[The Insider]อารีวรรณ จั่นเพ็ชร์พยาบาลวิชาชีพชำนาญการและหัวหน้าศูนย์บริการสาธารณสุขที่ 6 สนามบินน้ำ

“ศูนย์บริการสาธารณสุขที่ 6 เป็น 1 ใน 11 ศูนย์ในสังกัดกองแพทย์ เทศบาลนครนนทบุรี ทำหน้าที่ให้บริการด้านสุขภาพประจำพื้นที่ แม้จะไม่ใช่โรงพยาบาล แต่ก็มีระบบการรักษาครบวงจร สามารถตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคได้เอง เพียงแต่ไม่มีแผนกผู้ป่วยในหรือให้คนไข้พักรักษาตัวค้างคืน

ด้วยความที่นนทบุรีเป็นเมืองที่มีประชากรหนาแน่น และมีผู้สูงอายุเกิน 20% ของประชากรทั้งหมด ศูนย์ของเราจึงต้องขยายบริการให้ครอบคลุม เพื่อแบ่งเบาภาระของโรงพยาบาลพระนั่งเกล้า ซึ่งเป็นโรงพยาบาลหลักในพื้นที่ เราจึงมีทั้งคลินิกโรคไตเรื้อรังที่ให้บริการฟอกไต เบาหวาน กระดูก และอื่น ๆ พร้อมห้องแล็บตรวจเลือด เอกซเรย์ ทันตกรรม แพทย์แผนไทย และแผนกทันตกรรม

บริการที่ครอบคลุมเช่นนี้ ไม่เพียงสะท้อนความหนาแน่นของประชากร แต่ยังชี้ให้เห็นว่า เมืองของเรามีผู้ป่วย โดยเฉพาะผู้สูงวัยที่เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) เช่น เบาหวาน ความดัน ตับแข็ง ไต และมะเร็ง อยู่เป็นจำนวนมาก ไม่เฉพาะในเขตเทศบาลนคร แต่รวมถึงพื้นที่ใกล้เคียงอย่างปากเกร็ดที่เข้ามาใช้บริการด้วย

แม้เราจะมีบุคลากรหลากหลาย ตั้งแต่พนักงานธุรการ นักวิชาการสาธารณสุข ไปจนถึงแพทย์กว่า 60 คน แต่ก็ยังไม่เพียงพอรองรับจำนวนคนไข้ ทำให้ต้องจ้างพนักงานพาร์ตไทม์เข้ามาช่วยอย่างต่อเนื่อง

ด้วยเหตุนี้ กองการแพทย์จึงนำแนวทางส่งเสริมสุขภาพเชิงรุก ‘เวชศาสตร์วิถีชีวิต’ หรือ LM (Lifestyle Medicine) ที่เรียนรู้จากกรมอนามัย มาใช้ในการป้องกันโรค โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงวัยทุกชุมชนในเขตเทศบาล แนวทางนี้พูดง่าย ๆ คือ ‘กันไว้ดีกว่าแก้’ หากสามารถปรับพฤติกรรมประชาชนได้ตั้งแต่ต้น ก็จะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการรักษา รวมถึงลดภาระอื่น ๆ อย่างมีนัยสำคัญ

นอกจากการเปิด ‘คลินิกเวชศาสตร์วิถีชีวิต’ เพิ่มขึ้น ตัวเราเองยังรับผิดชอบดูแลหนึ่งในหกเสาหลักของ LM คือ ‘ความสัมพันธ์เชิงบวกกับครอบครัวและคนรอบข้าง’ ที่เน้นการดูแลสุขภาพจิต ในคลินิกนี้มีเจ้าหน้าที่ให้คำปรึกษา รวมถึงออกพื้นที่ไปยังชุมชนต่าง ๆ เพื่อสร้างความเข้าใจ เพราะความสัมพันธ์ที่ดีส่งผลโดยตรงต่อสุขภาพและการจัดการอารมณ์

เพื่อให้แนวทาง LM เข้าถึงชีวิตประจำวันของประชาชนอย่างแท้จริง เทศบาลนครนนทบุรีจึงร่วมกับ บพท. พัฒนาแอปพลิเคชันประเมินสุขภาพ เพื่อใช้ติดตามผลและสร้างแรงจูงใจให้ผู้ปฏิบัติตามแนวทางได้เห็นความก้าวหน้าและผลลัพธ์ด้านสุขภาพของตนเอง พี่มองว่านี่คือโมเดลที่ดี และสามารถขยายผลไปยังเมืองอื่น ๆ ได้ แต่ต้องควบคู่กับการสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการดูแลสุขภาพ เพื่อให้ประชาชนรู้สึกว่า การดูแลตัวเองเป็นเรื่องง่าย และไม่ต้องลงทุนมาก”

#เทศบาลนครนนทบุรี #มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ #บพท #pmua #CIAP #โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่การเป็นเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด

Wecitizens Editor

Recent Posts

[The Insider]<br />พัชรี แซมสนธ์

“เมืองอาหารปลอดภัยไม่ได้ให้ประโยชน์แค่เฉพาะผู้คนในเขตเทศบาลฯแต่มันสามารถเป็นต้นแบบให้เมืองอื่น ๆ ที่อยากส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้คนได้เช่นกัน” “งานประชุมนานาชาติของสมาคมพืชสวนโลก (AIPH Spring Meeting Green City Conference 2025) ที่เชียงรายเป็นเจ้าภาพเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2568 ที่ผ่านมา เน้นย้ำถึงทิศทางการพัฒนาเมืองสีเขียว…

2 weeks ago

[The Insider]<br />พรทิพย์ จันทร์ตระกูล

“ทั้งพื้นที่การเรียนรู้ นโยบายเมืองอาหารปลอดภัย และโรงเรียนสำหรับผู้สูงวัยคือสารตั้งต้นที่จะทำให้เชียงรายเป็นเมืองแห่งสุขภาพ (Wellness City)” “กล่าวอย่างรวบรัด ภารกิจของกองการแพทย์ เทศบาลนครเชียงราย คือการทำให้ประชาชนไม่เจ็บป่วย หรือถ้าป่วยแล้วก็ต้องมีกระบวนการรักษาที่เหมาะสม ครบวงจร ที่นี่เราจึงมีครบทั้งงานส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค การรักษาเมื่อเจ็บป่วย และระบบดูแลต่อเนื่องถึงบ้าน…

2 weeks ago

[The Insider]<br />ณรงค์ศักดิ์ เตือนสกุล

“การจะพัฒนาเมือง ไม่ใช่แค่เรื่องสาธารณูปโภคแต่ต้องพุ่งเป้าไปที่พัฒนาคนและไม่มีเครื่องมือไหนจะพัฒนาคนได้ดีไปกว่า การศึกษา” “แม้เทศบาลนครเชียงรายจะเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ของยูเนสโกแห่งแรกของไทยในปี 2562 แต่การเตรียมเมืองเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ว่านี้ เกิดขึ้นก่อนหน้านั้นหลายสิบปี ในอดีต เชียงรายเป็นเมืองที่ห่างไกลความเจริญ ทางเทศบาลฯ เล็งเห็นว่าการจะพัฒนาเมือง ไม่สามารถทำได้แค่การทำให้เมืองมีสาธารณูปโภคครบ แต่ต้องพัฒนาผู้คนที่เป็นหัวใจสำคัญของเมือง และไม่มีเครื่องมือไหนจะพัฒนาคนได้ดีไปกว่า ‘การศึกษา’…

2 weeks ago

[The Insider]<br />นนทพัฒ ถปะติวงศ์

“ถ้าอาหารปลอดภัยเป็นทางเลือกหลักของผู้บริโภคเชียงรายจะเป็นเมืองที่น่าอยู่กว่านี้อีกเยอะ” “นอกจากบทบาทของการพัฒนาชุมชนและสังคมสงเคราะห์ กองสวัสดิการสังคม เทศบาลนครเชียงราย ยังมีกลไกในการส่งเสริมเศรษฐกิจของพี่น้อง 65 ชุมชน ภายในเขตเทศบาลฯ โดยกลไกนี้ครอบคลุมการส่งเสริมสุขภาพ และช่วยดูแลสิ่งแวดล้อมในทางอ้อมด้วยกลไกที่ว่าคือ ‘สหกรณ์นครเชียงราย’ โดยสหกรณ์ฯ นี้เริ่มต้นมาตั้งแต่ปี 2560 หลักเราคือการสนับสนุนเศรษฐกิจชุมชน…

2 weeks ago

[The Citizens]<br />ชวนพิศ สุริยวงค์

“แม่อยากปลูกผักปลอดภัยให้ตัวเองและคนในเมืองกินไม่ใช่ปลูกผักเพื่อส่งขาย แต่คนปลูกไม่กล้ากินเอง” “บ้านป่างิ้ว  ตั้งอยู่ละแวกสวนสาธารณะหาดนครเชียงราย เราและชุมชนฮ่องลี่ที่อยู่ข้างเคียงเป็นชุมชนเกษตรที่ปลูกพริก ปลูกผักไปขายตามตลาดมาแต่ไหนแต่ไร กระทั่งราวปี 2548 สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองเชียงราย มาส่งเสริมให้ทำเกษตรปลอดภัย คนในชุมชนก็เห็นด้วย เพราะอยากทำให้สิ่งที่เราปลูกมันกินได้จริง ๆ ไม่ใช่ว่าเกษตรกรปลูกแล้วส่งขาย แต่ไม่กล้าเก็บไว้กินเองเพราะกลัวยาฆ่าแมลงที่ตัวเองใส่…

2 weeks ago

[The Citizens]<br />กาญจนา ใจปา และพิทักษ์พงศ์ เชอมือ

“วิวเมืองเชียงรายจากสกายวอล์กสวยมาก ๆขณะที่ผืนป่าชุมชนของที่นี่ก็มีความอุดมสมบูรณ์จนไม่น่าเชื่อว่านี่คือป่าที่อยู่ในตัวเมืองเชียงราย” “ก่อนหน้านี้เราเป็นพนักงานบริษัทเอกชนที่ต่างจังหวัด จนเทศบาลนครเชียงรายเขาเปิดสกายวอล์กที่ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนดอยสะเก็น และหาพนักงานนำชม เราก็เลยกลับมาสมัคร เพราะจะได้กลับมาอยู่บ้านด้วย ตรงนี้มีหอคอยชมวิวอยู่แล้ว แต่เทศบาลฯ อยากทำให้ที่นี่เป็นแหล่งท่องเที่ยว ก็เลยต่อขยายเป็นสกายวอล์กอย่างที่เห็น ซึ่งสุดปลายของมันยังอยู่ใกล้กับต้นยวนผึ้งเก่าแก่ที่มีผึ้งหลวงมาทำรังหลายร้อยรัง รวมถึงยังมีเส้นทางศึกษาธรรมชาติบนภูเขา ในป่าชุมชนผืนนี้ จริง…

2 weeks ago