[The Researcher]ธนพจน์ แพสุวรรณ์

“ผมไม่ได้ปฏิเสธการศึกษาในระบบ 
แต่ถ้าเราสามารถสร้างทางเลือกให้กับเด็กที่มีความฝันจริงจัง
ผู้ใหญ่อย่างพวกเราก็ควรต้องหาวิธีส่งเสริมพวกเขา”

“สำหรับการขับเคลื่อนอีสปอร์ตให้กลายเป็นหนึ่งในกลไกการพัฒนาเมือง ผมมองออกเป็น 2 ประเด็นหลัก ประเด็นแรกคือ ผมเคยสอนวิชาอีคอมเมิร์ซ (E-commerce) ที่คณะบริหารและการจัดการ มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา และตระหนักดีว่าสิ่งที่ทำให้ศาสตร์นี้ รวมถึงศาสตร์อื่น ๆ ที่เชื่อมโยงกับโลกดิจิทัล สามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงเชิงบวกให้กับผู้เรียน คือเมืองจำเป็นต้องมีสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการสร้าง ‘คน’ ในที่นี้ผมขอใช้คำศัพท์ของคุณสันติ โหลทอง นายกสมาคมกีฬาอีสปอร์ตแห่งประเทศไทย และประธานสหพันธ์กีฬาอีสปอร์ตเอเชีย ที่ท่านนิยามว่าเป็น ‘กำลังพลดิจิทัล’ ผู้มีทักษะพร้อมต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในปัจจุบัน

ประเด็นที่สองคือ การศึกษานอกระบบ – ทุกวันนี้มีเด็กรุ่นใหม่มากมายที่เลือกจะออกจากระบบการศึกษา ไม่ใช่เพียงเพราะความยากจนอีกต่อไป แต่หลายคนอาจค้นพบเส้นทางอาชีพของตัวเอง ทั้งการทำการค้า กีฬา ไปจนถึงอุตสาหกรรมบันเทิง หรือศิลปะ ซึ่งระบบการศึกษาในระบบอาจไม่ตอบโจทย์เส้นทางของพวกเขา จึงเลือกไปศึกษาหาความรู้นอกห้องเรียนด้วยตนเอง

ผมไม่ได้ปฏิเสธการศึกษาในระบบนะ แต่ถ้าเราสามารถสร้างทางเลือกให้กับเด็กที่มีความฝันจริงจังไม่ว่าจะเรื่องใดก็ตาม ผู้ใหญ่อย่างพวกเราก็ควรต้องหาวิธีส่งเสริมเขา และใช่ครับ การยกระดับอีสปอร์ต – หนึ่งในกีฬาที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในขณะนี้ ก็เป็นทางเลือกที่ว่า”    


สมาคมกีฬาอีสปอร์ตจังหวัดนครสวรรค์
“ถ้าเราจะยกระดับอีสปอร์ต สิ่งแรกที่ต้องมีคือ ‘ยานแม่’ หรือหน่วยงานสนับสนุนอย่างเป็นทางการ ซึ่งไม่ใช่แค่ในฐานะผู้จัดการแข่งขัน แต่ยังเป็นตัวเชื่อมกับผู้สนับสนุน เพราะทัวร์นาเมนต์อีสปอร์ตครั้งหนึ่ง คุณต้องมีงบประมาณค่าอุปกรณ์และทีมงาน ไม่ต่ำกว่า 500,000 บาทแล้ว ผมจึงต้องมองถึงหน่วยงานที่มีศักยภาพระดับเมือง

คนแรกที่ผมเข้าไปคุยคือรองตู้ – จตุรวิทย์ นิโรจน์ธนรัฐ (รองนายกเทศมนตรีนครนครสวรรค์) เพราะเทศบาลนครนครสวรรค์มีเป้าหมายในการขับเคลื่อนสมาร์ทซิตี้ และรองตู้ก็เป็นคนรุ่นใหม่ที่พร้อมเปิดรับสิ่งใหม่ ๆ ด้วย โดยอีกหน่วยงานที่ผมไปคุยคือสมาคมกีฬาจังหวัดนครสวรรค์ เพราะเขามีเครือข่ายในอุตสาหกรรมกีฬา ซึ่งทั้งเทศบาลฯ และสมาคมกีฬาฯ ต่างเห็นด้วย

ช่วงนั้นคือปี 2566 นครสวรรค์กำลังเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาเยาวชนแห่งชาติพอดี สมาคมกีฬาจังหวัดฯ จึงบรรจุอีสปอร์ตให้กลายเป็นกีฬาสาธิตในทัวร์นาเมนต์นั้นเลย อีสปอร์ตจึงเริ่มมีการแข่งขันอย่างเป็นทางการในการแข่งขันกีฬาเยาวชนฯ เดือนตุลาคมปีนั้น จัดภายในโดม 4,000 ที่นั่งในสนามกีฬากลางจังหวัด ซึ่งทางผมและทีมงานก็ส่งจดหมายเชิญไปยังโรงเรียนต่าง ๆ ให้ส่งตัวแทนนักเรียนเข้าแข่งขัน

จากความสำเร็จทั้งจำนวนนักกีฬา ผู้ชม และฟีดแบ็กที่ดีมาก ๆ เราก็เลยร่วมกันจัดตั้ง ‘สมาคมกีฬาอีสปอร์ตจังหวัดนครสวรรค์’ ภายใต้ร่มของสมาคมกีฬาจังหวัดฯ โดยมีรองตู้เป็นนายกสมาคมฯ ส่วนผมทำหน้าที่เป็นเลขานุการ คอยประสานงานฝ่ายต่าง ๆ”

เครื่องมือบ่มเพาะเยาวชน และฟันเฟืองเศรษฐกิจใหม่ของเมือง
“พอ บพท. เข้ามาชวนเทศบาลนครนครสวรรค์ทำโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด เราจึงชวน ดร.อิศรา คงมี อาจารย์มหาวิทยาลัยนเรศวร ที่มีประสบการณ์การทำงานวิจัยเรื่องเกมออนไลน์อยู่แล้ว มาเป็นหัวหน้าโครงการ

ในตอนนั้นสมาคมฯ ได้เริ่มมีการจัดการแข่งขันอีสปอร์ตที่ห้างเซ็นทรัล นครสวรรค์ อย่างต่อเนื่องแล้ว เรามีแผนว่าจะจัดทุกเดือน เพราะนักเรียนจากโรงเรียนต่าง ๆ ทั้งในเขตเทศบาล รอบข้าง รวมถึงจังหวัดใกล้เคียงให้ความสนใจมาก ๆ และเราก็ต่างเห็นตรงกันว่า นี่คือเครื่องมือขับเคลื่อนเศรษฐกิจใหม่ของเมือง เพราะทุกครั้งที่มีการจัดงาน ผู้ชมจากทั่วสารทิศก็มาชมการแข่งขันกันเยอะมาก ๆ สปอนเซอร์ก็เริ่มเข้า และเริ่มมีพื้นที่อื่น ๆ มาเสนอเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน

ขณะที่ ดร.อิศรา ก็ร่วมกับทางเทศบาลฯ ในการจัดทำหลักสูตรอีสปอร์ตนำร่อง รวมถึงห้องเรียนและฝึกซ้อมอีสปอร์ต ไว้ที่โรงเรียนเทศบาล 6 โดยไม่ได้ตั้งเป้าในการผลิตนักกีฬาเป็นหลัก แต่เป็นบุคลากรที่มีทักษะทางดิจิทัลที่ครอบคลุม 

ทุกวันนี้มหาวิทยาลัยชั้นนำในประเทศหลายแห่งเริ่มมีทุนการศึกษาด้านอีสปอร์ต และความเป็นเลิศด้านดิจิทัลมากขึ้นแล้ว หลักสูตรนี้จะเป็นสะพานเชื่อมให้เด็กนักเรียนเข้าถึงโอกาสด้านการศึกษาที่กว้างขึ้น

และอย่างที่กล่าวตอนต้น หากเด็กคนไหน พบว่าระบบการศึกษาหลักในปัจจุบันไม่ตอบโจทย์เขาอีกต่อไป การสร้างสิ่งแวดล้อมทางดิจิทัล และปูพื้นฐานทักษะความรู้ความเข้าใจให้เขาตั้งแต่ต้น สิ่งนี้ก็อาจช่วยอำนวยความสะดวกให้เขาได้ค้นพบตัวเอง หรือทางเดินที่จะนำไปสู่ช่องทางทางอาชีพในท้ายที่สุด”  

___

#เทศบาลนครนครสวรรค์ #นครสวรรค์นครอีสปอร์ต #มหาวิทยาลัยนเรศวร #หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาพื้นที่ #บพท #pmua #โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่การเป็นเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด #ciap #wecitizens

Wecitizens Editor

Recent Posts

[The Insider]<br />พัชรี แซมสนธ์

“เมืองอาหารปลอดภัยไม่ได้ให้ประโยชน์แค่เฉพาะผู้คนในเขตเทศบาลฯแต่มันสามารถเป็นต้นแบบให้เมืองอื่น ๆ ที่อยากส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้คนได้เช่นกัน” “งานประชุมนานาชาติของสมาคมพืชสวนโลก (AIPH Spring Meeting Green City Conference 2025) ที่เชียงรายเป็นเจ้าภาพเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2568 ที่ผ่านมา เน้นย้ำถึงทิศทางการพัฒนาเมืองสีเขียว…

2 weeks ago

[The Insider]<br />พรทิพย์ จันทร์ตระกูล

“ทั้งพื้นที่การเรียนรู้ นโยบายเมืองอาหารปลอดภัย และโรงเรียนสำหรับผู้สูงวัยคือสารตั้งต้นที่จะทำให้เชียงรายเป็นเมืองแห่งสุขภาพ (Wellness City)” “กล่าวอย่างรวบรัด ภารกิจของกองการแพทย์ เทศบาลนครเชียงราย คือการทำให้ประชาชนไม่เจ็บป่วย หรือถ้าป่วยแล้วก็ต้องมีกระบวนการรักษาที่เหมาะสม ครบวงจร ที่นี่เราจึงมีครบทั้งงานส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค การรักษาเมื่อเจ็บป่วย และระบบดูแลต่อเนื่องถึงบ้าน…

2 weeks ago

[The Insider]<br />ณรงค์ศักดิ์ เตือนสกุล

“การจะพัฒนาเมือง ไม่ใช่แค่เรื่องสาธารณูปโภคแต่ต้องพุ่งเป้าไปที่พัฒนาคนและไม่มีเครื่องมือไหนจะพัฒนาคนได้ดีไปกว่า การศึกษา” “แม้เทศบาลนครเชียงรายจะเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ของยูเนสโกแห่งแรกของไทยในปี 2562 แต่การเตรียมเมืองเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ว่านี้ เกิดขึ้นก่อนหน้านั้นหลายสิบปี ในอดีต เชียงรายเป็นเมืองที่ห่างไกลความเจริญ ทางเทศบาลฯ เล็งเห็นว่าการจะพัฒนาเมือง ไม่สามารถทำได้แค่การทำให้เมืองมีสาธารณูปโภคครบ แต่ต้องพัฒนาผู้คนที่เป็นหัวใจสำคัญของเมือง และไม่มีเครื่องมือไหนจะพัฒนาคนได้ดีไปกว่า ‘การศึกษา’…

3 weeks ago

[The Insider]<br />นนทพัฒ ถปะติวงศ์

“ถ้าอาหารปลอดภัยเป็นทางเลือกหลักของผู้บริโภคเชียงรายจะเป็นเมืองที่น่าอยู่กว่านี้อีกเยอะ” “นอกจากบทบาทของการพัฒนาชุมชนและสังคมสงเคราะห์ กองสวัสดิการสังคม เทศบาลนครเชียงราย ยังมีกลไกในการส่งเสริมเศรษฐกิจของพี่น้อง 65 ชุมชน ภายในเขตเทศบาลฯ โดยกลไกนี้ครอบคลุมการส่งเสริมสุขภาพ และช่วยดูแลสิ่งแวดล้อมในทางอ้อมด้วยกลไกที่ว่าคือ ‘สหกรณ์นครเชียงราย’ โดยสหกรณ์ฯ นี้เริ่มต้นมาตั้งแต่ปี 2560 หลักเราคือการสนับสนุนเศรษฐกิจชุมชน…

3 weeks ago

[The Citizens]<br />ชวนพิศ สุริยวงค์

“แม่อยากปลูกผักปลอดภัยให้ตัวเองและคนในเมืองกินไม่ใช่ปลูกผักเพื่อส่งขาย แต่คนปลูกไม่กล้ากินเอง” “บ้านป่างิ้ว  ตั้งอยู่ละแวกสวนสาธารณะหาดนครเชียงราย เราและชุมชนฮ่องลี่ที่อยู่ข้างเคียงเป็นชุมชนเกษตรที่ปลูกพริก ปลูกผักไปขายตามตลาดมาแต่ไหนแต่ไร กระทั่งราวปี 2548 สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองเชียงราย มาส่งเสริมให้ทำเกษตรปลอดภัย คนในชุมชนก็เห็นด้วย เพราะอยากทำให้สิ่งที่เราปลูกมันกินได้จริง ๆ ไม่ใช่ว่าเกษตรกรปลูกแล้วส่งขาย แต่ไม่กล้าเก็บไว้กินเองเพราะกลัวยาฆ่าแมลงที่ตัวเองใส่…

3 weeks ago

[The Citizens]<br />กาญจนา ใจปา และพิทักษ์พงศ์ เชอมือ

“วิวเมืองเชียงรายจากสกายวอล์กสวยมาก ๆขณะที่ผืนป่าชุมชนของที่นี่ก็มีความอุดมสมบูรณ์จนไม่น่าเชื่อว่านี่คือป่าที่อยู่ในตัวเมืองเชียงราย” “ก่อนหน้านี้เราเป็นพนักงานบริษัทเอกชนที่ต่างจังหวัด จนเทศบาลนครเชียงรายเขาเปิดสกายวอล์กที่ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนดอยสะเก็น และหาพนักงานนำชม เราก็เลยกลับมาสมัคร เพราะจะได้กลับมาอยู่บ้านด้วย ตรงนี้มีหอคอยชมวิวอยู่แล้ว แต่เทศบาลฯ อยากทำให้ที่นี่เป็นแหล่งท่องเที่ยว ก็เลยต่อขยายเป็นสกายวอล์กอย่างที่เห็น ซึ่งสุดปลายของมันยังอยู่ใกล้กับต้นยวนผึ้งเก่าแก่ที่มีผึ้งหลวงมาทำรังหลายร้อยรัง รวมถึงยังมีเส้นทางศึกษาธรรมชาติบนภูเขา ในป่าชุมชนผืนนี้ จริง…

3 weeks ago