“ศูนย์เรียนรู้นวัตกรรมการเกษตร
ไม่ได้มุ่งเป้าไปที่เกษตรกรอย่างเดียว
แต่เป็นการสร้างนิเวศการเรียนรู้
ด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อมสำหรับทุกคน”
“ศูนย์เรียนรู้นวัตกรรมการเกษตรที่ทีมงานเราร่วมกันขับเคลื่อน ไม่ได้พุ่งเป้าไปที่การให้ความรู้แก่เกษตรกรผู้ผลิตเพียงฝ่ายเดียว
เราร่วมกันออกแบบหลักสูตรระยะสั้นที่ครอบคลุมกับกลุ่มผู้เรียนต่าง ๆ โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม เริ่มจากกลุ่มนักพัฒนาเมือง และผู้นำชุมชน โดยมองถึงการขับเคลื่อนเชิงนโยบาย ตอบโจทย์เป้าหมายการเป็นเมืองสีเขียว (Green City)
กลุ่มที่สองคือเด็กและเยาวชน โดยเชื่อมโยงไปกับกลุ่มเด็กนักเรียนในโรงเรียนสังกัดเทศบาลทั้ง 8 แห่ง เพื่อผลักดันให้เด็ก ๆ เป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาเมืองนวัตกรรมการเกษตรในอนาคต
และกลุ่มสุดท้ายคือกลุ่มผู้สูงวัย มุ่งเน้นไปที่การศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการเกษตรและสมุนไพร กลุ่มนี้เรามองถึงการต่อยอดเป็นอาชีพเสริม ทั้งการทำเกษตรปลอดภัยเองที่บ้าน ไปจนถึงการแปรรูปผลผลิตเป็นสินค้าอื่น ๆ ซึ่งเรายังนำหลักสูตรไปเผยแพร่ในแพลตฟอร์มออนไลน์ เพื่อทำให้บุคคลทั่วไปสามารถเข้ามาเรียนรู้ได้อย่างทั่วถึง
สำหรับเรา ทั้งการเป็นเมืองสีเขียว เมืองนวัตกรรมการเกษตร หรือเมืองสุขภาพ (Wellness City) ล้วนเป็นเรื่องเดียวกัน เพราะกลไกของการนำไปสู่เป้าหมายเหล่านี้ คือการทำให้ผู้คนในเขตเทศบาลตระหนักถึงความสำคัญของนิเวศเกษตรปลอดภัย ที่ส่งผลบวกต่อสุขภาพผู้บริโภค และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งนี่คือหัวใจสำคัญที่จะทำให้ทั้งผู้คนและเมืองมีความยั่งยืน”
#เทศบาลนครเชียงราย #มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง #หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาพื้นที่ #บพท #โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่การเป็นเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด #CIAP #wecitzens