[The Researcher]ดร.สิรินันท์ สุวรรณาภรณ์

“ศูนย์เรียนรู้นวัตกรรมการเกษตร
ไม่ได้มุ่งเป้าไปที่เกษตรกรอย่างเดียว
แต่เป็นการสร้างนิเวศการเรียนรู้
ด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อมสำหรับทุกคน”

“ศูนย์เรียนรู้นวัตกรรมการเกษตรที่ทีมงานเราร่วมกันขับเคลื่อน ไม่ได้พุ่งเป้าไปที่การให้ความรู้แก่เกษตรกรผู้ผลิตเพียงฝ่ายเดียว

เราร่วมกันออกแบบหลักสูตรระยะสั้นที่ครอบคลุมกับกลุ่มผู้เรียนต่าง ๆ โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม เริ่มจากกลุ่มนักพัฒนาเมือง และผู้นำชุมชน โดยมองถึงการขับเคลื่อนเชิงนโยบาย ตอบโจทย์เป้าหมายการเป็นเมืองสีเขียว (Green City)

กลุ่มที่สองคือเด็กและเยาวชน โดยเชื่อมโยงไปกับกลุ่มเด็กนักเรียนในโรงเรียนสังกัดเทศบาลทั้ง 8 แห่ง เพื่อผลักดันให้เด็ก ๆ เป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาเมืองนวัตกรรมการเกษตรในอนาคต

และกลุ่มสุดท้ายคือกลุ่มผู้สูงวัย มุ่งเน้นไปที่การศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการเกษตรและสมุนไพร กลุ่มนี้เรามองถึงการต่อยอดเป็นอาชีพเสริม ทั้งการทำเกษตรปลอดภัยเองที่บ้าน ไปจนถึงการแปรรูปผลผลิตเป็นสินค้าอื่น ๆ  ซึ่งเรายังนำหลักสูตรไปเผยแพร่ในแพลตฟอร์มออนไลน์ เพื่อทำให้บุคคลทั่วไปสามารถเข้ามาเรียนรู้ได้อย่างทั่วถึง

สำหรับเรา ทั้งการเป็นเมืองสีเขียว เมืองนวัตกรรมการเกษตร หรือเมืองสุขภาพ (Wellness City) ล้วนเป็นเรื่องเดียวกัน เพราะกลไกของการนำไปสู่เป้าหมายเหล่านี้ คือการทำให้ผู้คนในเขตเทศบาลตระหนักถึงความสำคัญของนิเวศเกษตรปลอดภัย ที่ส่งผลบวกต่อสุขภาพผู้บริโภค และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งนี่คือหัวใจสำคัญที่จะทำให้ทั้งผู้คนและเมืองมีความยั่งยืน”  

#เทศบาลนครเชียงราย #มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง #หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาพื้นที่ #บพท #โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่การเป็นเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด #CIAP #wecitzens

Wecitizens Editor

Recent Posts

[The Insider]<br />ณรงค์ศักดิ์ เตือนสกุล

“การจะพัฒนาเมือง ไม่ใช่แค่เรื่องสาธารณูปโภคแต่ต้องพุ่งเป้าไปที่พัฒนาคนและไม่มีเครื่องมือไหนจะพัฒนาคนได้ดีไปกว่า การศึกษา” “แม้เทศบาลนครเชียงรายจะเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ของยูเนสโกแห่งแรกของไทยในปี 2562 แต่การเตรียมเมืองเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ว่านี้ เกิดขึ้นก่อนหน้านั้นหลายสิบปี ในอดีต เชียงรายเป็นเมืองที่ห่างไกลความเจริญ ทางเทศบาลฯ เล็งเห็นว่าการจะพัฒนาเมือง ไม่สามารถทำได้แค่การทำให้เมืองมีสาธารณูปโภคครบ แต่ต้องพัฒนาผู้คนที่เป็นหัวใจสำคัญของเมือง และไม่มีเครื่องมือไหนจะพัฒนาคนได้ดีไปกว่า ‘การศึกษา’…

1 day ago

[The Insider]<br />นนทพัฒ ถปะติวงศ์

“ถ้าอาหารปลอดภัยเป็นทางเลือกหลักของผู้บริโภคเชียงรายจะเป็นเมืองที่น่าอยู่กว่านี้อีกเยอะ” “นอกจากบทบาทของการพัฒนาชุมชนและสังคมสงเคราะห์ กองสวัสดิการสังคม เทศบาลนครเชียงราย ยังมีกลไกในการส่งเสริมเศรษฐกิจของพี่น้อง 65 ชุมชน ภายในเขตเทศบาลฯ โดยกลไกนี้ครอบคลุมการส่งเสริมสุขภาพ และช่วยดูแลสิ่งแวดล้อมในทางอ้อมด้วยกลไกที่ว่าคือ ‘สหกรณ์นครเชียงราย’ โดยสหกรณ์ฯ นี้เริ่มต้นมาตั้งแต่ปี 2560 หลักเราคือการสนับสนุนเศรษฐกิจชุมชน…

1 day ago

[The Citizens]<br />ชวนพิศ สุริยวงค์

“แม่อยากปลูกผักปลอดภัยให้ตัวเองและคนในเมืองกินไม่ใช่ปลูกผักเพื่อส่งขาย แต่คนปลูกไม่กล้ากินเอง” “บ้านป่างิ้ว  ตั้งอยู่ละแวกสวนสาธารณะหาดนครเชียงราย เราและชุมชนฮ่องลี่ที่อยู่ข้างเคียงเป็นชุมชนเกษตรที่ปลูกพริก ปลูกผักไปขายตามตลาดมาแต่ไหนแต่ไร กระทั่งราวปี 2548 สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองเชียงราย มาส่งเสริมให้ทำเกษตรปลอดภัย คนในชุมชนก็เห็นด้วย เพราะอยากทำให้สิ่งที่เราปลูกมันกินได้จริง ๆ ไม่ใช่ว่าเกษตรกรปลูกแล้วส่งขาย แต่ไม่กล้าเก็บไว้กินเองเพราะกลัวยาฆ่าแมลงที่ตัวเองใส่…

1 day ago

[The Citizens]<br />กาญจนา ใจปา และพิทักษ์พงศ์ เชอมือ

“วิวเมืองเชียงรายจากสกายวอล์กสวยมาก ๆขณะที่ผืนป่าชุมชนของที่นี่ก็มีความอุดมสมบูรณ์จนไม่น่าเชื่อว่านี่คือป่าที่อยู่ในตัวเมืองเชียงราย” “ก่อนหน้านี้เราเป็นพนักงานบริษัทเอกชนที่ต่างจังหวัด จนเทศบาลนครเชียงรายเขาเปิดสกายวอล์กที่ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนดอยสะเก็น และหาพนักงานนำชม เราก็เลยกลับมาสมัคร เพราะจะได้กลับมาอยู่บ้านด้วย ตรงนี้มีหอคอยชมวิวอยู่แล้ว แต่เทศบาลฯ อยากทำให้ที่นี่เป็นแหล่งท่องเที่ยว ก็เลยต่อขยายเป็นสกายวอล์กอย่างที่เห็น ซึ่งสุดปลายของมันยังอยู่ใกล้กับต้นยวนผึ้งเก่าแก่ที่มีผึ้งหลวงมาทำรังหลายร้อยรัง รวมถึงยังมีเส้นทางศึกษาธรรมชาติบนภูเขา ในป่าชุมชนผืนนี้ จริง…

1 day ago

[The Insider]<br />จักรพงษ์ แสงบุญ

“ไม่ว่าเชียงรายจะพัฒนาสู่เมืองในนิยามใดเป้าหมายเหล่านี้จะเกิดขึ้นไม่ได้เลย ถ้าผู้คนไม่รู้จักเรียนรู้ต้นทุนของเมือง และไม่รู้จักปรับตัวรับกับการเปลี่ยนแปลง” “เวลาพูดถึงเครื่องมือการพัฒนาเมือง ความยากของเชียงรายคือ เราต้องรับมือกับความท้าทายหลายมิติ และไม่อาจละทิ้งประเด็นใดได้เลย เชียงรายเป็นเมืองท่องเที่ยวเชิงศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ (Brown City) ที่กำลังเผชิญปัญหาเศรษฐกิจซบเซาเหมือนหลายเมืองทั่วประเทศ ขณะเดียวกันก็ต้องรับมือกับสังคมสูงวัย (Silver City) รวมถึงภัยคุกคามด้านสิ่งแวดล้อม…

1 day ago

[The Insider]<br />ดร.สุจิรา พุทธวีวรรณ

“เราหวังให้ที่นี่เป็นมากกว่าห้องสมุดแต่เป็นพื้นที่กลางให้ผู้คนทุกช่วงวัยได้มีความสุขร่วมกัน” “ห้องสมุดเสมสิกขาลัย เกิดจากดำริของ ศ. นพ.เสม พริ้งพวงแก้ว นายแพทย์คนสำคัญผู้บุกเบิกการแพทย์ชนบท และผู้ร่วมจัดทำแผนสาธารณสุขแห่งชาติ ห้องสมุดแห่งนี้ตั้งอยู่บนที่ดินของท่านซึ่งมอบให้เทศบาลนครเชียงรายนำไปใช้เป็นสาธารณประโยชน์ห้องสมุดเปิดเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2556 ซึ่งตรงกับวันคล้ายวันเกิดของท่าน (เกิดปี 2454…

1 day ago