“ในฐานะที่เราทำงานด้านสุขภาพ หลายคนอาจคิดว่าแค่ทำให้ชาวบ้านตระหนักรู้เรื่องนี้ก็พอแล้ว แต่จริง ๆ มันไม่ใช่แค่นั้น เพราะการตระหนักรู้มันก็เหมือนกับวินัยในการออกกำลังกาย ไม่ใช่ทุกคนที่จะมีใจอยากออกกำลังกายทุกวัน บางวันคุณอาจขี้เกียจ หรือเหนื่อยจากงานมา คุณก็ไม่ทำ เหมือนสมองเรารู้ว่าทำแล้วมันจะดี แต่ใจเรามันไม่อยากทำ
ด้วยเหตุนี้ การขับเคลื่อนเวชศาสตร์วิถีชีวิต จึงไม่ใช่แค่การให้ความรู้ แต่ต้องคอยติดตาม กระตุ้น และคอยเสริมพลัง ให้ทุกคนรู้สึกว่าเขาไม่ได้ทำอยู่คนเดียว และถ้าทำได้ แล้วมันจะกลายเป็นพลังที่อยู่กับเราในระยะยาว
ปัจจุบัน เรากำลังพัฒนาแอปพลิเคชันติดตามและดูแลพฤติกรรมสุขภาพของผู้คนในชุมชน ให้มีฟังก์ชันที่ครอบคลุมมากขึ้น ทั้งด้านข้อมูลสุขภาพส่วนตัว และข้อมูลส่วนกลางที่เอื้ออำนวยให้ทุกคนเข้าถึงการดูแลสุขภาพที่ดี
โชคดีที่เทศบาลนครนนทบุรีมีโครงสร้างพื้นฐานรองรับอยู่แล้ว อย่างตอนนี้เรามีศูนย์บริการสาธารณสุขทั้งหมด 11 ศูนย์ ดูแลอยู่ 93 ชุมชน ซึ่งแต่ละศูนย์ก็จะมีชุมชนในมือของตัวเอง และเราก็มีแกนนำที่อบรมไว้แล้ว ทั้ง อสม. และประธานชุมชน ที่ช่วยกันทำกิจกรรมต่าง ๆ เป็นเหมือนพี่เลี้ยงของพื้นที่นั้น ๆ เลยค่ะ
เวลาเขามีกิจกรรม เขาก็จะใช้แอปฯ ที่เราพัฒนาขึ้นมาเป็นเครื่องมือในการติดตาม ไม่ใช่แค่เก็บข้อมูล แต่เพื่อกระตุ้นให้เขาทำอย่างต่อเนื่อง ช่วยให้เขาเห็นภาพของตัวเอง เห็นพัฒนาการของตัวเอง และรู้สึกว่า เออ ร่างกายของเรากำลังจะดีขึ้นนะ
แต่มันก็ต้องมีแรงสนับสนุนค่ะ ทั้งจากหน่วยงาน และจากคนในพื้นที่เอง บางครั้งชุมชนเขาก็อยากทำ แต่ติดตรงที่ไม่มีงบ ไม่มีทรัพยากร เทศบาลฯ ก็ต้องช่วยกันสนับสนุน อย่างบางที่เขาทำลานออกกำลังกายเองเลย ทาสีกันเอง ใช้แรงจากในชุมชน นั่นแหละค่ะคือความเข้มแข็งที่แท้จริง
แล้วก็ยังมีกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น ที่เปิดโอกาสให้ชุมชนเขียนโครงการขึ้นมาเอง แล้วเสนอของบได้ ถ้าได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานต่าง ๆ อย่าง บพท. หรือเทศบาลฯ มันก็เหมือนเป็นสตาร์ตอัปเล็ก ๆ สำหรับชุมชน เป็นจุดเริ่มต้นให้เขาได้ลงมือทำอะไรที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น
เราเชื่อว่าถ้าเราช่วยเขาให้เดินได้ด้วยตัวเอง วันหนึ่งเขาจะวิ่งได้เอง โดยที่ไม่ต้องรอให้ใครมาจูงมือตลอดไป”
#เทศบาลนครนนทบุรี #มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ #บพท #pmua #CIAP #ปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่การเป็นเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด
“เมืองอาหารปลอดภัยไม่ได้ให้ประโยชน์แค่เฉพาะผู้คนในเขตเทศบาลฯแต่มันสามารถเป็นต้นแบบให้เมืองอื่น ๆ ที่อยากส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้คนได้เช่นกัน” “งานประชุมนานาชาติของสมาคมพืชสวนโลก (AIPH Spring Meeting Green City Conference 2025) ที่เชียงรายเป็นเจ้าภาพเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2568 ที่ผ่านมา เน้นย้ำถึงทิศทางการพัฒนาเมืองสีเขียว…
“ทั้งพื้นที่การเรียนรู้ นโยบายเมืองอาหารปลอดภัย และโรงเรียนสำหรับผู้สูงวัยคือสารตั้งต้นที่จะทำให้เชียงรายเป็นเมืองแห่งสุขภาพ (Wellness City)” “กล่าวอย่างรวบรัด ภารกิจของกองการแพทย์ เทศบาลนครเชียงราย คือการทำให้ประชาชนไม่เจ็บป่วย หรือถ้าป่วยแล้วก็ต้องมีกระบวนการรักษาที่เหมาะสม ครบวงจร ที่นี่เราจึงมีครบทั้งงานส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค การรักษาเมื่อเจ็บป่วย และระบบดูแลต่อเนื่องถึงบ้าน…
“การจะพัฒนาเมือง ไม่ใช่แค่เรื่องสาธารณูปโภคแต่ต้องพุ่งเป้าไปที่พัฒนาคนและไม่มีเครื่องมือไหนจะพัฒนาคนได้ดีไปกว่า การศึกษา” “แม้เทศบาลนครเชียงรายจะเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ของยูเนสโกแห่งแรกของไทยในปี 2562 แต่การเตรียมเมืองเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ว่านี้ เกิดขึ้นก่อนหน้านั้นหลายสิบปี ในอดีต เชียงรายเป็นเมืองที่ห่างไกลความเจริญ ทางเทศบาลฯ เล็งเห็นว่าการจะพัฒนาเมือง ไม่สามารถทำได้แค่การทำให้เมืองมีสาธารณูปโภคครบ แต่ต้องพัฒนาผู้คนที่เป็นหัวใจสำคัญของเมือง และไม่มีเครื่องมือไหนจะพัฒนาคนได้ดีไปกว่า ‘การศึกษา’…
“ถ้าอาหารปลอดภัยเป็นทางเลือกหลักของผู้บริโภคเชียงรายจะเป็นเมืองที่น่าอยู่กว่านี้อีกเยอะ” “นอกจากบทบาทของการพัฒนาชุมชนและสังคมสงเคราะห์ กองสวัสดิการสังคม เทศบาลนครเชียงราย ยังมีกลไกในการส่งเสริมเศรษฐกิจของพี่น้อง 65 ชุมชน ภายในเขตเทศบาลฯ โดยกลไกนี้ครอบคลุมการส่งเสริมสุขภาพ และช่วยดูแลสิ่งแวดล้อมในทางอ้อมด้วยกลไกที่ว่าคือ ‘สหกรณ์นครเชียงราย’ โดยสหกรณ์ฯ นี้เริ่มต้นมาตั้งแต่ปี 2560 หลักเราคือการสนับสนุนเศรษฐกิจชุมชน…
“แม่อยากปลูกผักปลอดภัยให้ตัวเองและคนในเมืองกินไม่ใช่ปลูกผักเพื่อส่งขาย แต่คนปลูกไม่กล้ากินเอง” “บ้านป่างิ้ว ตั้งอยู่ละแวกสวนสาธารณะหาดนครเชียงราย เราและชุมชนฮ่องลี่ที่อยู่ข้างเคียงเป็นชุมชนเกษตรที่ปลูกพริก ปลูกผักไปขายตามตลาดมาแต่ไหนแต่ไร กระทั่งราวปี 2548 สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองเชียงราย มาส่งเสริมให้ทำเกษตรปลอดภัย คนในชุมชนก็เห็นด้วย เพราะอยากทำให้สิ่งที่เราปลูกมันกินได้จริง ๆ ไม่ใช่ว่าเกษตรกรปลูกแล้วส่งขาย แต่ไม่กล้าเก็บไว้กินเองเพราะกลัวยาฆ่าแมลงที่ตัวเองใส่…
“วิวเมืองเชียงรายจากสกายวอล์กสวยมาก ๆขณะที่ผืนป่าชุมชนของที่นี่ก็มีความอุดมสมบูรณ์จนไม่น่าเชื่อว่านี่คือป่าที่อยู่ในตัวเมืองเชียงราย” “ก่อนหน้านี้เราเป็นพนักงานบริษัทเอกชนที่ต่างจังหวัด จนเทศบาลนครเชียงรายเขาเปิดสกายวอล์กที่ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนดอยสะเก็น และหาพนักงานนำชม เราก็เลยกลับมาสมัคร เพราะจะได้กลับมาอยู่บ้านด้วย ตรงนี้มีหอคอยชมวิวอยู่แล้ว แต่เทศบาลฯ อยากทำให้ที่นี่เป็นแหล่งท่องเที่ยว ก็เลยต่อขยายเป็นสกายวอล์กอย่างที่เห็น ซึ่งสุดปลายของมันยังอยู่ใกล้กับต้นยวนผึ้งเก่าแก่ที่มีผึ้งหลวงมาทำรังหลายร้อยรัง รวมถึงยังมีเส้นทางศึกษาธรรมชาติบนภูเขา ในป่าชุมชนผืนนี้ จริง…