[THE RESEARCHER : เมืองสระบุรี]ธนพล รักษ์กิจการ ผู้ช่วยเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์เทศบาลเมืองสระบุรี

“โดยหน้าที่ของผมคือประชาสัมพันธ์กิจกรรม เทศกาลต่าง ๆ ที่ทางเทศบาลเมืองสระบุรีเป็นผู้จัดขึ้น โพรโมตสถานที่ท่องเที่ยว สิ่งที่น่าสนใจในเมืองของเราให้ชาวเมืองสระบุรีรวมถึงผู้อยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงได้รับรู้และอยากมาเยี่ยมเยียน เราเพิ่งจัดแคมเปญ ‘วันเดียวเที่ยว 9 วัด’ เช่น วัดศรีบุรีรตนาราม หรือวัดปากเพรียว เป็นวัดคู่บ้านคู่เมือง เรามีวัดใหม่ที่สร้างขึ้นมาไม่นาน คือวัดเชิงเขา มีพระมหาธาตุเจดีย์ปาสาทิโก เป็นจุดแลนด์มาร์กใหม่ล่าสุด ขึ้นไปด้านบนเจดีย์มองเห็นเมืองสระบุรีได้ 360 องศา ประดิษฐานองค์หลวงพ่อรวย อดีตเจ้าอาวาสวัดตะโก พระเกจิอาจารย์ที่มีคนเคารพนับถือมาก ก่อนท่านมรณภาพ ได้บริจาคเงินทำนุบำรุงวัดให้เจ้าอาวาสวัดเชิงเขาที่เป็นลูกศิษย์ท่านโดยตรง ทางเราเองและเจ้าอาวาส อยากพัฒนาเป็นเหมือนวัดหลวงพ่อโสธรเลย พยายามจะไปถึงจุดนั้นให้ได้

ถ้าเป็นสายเดินชมเดินชิม มีตลาดสุขุมาล หรือตลาดใน อดีตเป็นแหล่งชุมชนขนาดใหญ่ที่คนมาพบปะสังสรรค์ จับจ่ายซื้อของ เป็นแหล่งชอปปิงใจกลางเมือง ซึ่งตรงนี้ต้องยอมรับว่า พอเมืองเราเปลี่ยนไป มีการเจริญเติบโตทางการค้ามากขึ้น มีศูนย์การค้าระดับโมเดิร์นเทรดมากขึ้น ทำให้ตลาดสุขุมาลซบเซาลงบ้าง ตอนนี้ก็เป็นตลาดเช้าไปแล้ว คึกคักช่วง 6.00-11.00 น. คนมาจับจ่ายซื้อกับข้าว เป็นที่พบปะสังสรรค์ของผู้สูงวัย เมื่อก่อนเรามีตลาดโต้รุ่งของเทศบาลฯ ดูแลบริหารเอง แต่เนื่องจากโครงการรถไฟความเร็วสูงเข้ามาขอพื้นที่คืน เราก็พยายามหาพื้นที่ก่อสร้างใหม่ แต่หายากพอสมควร ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ที่มีเจ้าของ พื้นที่ที่เราบริหารจัดการเองค่อนข้างน้อย ทุกวันนี้ มีจุดนัดพบใหม่ ชื่อ ตลาดอิ่มเอม เท่ากับตลาดโต้รุ่ง เลิกงานตอนเย็นเป็นที่นัดพบของนักชิมไปรวมกัน

ตอนนี้ท่านนายกฯ (ธีรรัตน์ จึงยิ่งเรืองรุ่ง นายกเทศมนตรีเมืองสระบุรี) พยายามปั้นเมืองของเราให้มีจุดเด่นมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น หนึ่ง) การจัดพื้นที่ที่จะเป็น Meeting Place อาจจะใช้พื้นที่สกร. อาคารวไลยอลงกรณ์ เป็นจุดนัดพบ ศูนย์กลางของชุมชน เพราะอยู่ในพื้นที่ไข่แดงของเมืองเลย ให้คนเข้ามามีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม จัดฝึกอบรม ศูนย์ศิลปะ Coworking Space อยู่ในขั้นตอนวางแผน ปรับแนวคิดและวิธีการทำ ให้ถูกใจคนเมืองมากขึ้น สอง) เรากำลังจะมีสวนสาธารณะ ซึ่งทางเราไม่เคยมีมาก่อน คือต้องบอกว่า พื้นที่ของเมืองสระบุรีที่จะทำสวนสาธารณะหรือพื้นที่สีเขียว ติดปัญหาว่าเป็นพื้นที่ส่วนบุคคล ถ้าทำได้อาจจะไกลเมือง คนเดินทางไปลำบาก ท่านนายกฯ มองเห็นสำนักการประปาเขาน้อยตรงวัดเขาคูบามีพื้นที่กว้างพอสมควรที่จะพัฒนาเป็นพื้นที่สีเขียวปอดใจกลางเมืองสระบุรีได้ สาม) เสริมสร้างจุดน่าสนใจทุก ๆ เทศกาล ไม่ว่าจะเป็นตรุษจีน สงกรานต์ ลอยกระทง แล้วเมื่อก่อน ช่วงเราเด็ก ๆ ท่านนายกฯ คนก่อน ไม่ว่าจะเป็นวันปิยมหาราชเอย จักรีเอย มีจัดงานรื่นเริงตลอด เราพยายามเอาตรงนี้กลับเข้ามา ทำให้คนมีกิจกรรมสังสรรค์สันทนาการมากขึ้น อยู่ในตัวเมืองมากขึ้น ทำให้เมืองคึกคักมากขึ้น ผู้สูงอายุเราก็มีกิจกรรมที่เขาสามารถเข้ามามีส่วนร่วมกับทางเทศบาลฯ ได้ เขามีจัดกลุ่มรำไทเก็กตรงโรงเจบ้วนเฮงตั๊ว เขาก็อยากให้มีลานแอโรบิก ทางเทศบาลฯ เราก็จัดโครงการ ‘สุขกันเถอะเรา’ ในวันอาทิตย์ให้เขามาที่อาคารรวมใจทำกิจกรรมตามวิทยากร อาทิตย์นี้อาจจะเต้นลีลาศ วาดภาพระบายสี  ในอนาคตจะมีการสร้างศูนย์ธาราบำบัดให้ผู้สูงอายุด้วย

ผมเกิดและโตที่นี่ คงไม่คิดจะย้ายไปไหน สระบุรีไม่ได้เป็นเมืองแบบเมโทรโพลิสมากเกินไป ไม่ได้เป็นเมืองชนบทมากเกินไป อยู่ระหว่างกลาง มีสิ่งอำนวยความสะดวกที่ถึงตอนนี้ผมมองว่าครบครันกว่าเดิม อาหารอร่อย ไม่ต้องขวนขวายไปที่อื่น ล่าสุดเราได้ชื่อว่า ‘เมืองแห่งข้าวมันไก่’ มีร้านข้าวมันไก่ 6-7 ร้านแค่ในตัวเมืองแห่งเดียว แล้วอร่อย มีรสชาติเฉพาะตัว รู้สึกว่าเมืองอยู่ในความสมดุล มีความสุขกำลังพอดี เป็นเมืองน่าอยู่สำหรับเรา แน่นอน ยังมีส่วนที่ต้องปรับปรุง หนึ่ง) ถนนหนทางเอย ไฟส่องสว่างเอย ระบบน้ำประปาที่เราทำเอง ระบบเก่าแล้ว ต้องปรับปรุงให้คุณภาพน้ำใสสะอาดมากยิ่งขึ้น สอง) การคมนาคมขนส่งที่ครบและครอบคลุม ทำให้คนหันมาใช้ขนส่งสาธารณะมากกว่ารถยนต์ส่วนตัว สาม) เมืองเรา คนเกิดลดลง แต่คนเข้ามาอยู่อาศัยมากขึ้น ประชากรแฝงที่เข้ามาทำงานในโรงงาน สิ่งที่ตามมาคือขยะก็เพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว ก็ปรับปรุงการเก็บขยะให้ถี่ขึ้น สุดท้าย เราอยากทำให้ความเป็นเมืองผ่านของเราเป็นเมืองที่ต้องแวะให้ได้ ผ่านได้ไม่เป็นไร แวะหน่อยก็ดี”

#เทศบาลเมืองสระบุรี #คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย #โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาดในระดับพื้นที่ #CIAP #บพท #wecitizens

Wecitizens Editor

Recent Posts

[THE RESEARCHER]<br />ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์<br />หัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด เทศบาลเมืองลำพูน<br />นักวิจัยจากสถาบันวิจัยพหุศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

พลังคน พลังโคมลำพูน: เมืองเล็ก ๆ ที่เปี่ยมไปด้วยพลังสร้างสรรค์ แม้ ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์ เป็นคนเชียงใหม่ เธอก็หาใช่เป็นคนอื่นคนไกลสำหรับชาวลำพูนเพราะก่อนจะเข้ามาขับเคลื่อนงานวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดกับเทศบาลเมืองลำพูน เธอได้ทำวิจัยเกี่ยวกับเมืองแห่งนี้มาหลายครั้ง โดยเฉพาะโครงการขับเคลื่อนเยาวชนเพื่อเตรียมพร้อมสู่การเป็นพลเมืองของเมืองแห่งการเรียนรู้ของ UNESCO ในปี 2566-2567 - นั่นล่ะ…

3 weeks ago

[THE CITIZENS]<br />ปริยาพร วีระศิริ<br />เจ้าของแบรนด์ผ้าไหม “อภิรมย์ลำพูน”

“เป็นสิ่งวิเศษที่สุด ที่ผ้าไหมของจังหวัดลำพูนได้ปรากฏต่อสายตาผู้คนทั้งในและต่างประเทศ ทั้งเมื่อครั้งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงให้การส่งเสริม และทรงฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญต่าง ๆ และกระทั่งในปัจจุบัน สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 10 ก็ทรงส่งเสริมผ้าไหมไทย และฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญเช่นกัน ดิฉันเป็นคนลำพูน มีความภูมิใจในงานหัตถศิลป์การทอผ้าไหมยกดอกนี้มาก ๆ   และตั้งใจจะรักษามรดกทางวัฒนธรรม   ทำหน้าที่ส่งต่อถึงคนรุ่นต่อไป…

4 weeks ago

[THE CITIZENS]<br />ไชยยง รัตนอังกูร<br />ผู้ก่อตั้ง ลำพูน ซิตี้ แลป

“ความที่โตมาในลำพูน เราตระหนักดีว่าเมืองเรามีต้นทุนทางวัฒนธรรมที่สูงมาก ทั้งยังมีบรรยากาศที่น่าอยู่ อย่างไรก็ดี อาจเพราะเป็นเมืองขนาดเล็ก ลำพูนมักถูกมองข้ามจากแผนการพัฒนาของประเทศ เป็นเหมือนเมืองที่มีศักยภาพ แต่ยังไม่ถูกปลุกให้ตื่นความที่เราเคยทำงานที่ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (ปัจจุบันคือสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA - ผู้เรียบเรียง) ได้เห็นตัวอย่างความสำเร็จของกระบวนการพัฒนาย่านด้วยกรอบพื้นที่สร้างสรรค์ในหลายพื้นที่…

4 weeks ago

[THE CITIZENS]<br />ธีรธรรม เตชฤทธ์<br />ประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดลำพูน

“ผมเป็นคนลำพูน และชอบทำกิจกรรมนอกห้องเรียนมาตั้งแต่เด็ก ปัจจุบันเป็นประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดลำพูน ควบคู่ไปกับกำลังศึกษาคณะรัฐศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จากประสบการณ์การทำงานในสภาฯ ทำให้ผมเห็นว่า เยาวชนลำพูนมีศักยภาพที่หลากหลาย แต่สิ่งที่ขาดไปคือเวทีที่เปิดโอกาสให้พวกเขาได้แสดงความสามารถและพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง นอกเหนือจากการสนับสนุนจากโรงเรียนหรือโครงการของภาคเอกชน ปี 2567 พี่อร (ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์…

4 weeks ago

[THE CITIZENS]<br />ชนัญชิดา บุณฑริกบุตร<br />ผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์ชุมชนเมืองลำพูน

“อาคารหลังนี้แต่ก่อนเป็นที่ประทับของเจ้าราชสัมพันธวงษ์ลำพูน (พุทธวงษ์ ณ เชียงใหม่) น้องเขยของเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าหลวงองค์สุดท้ายของลำพูน อาคารถูกสร้างขึ้นเมื่อปี 2455 หลังจากนั้นก็ถูกขายให้พ่อค้าชาวจีนไปทำเป็นโรงเรียนหวุ่นเจิ้ง สอนภาษาจีนและคณิตศาสตร์ โรงเรียนนี้เปิดได้ไม่นานก็ต้องปิด เพราะสมัยนั้นรัฐบาลเพ่งเล็งว่าอะไรที่เป็นของจีนจะเกี่ยวข้องกับลัทธิคอมมิวนิสต์ แต่หนูก็ไม่รู้หรอกว่าโรงเรียนนี้เกี่ยวข้องหรือเปล่า (ยิ้ม)  จากนั้นอาคารก็ถูกเปลี่ยนมาเป็นโรงเรียนมงคลวิทยาในปี…

4 weeks ago

[THE CITIZENS]<br />นงเยาว์ ชัยพรหม<br />คนทำโคมจากชุมชนชัยมงคล

“เราโตมากับวัฒนธรรมของคนลำพูน ชอบไปเดินงานปอย ร่วมงานบุญ ก่อนหน้านี้ก็เคยทำงานรับจ้างทั่วไป จนเทศบาลฯ มาส่งเสริมเรื่องการทำโคม โดยมีสล่าจากชุมชนศรีบุญเรืองมาสอน เราก็ไปเรียนกับเขา ตอนนี้อาชีพหลักคือการทำโคม ทำมาได้ 2 ปีแล้ว  สำหรับเรา โคมคืองานศิลปะ เป็นสัญลักษณ์และมรดกที่ยึดโยงกับวัฒนธรรมของคนบ้านเรา ตอนแรกเราไม่มีความคิดเลยว่ามันจะกลายมาเป็นอาชีพได้…

4 weeks ago