[The Insider]พชร เกิดฉายนักวิชาการคอมพิวเตอร์ปฏิบัติการ เทศบาลนครนนทบุรี

“ผมเป็นนักวิชาการคอมพิวเตอร์ประจำเทศบาลนครนนทบุรี หน้าที่หลักคือดูแลระบบเทคโนโลยีของเทศบาลทั้งหมด ตั้งแต่เว็บไซต์ แอปพลิเคชัน ‘นครนนท์’ บริการ e-Service, LINE OA สำหรับแจ้งเหตุและร้องเรียน รวมถึงระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ หรือ GIS

ระบบ GIS ของเรามีทั้งส่วนที่ให้บริการกับประชาชน เช่น แผนที่ขอบเขตตำบล จุดบริการต่าง ๆ ของเทศบาล โรงเรียน คลินิก โรงพยาบาล รวมไปถึงข้อมูลเรียลไทม์จากกล้องวงจรปิดและประตูระบายน้ำ เพื่อให้คนในพื้นที่สามารถติดตามสถานการณ์น้ำได้ตลอดเวลา

ส่วนฝั่งหลังบ้าน เราก็มีเจ้าหน้าที่คอยจัดการข้อมูลผ่านแดชบอร์ด ช่วยให้การส่งเจ้าหน้าที่ออกไปให้บริการในพื้นที่ต่าง ๆ ทำได้ตรงจุดและรวดเร็วมากขึ้น

เทศบาลนครนนทบุรีตั้งเป้าอยากเป็นเมืองต้นแบบด้านสุขภาวะสำหรับผู้สูงวัย ซึ่งระบบ GIS ก็เป็นเครื่องมือสำคัญในการไปให้ถึงจุดนั้น เรามีข้อมูลพื้นฐานค่อนข้างครบ ไม่ว่าจะเป็นจำนวนผู้สูงอายุในแต่ละชุมชน ผู้ป่วยติดเตียง หรือศูนย์บริการต่าง ๆ

ตอนนี้เรากำลังวางแผนจะพัฒนาแอปฯ ‘นครนนท์’ ให้มีโมดูลเกี่ยวกับ ‘เวชศาสตร์วิถี’ เข้าไปด้วย เพื่อให้คนทั่วไปสามารถติดตามสุขภาพของตัวเอง ประเมินความเสี่ยง หรือค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับสถานบริการสุขภาพและร้านอาหารเพื่อสุขภาพในเขตเทศบาลฯ ได้ง่ายขึ้น ทำให้การดูแลสุขภาพ เป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตประจำวันคนนนท์

แม้ประชากรตามทะเบียนจะมีประมาณ 200,000 คน แต่ปัจจุบันถ้านับประชากรแฝงก็เกือบ 500,000 คนแล้ว แอปพลิเคชันและระบบดิจิทัลที่เราพัฒนาขึ้นมา สามารถช่วยเติมเต็มช่องว่างของการบริหารจัดการในเมืองได้เยอะมาก ในแต่ละวันจะมีเรื่องร้องเรียนเข้ามาในระบบ แม้แต่วันหยุดเสาร์-อาทิตย์ ระบบก็ยังแจ้งเตือนไปที่กลุ่มไลน์ของเจ้าหน้าที่แบบเรียลไทม์ ทำให้ทีมงานสามารถรับเรื่องและจัดการได้ทันที

จริงอยู่ที่เครื่องมือพวกนี้ช่วยให้นนทบุรีเข้าใกล้ความเป็นสมาร์ทซิตี้มากขึ้น แต่ผมยังมองว่านี่เป็นแค่จุดเริ่มต้นเท่านั้น เรายังสามารถต่อยอดระบบต่าง ๆ ให้ครอบคลุมกว่านี้ได้อีกเยอะ เช่น อย่างที่โครงการของ บพท. พยายามทำอยู่ คือขยายฐานข้อมูลด้านสุขภาพผู้สูงอายุและผู้ป่วยให้ครอบคลุมมากขึ้น หรือเพิ่มเติมเรื่องอื่น ๆ เช่น การจราจร ระบบติดตามรถขนส่งสาธารณะ รวมถึงเรื่อง Zero Waste และคาร์บอนเครดิต เพื่อบรรเทาปัญหาสิ่งแวดล้อม

ถ้าเราทำได้ครบ ผมว่า นนทบุรีจะเป็นเมืองที่น่าอยู่ขึ้นได้อีกเยอะ”

#เทศบาลนครนนทบุรี #มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ #บพท #pmua #CIAP #โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่การเป็นเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด

Wecitizens Editor

Recent Posts

[The Insider]<br />พัชรี แซมสนธ์

“เมืองอาหารปลอดภัยไม่ได้ให้ประโยชน์แค่เฉพาะผู้คนในเขตเทศบาลฯแต่มันสามารถเป็นต้นแบบให้เมืองอื่น ๆ ที่อยากส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้คนได้เช่นกัน” “งานประชุมนานาชาติของสมาคมพืชสวนโลก (AIPH Spring Meeting Green City Conference 2025) ที่เชียงรายเป็นเจ้าภาพเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2568 ที่ผ่านมา เน้นย้ำถึงทิศทางการพัฒนาเมืองสีเขียว…

2 weeks ago

[The Insider]<br />พรทิพย์ จันทร์ตระกูล

“ทั้งพื้นที่การเรียนรู้ นโยบายเมืองอาหารปลอดภัย และโรงเรียนสำหรับผู้สูงวัยคือสารตั้งต้นที่จะทำให้เชียงรายเป็นเมืองแห่งสุขภาพ (Wellness City)” “กล่าวอย่างรวบรัด ภารกิจของกองการแพทย์ เทศบาลนครเชียงราย คือการทำให้ประชาชนไม่เจ็บป่วย หรือถ้าป่วยแล้วก็ต้องมีกระบวนการรักษาที่เหมาะสม ครบวงจร ที่นี่เราจึงมีครบทั้งงานส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค การรักษาเมื่อเจ็บป่วย และระบบดูแลต่อเนื่องถึงบ้าน…

2 weeks ago

[The Insider]<br />ณรงค์ศักดิ์ เตือนสกุล

“การจะพัฒนาเมือง ไม่ใช่แค่เรื่องสาธารณูปโภคแต่ต้องพุ่งเป้าไปที่พัฒนาคนและไม่มีเครื่องมือไหนจะพัฒนาคนได้ดีไปกว่า การศึกษา” “แม้เทศบาลนครเชียงรายจะเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ของยูเนสโกแห่งแรกของไทยในปี 2562 แต่การเตรียมเมืองเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ว่านี้ เกิดขึ้นก่อนหน้านั้นหลายสิบปี ในอดีต เชียงรายเป็นเมืองที่ห่างไกลความเจริญ ทางเทศบาลฯ เล็งเห็นว่าการจะพัฒนาเมือง ไม่สามารถทำได้แค่การทำให้เมืองมีสาธารณูปโภคครบ แต่ต้องพัฒนาผู้คนที่เป็นหัวใจสำคัญของเมือง และไม่มีเครื่องมือไหนจะพัฒนาคนได้ดีไปกว่า ‘การศึกษา’…

2 weeks ago

[The Insider]<br />นนทพัฒ ถปะติวงศ์

“ถ้าอาหารปลอดภัยเป็นทางเลือกหลักของผู้บริโภคเชียงรายจะเป็นเมืองที่น่าอยู่กว่านี้อีกเยอะ” “นอกจากบทบาทของการพัฒนาชุมชนและสังคมสงเคราะห์ กองสวัสดิการสังคม เทศบาลนครเชียงราย ยังมีกลไกในการส่งเสริมเศรษฐกิจของพี่น้อง 65 ชุมชน ภายในเขตเทศบาลฯ โดยกลไกนี้ครอบคลุมการส่งเสริมสุขภาพ และช่วยดูแลสิ่งแวดล้อมในทางอ้อมด้วยกลไกที่ว่าคือ ‘สหกรณ์นครเชียงราย’ โดยสหกรณ์ฯ นี้เริ่มต้นมาตั้งแต่ปี 2560 หลักเราคือการสนับสนุนเศรษฐกิจชุมชน…

2 weeks ago

[The Citizens]<br />ชวนพิศ สุริยวงค์

“แม่อยากปลูกผักปลอดภัยให้ตัวเองและคนในเมืองกินไม่ใช่ปลูกผักเพื่อส่งขาย แต่คนปลูกไม่กล้ากินเอง” “บ้านป่างิ้ว  ตั้งอยู่ละแวกสวนสาธารณะหาดนครเชียงราย เราและชุมชนฮ่องลี่ที่อยู่ข้างเคียงเป็นชุมชนเกษตรที่ปลูกพริก ปลูกผักไปขายตามตลาดมาแต่ไหนแต่ไร กระทั่งราวปี 2548 สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองเชียงราย มาส่งเสริมให้ทำเกษตรปลอดภัย คนในชุมชนก็เห็นด้วย เพราะอยากทำให้สิ่งที่เราปลูกมันกินได้จริง ๆ ไม่ใช่ว่าเกษตรกรปลูกแล้วส่งขาย แต่ไม่กล้าเก็บไว้กินเองเพราะกลัวยาฆ่าแมลงที่ตัวเองใส่…

2 weeks ago

[The Citizens]<br />กาญจนา ใจปา และพิทักษ์พงศ์ เชอมือ

“วิวเมืองเชียงรายจากสกายวอล์กสวยมาก ๆขณะที่ผืนป่าชุมชนของที่นี่ก็มีความอุดมสมบูรณ์จนไม่น่าเชื่อว่านี่คือป่าที่อยู่ในตัวเมืองเชียงราย” “ก่อนหน้านี้เราเป็นพนักงานบริษัทเอกชนที่ต่างจังหวัด จนเทศบาลนครเชียงรายเขาเปิดสกายวอล์กที่ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนดอยสะเก็น และหาพนักงานนำชม เราก็เลยกลับมาสมัคร เพราะจะได้กลับมาอยู่บ้านด้วย ตรงนี้มีหอคอยชมวิวอยู่แล้ว แต่เทศบาลฯ อยากทำให้ที่นี่เป็นแหล่งท่องเที่ยว ก็เลยต่อขยายเป็นสกายวอล์กอย่างที่เห็น ซึ่งสุดปลายของมันยังอยู่ใกล้กับต้นยวนผึ้งเก่าแก่ที่มีผึ้งหลวงมาทำรังหลายร้อยรัง รวมถึงยังมีเส้นทางศึกษาธรรมชาติบนภูเขา ในป่าชุมชนผืนนี้ จริง…

2 weeks ago