[THE KEY SUCESS]18 เทศบาลนำร่อง & CIAP[ Ep.2 มุมมองผู้นำเมือง ภาคกลาง และภาคใต้]

ความสําเร็จของเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดบนฐานงานวิจัยและนวัตกรรม บพท.

คุณสมศักดิ์  ลามอ รองนายกเทศมนตรีเทศบาลนครปากเกร็ด (ดำรงตำแหน่ง มีนาคม 2567 – มีนาคม 2568)
มุ่งยกระดับการบริการประชาชนด้วยนวัตกรรมและยุทธศาสตร์ทันสมัย เทศบาลนครปากเกร็ด ซึ่งเป็นเทศบาลขนาดใหญ่ที่มีพื้นที่ติดต่อกับกรุงเทพมหานคร มีประชากรในความดูแลกว่า 400,000 คน และงบประมาณในการดำเนินงานกว่า 2,000 ล้านบาท โดยเฉพาะในทะเบียนราษฎรมีประชากรประมาณ 200,000 คน ด้วยวิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์ที่ชัดเจน เทศบาลฯ ได้พัฒนารูปแบบการให้บริการประชาชนให้มีความรวดเร็วและทันสมัยมากยิ่งขึ้น ผ่านการใช้สื่อและเทคโนโลยีที่หลากหลาย เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการของภาครัฐได้อย่างสะดวก ตอบโจทย์ความต้องการการรับรู้ของประชาชน มี Plat Form ให้คนทั่วไป ได้ศึกษาบริหารจัดการปัญหาอุทกภัยในเขตเทศบาลปากเกร็ด เราเจอปัญหามากที่สุด เพราะน้ำไหลผ่านปากเกร็ด หนึ่งในความภาคภูมิใจของเทศบาลนครปากเกร็ด คือ การได้รับรางวัลชนะเลิศด้านนวัตกรรมการบริหารจัดการจากคณะรัฐมนตรี ในปี พ.ศ. 2566 ซึ่งเน้นการบริหารจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ เทศบาลฯ ยังมุ่งเน้นการนำยุทธศาสตร์นำไปทำต่อไปใช้ในการร่วมกับทำงานวิจัยและโครงการพัฒนาต่าง ๆ ทั้งที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลและมีความเข้าใจในกระบวนการงานวิจัยให้เป็นเมืองน่าอยู่และชาญฉลาดของท้องถิ่นอย่างทั่วถึง

นายแพทย์ ปิยะ ฟองศรัณย์ ผู้อำนวยการกองการแพทย์ โครงการขับเคลื่อน “เมืองสุขภาพดี” เทศบาลนครนนทบุรี ร่วมมือภาคีวิชาการ สู่สังคมสุขภาวะยั่งยืน เทศบาลนครนนทบุรีกำลังดำเนินโครงการขับเคลื่อนเมืองสุขภาพดี (Healthy City) โดยร่วมมือกับทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ และหน่วยงานอื่น ๆ ในการนำแนวคิดเวชศาสตร์วิถีชีวิต (Lifestyle Medicine) มาใช้เป็นแนวทางหลักในการส่งเสริมสุขภาพประชาชน เวชศาสตร์วิถีชีวิต เป็นแนวทางที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติและเป็นกระแสสำคัญในวงการแพทย์ โดยมุ่งเน้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวันอย่างยั่งยืน เพื่อป้องกันและลดความเสี่ยงของโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และโรคหัวใจ ซึ่งกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข กำลังผลักดันแนวทางนี้อย่างเป็นระบบ ในส่วนของเทศบาลนครนนทบุรี ได้ร่วมมือกับทีมวิจัยในการลงพื้นที่ 93 ชุมชน เพื่อเผยแพร่ความรู้ สร้างความเข้าใจ และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดูแลสุขภาพของตนเองและครอบครัวอย่างยั่งยืน โดยโครงการยังมีเป้าหมายในการขยายผลไปสู่กลุ่มเยาวชนนักเรียน เพื่อป้องกันปัญหาสุขภาพในระยะยาว หนึ่งในนวัตกรรมสำคัญของโครงการคือ การพัฒนาแอปพลิเคชัน “นครนนท์” ที่ประชาชนสามารถเข้าไปประเมินสุขภาพตนเองตามหลักเวชศาสตร์วิถีชีวิตทั้ง 6 ด้าน พร้อมรับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญผ่านระบบไลน์ OA ซึ่งช่วยให้เกิดการติดตามและปรับพฤติกรรมอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ โครงการยังให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมและสังคม โดยส่งเสริมให้ร้านอาหารในพื้นที่ปรับเปลี่ยนเมนูให้มีทางเลือกสุขภาพ ลดหวาน มัน เค็ม พร้อมมีระบบการให้รางวัลและประกาศเกียรติคุณแก่ชุมชนที่สามารถดำเนินการได้อย่างเป็นรูปธรรม รวมถึงการส่งเสริมการออกกำลังกายแบบครบวงจร เช่น การฝึกเวทเทรนนิ่ง เพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อและระบบเผาผลาญ จากความพยายามดังกล่าว เทศบาลนครนนทบุรีได้รับรางวัล “Wellness Community Transformation Award” จากการประชุมวิชาการระดับชาติด้านวิถีชีวิตสุขภาวะ โดยกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งนับเป็นการยืนยันความสำเร็จของการขับเคลื่อนชุมชนสุขภาพดีอย่างเป็นระบบและยั่งยืน

คุณประยูร กิจอริยกุล รองนายกเทศมนตรีเมืองพนัสนิคม (ดำรงตำแหน่ง มีนาคม 2567 – มีนาคม 2568) แม้พนัสนิคมจะได้รับงบประมาณน้อยที่สุดในหลายพื้นที่ แต่ก็สามารถคว้ารางวัลด้านสิ่งแวดล้อมจากกระบวนทัศน์ใหม่ ซึ่งได้รับมอบโดยสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ แสดงให้เห็นถึงความตั้งใจในการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน อย่างไรก็ตาม พนัสนิคมยังประสบปัญหาในระดับชุมชน โดยเฉพาะด้านประชากรที่ลดลง หรือที่เรียกว่า “เมืองหด” และปัญหาความห่างของแต่ละรุ่นวัยที่ขาดความเชื่อมโยง หรือ “เมืองห่าง” ส่งผลให้คนจำนวนมากย้ายถิ่นฐานไปแสวงหาโอกาสในจังหวัดอื่นหรือกรุงเทพฯ

ด้วยความร่วมมือจากมหาวิทยาลัยบูรพาและ บพท (หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่) จึงเริ่มโครงการวิจัยและลงพื้นที่เพื่อวิเคราะห์ปัญหา และค้นพบว่าเมืองมีต้นทุนทางวัฒนธรรมอันหลากหลาย เช่น วัฒนธรรมไทย จีน และลาว การแสดงพื้นบ้านอย่าง “แองกอร์” จึงถูกหยิบยกมาพัฒนาให้กลายเป็นจุดขายของเมือง

นอกจากนี้ เมืองยังได้ทำ MOU กับประเทศจีน เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เนื่องจากไม่มีทรัพยากรธรรมชาติ เช่น แม่น้ำ ภูเขา หรือทะเล พนัสนิคมจึงใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นจุดแข็งในการพัฒนา

เป้าหมายต่อไปคือการจัดตั้ง ศูนย์การเรียนรู้สำหรับคนทุกเจเนอเรชัน เพื่อสร้างความเข้าใจระหว่างวัย ถ่ายทอดองค์ความรู้จากคนรุ่นเก่าให้คนรุ่นใหม่ และส่งเสริมให้ทุกกลุ่มอายุมีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนาเมืองร่วมกัน แนวคิด “เมืองหด” และ “เมืองห่าง” จึงจะค่อยๆ กลายเป็น “เมืองมีส่วนร่วม” ที่สมบูรณ์และยั่งยืน

คุณธีรรัตน์ จึงยิ่งเรืองรุ่ง นายกเทศมนตรีเมืองสระบุรี  (ดำรงตำแหน่ง มีนาคม 2567 – มีนาคม 2568)เทศบาลเมืองสระบุรีกำลังประสบปัญหาเมืองหดตัว เช่นเดียวกับหลายเมืองในประเทศไทย โดยสังเกตได้จากอาคารพาณิชย์สองข้างทางที่ปิดตัวลงและไม่มีผู้ประกอบการค้าขายเหมือนในอดีต พ่อค้าแม่ค้าในตลาดต่างร้องขอให้เทศบาลช่วยส่งเสริมกิจกรรมหรือจัดอีเว้นท์ เพื่อดึงดูดผู้คนให้กลับมาเดินตลาด

โชคดีที่เทศบาลเมืองสระบุรีมีโอกาสได้ร่วมมือกับหอการค้าจังหวัดสระบุรี และกลุ่ม YEC (Young Entrepreneur Chamber) รวมถึงการทำงานร่วมกับหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ซึ่งได้นำผู้บริหารท้องถิ่น อาทิ ผู้ว่าราชการจังหวัด และหอการค้า มาร่วมกันวางแผนเพื่อฟื้นฟูเมือง

หนึ่งในปัญหาหลักคือโครงสร้างพื้นฐานที่ส่งผลให้เมืองดู “ปิดตัว” โดยเฉพาะสะพานต่างระดับที่สร้างขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทางระหว่างกรุงเทพฯ และโคราช แต่กลับกลายเป็นการปิดทางเข้าสู่ตัวเมืองสระบุรี ผู้ที่ต้องการเข้าสู่เมืองต้องอ้อม ทำให้การสัญจรเข้าเมืองลดลงอย่างมาก

นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) เห็นว่าควรพิจารณารื้อถอนสะพานดังกล่าว เนื่องจากปัจจุบันมีถนนบายพาสและวงแหวนรอบเมืองแล้ว ความจำเป็นในการใช้สะพานต่างระดับลดลงอย่างชัดเจน ข้อมูลการใช้งานในแต่ละวันก็แสดงให้เห็นว่ามีผู้ใช้สะพานน้อยลงเรื่อย ๆ

เทศบาลได้มีการหารือร่วมกับแขวงการทางและกรมทางหลวง โดยยอมรับว่าการสร้างสะพานใช้งบประมาณมหาศาล และหากต้องรื้อถอนก็จะเป็นการสิ้นเปลือง อย่างไรก็ตาม ในฐานะผู้บริหารท้องถิ่น เราเห็นความจำเป็นต้องใช้งบประมาณอย่างคุ้มค่า จึงได้ประสานงานกับ บพท. และคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อให้ลงมาศึกษาและวิจัยอย่างเป็นระบบ พร้อมจัดทำข้อเสนอแนะแนวทางพัฒนาเมือง

อีกหนึ่งความคืบหน้าและความสำเร็จของเทศบาล คือการผลักดันโครงการยกรางรถไฟรางคู่ขึ้นลอยฟ้า ปัจจุบันเส้นทางรถไฟในเมืองถือเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการเดินทางและการเชื่อมต่อพื้นที่ จากสะพานต่างระดับเมื่อเข้าสู่เมืองประมาณ 100 เมตร จะพบรางรถไฟ ตัดผ่านในจุดที่ห่างจากสี่แยกไฟแดงเพียง 50 เมตร และเลยไปอีก 100 เมตรก็ถึงแม่น้ำป่าสัก ทำให้การจราจรติดขัดและขาดความต่อเนื่อง

เทศบาลจึงได้ผลักดันให้การรถไฟยกระดับรางรถไฟรางคู่ ซึ่งได้เริ่มต้นตั้งแต่ปี 2552 แม้จะมีการเปลี่ยนแปลงผู้ว่าการรถไฟถึง 4 คน แต่ในปัจจุบันก็สามารถผลักดันให้มีการจัดทำแบบสำรวจและออกแบบเป็นที่เรียบร้อยแล้ว การพัฒนานี้จะช่วยเชื่อมต่อพื้นที่ต่าง ๆ ในเมือง ทั้งตลาดเก่าและตลาดใหม่ เพิ่มความคล่องตัวในการเดินทาง และคาดว่าจะสามารถแก้ไขปัญหาเมืองหดตัวได้ในระดับหนึ่ง

คุณสุประวัติ อยู่พัฒน์ เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน กองยุทธศาสตร์และงบประมาณ เทศบาลเมืองทุ่งสง โครงการวิจัยเพื่อการจัดการภัยพิบัติในพื้นที่เทศบาลเมืองทุ่งสง

โครงการวิจัยนี้ไม่ใช่เพียงแค่การทำวิจัยเพื่อให้ได้เอกสารหรือรายงานสรุปเท่านั้น แต่เป็นงานวิจัยที่ก่อให้เกิดชิ้นงานที่จับต้องได้ และสามารถสะท้อนเป็นรูปลักษณ์ของผลลัพธ์ที่ชัดเจน โดยเริ่มต้นจากการประชุมวางแผนครั้งแรกกับเทศบาลเมืองทุ่งสง ซึ่งบังเอิญว่าแนวคิดของท่านนายกเทศมนตรีสอดคล้องกับแนวทางที่ทีมวิจัยของเราตั้งใจไว้ คือ การวิจัยเกี่ยวกับการจัดการภัยพิบัติ

การที่ทั้งสองฝ่ายมีแนวคิดตรงกันนี้เกิดจากการรับรู้ร่วมกันถึงปัญหาหลักของเมืองทุ่งสง นั่นคือ การจัดการภัยพิบัติน้ำท่วม ซึ่งในอดีตสร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจมหาศาล คิดเป็นมูลค่าหลายร้อยล้านบาท อย่างไรก็ตาม จากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอย่างต่อเนื่อง ความเสียหายจากน้ำท่วมในช่วงหลังได้ลดลงอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะในปี 2563 ซึ่งไม่มีความเสียหายรุนแรงเกิดขึ้นอีก

ที่ผ่านมา การสื่อสารกับชาวบ้านมักเป็นการสื่อสารทางเดียว คือจากหน่วยงานรัฐไปยังประชาชน ทำให้ขาดข้อมูลย้อนกลับจากประชาชนในพื้นที่ในช่วงเวลาที่เกิดเหตุภัยพิบัติ โครงการวิจัยนี้จึงเน้นสร้างการรับรู้แบบสองทาง ซึ่งจะส่งผลให้เกิดระบบการจัดการภัยพิบัติที่ยั่งยืนมากยิ่งขึ้น

นอกจากนี้ โครงการยังเชื่อมโยงกับวิสัยทัศน์ของเทศบาลทุ่งสง ที่ต้องการให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีอย่างยั่งยืน ซึ่งสอดคล้องกับแนวทาง “เมืองอัจฉริยะ” (Smart City) ที่เน้นการพัฒนาระบบเตือนภัยและการเข้าถึงข้อมูล

เราจึงเริ่มต้นจากสิ่งที่ง่ายและจับต้องได้ เช่น การติดตั้งกล้อง CCTV ร่วมกับอุปกรณ์วัดระดับน้ำ โดยใช้ระบบสัญญาณไฟเขียว เหลือง แดง เพื่อให้ประชาชนเข้าใจง่าย ไม่ต้องตีความตัวเลขให้ซับซ้อน นอกจากนี้ยังเชื่อมต่อกับระบบไลน์ (LINE OA) เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซากสามารถส่งข้อมูลแจ้งเตือนกลับมาได้ทันที

สิ่งที่น่ายินดีคือ เทศบาลเมืองทุ่งสงมี “ศูนย์บริหารจัดการน้ำ” ซึ่งได้รับความร่วมมือจากสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (สสน.) โดยทำหน้าที่บริหารจัดการลุ่มน้ำกลางตอนบนของจังหวัด โดยเฉพาะพื้นที่ที่รับน้ำจากเทือกเขานครศรีธรรมราช ศูนย์นี้จึงสามารถประสานข้อมูลเพื่อวางแผนการจัดการได้ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำอย่างเป็นระบบ

หัวใจของโครงการนี้ไม่ได้อยู่ที่เทคโนโลยีเพียงอย่างเดียว แต่รวมถึง “คน” ซึ่งเป็นผู้ที่ส่งข้อมูลจากพื้นที่จริงกลับมายังระบบ เพื่อให้การตัดสินใจของผู้บริหารมีความแม่นยำและรวดเร็ว โครงการวิจัยครั้งนี้จึงไม่เพียงแต่สร้างองค์ความรู้ใหม่ แต่ยังสามารถต่อยอดสู่การพัฒนาอย่างต่อเนื่องในอนาคตได้อีกด้วย

คุณสัญชาย ชาตรีทัพ รองปลัดเทศบาล เทศบาลนครนครศรีธรรมราช เทศบาลนครศรีธรรมราชมุ่งพัฒนาเมืองให้น่าอยู่อย่างยั่งยืน โดยยึดแนวคิด “City of City” ซึ่งเน้นโครงสร้างพื้นฐานที่มั่นคงและการพัฒนาเมืองให้เป็นเมืองอัจฉริยะ (Smart City) ปัจจุบันนครศรีธรรมราชได้รับรางวัล Smart City หลายรายการ สะท้อนถึงความก้าวหน้าในการบริหารจัดการเมืองด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม นครศรีธรรมราชได้ดำเนินการพัฒนา Smart City ครอบคลุมแล้ว 5 ด้าน โดยยังคงเหลือ 2 ด้านที่อยู่ระหว่างการพัฒนา คือ ด้านพลังงานอัจฉริยะและด้านระบบขนส่งอัจฉริยะ หนึ่งในความสำเร็จสำคัญ คือ ระบบร้องทุกข์ออนไลน์ ซึ่งมีประชาชนเข้าร่วมเป็นสมาชิก Line Official Account (Line OA) ถึง 100% เมื่อรวมประชากรแฝง และ 90% หากไม่รวมประชากรแฝง โดยระบบนี้ได้รับความพึงพอใจจากผู้ใช้งานถึง 90% จากการประเมินโดยตรง

อีกหนึ่งรางวัลสำคัญคือ โครงการ “โรงพยาบาลติดล้อ หมอถึงบ้าน” ที่ได้รับรางวัลจากงาน Smart City Solutions Awards 2024 ซึ่งมุ่งเน้นด้านสาธารณสุขและการเข้าถึงบริการทางการแพทย์สำหรับประชาชน รวมถึงระบบ “สัตวแพทย์ออนไลน์” ที่มีการขึ้นทะเบียนสัตว์เลี้ยงมากกว่า 7,000 ตัว มีข้อมูลระบุตัวตนและสถานที่ชัดเจน เพื่อสนับสนุนการควบคุมโรคพิษสุนัขบ้า

ด้านการศึกษา นครศรีธรรมราชได้นำเทคโนโลยีเมตาเวิร์สและ AI มาใช้ในการจัดการเรียนรู้ โดยมีเด็กในสังกัดเทศบาลกว่า 10,000 คน ได้เข้าร่วมเรียนรู้ผ่านระบบนี้ ซึ่งสามารถสร้างสื่อการสอนได้เอง เด็กๆ สามารถเรียนรู้วิชาหลัก เช่น คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ผ่านสื่อที่ทันสมัยและมีความน่าสนใจ

เทศบาลได้รับการสนับสนุนองค์ความรู้จาก บพท. และได้รับงบประมาณร่วมจากหน่วยงานต่างๆ เช่น DEPA, กระทรวงต่างๆ, มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, หอการค้า, สมาคมผู้ประกอบการโรงแรมและการท่องเที่ยว รวมถึงภาคเอกชนในพื้นที่ โดยมีเยาวชนนักเรียนและนักศึกษาเป็นกลุ่มเป้าหมายหลักของการพัฒนา ซึ่งถือเป็นกลไกความสำเร็จสำคัญ (Key Success Factor) สมาชิกใน Line OA ของเทศบาลยังทำหน้าที่เป็น “กล้องวงจรปิดเคลื่อนที่” มีจำนวนกว่า 90,000 – 100,000 คน ที่ช่วยติดตามสถานการณ์ต่างๆ เช่น การจราจร ภัยธรรมชาติ น้ำท่วม หรือภัยแล้ง เป็นการสร้างการรับรู้ร่วมกันในสังคม และเตรียมความพร้อมในการรับมือภัยพิบัติ

โครงการในอนาคตยังรวมถึงการใช้ CCTV เพื่อวิเคราะห์การเกิดอุบัติเหตุ เพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการปรับปรุงวิศวกรรมจราจร เช่น การขยายสัญญาณไฟจราจรจาก 3 วินาทีเป็น 5 วินาที เพื่อเพิ่มความปลอดภัย

เทศบาลยังมีแผนพัฒนา “Metaverse Classroom” หรือห้องเรียนอัจฉริยะ ซึ่งได้รับงบประมาณสนับสนุนจากสำนักงบประมาณ โดยจะขยายให้ครอบคลุมโรงเรียนอื่น ๆ รวมถึงศูนย์ สพฐ. และโรงเรียนเอกชนในพื้นที่ ถือเป็นการแชร์ทรัพยากรเพื่อสร้างคนอย่างยั่งยืน

ในระยะต่อไป เทศบาลจะเน้นการเพิ่มรายได้หลังจากที่เน้นการซ่อมแซมและสร้างโครงสร้างพื้นฐานในช่วงที่ผ่านมา โดยจะมุ่งสู่การส่งเสริมเศรษฐกิจ การท่องเที่ยวในชุมชน และการลดค่าใช้จ่ายของประชาชน

ทั้งหมดนี้คือนโยบายและทิศทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนของเทศบาลนครศรีธรรมราช ที่มุ่งสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะที่แท้จริง

คุณศุภรัตน์ เสือเหลือง ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์และงบประมาณ  เทศบาลนครนครสวรรค์ ได้เริ่มดำเนินการพัฒนาเมืองในแนวทางของสมาร์ทซิตี้มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2564 โดยมีหลักการสำคัญคือการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนาระบบบริการสาธารณะของเทศบาล เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้สามารถเข้าถึงบริการได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ

หนึ่งในโครงการสำคัญ ได้แก่ Smart Development เช่น การจัดทำถังขยะอัจฉริยะ เพื่อช่วยให้การจัดการขยะในเขตเทศบาลมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ในด้าน Smart Living เทศบาลได้ดำเนินการติดตั้งกล้องวงจรปิดทั่วทั้งเขตเทศบาล โดยบูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ เช่น สถานีตำรวจ ทหาร และโรงพยาบาล นอกจากนี้ยังมีการติดตั้งเสา SOA ซึ่งสามารถใช้เป็นจุดแจ้งเหตุฉุกเฉิน เพื่อความปลอดภัยของประชาชนในยามจำเป็น

ในขณะเดียวกัน เทศบาลยังให้ความสำคัญกับการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในกลุ่มเด็กและเยาวชน โดยส่งเสริมให้เยาวชนใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ผ่านกิจกรรมกีฬาอีสปอร์ต ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากรองนายกเทศมนตรีที่ดำรงตำแหน่งประธานสมาคมอีสปอร์ต

เทศบาลได้นำกีฬาอีสปอร์ตบรรจุไว้ในหลักสูตรของโรงเรียนในสังกัดทั้ง 9 แห่ง ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างมาก เด็กและเยาวชนสามารถคว้ารางวัลจากการแข่งขันในระดับต่าง ๆ ทั้งในและนอกเขตเทศบาล

นอกจากนี้ ยังมีการจัดการแข่งขันทัวร์นาเมนต์อีสปอร์ตอย่างต่อเนื่อง ซึ่งไม่เพียงแต่ช่วยพัฒนาเยาวชน แต่ยังมีส่วนช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในชุมชนอีกด้วย

ในอนาคต เทศบาลมีแผนที่จะจัดตั้ง ศูนย์กีฬาอีสปอร์ต เพื่อพัฒนาเยาวชนในมิติต่าง ๆ โดยเชื่อมโยงกิจกรรมกีฬาเข้ากับวัฒนธรรมท้องถิ่น เช่น การจัดกิจกรรมอีสปอร์ตควบคู่กับงานเทศกาลตรุษจีนนครสวรรค์ ซึ่งเป็นงานที่มีชื่อเสียงระดับประเทศ ทั้งนี้เพื่อสร้างแพ็กเกจส่งเสริมการท่องเที่ยวควบคู่กับการส่งเสริมกีฬา สร้างประโยชน์สองด้าน ทั้งการพัฒนาศักยภาพเยาวชนและกระตุ้นเศรษฐกิจของเทศบาลโดยรวม

#CIAP #บพท. #เมืองน่าอยู่ที่ชาญอฉลาด

Wecitizens Editor

Recent Posts

[THE KEY SUCESS]<br />18 เทศบาลนำร่อง & CIAP<br />[ Ep.1 มุมมองผู้นำเมือง ภาคเหนือ และภาคอีสาน]

ก้าวสู่ความสําเร็จของเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดบนฐานงานวิจัยและนวัตกรรม บพท. | ดร.นิมิตร จิวะสันติการ นายกเทศมนตรีนครลำปาง (ดำรงตำแหน่ง มีนาคม 2564- มีนาคม 2568) “เทศบาลนครลำปางในปี 2567-2568 เราได้ร่วมงานกับ บพท. ในการทำงานร่วมกันเพื่อช่วยบริหารจัดการเมืองของเราให้เดินหน้าสู่การเป็นเมืองน่าอยู่ ซึ่งก็ตรงกับแนวทางที่เรากำลังทำกันอยู่ที่ ด้วยเป้าหมายสิ่งที่เราปรารถนาที่สุดคือ จะทำให้เมืองของเราเป็นเมืองที่สมบูรณ์แบบ…

11 hours ago

[THE RESEARCHER]<br />ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์<br />หัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด เทศบาลเมืองลำพูน<br />นักวิจัยจากสถาบันวิจัยพหุศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

พลังคน พลังโคมลำพูน: เมืองเล็ก ๆ ที่เปี่ยมไปด้วยพลังสร้างสรรค์ แม้ ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์ เป็นคนเชียงใหม่ เธอก็หาใช่เป็นคนอื่นคนไกลสำหรับชาวลำพูนเพราะก่อนจะเข้ามาขับเคลื่อนงานวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดกับเทศบาลเมืองลำพูน เธอได้ทำวิจัยเกี่ยวกับเมืองแห่งนี้มาหลายครั้ง โดยเฉพาะโครงการขับเคลื่อนเยาวชนเพื่อเตรียมพร้อมสู่การเป็นพลเมืองของเมืองแห่งการเรียนรู้ของ UNESCO ในปี 2566-2567 - นั่นล่ะ…

1 month ago

[THE CITIZENS]<br />ปริยาพร วีระศิริ<br />เจ้าของแบรนด์ผ้าไหม “อภิรมย์ลำพูน”

“เป็นสิ่งวิเศษที่สุด ที่ผ้าไหมของจังหวัดลำพูนได้ปรากฏต่อสายตาผู้คนทั้งในและต่างประเทศ ทั้งเมื่อครั้งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงให้การส่งเสริม และทรงฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญต่าง ๆ และกระทั่งในปัจจุบัน สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 10 ก็ทรงส่งเสริมผ้าไหมไทย และฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญเช่นกัน ดิฉันเป็นคนลำพูน มีความภูมิใจในงานหัตถศิลป์การทอผ้าไหมยกดอกนี้มาก ๆ   และตั้งใจจะรักษามรดกทางวัฒนธรรม   ทำหน้าที่ส่งต่อถึงคนรุ่นต่อไป…

1 month ago

[THE CITIZENS]<br />ไชยยง รัตนอังกูร<br />ผู้ก่อตั้ง ลำพูน ซิตี้ แลป

“ความที่โตมาในลำพูน เราตระหนักดีว่าเมืองเรามีต้นทุนทางวัฒนธรรมที่สูงมาก ทั้งยังมีบรรยากาศที่น่าอยู่ อย่างไรก็ดี อาจเพราะเป็นเมืองขนาดเล็ก ลำพูนมักถูกมองข้ามจากแผนการพัฒนาของประเทศ เป็นเหมือนเมืองที่มีศักยภาพ แต่ยังไม่ถูกปลุกให้ตื่นความที่เราเคยทำงานที่ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (ปัจจุบันคือสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA - ผู้เรียบเรียง) ได้เห็นตัวอย่างความสำเร็จของกระบวนการพัฒนาย่านด้วยกรอบพื้นที่สร้างสรรค์ในหลายพื้นที่…

1 month ago

[THE CITIZENS]<br />ธีรธรรม เตชฤทธ์<br />ประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดลำพูน

“ผมเป็นคนลำพูน และชอบทำกิจกรรมนอกห้องเรียนมาตั้งแต่เด็ก ปัจจุบันเป็นประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดลำพูน ควบคู่ไปกับกำลังศึกษาคณะรัฐศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จากประสบการณ์การทำงานในสภาฯ ทำให้ผมเห็นว่า เยาวชนลำพูนมีศักยภาพที่หลากหลาย แต่สิ่งที่ขาดไปคือเวทีที่เปิดโอกาสให้พวกเขาได้แสดงความสามารถและพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง นอกเหนือจากการสนับสนุนจากโรงเรียนหรือโครงการของภาคเอกชน ปี 2567 พี่อร (ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์…

1 month ago

[THE CITIZENS]<br />ชนัญชิดา บุณฑริกบุตร<br />ผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์ชุมชนเมืองลำพูน

“อาคารหลังนี้แต่ก่อนเป็นที่ประทับของเจ้าราชสัมพันธวงษ์ลำพูน (พุทธวงษ์ ณ เชียงใหม่) น้องเขยของเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าหลวงองค์สุดท้ายของลำพูน อาคารถูกสร้างขึ้นเมื่อปี 2455 หลังจากนั้นก็ถูกขายให้พ่อค้าชาวจีนไปทำเป็นโรงเรียนหวุ่นเจิ้ง สอนภาษาจีนและคณิตศาสตร์ โรงเรียนนี้เปิดได้ไม่นานก็ต้องปิด เพราะสมัยนั้นรัฐบาลเพ่งเล็งว่าอะไรที่เป็นของจีนจะเกี่ยวข้องกับลัทธิคอมมิวนิสต์ แต่หนูก็ไม่รู้หรอกว่าโรงเรียนนี้เกี่ยวข้องหรือเปล่า (ยิ้ม)  จากนั้นอาคารก็ถูกเปลี่ยนมาเป็นโรงเรียนมงคลวิทยาในปี…

1 month ago