“ตอนเด็ก ๆ เราแทบไม่ได้ผูกพันกับลำพูน บ้านเกิดเลยนะ เราถูกส่งไปเรียนที่เชียงใหม่ เรียนมหาวิทยาลัยที่ขอนแก่น จบมาก็ไปทำงานกรุงเทพฯ อยู่หลายปี ระหว่างนั้นก็กลับมาเยี่ยมแม่บ้าง ไป ๆ มา ๆ ก็เริ่มรู้สึกเป็นห่วงเขา สุดท้ายเลยตัดสินใจย้ายกลับมาทำงานในนิคมอุตสาหกรรมที่ลำพูน
ถึงพ่อแม่เราจะรับราชการครู เราก็ไม่เคยคิดจะทำงานราชการมาก่อน แต่แล้ววันหนึ่ง นายกเทศมนตรีเมืองลำพูน ซึ่งเป็นรุ่นพี่ที่นิด้าของเจ้านายเราในตอนนั้น กำลังหาคนรุ่นใหม่มาช่วยทำงาน ท่านเห็นว่าเราน่าจะมีศักยภาพ ก็เลยชวนเข้ามาร่วมทีม
ตอนนั้นเราอายุแค่ 29 ปี แทบไม่รู้เลยว่าเทศบาลฯ มีระบบการทำงานอย่างไร คอนเน็กชันก็ไม่มี เหมือนเริ่มจากศูนย์
เราเริ่มจากตำแหน่งคณะเทศมนตรี ก่อนจะได้รับแต่งตั้งเป็นรองนายกฯ และทำงานต่อเนื่องมากว่า 20 ปี เราไม่ได้มีธุรกิจครอบครัวเหมือนนักการเมืองท้องถิ่นส่วนใหญ่ ไม่มีภาระทางบ้านมากนัก และที่สำคัญ เราชอบเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ นั่นทำให้นายกฯ มอบหมายให้ดูแลงานที่หลากหลาย โดยเฉพาะการผลักดันโครงการต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อเมือง โดยสิ่งหนึ่งที่เรายึดมาตลอดคือ งานวิจัยจากสถาบันไหนที่ส่งมา เราจะพิจารณาเองทั้งหมด เพื่อให้มั่นใจว่ามันตอบโจทย์กับบริบทของคนในเมืองจริง ๆ ไม่ใช่แค่งานที่ขอทุนมาทำให้เสร็จ ๆ ไป
ส่วนใหญ่เราจะเป็นคนประสานงานเอง เพราะนักวิจัยมักมาจากนอกพื้นที่ เราต้องเข้าไปคุยกับชาวบ้าน สรุปแนวคิดเชิงวิชาการให้เข้าใจง่าย และทำให้เห็นว่าเขาจะได้ประโยชน์อะไร เมืองจะได้อะไร เพื่อให้ชาวบ้านเปิดใจและให้ความร่วมมือ งานวิจัยถึงจะฟังก์ชันได้จริง
สิ่งที่เราประทับใจมากคือ คนลำพูนนั้นตระหนักถึงความเป็นเจ้าของเมือง พวกเขาอยากมีส่วนร่วมกับการเปลี่ยนแปลงในทุกมิติ หวงแหนวัฒนธรรม แต่ก็ไม่ได้ปฏิเสธความเจริญ ถ้ามันสอดคล้องกับวิถีของคนส่วนใหญ่
ลองดูย่านเมืองเก่าสิ ถ้าเป็นเมืองอื่น ตึกเก่า ๆ คงติดป้ายให้เช่ากันเต็มไปหมดแล้ว แต่ที่นี่ คนลำพูนยังเลือกอยู่ในบ้านของตัวเอง หรือให้ลูกหลานมาทำธุรกิจ เมืองจึงยังคงเป็น ‘เมืองของคนท้องถิ่น’ ไม่ใช่เมืองที่เต็มไปด้วยคนจากที่อื่นที่เข้ามาอยู่
เพราะแบบนี้ เทศบาลฯ จึงต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจให้เติบโต และทำให้คนลำพูนอยากกลับมาอยู่บ้าน โดยเทศกาลโคมลำพูนก็เป็นหนึ่งในแนวทางนั้น
เทศกาลนี้เกิดจากแนวคิดร่วมกันของวัดพระธาตุหริภุญชัยและเทศบาลฯ ที่ต้องการลดมลภาวะจากการปล่อยโคมลอย เลยเปลี่ยนมาสร้างจุดขายใหม่ด้วยการแขวนโคมแทน ซึ่งนอกจากจะสร้างภาพจำให้เมืองแล้ว ยังช่วยส่งเสริมอาชีพให้คนในชุมชนได้มีรายได้จากการทำโคมอีกด้วย
สิ่งที่ต้องทำต่อไปคือ หาวิธีให้คนรุ่นใหม่เข้ามามีบทบาทมากขึ้น ถ้าทำได้ เมืองลำพูนก็จะกลับมามีพลังจากคนรุ่นใหม่ที่ช่วยขับเคลื่อนเมืองอีกครั้ง
ถามว่า ‘เมืองลำพูน น่าอยู่ตรงไหน?’ เราคิดว่าคำตอบอยู่ที่คนลำพูนเอง เพราะพวกเขาไม่เคยหยุดแอ็กทิฟ และพร้อมมีส่วนร่วมเพื่อเมืองของตัวเองเสมอ”
#เทศบาลเมืองลำพูน #มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ #CIAP #บพท
“มหาวิทยาลัยวัยที่สามคือพื้นที่ของคนสูงวัยที่หัวใจไม่แก่ตาม” “นักศึกษาในมหาวิทยาลัยวัยที่สามของเรามีอายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไป อาวุโสสุดนี่ก็ 80 กว่าปี ใช่ครับ… ถ้าอธิบายด้วยภาษาง่าย ๆ ที่นี่คือโรงเรียนผู้สูงอายุทำไมจึงเรียกมหาวิทยาลัย? เพราะโรงเรียนเราเริ่มต้นดำเนินการโดยอาจารย์มหาวิทยาลัย ก็เลยเรียกชื่อนั้น แต่แตกต่างจากมหาวิทยาลัยและโรงเรียนผู้สูงอายุทั่วไปก็ตรงที่ คณะกรรมการของเราเป็นประชาชนทั่วไปในชุมชนต่าง…
“เพราะไม่ใช่แค่คนในเมืองมีความสุข แต่อาชีพฐานรากของเมืองอย่างเกษตรกร ก็ต้องมีความสุขด้วย” “จริง ๆ ชุมชนป่างิ้ว และชุมชนฮ่องลี่ที่อยู่บริเวณหาดเชียงราย เขาริเริ่มทำเกษตรปลอดภัยมาเกือบ 20 ปีแล้ว และเทศบาลนครเชียงรายก็เล็งเห็นว่าที่นี่คือชุมชนต้นแบบสำหรับเมืองอาหารปลอดภัย จึงนำมาสู่การจัดตั้งศูนย์เรียนรู้เกษตรปลอดภัยภายใต้โครงการ ‘ปลูกเพาะรักษ์’ ขึ้นเมื่อปี 2566…
“ทุกวันนี้ป่าในเมืองใหญ่เหลือน้อยเต็มทีแล้วแต่ที่พิเศษคือที่นี่เป็นทั้งป่าชุมชนและแหล่งเรียนรู้ที่เกิดจากความร่วมแรงร่วมใจของชาวบ้าน” “ในพื้นที่ระดับเทศบาลนคร มีไม่กี่เมืองหรอกที่จะมีภูเขา ป่าชุมชน และวิถีดั้งเดิมของชาวบ้านเหลืออยู่ ชุมชนดอยสะเก็นที่ตั้งอยู่ฝั่งตะวันออกของเมืองเชียงรายคือหนึ่งในนั้นชุมชนเราอยู่ห่างจากย่านใจกลางเมืองแค่ 5 กิโลเมตร ผู้คนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมและยังคงมีวิถีในการหาของป่า โดยมีดอยสะเก็นที่อยู่ติดกับหมู่บ้านเป็นแหล่งทรัพยากร และความที่เรามีเอกลักษณ์เช่นนี้ ทางชุมชนและเทศบาลนครเชียงรายจึงเห็นศักยภาพในการพัฒนาที่นี่ให้เป็นศูนย์การเรียนรู้แห่งใหม่ของเมืองขึ้นจุดเริ่มต้นมาจากเมื่อโรงเรียนบ้านทุ่งมน ซึ่งเป็นโรงเรียนที่ตั้งอยู่เชิงเขาในหมู่บ้านปิดตัวลงเมื่อหลายสิบปีก่อน พื้นที่โรงเรียนถูกเปลี่ยนให้เป็นสนามกีฬาของหมู่บ้าน ขณะที่อาคารเรียนก็ถูกใช้เป็นที่ประชุมเหมือนศาลาประชาคม…
“เขื่อนป้องกันน้ำท่วมเป็นการรับมือที่ปลายเหตุสำคัญกว่านั้นคือวิธีบรรเทาปัญหาสิ่งแวดล้อมตั้งแต่ต้นทาง” “พูดถึงเรื่องน้ำท่วมเชียงราย จริง ๆ แล้ว เทศบาลฯ เรามีการทำโครงสร้างพื้นฐานไว้รองรับพอสมควร แต่ต้องยอมรับว่าครั้งที่ผ่านมา (ปี 2567) เป็นครั้งที่หนักที่สุดในรอบหลายสิบปี และเราไม่อาจรับมือได้ทันการหนึ่งในข้อจำกัดของเมืองคือ พื้นที่ริมแม่น้ำกกที่พาดผ่านเมืองส่วนใหญ่เป็นที่ดินเอกชน ทำให้มีการจัดการที่ยากกว่าหลาย ๆ…
“เชียงรายเผชิญปัญหาหมอกควันจากการเผาเศษวัสดุพืชเชิงเดี่ยวมานาน เราจึงใช้สมุนไพรเป็นทางเลือกใหม่ ให้เกษตรกรค่อย ๆ เปลี่ยนผ่านสู่การปลูกพืชสมุนไพรคุณภาพสูงแทน” อาจดูเหมือนเป็นความบังเอิญ แต่ในปี 2562 ปีเดียวกับที่เทศบาลนครเชียงรายได้รับเลือกให้เป็น “เมืองแห่งการเรียนรู้” เมืองแรกของประเทศไทยในเครือข่าย UNESCO Global Network of Learning Citiesมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงก็ได้จัดตั้ง “ศูนย์นวัตกรรมสมุนไพรครบวงจร”…
พลวัตการเรียนรู้ สู่เมืองเชียงรายที่น่าอยู่ “ถามว่าเชียงรายน่าอยู่อย่างไร คำตอบมีเยอะมากครับแต่สำหรับผม เชียงรายที่น่าอยู่ คือเมืองที่เปิดโอกาสให้ทุกคนได้เรียนรู้ เติบโต และใช้ศักยภาพของตัวเองสร้างชีวิตที่ดีขึ้น” ในห้องประชุมบนชั้น 2 ของสำนักงานเทศบาลนครเชียงราย นอกจากจะเห็นโล่และเหรียญรางวัลด้านการบริหารและพัฒนาเมืองที่เทศบาลฯ แห่งนี้ได้รับมากมาย เรายังเห็นแผนภาพกรอบวิสัยทัศน์การพัฒนาเมือง พร้อมภาพถ่ายการปฏิบัติภารกิจที่หลากหลายเต็มสองข้างของผนัง…