[ THE INSIDER ]สาธิต ขันธวิทย์สถาปนิกชำนาญการ กองช่างเทศบาลเมืองพนัสนิคม

“ผมเป็นคนพนัสนิคม ก่อนหน้านี้เคยทำงานเป็นนักผังเมืองในเทศบาลเมืองที่เป็นที่ตั้งของนิคมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ จริงอยู่ที่พอทำงานในเมืองใหญ่ ตำแหน่งรับผิดชอบต่าง ๆ ของหน่วยบริหารราชการจึงค่อนข้างจะครอบคลุม แต่การพัฒนาเมืองกลับไม่ได้ถูกนำโดยผู้คนท้องถิ่น มันถูกขีดมาจากระบบใหญ่จากบนลงล่าง และทิศทางการออกแบบเมืองมันจึงถูกกำหนดโดยผู้ประกอบการ ชาวบ้านหลายคนอาจได้รับผลกระทบจากการพัฒนา ซึ่งพวกเขาทำอะไรไม่ได้มาก 


ข้อดีของการอยู่เมืองเล็ก ๆ อย่างพนัสนิคม คือการที่ไม่เพียงชาวบ้านทุกคนเข้าถึงทรัพยากรของเมือง แต่พวกเขายังมีโอกาสกำหนดทิศทางของเมืองที่เขาอยากให้เป็นในอนาคต ซึ่งสิ่งนี้มันตอบสนองกับแนวคิดการพัฒนาเมืองแบบล่างขึ้นบนอย่างที่ผมสนใจ ขณะเดียวกัน การที่นายกฯ วิจัยท่านอยู่ในสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย ท่านจึงมักดึงโครงการวิจัยมาช่วยส่งเสริมยุทธศาสตร์การพัฒนา ซึ่งตอบโจทย์ทั้งปัญหาของเมือง การเข้าถึงข้อมูล และกระบวนการทำงานอย่างเป็นระบบ จริงอยู่ที่พออยู่เทศบาลเมืองขนาดเล็ก บุคลากรของสำนักงานกองช่างอาจต้องทำงานซ้อนกันหลายอย่าง แต่เมื่อโจทย์ของเมืองถูกตีแผ่ออกมาอย่างชัดเจน และผลประโยชน์ทั้งหมดมันตกอยู่ที่คุณภาพชีวิตของคนในเมือง ผมจึงรู้สึกถึงความคุ้มค่าในทุกงานที่ได้รับมอบหมายในบ้านเกิดของตัวเอง 

ถามว่าภูมิใจอะไรในเมืองพนัสนิคม ? ผมคิดว่าน่าจะเป็น ‘คนพนัสฯ’ ที่นี่ไม่ได้น่าอยู่เพราะแค่ความสะอาดและพื้นที่สีเขียว แต่การที่มีชุมชนเมืองที่มีคุณภาพ และผู้คนมีความแอ็กทิฟต่อเรื่องส่วนรวม คนพนัสฯ ภูมิใจในเมืองของพวกเขาเอง เมืองมันจึงกระโดดไปอีกขั้น

ยกตัวอย่าง อย่างประเด็นเรื่องเมืองปลอดขยะที่เทศบาลฯ พยายามรักษามาตรฐานมาตลอด เราไม่ได้มีถังขยะมาวางไว้ตามเมือง แต่จะนัดหมายเวลาในการเก็บขยะกับประชาชน พอถึงเวลาพวกเขาก็จะเอาถุงขยะออกมาวาง มีอยู่ครั้งหนึ่งที่เหมือนมีถุงเล็ก ๆ ถุงหนึ่งตกหล่นไป ไม่ได้ถูกเก็บ เท่านั้นแหละ ชาวบ้านเขาก็โทรศัพท์มาร้องเรียนกับเราทันที ซึ่งหลายคนบอกว่าเรื่องแค่นี้ทำไมต้องร้องเรียนด้วย แค่ถุงเล็ก ๆ ใบเดียว แต่ผมมองว่านี่มันโอเคมากเลย  ผมไม่ได้มองว่าเพิ่มหน้าที่ให้เรา แต่เห็นว่าความสะอาดของบ้านเมืองมันไปอยู่ในใจของชาวบ้าน

เรื่องนี้สะท้อนออกมาว่า เราไม่ได้ทำให้ชาวบ้านแค่ไม่อยากทิ้งขยะลงที่สาธารณะ แต่เรื่องความภูมิใจในเมืองสะอาด มันเข้าไปอยู่ในความรู้สึกของพวกเขาแล้ว แล้วเขาก็ช่วยกันดูแลเมือง นี่เป็นตัวชี้วัดที่น่าสนใจ” 

Wecitizens Editor

Recent Posts

[The Insider]<br />พัชรี แซมสนธ์

“เมืองอาหารปลอดภัยไม่ได้ให้ประโยชน์แค่เฉพาะผู้คนในเขตเทศบาลฯแต่มันสามารถเป็นต้นแบบให้เมืองอื่น ๆ ที่อยากส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้คนได้เช่นกัน” “งานประชุมนานาชาติของสมาคมพืชสวนโลก (AIPH Spring Meeting Green City Conference 2025) ที่เชียงรายเป็นเจ้าภาพเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2568 ที่ผ่านมา เน้นย้ำถึงทิศทางการพัฒนาเมืองสีเขียว…

3 weeks ago

[The Insider]<br />พรทิพย์ จันทร์ตระกูล

“ทั้งพื้นที่การเรียนรู้ นโยบายเมืองอาหารปลอดภัย และโรงเรียนสำหรับผู้สูงวัยคือสารตั้งต้นที่จะทำให้เชียงรายเป็นเมืองแห่งสุขภาพ (Wellness City)” “กล่าวอย่างรวบรัด ภารกิจของกองการแพทย์ เทศบาลนครเชียงราย คือการทำให้ประชาชนไม่เจ็บป่วย หรือถ้าป่วยแล้วก็ต้องมีกระบวนการรักษาที่เหมาะสม ครบวงจร ที่นี่เราจึงมีครบทั้งงานส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค การรักษาเมื่อเจ็บป่วย และระบบดูแลต่อเนื่องถึงบ้าน…

3 weeks ago

[The Insider]<br />ณรงค์ศักดิ์ เตือนสกุล

“การจะพัฒนาเมือง ไม่ใช่แค่เรื่องสาธารณูปโภคแต่ต้องพุ่งเป้าไปที่พัฒนาคนและไม่มีเครื่องมือไหนจะพัฒนาคนได้ดีไปกว่า การศึกษา” “แม้เทศบาลนครเชียงรายจะเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ของยูเนสโกแห่งแรกของไทยในปี 2562 แต่การเตรียมเมืองเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ว่านี้ เกิดขึ้นก่อนหน้านั้นหลายสิบปี ในอดีต เชียงรายเป็นเมืองที่ห่างไกลความเจริญ ทางเทศบาลฯ เล็งเห็นว่าการจะพัฒนาเมือง ไม่สามารถทำได้แค่การทำให้เมืองมีสาธารณูปโภคครบ แต่ต้องพัฒนาผู้คนที่เป็นหัวใจสำคัญของเมือง และไม่มีเครื่องมือไหนจะพัฒนาคนได้ดีไปกว่า ‘การศึกษา’…

3 weeks ago

[The Insider]<br />นนทพัฒ ถปะติวงศ์

“ถ้าอาหารปลอดภัยเป็นทางเลือกหลักของผู้บริโภคเชียงรายจะเป็นเมืองที่น่าอยู่กว่านี้อีกเยอะ” “นอกจากบทบาทของการพัฒนาชุมชนและสังคมสงเคราะห์ กองสวัสดิการสังคม เทศบาลนครเชียงราย ยังมีกลไกในการส่งเสริมเศรษฐกิจของพี่น้อง 65 ชุมชน ภายในเขตเทศบาลฯ โดยกลไกนี้ครอบคลุมการส่งเสริมสุขภาพ และช่วยดูแลสิ่งแวดล้อมในทางอ้อมด้วยกลไกที่ว่าคือ ‘สหกรณ์นครเชียงราย’ โดยสหกรณ์ฯ นี้เริ่มต้นมาตั้งแต่ปี 2560 หลักเราคือการสนับสนุนเศรษฐกิจชุมชน…

3 weeks ago

[The Citizens]<br />ชวนพิศ สุริยวงค์

“แม่อยากปลูกผักปลอดภัยให้ตัวเองและคนในเมืองกินไม่ใช่ปลูกผักเพื่อส่งขาย แต่คนปลูกไม่กล้ากินเอง” “บ้านป่างิ้ว  ตั้งอยู่ละแวกสวนสาธารณะหาดนครเชียงราย เราและชุมชนฮ่องลี่ที่อยู่ข้างเคียงเป็นชุมชนเกษตรที่ปลูกพริก ปลูกผักไปขายตามตลาดมาแต่ไหนแต่ไร กระทั่งราวปี 2548 สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองเชียงราย มาส่งเสริมให้ทำเกษตรปลอดภัย คนในชุมชนก็เห็นด้วย เพราะอยากทำให้สิ่งที่เราปลูกมันกินได้จริง ๆ ไม่ใช่ว่าเกษตรกรปลูกแล้วส่งขาย แต่ไม่กล้าเก็บไว้กินเองเพราะกลัวยาฆ่าแมลงที่ตัวเองใส่…

3 weeks ago

[The Citizens]<br />กาญจนา ใจปา และพิทักษ์พงศ์ เชอมือ

“วิวเมืองเชียงรายจากสกายวอล์กสวยมาก ๆขณะที่ผืนป่าชุมชนของที่นี่ก็มีความอุดมสมบูรณ์จนไม่น่าเชื่อว่านี่คือป่าที่อยู่ในตัวเมืองเชียงราย” “ก่อนหน้านี้เราเป็นพนักงานบริษัทเอกชนที่ต่างจังหวัด จนเทศบาลนครเชียงรายเขาเปิดสกายวอล์กที่ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนดอยสะเก็น และหาพนักงานนำชม เราก็เลยกลับมาสมัคร เพราะจะได้กลับมาอยู่บ้านด้วย ตรงนี้มีหอคอยชมวิวอยู่แล้ว แต่เทศบาลฯ อยากทำให้ที่นี่เป็นแหล่งท่องเที่ยว ก็เลยต่อขยายเป็นสกายวอล์กอย่างที่เห็น ซึ่งสุดปลายของมันยังอยู่ใกล้กับต้นยวนผึ้งเก่าแก่ที่มีผึ้งหลวงมาทำรังหลายร้อยรัง รวมถึงยังมีเส้นทางศึกษาธรรมชาติบนภูเขา ในป่าชุมชนผืนนี้ จริง…

3 weeks ago