โดยสหกรณ์ฯ นี้เริ่มต้นมาตั้งแต่ปี 2560 หลักเราคือการสนับสนุนเศรษฐกิจชุมชน…
“แม่อยากปลูกผักปลอดภัยให้ตัวเองและคนในเมืองกินไม่ใช่ปลูกผักเพื่อส่งขาย แต่คนปลูกไม่กล้ากินเอง” “บ้านป่างิ้ว ตั้งอยู่ละแวกสวนสาธารณะหาดนครเชียงราย เราและชุมชนฮ่องลี่ที่อยู่ข้างเคียงเป็นชุมชนเกษตรที่ปลูกพริก ปลูกผักไปขายตามตลาดมาแต่ไหนแต่ไร กระทั่งราวปี 2548 สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองเชียงราย มาส่งเสริมให้ทำเกษตรปลอดภัย คนในชุมชนก็เห็นด้วย เพราะอยากทำให้สิ่งที่เราปลูกมันกินได้จริง ๆ ไม่ใช่ว่าเกษตรกรปลูกแล้วส่งขาย แต่ไม่กล้าเก็บไว้กินเองเพราะกลัวยาฆ่าแมลงที่ตัวเองใส่…
“วิวเมืองเชียงรายจากสกายวอล์กสวยมาก ๆขณะที่ผืนป่าชุมชนของที่นี่ก็มีความอุดมสมบูรณ์จนไม่น่าเชื่อว่านี่คือป่าที่อยู่ในตัวเมืองเชียงราย” “ก่อนหน้านี้เราเป็นพนักงานบริษัทเอกชนที่ต่างจังหวัด จนเทศบาลนครเชียงรายเขาเปิดสกายวอล์กที่ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนดอยสะเก็น และหาพนักงานนำชม เราก็เลยกลับมาสมัคร เพราะจะได้กลับมาอยู่บ้านด้วย ตรงนี้มีหอคอยชมวิวอยู่แล้ว แต่เทศบาลฯ อยากทำให้ที่นี่เป็นแหล่งท่องเที่ยว ก็เลยต่อขยายเป็นสกายวอล์กอย่างที่เห็น ซึ่งสุดปลายของมันยังอยู่ใกล้กับต้นยวนผึ้งเก่าแก่ที่มีผึ้งหลวงมาทำรังหลายร้อยรัง รวมถึงยังมีเส้นทางศึกษาธรรมชาติบนภูเขา ในป่าชุมชนผืนนี้ จริง…