ก่อนอื่นผมขอขอบคุณท่านนายกฯ สมาคมเทศบาลนครและเมือง เจ้าหน้าที่เทศบาล อาจารย์ นักวิจัยทุกท่าน ขอขอบคุณที่ร่วมยืนหยัดในเรื่องการใช้ความรู้ ใช้ข้อมูลเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง วันนี้เราจะได้รับฟังกันและกันถึงประสบการณ์ ที่เราร่วมทำงานกันเกือบ 1 ปี
ที่ผ่านมาเราต่างพบว่า ข้อมูล คือ ต้นทุนสำคัญ วันนี้ความท้าทายจึงอยู่ที่ว่าเราจะทํายังไงเพื่อใช้ข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผมเชื่อมั่นว่าในเรื่องของความรู้ข้อมูล ถ้าไม่ลงมือทำในระดับ ท้องถิ่นของเรา โอกาสที่จะประสบความสําเร็จในงานพัฒนาเมืองจะเป็นไปได้ยากมาก เพราะอย่างที่เราทราบโครงสร้างสังคมและการบริหารของเรามันแยกส่วนเป็นขนมชั้น แบ่งระหว่างรัฐบาลส่วนกลาง ท้องถิ่นและภาคประชาชน การทำงานเป็นแบบแนวตั้ง ไม่ต่อเนื่องกัน และมีรอยแยก วัตถุประสงค์หลักของพวกเรา คือ การใช้ข้อมูลเมืองให้ได้มากที่สุด และผมคิดว่าเราน่าจะเป็นทีมแรกๆ ที่จัดการและใช้ข้อมูล ผสานกับองค์ความรู้ เทคโนโลยี และกลไกซึ่งก็คือผู้คน ช่วยกันสร้างเมืองที่เรารักให้น่าอยู่
กลไกที่เราพูดถึง คือ ผู้คน รวมกันเป็นขบวนแล้วออกเดินทางไปด้วยกัน คือ ขบวนของคนที่รัก เมือง และช่วยกันมองเมือง และตั้งคำถามว่าเมืองของเราเป็นอย่างไรเรารู้จักเมืองของเราดีแค่ไหน ตัวชี้วัดสําคัญ ในการบริหารท้องถิ่น ที่จะนำพาให้เมืองของเราดีขึ้น
อย่าลืมนะครับว่าคือ ครูบาศรีวิชัย ท่านไม่ได้สร้างถนนขึ้นดอยสุเทพด้วยตัวคนเดียว มันคือ Crowdfunding ที่มีศรัทธาประชาชนมากมายเป็นแรงหนุน งานสำคัญของเราอีกข้อคือ การปลุกให้ภาคประชาชนและพลเมืองลุกขึ้นมาทำงานบนข้อมูลและองค์ความรู้ แล้วมาช่วยกันมอง และเลือกประเด็นสำคัญในการพัฒนาเมือง บางเมืองอาจเลือกเรื่อง ผู้สูงอายุ บางเมืองเลือกเรื่องภัยพิบัติ บางเมืองเป็นสิ่งแวดล้อม หรือเมืองวัฒนธรรม
นี่คือสิ่งที่เราทำด้วยกันวันนี้คือ แทนที่จะตั้งรับรอปัญหา เรามองว่าเรื่องต่างๆ เหล่านี้เป็นโอกาส ช่วยกันกำหนดประเด็น แล้วใช้ข้อมูลวิเคราะห์ ตัดสินใจ เรียนรู้มีประสบการณ์การทำงานด้วยกัน
และต่อมาคือ การมองและผลักดันไปให้ถึงการลงทุน งานต่างๆ ที่เราทำถ้าลงทุนไม่ได้มันก็เลื่อนลอยนะครับ Gap ตรงนี้เราต้องช่วยกันปิดให้ได้ ปีนี้ หรือปีหน้าเราต้องทำเรื่องนี้ ศึกษา feasibility ความคุ้มค่าของการลงทุน อย่าลืมว่าเราทุกใช้ภาษีของประชาชน เอกชน และของเราทุกคน การจะสร้างเมืองที่น่าอยู่และชาญฉลาดต้องตอบเรื่องนี้ให้ได้ว่า ลงทุนแล้วมันต้องคุ้มค่า บางคนการอาจจะได้กลับมาเป็นตัวเงิน หลายโครงการเป็นความคุ้มค่าในรูปแบบอื่น ก็ต้องชี้ให้ชัดเจนเห็นภาพ แน่นอนว่าเรื่องนี้ไม่ง่าย และเหนื่อยมากสำหรับเทศบาล หรือท้องถิ่นเล็กๆ แต่เราต้องสร้างท้องถิ่นที่จัดการตัวเองได้ ขึ้นมาให้ได้สร้างการพัฒนาที่ไม่ต้องพึงพาส่วนกลางแต่เพียงอย่างเดียว
อีกเรื่องที่ผมอยากชวนคิดว่า วันนี้เราต้องไป Benchmark กันเองแต่ต้องมองไปที่เมืองทั่วโลกอย่างญี่ปุ่น มาเลเซีย หรือประเทศจีน อย่างเมืองในสิบสองปันนา ที่เราเคยไปศึกษาดูงานกัน
การใช้ข้อมูล การมี Data Center ใช้องค์ความรู้ เทคโนโลยี บวกกับการบริหารที่สามารถระดมศักยภาพของคนในเมือง สร้างการลงทุน การทำให้บทบาท City Operator เข้มแข็งจึงเป็นอีกเรื่องที่สำคัญ ผมไม่ได้หมายถึงแค่ เทศบาล แต่หมายรวมถึงภาคเอกชน ภาคประชาชน นึกภาพง่ายๆ อย่างรถม้าลำปาง ก็ถือว่าเป็นหนึ่งใน Operator ของเมืองที่ไม่ได้เป็นเทศบาล แต่คือเอกชน นี่คือกลไก และ Service ของเมืองที่จะทำให้เมืองเติบโตต่อไปในอนาคต
วันนี้และในปีต่อไประบบวิจัยและความร่วมมือของพวกเราก็จะช่วยผลักดันกันต่อ
และให้ความสำคัญกับ Performant Based กับคำมั่นสัญญาว่าเราจะช่วยกันสร้างเมืองของเรา และไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับการเลือกตั้ง หรือความเปลี่ยนแปลงต่าง เราจะร่วมเดินทางกับการเดินทางของการพัฒนาเมืองร่วมกันต่อไป มีสมาคมเทศบาลนครและเมือง เทศบาลต่างๆ และเครือข่ายมหาวิทยาลัย รวมกันเป็นเสาหลักของการพัฒนาเมืองของประเทศไทยร่วมกันต่อไป
#โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่และชาญฉลาด #สมาคมเทศบาลนครและเมือง #pmua #ciap
“ความที่โตมาในลำพูน เราตระหนักดีว่าเมืองเรามีต้นทุนทางวัฒนธรรมที่สูงมาก ทั้งยังมีบรรยากาศที่น่าอยู่ อย่างไรก็ดี อาจเพราะเป็นเมืองขนาดเล็ก ลำพูนมักถูกมองข้ามจากแผนการพัฒนาของประเทศ เป็นเหมือนเมืองที่มีศักยภาพ แต่ยังไม่ถูกปลุกให้ตื่นความที่เราเคยทำงานที่ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (ปัจจุบันคือสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA - ผู้เรียบเรียง) ได้เห็นตัวอย่างความสำเร็จของกระบวนการพัฒนาย่านด้วยกรอบพื้นที่สร้างสรรค์ในหลายพื้นที่…
“ผมเป็นคนลำพูน และชอบทำกิจกรรมนอกห้องเรียนมาตั้งแต่เด็ก ปัจจุบันเป็นประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดลำพูน ควบคู่ไปกับกำลังศึกษาคณะรัฐศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จากประสบการณ์การทำงานในสภาฯ ทำให้ผมเห็นว่า เยาวชนลำพูนมีศักยภาพที่หลากหลาย แต่สิ่งที่ขาดไปคือเวทีที่เปิดโอกาสให้พวกเขาได้แสดงความสามารถและพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง นอกเหนือจากการสนับสนุนจากโรงเรียนหรือโครงการของภาคเอกชน ปี 2567 พี่อร (ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์…
“อาคารหลังนี้แต่ก่อนเป็นที่ประทับของเจ้าราชสัมพันธวงษ์ลำพูน (พุทธวงษ์ ณ เชียงใหม่) น้องเขยของเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าหลวงองค์สุดท้ายของลำพูน อาคารถูกสร้างขึ้นเมื่อปี 2455 หลังจากนั้นก็ถูกขายให้พ่อค้าชาวจีนไปทำเป็นโรงเรียนหวุ่นเจิ้ง สอนภาษาจีนและคณิตศาสตร์ โรงเรียนนี้เปิดได้ไม่นานก็ต้องปิด เพราะสมัยนั้นรัฐบาลเพ่งเล็งว่าอะไรที่เป็นของจีนจะเกี่ยวข้องกับลัทธิคอมมิวนิสต์ แต่หนูก็ไม่รู้หรอกว่าโรงเรียนนี้เกี่ยวข้องหรือเปล่า (ยิ้ม) จากนั้นอาคารก็ถูกเปลี่ยนมาเป็นโรงเรียนมงคลวิทยาในปี…
“เราโตมากับวัฒนธรรมของคนลำพูน ชอบไปเดินงานปอย ร่วมงานบุญ ก่อนหน้านี้ก็เคยทำงานรับจ้างทั่วไป จนเทศบาลฯ มาส่งเสริมเรื่องการทำโคม โดยมีสล่าจากชุมชนศรีบุญเรืองมาสอน เราก็ไปเรียนกับเขา ตอนนี้อาชีพหลักคือการทำโคม ทำมาได้ 2 ปีแล้ว สำหรับเรา โคมคืองานศิลปะ เป็นสัญลักษณ์และมรดกที่ยึดโยงกับวัฒนธรรมของคนบ้านเรา ตอนแรกเราไม่มีความคิดเลยว่ามันจะกลายมาเป็นอาชีพได้…
“ก่อนหน้านี้เราเป็นสถาปนิก และกระบวนกรจัดประชุมสัมมนาด้านวิชาการ โดยหลัก ๆ จะอยู่เชียงใหม่ ช่วงปี 2562 เรากลับลำพูนและเห็นเทศกาล River Festival Lamphun ริมแม่น้ำกวง รู้สึกตื่นตามาก ๆ ไม่เคยคิดว่าเราจะได้เห็นโชว์แสง…
“ผมเคยทำงานที่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยมาก่อน พอเกษียณก็มาเป็นอาสาสมัครชุมชน และก็อยู่บ้านเฉย ๆ จนเทศบาลเขาชวนผมกับภรรยาไปเรียนทำโคม เพื่อจะให้ชุมชนเราผลิตโคมไปขายให้กับเทศบาลฯ ต่อ ชุมชนเรา (ชุมชนสันป่ายางหลวง) เป็นชุมชนแรกที่เข้าไปเรียนทำโคม น่าจะ 6-7 ปีก่อนได้ ตอนแรกก็ไม่ได้คิดว่าจะจริงจังอะไรนัก แค่เห็นว่าเป็นงานฝีมือที่น่าสนใจ และสามารถสร้างรายได้เสริมได้ด้วย แต่ทำไปทำมาชักสนุก…