“ผมไม่ได้ฝันว่าจะต้องมีซิลิคอนวัลเลย์ในนครสวรรค์
แต่หวังว่าเราจะสามารถสร้างงานให้เด็กคนหนึ่งไม่ต้องเข้ากรุงเทพฯ
ไม่ต้องทิ้งบ้านเกิดไปเพราะไม่มีโอกาส”
“ในยุคที่เทคโนโลยีดิจิทัลพาโลกไปไกล เกมกลายเป็นสื่อที่ช่วยให้เด็กเรียนรู้และพัฒนาตัวเองอย่างน่าทึ่ง
ผมยกตัวอย่างลูกชายผม เขาเรียนอยู่ ป.1 มีเกมอยู่ 2 เกมที่เขาเล่นประจำ คือ Sprunki และ Roblox สองเกมนี้เน้นเรื่องการแปรรูปจินตนาการให้กลายเป็นรูปธรรม ตอนแรกผมก็ไม่รู้อะไรเกี่ยวกับเกมนี้หรอก จนมาศึกษา และพบว่าลูกชายผมและเพื่อนเขาหลายคน สามารถสร้างแผนที่เมืองทั้งเมือง ด้วย Roblox เช่นเดียวกับการทำเพลงของตัวเองผ่าน Sprunki
นอกจากการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ เกมยังเป็นพื้นที่ฝึกภาษา เพราะอินเทอร์เฟซส่วนใหญ่เป็นอังกฤษ มีคอมมิวนิตีระดับโลก เด็ก ๆ อาจสื่อสารไม่คล่องนัก แต่ก็พยายามแปลคำศัพท์และสื่อสารกับคนอื่นผ่านแอปพลิเคชันแปลภาษา ซึ่งเป็นการฝึกใช้เครื่องมือดิจิทัลไปในตัว
เกมหลายเกมในยุคนี้ ยังช่วยทำให้เด็กมองเห็นว่าพวกเขาชอบหรือไม่ชอบอะไร ซึ่งมันอาจนำไปสู่การหล่อหลอมความสนใจเฉพาะตัว เช่นที่ Sprunki ทำให้เด็กหลายคนอยากเป็นนักสร้างสรรค์งานมัลติมีเดีย หรือ Roblox ช่วยหล่อหลอมทักษะของการเป็นสถาปนิก วิศวกร ไปจนถึงนักผังเมือง
นั่นล่ะครับ เด็กสมัยนี้ไปไวกว่าที่พวกเราคิด มีเด็กประถมหลายคนเป็นยูทูบเบอร์ เป็นอินฟลูเอนเซอร์ หรือสามารถทำคอนเทนต์เกี่ยวกับ AI หรือทำสตรีมโชว์เองได้แล้ว
อย่างไรก็ตาม ผมไม่ได้บอกว่าเกมมีแต่ข้อดีนะ เพราะอย่างที่ทราบกัน เกมหลายเกมก็อาจไม่เหมาะกับช่วงวัยของผู้เล่น หรือถ้าเล่นมากไปโดยไม่รู้จักแบ่งเวลา ก็พาลทำให้ทักษะอื่น ๆ ในชีวิตถดถอยลงได้ ผู้ใหญ่อย่างเราจึงจำเป็นต้องช่วยทำให้เขารู้จักวินัยและความรับผิดชอบ รวมถึงช่วยสร้างสภาพแวดล้อมให้เขาเติบโตไปอย่างที่ถูกควร
และถ้ามองในภาพใหญ่ มันยังเป็นการปูทางให้เมืองของเราเข้าสู่อุตสาหกรรมเทคโนโลยีได้ในอนาคต ดูอย่างเวียดนาม หรือเกาหลีสิ เขามีอุตสาหกรรมอีสปอร์ตอย่างจริงจัง และมันเชื่อมโยงไปสู่อุตสาหกรรมอื่น ๆ เช่น การทำแอปพลิเคชัน การสร้างชิปประมวลผล ซึ่งเขามีบุคลากรที่พร้อมทำงานเหล่านี้
เด็กไทยเรามีของนะครับ เพียงแต่ที่ผ่านมา เราอาจไม่มีสภาพแวดล้อมที่ช่วยส่งเสริมให้พวกเขาเติบโตทางนี้ การขับเคลื่อนอีสปอร์ตไปกับการพัฒนาเมืองอย่างที่นครสวรรค์เป็นอยู่ อาจเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี แต่จำต้องได้รับการส่งเสริมจากหน่วยงานต่าง ๆ ในภาพใหญ่ให้มากกว่านี้
ผมไม่ได้ฝันว่าเราจะสร้างซิลิคอนวัลเลย์กลางเมืองนครสวรรค์ แต่หวังว่าเราจะสามารถสร้างงานให้เด็กคนหนึ่งไม่ต้องเข้ากรุงเทพฯ ไม่ต้องทิ้งบ้านเกิดไปเพราะไม่มีโอกาส เพราะเด็กคนหนึ่งที่ชอบเกม อาจจะโตมาแล้วเป็นคนเปลี่ยนอนาคตของเมืองนี้ก็ได้”
___
#เทศบาลนครนครสวรรค์ #นครสวรรค์นครอีสปอร์ต #มหาวิทยาลัยนเรศวร #หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาพื้นที่ #บพท #pmua #โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่การเป็นเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด #ciap #wecitizens
“เมืองอาหารปลอดภัยไม่ได้ให้ประโยชน์แค่เฉพาะผู้คนในเขตเทศบาลฯแต่มันสามารถเป็นต้นแบบให้เมืองอื่น ๆ ที่อยากส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้คนได้เช่นกัน” “งานประชุมนานาชาติของสมาคมพืชสวนโลก (AIPH Spring Meeting Green City Conference 2025) ที่เชียงรายเป็นเจ้าภาพเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2568 ที่ผ่านมา เน้นย้ำถึงทิศทางการพัฒนาเมืองสีเขียว…
“ทั้งพื้นที่การเรียนรู้ นโยบายเมืองอาหารปลอดภัย และโรงเรียนสำหรับผู้สูงวัยคือสารตั้งต้นที่จะทำให้เชียงรายเป็นเมืองแห่งสุขภาพ (Wellness City)” “กล่าวอย่างรวบรัด ภารกิจของกองการแพทย์ เทศบาลนครเชียงราย คือการทำให้ประชาชนไม่เจ็บป่วย หรือถ้าป่วยแล้วก็ต้องมีกระบวนการรักษาที่เหมาะสม ครบวงจร ที่นี่เราจึงมีครบทั้งงานส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค การรักษาเมื่อเจ็บป่วย และระบบดูแลต่อเนื่องถึงบ้าน…
“การจะพัฒนาเมือง ไม่ใช่แค่เรื่องสาธารณูปโภคแต่ต้องพุ่งเป้าไปที่พัฒนาคนและไม่มีเครื่องมือไหนจะพัฒนาคนได้ดีไปกว่า การศึกษา” “แม้เทศบาลนครเชียงรายจะเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ของยูเนสโกแห่งแรกของไทยในปี 2562 แต่การเตรียมเมืองเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ว่านี้ เกิดขึ้นก่อนหน้านั้นหลายสิบปี ในอดีต เชียงรายเป็นเมืองที่ห่างไกลความเจริญ ทางเทศบาลฯ เล็งเห็นว่าการจะพัฒนาเมือง ไม่สามารถทำได้แค่การทำให้เมืองมีสาธารณูปโภคครบ แต่ต้องพัฒนาผู้คนที่เป็นหัวใจสำคัญของเมือง และไม่มีเครื่องมือไหนจะพัฒนาคนได้ดีไปกว่า ‘การศึกษา’…
“ถ้าอาหารปลอดภัยเป็นทางเลือกหลักของผู้บริโภคเชียงรายจะเป็นเมืองที่น่าอยู่กว่านี้อีกเยอะ” “นอกจากบทบาทของการพัฒนาชุมชนและสังคมสงเคราะห์ กองสวัสดิการสังคม เทศบาลนครเชียงราย ยังมีกลไกในการส่งเสริมเศรษฐกิจของพี่น้อง 65 ชุมชน ภายในเขตเทศบาลฯ โดยกลไกนี้ครอบคลุมการส่งเสริมสุขภาพ และช่วยดูแลสิ่งแวดล้อมในทางอ้อมด้วยกลไกที่ว่าคือ ‘สหกรณ์นครเชียงราย’ โดยสหกรณ์ฯ นี้เริ่มต้นมาตั้งแต่ปี 2560 หลักเราคือการสนับสนุนเศรษฐกิจชุมชน…
“แม่อยากปลูกผักปลอดภัยให้ตัวเองและคนในเมืองกินไม่ใช่ปลูกผักเพื่อส่งขาย แต่คนปลูกไม่กล้ากินเอง” “บ้านป่างิ้ว ตั้งอยู่ละแวกสวนสาธารณะหาดนครเชียงราย เราและชุมชนฮ่องลี่ที่อยู่ข้างเคียงเป็นชุมชนเกษตรที่ปลูกพริก ปลูกผักไปขายตามตลาดมาแต่ไหนแต่ไร กระทั่งราวปี 2548 สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองเชียงราย มาส่งเสริมให้ทำเกษตรปลอดภัย คนในชุมชนก็เห็นด้วย เพราะอยากทำให้สิ่งที่เราปลูกมันกินได้จริง ๆ ไม่ใช่ว่าเกษตรกรปลูกแล้วส่งขาย แต่ไม่กล้าเก็บไว้กินเองเพราะกลัวยาฆ่าแมลงที่ตัวเองใส่…
“วิวเมืองเชียงรายจากสกายวอล์กสวยมาก ๆขณะที่ผืนป่าชุมชนของที่นี่ก็มีความอุดมสมบูรณ์จนไม่น่าเชื่อว่านี่คือป่าที่อยู่ในตัวเมืองเชียงราย” “ก่อนหน้านี้เราเป็นพนักงานบริษัทเอกชนที่ต่างจังหวัด จนเทศบาลนครเชียงรายเขาเปิดสกายวอล์กที่ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนดอยสะเก็น และหาพนักงานนำชม เราก็เลยกลับมาสมัคร เพราะจะได้กลับมาอยู่บ้านด้วย ตรงนี้มีหอคอยชมวิวอยู่แล้ว แต่เทศบาลฯ อยากทำให้ที่นี่เป็นแหล่งท่องเที่ยว ก็เลยต่อขยายเป็นสกายวอล์กอย่างที่เห็น ซึ่งสุดปลายของมันยังอยู่ใกล้กับต้นยวนผึ้งเก่าแก่ที่มีผึ้งหลวงมาทำรังหลายร้อยรัง รวมถึงยังมีเส้นทางศึกษาธรรมชาติบนภูเขา ในป่าชุมชนผืนนี้ จริง…