[THE INSIDER]นายแพทย์ปิยะ ฟองศรันย์ผู้อำนวยการกองการแพทย์เทศบาลนครนนทบุรี

LIFESTYLE MEDICINE
“เวชศาสตร์วิถีชีวิต” ยกระดับคุณภาพชีวิตคนเมืองนนท์

เวชศาสตร์วิถีชีวิต (Lifestyle Medicine: LM) คือ สาขาทางการแพทย์ที่เน้นการป้องกันและรักษาโรคเรื้อรังผ่านการปรับพฤติกรรม เช่น การกินอาหารที่ดี ออกกำลังกาย จัดการความเครียด นอนหลับให้เพียงพอ เลิกบุหรี่หรือสารเสพติด และสร้างความสัมพันธ์ทางสังคมที่ดี เพื่อเสริมสร้างสุขภาพและคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน
ด้วยความเข้าใจในบริบทของเทศบาลนครนนทบุรี ซึ่งมีผู้สูงอายุจำนวนมาก เป็นชุมชนเมืองที่แออัด และเผชิญกับความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ นายแพทย์ปิยะ ฟองศรันย์ จึงนำแนวคิด LM มาใช้ในการดูแลสุขภาพประชาชน โดยยึดหลักว่า “หมอที่ดีที่สุดคือเราเองที่ต้องดูแลตัวเอง”


กองการแพทย์บูรณาการ LM ในศูนย์บริการสาธารณสุขทั้ง 11 แห่ง และทำงานเชิงรุกด้วยการส่งผู้เชี่ยวชาญอบรมชุมชนทั้ง 93 แห่ง ร่วมกับ บพท. พัฒนาแอปพลิเคชันติดตามสุขภาพ และสนับสนุนงบประมาณให้แต่ละชุมชนจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ

WeCitizens เรียบเรียงแนวคิดเบื้องหลังการขับเคลื่อนแนวทางการแพทย์ทางเลือก ซึ่งกำลังกลายเป็นหัวใจของระบบดูแลสุขภาพในนนทบุรี โดยแพทย์หนุ่มผู้มุ่งให้นนทบุรีเป็นเมืองต้นแบบสุขภาพที่ยั่งยืน


“เวชศาสตร์วิถีชีวิต หรือ LM ไม่ใช่เรื่องใหม่ ในต่างประเทศมีแพทย์เฉพาะทางด้านนี้และคลินิกเฉพาะทาง ส่วนในไทย กรมอนามัยเริ่มนำแนวคิดนี้มาใช้แล้ว และมีหลักสูตรอบรมแพทย์เฉพาะทางเช่นกัน เพียงแต่ยังจำกัดอยู่ในกลุ่มโรงพยาบาลเอกชน
ในฐานะหน่วยงานที่ดูแลสุขภาพของทุกคนในเขตเทศบาล LM จึงเป็นเครื่องมือสำคัญในการบรรเทาปัญหาสุขภาพ โดยเฉพาะในผู้สูงอายุและกลุ่มรายได้น้อย

เมื่อเทียบกับชนชั้นกลางขึ้นไป คนกลุ่มนี้มีต้นทุนมากพอในการเข้าถึงสิ่งที่เอื้อต่อสุขภาพ ทั้งอาหารดี ๆ สถานที่ออกกำลังกาย หรือบริการทางการแพทย์จากสถาบันชั้นนำ แต่ผู้มีรายได้น้อยแทบเข้าไม่ถึงสิ่งเหล่านี้


เทศบาลฯ จึงทดลองขยายแนวทาง LM สู่ภาครัฐ โดยเริ่มจากการเชิญกรมอนามัยมาอบรมเจ้าหน้าที่เทศบาลให้เข้าใจหลักการ และถ่ายทอดความรู้สู่ประชาชน ผ่านประธาน อสม. และประธานชุมชนในทุกพื้นที่ ซึ่งได้รับการตอบรับดี ทุกคนเห็นว่าหลักการนี้มีประโยชน์และอยากให้เผยแพร่อย่างต่อเนื่อง
ความท้าทายสำคัญคือการปรับพฤติกรรมของประชาชน ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่าย แม้จะรู้ว่าบางพฤติกรรมไม่ดี เช่น การสูบบุหรี่ หรือการกินอาหารที่มีน้ำตาลและไขมันสูง แต่ก็ยังเลิกไม่ได้


เราจึงนำหลักการของ Motivational Interviewing มาใช้ เป็นกระบวนการสนทนาเพื่อสร้างแรงบันดาลใจและกำลังใจในการเปลี่ยนพฤติกรรม โดยเริ่มจากการปรับมุมมอง สร้างแรงจูงใจใหม่ และให้กำลังใจ เราบอกเขาตรง ๆ ว่า ถึงจะมีสวัสดิการทางการแพทย์ที่ดี แต่ถ้าดูแลตัวเองให้ดีเสียแต่แรก ก็ไม่จำเป็นต้องใช้สิทธิ์เหล่านั้น


สำหรับโครงการที่เราร่วมกับ บพท. เป้าหมายคือสร้างต้นแบบการพัฒนาท้องถิ่นในแต่ละมิติโดยใช้แนวคิดสมาร์ทซิตี้ ผ่านการทำแพลตฟอร์มติดตามและประเมินผลสุขภาพ ฐานข้อมูลร้านอาหารสุขภาพในพื้นที่ รวมถึงการจัดตั้งคลินิกเวชศาสตร์วิถีชีวิตในศูนย์บริการสาธารณสุขที่ 6
โครงการเหล่านี้พัฒนาควบคู่ไปกับการลงทุนของเทศบาลฯ เช่น การขยายพื้นที่สีเขียว สถานที่ออกกำลังกาย ยกระดับทางเท้าให้เอื้อต่อการเดิน รวมถึงยุทธศาสตร์การแพทย์เชิงรุก โดยส่งเจ้าหน้าที่ตรวจสุขภาพชุมชนอย่างต่อเนื่อง


สุดท้าย เป้าหมายของเราคือให้คนนนทบุรีตระหนักในการดูแลสุขภาพ เป็น ‘หมอ’ ที่ดูแลกายและใจของตัวเอง ขณะเดียวกัน แนวคิด LM โดยภาครัฐได้ขยายสู่เทศบาลและ อปท. อื่น ๆ แล้วกว่า 10 แห่ง
เมื่อพิจารณาจากระบบบริการสุขภาพที่เรามี ผมเชื่อว่า เทศบาลนครนนทบุรีจะเป็นต้นแบบเมืองสุขภาพดีระดับประเทศได้ไม่ยาก”

#เทศบาลนครนนทบุรี #มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ #บพท #pmua #CIAP #โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่การเป็นเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด

Wecitizens Editor

Recent Posts

[The Insider]<br />พัชรี แซมสนธ์

“เมืองอาหารปลอดภัยไม่ได้ให้ประโยชน์แค่เฉพาะผู้คนในเขตเทศบาลฯแต่มันสามารถเป็นต้นแบบให้เมืองอื่น ๆ ที่อยากส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้คนได้เช่นกัน” “งานประชุมนานาชาติของสมาคมพืชสวนโลก (AIPH Spring Meeting Green City Conference 2025) ที่เชียงรายเป็นเจ้าภาพเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2568 ที่ผ่านมา เน้นย้ำถึงทิศทางการพัฒนาเมืองสีเขียว…

2 weeks ago

[The Insider]<br />พรทิพย์ จันทร์ตระกูล

“ทั้งพื้นที่การเรียนรู้ นโยบายเมืองอาหารปลอดภัย และโรงเรียนสำหรับผู้สูงวัยคือสารตั้งต้นที่จะทำให้เชียงรายเป็นเมืองแห่งสุขภาพ (Wellness City)” “กล่าวอย่างรวบรัด ภารกิจของกองการแพทย์ เทศบาลนครเชียงราย คือการทำให้ประชาชนไม่เจ็บป่วย หรือถ้าป่วยแล้วก็ต้องมีกระบวนการรักษาที่เหมาะสม ครบวงจร ที่นี่เราจึงมีครบทั้งงานส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค การรักษาเมื่อเจ็บป่วย และระบบดูแลต่อเนื่องถึงบ้าน…

2 weeks ago

[The Insider]<br />ณรงค์ศักดิ์ เตือนสกุล

“การจะพัฒนาเมือง ไม่ใช่แค่เรื่องสาธารณูปโภคแต่ต้องพุ่งเป้าไปที่พัฒนาคนและไม่มีเครื่องมือไหนจะพัฒนาคนได้ดีไปกว่า การศึกษา” “แม้เทศบาลนครเชียงรายจะเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ของยูเนสโกแห่งแรกของไทยในปี 2562 แต่การเตรียมเมืองเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ว่านี้ เกิดขึ้นก่อนหน้านั้นหลายสิบปี ในอดีต เชียงรายเป็นเมืองที่ห่างไกลความเจริญ ทางเทศบาลฯ เล็งเห็นว่าการจะพัฒนาเมือง ไม่สามารถทำได้แค่การทำให้เมืองมีสาธารณูปโภคครบ แต่ต้องพัฒนาผู้คนที่เป็นหัวใจสำคัญของเมือง และไม่มีเครื่องมือไหนจะพัฒนาคนได้ดีไปกว่า ‘การศึกษา’…

2 weeks ago

[The Insider]<br />นนทพัฒ ถปะติวงศ์

“ถ้าอาหารปลอดภัยเป็นทางเลือกหลักของผู้บริโภคเชียงรายจะเป็นเมืองที่น่าอยู่กว่านี้อีกเยอะ” “นอกจากบทบาทของการพัฒนาชุมชนและสังคมสงเคราะห์ กองสวัสดิการสังคม เทศบาลนครเชียงราย ยังมีกลไกในการส่งเสริมเศรษฐกิจของพี่น้อง 65 ชุมชน ภายในเขตเทศบาลฯ โดยกลไกนี้ครอบคลุมการส่งเสริมสุขภาพ และช่วยดูแลสิ่งแวดล้อมในทางอ้อมด้วยกลไกที่ว่าคือ ‘สหกรณ์นครเชียงราย’ โดยสหกรณ์ฯ นี้เริ่มต้นมาตั้งแต่ปี 2560 หลักเราคือการสนับสนุนเศรษฐกิจชุมชน…

2 weeks ago

[The Citizens]<br />ชวนพิศ สุริยวงค์

“แม่อยากปลูกผักปลอดภัยให้ตัวเองและคนในเมืองกินไม่ใช่ปลูกผักเพื่อส่งขาย แต่คนปลูกไม่กล้ากินเอง” “บ้านป่างิ้ว  ตั้งอยู่ละแวกสวนสาธารณะหาดนครเชียงราย เราและชุมชนฮ่องลี่ที่อยู่ข้างเคียงเป็นชุมชนเกษตรที่ปลูกพริก ปลูกผักไปขายตามตลาดมาแต่ไหนแต่ไร กระทั่งราวปี 2548 สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองเชียงราย มาส่งเสริมให้ทำเกษตรปลอดภัย คนในชุมชนก็เห็นด้วย เพราะอยากทำให้สิ่งที่เราปลูกมันกินได้จริง ๆ ไม่ใช่ว่าเกษตรกรปลูกแล้วส่งขาย แต่ไม่กล้าเก็บไว้กินเองเพราะกลัวยาฆ่าแมลงที่ตัวเองใส่…

2 weeks ago

[The Citizens]<br />กาญจนา ใจปา และพิทักษ์พงศ์ เชอมือ

“วิวเมืองเชียงรายจากสกายวอล์กสวยมาก ๆขณะที่ผืนป่าชุมชนของที่นี่ก็มีความอุดมสมบูรณ์จนไม่น่าเชื่อว่านี่คือป่าที่อยู่ในตัวเมืองเชียงราย” “ก่อนหน้านี้เราเป็นพนักงานบริษัทเอกชนที่ต่างจังหวัด จนเทศบาลนครเชียงรายเขาเปิดสกายวอล์กที่ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนดอยสะเก็น และหาพนักงานนำชม เราก็เลยกลับมาสมัคร เพราะจะได้กลับมาอยู่บ้านด้วย ตรงนี้มีหอคอยชมวิวอยู่แล้ว แต่เทศบาลฯ อยากทำให้ที่นี่เป็นแหล่งท่องเที่ยว ก็เลยต่อขยายเป็นสกายวอล์กอย่างที่เห็น ซึ่งสุดปลายของมันยังอยู่ใกล้กับต้นยวนผึ้งเก่าแก่ที่มีผึ้งหลวงมาทำรังหลายร้อยรัง รวมถึงยังมีเส้นทางศึกษาธรรมชาติบนภูเขา ในป่าชุมชนผืนนี้ จริง…

2 weeks ago