“เราเป็นพยาบาลวิชาชีพชำนาญการที่คลินิกชะลอไตเสื่อม (CKD Clinic) ในศูนย์บริการสาธารณสุขที่ 6 สนามบินน้ำ ของเทศบาลนครนนทบุรี โรคไตเป็นหนึ่งในกลุ่มโรค NCDs (โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง) อยู่แล้ว พอถึงเดือนมีนาคม 2567 กองการแพทย์มีเป้าหมายขับเคลื่อนเวชศาสตร์วิถีชีวิต หรือ LM (Lifestyle Medicine) ในชุมชนของเขตเทศบาลฯ ซึ่งเป็นแนวทางป้องกันโรค NCDs ตั้งแต่ต้นทาง เราจึงได้รับมอบหมายให้เป็นตัวแทนเทศบาลฯ ไปอบรมหลักสูตร LM รุ่นแรก เพื่อนำองค์ความรู้กลับมาถ่ายทอดให้ทีมงานและทีมงานในเขตเทศบาลฯ ต่อไป
วันแรกที่ไปอบรมที่กรมอนามัย บอกตรง ๆ ว่ารู้สึกว่ายากค่ะ เพราะถึงเราจะทำงานด้านสุขภาพ แต่วิถีชีวิตเราก็เหมือนคนทั่วไป ชอบดื่มกาแฟนม ส้มตำ และขนมหวาน (หัวเราะ) อาหารสุขภาพอย่าง Plant-Based (อาหารที่มาจากพืชเป็นหลัก) นี่ถือว่าไกลตัวมาก ตอนพักเบรก เขาก็ให้กินอาหารคลีน จำได้ว่าหลังอบรมเสร็จ พอตกเย็นเราก็ไปหาร้านส้มตำเลย
การอบรมใช้เวลา 3 วัน ตลอดช่วงนั้นเราต้องกินอาหารคลีนทุกมื้อกลางวัน ซึ่งพอถึงวันสุดท้าย เรากลับพบว่าลิ้นเริ่มชินกับรสชาติที่ไม่จัดจ้านมากนัก จากนั้นก็เริ่มลดการบริโภคน้ำตาลและขนมหวานได้มากขึ้น เพราะเมื่อเราต้องเป็นผู้อบรมให้คนอื่นต่อ ถ้ายังยึดพฤติกรรมแบบเดิมอยู่ คนอื่นจะเชื่อเราได้อย่างไร (ยิ้ม)
แต่นอกจากเรื่องอาหาร การได้เรียนรู้เรื่อง LM ยังทำให้เราตระหนักว่าการปรับพฤติกรรมตั้งแต่เนิ่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นการกินอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกาย พักผ่อนให้เพียงพอ รวมถึงจัดการความเครียด และมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับคนรอบข้าง ล้วนส่งผลให้เรารู้สึกสุขภาพดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
เรายังสามารถนำความรู้นี้มาประยุกต์ใช้ในคลินิก CKD ที่เราดูแลอยู่ได้ เพราะสาเหตุของโรคไตส่วนใหญ่ก็มาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต ถ้าเราสามารถให้ความรู้กับผู้ป่วย หรือผู้ที่ยังไม่ป่วย ก็จะช่วยลดความเสี่ยงของโรค และเพราะเห็นถึงความสำคัญ เทศบาลฯ จึงได้เปิดคลินิก LM ในศูนย์บริการสาธารณสุขที่ 6 แห่งแรก เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนเข้าใจและปรับใช้ LM ในชีวิตประจำวัน
หัวใจสำคัญของคลินิก รวมถึงแนวคิดนี้ คือ การแพทย์ไม่ใช่แค่เรื่องของการรักษา แต่เป็นการป้องกันความเสี่ยงตั้งแต่ต้นทาง ขณะเดียวกัน แนวทางนี้ยังช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ปฏิบัติไปด้วย เป็นการดูแลทั้งกายและใจ ชะลอวัย และชะลอโรคไปพร้อมกัน”
#เทศบาลนครนนทบุรี #มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ #บพท #pmua #CIAP #โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่การเป็นเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด
“เมืองอาหารปลอดภัยไม่ได้ให้ประโยชน์แค่เฉพาะผู้คนในเขตเทศบาลฯแต่มันสามารถเป็นต้นแบบให้เมืองอื่น ๆ ที่อยากส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้คนได้เช่นกัน” “งานประชุมนานาชาติของสมาคมพืชสวนโลก (AIPH Spring Meeting Green City Conference 2025) ที่เชียงรายเป็นเจ้าภาพเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2568 ที่ผ่านมา เน้นย้ำถึงทิศทางการพัฒนาเมืองสีเขียว…
“ทั้งพื้นที่การเรียนรู้ นโยบายเมืองอาหารปลอดภัย และโรงเรียนสำหรับผู้สูงวัยคือสารตั้งต้นที่จะทำให้เชียงรายเป็นเมืองแห่งสุขภาพ (Wellness City)” “กล่าวอย่างรวบรัด ภารกิจของกองการแพทย์ เทศบาลนครเชียงราย คือการทำให้ประชาชนไม่เจ็บป่วย หรือถ้าป่วยแล้วก็ต้องมีกระบวนการรักษาที่เหมาะสม ครบวงจร ที่นี่เราจึงมีครบทั้งงานส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค การรักษาเมื่อเจ็บป่วย และระบบดูแลต่อเนื่องถึงบ้าน…
“การจะพัฒนาเมือง ไม่ใช่แค่เรื่องสาธารณูปโภคแต่ต้องพุ่งเป้าไปที่พัฒนาคนและไม่มีเครื่องมือไหนจะพัฒนาคนได้ดีไปกว่า การศึกษา” “แม้เทศบาลนครเชียงรายจะเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ของยูเนสโกแห่งแรกของไทยในปี 2562 แต่การเตรียมเมืองเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ว่านี้ เกิดขึ้นก่อนหน้านั้นหลายสิบปี ในอดีต เชียงรายเป็นเมืองที่ห่างไกลความเจริญ ทางเทศบาลฯ เล็งเห็นว่าการจะพัฒนาเมือง ไม่สามารถทำได้แค่การทำให้เมืองมีสาธารณูปโภคครบ แต่ต้องพัฒนาผู้คนที่เป็นหัวใจสำคัญของเมือง และไม่มีเครื่องมือไหนจะพัฒนาคนได้ดีไปกว่า ‘การศึกษา’…
“ถ้าอาหารปลอดภัยเป็นทางเลือกหลักของผู้บริโภคเชียงรายจะเป็นเมืองที่น่าอยู่กว่านี้อีกเยอะ” “นอกจากบทบาทของการพัฒนาชุมชนและสังคมสงเคราะห์ กองสวัสดิการสังคม เทศบาลนครเชียงราย ยังมีกลไกในการส่งเสริมเศรษฐกิจของพี่น้อง 65 ชุมชน ภายในเขตเทศบาลฯ โดยกลไกนี้ครอบคลุมการส่งเสริมสุขภาพ และช่วยดูแลสิ่งแวดล้อมในทางอ้อมด้วยกลไกที่ว่าคือ ‘สหกรณ์นครเชียงราย’ โดยสหกรณ์ฯ นี้เริ่มต้นมาตั้งแต่ปี 2560 หลักเราคือการสนับสนุนเศรษฐกิจชุมชน…
“แม่อยากปลูกผักปลอดภัยให้ตัวเองและคนในเมืองกินไม่ใช่ปลูกผักเพื่อส่งขาย แต่คนปลูกไม่กล้ากินเอง” “บ้านป่างิ้ว ตั้งอยู่ละแวกสวนสาธารณะหาดนครเชียงราย เราและชุมชนฮ่องลี่ที่อยู่ข้างเคียงเป็นชุมชนเกษตรที่ปลูกพริก ปลูกผักไปขายตามตลาดมาแต่ไหนแต่ไร กระทั่งราวปี 2548 สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองเชียงราย มาส่งเสริมให้ทำเกษตรปลอดภัย คนในชุมชนก็เห็นด้วย เพราะอยากทำให้สิ่งที่เราปลูกมันกินได้จริง ๆ ไม่ใช่ว่าเกษตรกรปลูกแล้วส่งขาย แต่ไม่กล้าเก็บไว้กินเองเพราะกลัวยาฆ่าแมลงที่ตัวเองใส่…
“วิวเมืองเชียงรายจากสกายวอล์กสวยมาก ๆขณะที่ผืนป่าชุมชนของที่นี่ก็มีความอุดมสมบูรณ์จนไม่น่าเชื่อว่านี่คือป่าที่อยู่ในตัวเมืองเชียงราย” “ก่อนหน้านี้เราเป็นพนักงานบริษัทเอกชนที่ต่างจังหวัด จนเทศบาลนครเชียงรายเขาเปิดสกายวอล์กที่ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนดอยสะเก็น และหาพนักงานนำชม เราก็เลยกลับมาสมัคร เพราะจะได้กลับมาอยู่บ้านด้วย ตรงนี้มีหอคอยชมวิวอยู่แล้ว แต่เทศบาลฯ อยากทำให้ที่นี่เป็นแหล่งท่องเที่ยว ก็เลยต่อขยายเป็นสกายวอล์กอย่างที่เห็น ซึ่งสุดปลายของมันยังอยู่ใกล้กับต้นยวนผึ้งเก่าแก่ที่มีผึ้งหลวงมาทำรังหลายร้อยรัง รวมถึงยังมีเส้นทางศึกษาธรรมชาติบนภูเขา ในป่าชุมชนผืนนี้ จริง…