“ความเป็นเมืองสระบุรี เราเป็นเมืองผ่านไปสู่จังหวัดต่าง ๆ เป็นแหล่งอุตสาหกรรม มีโรงงานเยอะ แต่ถ้าในบริบทตำบลปากเพรียวที่เป็นเขตเทศบาลเมืองสระบุรีคือไม่มีโรงงาน ยังเป็นชุมชนชาวบ้าน มีตลาดนัด ตลาดต่าง ๆ แต่หลังจากที่มีโรคโควิด-19 คือจุดเปลี่ยน คนที่เคยอยู่ตรงนี้ ย้ายถิ่นฐานไปอยู่ที่อื่นมากขึ้น ทำให้สภาพบ้านเมืองเงียบเหงาลง ที่เห็นชัดคือร้านปิดตัว ห้างที่มีคือห้างทวีกิจ ห้างสุขอนันต์ ก็เริ่มดรอปลง คนที่เคยเดินเยอะก็เงียบเหงา เขาติดซื้อขายออนไลน์ด้วยเพราะสะดวก แล้วเราก็ไม่มีพื้นที่สีเขียว เมื่อก่อนเคยมีสวนสุขภาพตรงริมทางรถไฟ แต่ดรอปลงไป มีประชากรแฝงเข้ามาก็มีเรื่องความปลอดภัย ยาเสพติด ตอนนี้เราก็มีแผนทำพื้นที่สีเขียวเป็น ‘ปอดปากเพรียว’ ตรงพื้นที่การประปาเขาน้อย เป็นโครงการที่จะเกิดขึ้นในปี 2568
จากที่ได้คุยกับคนในเมือง เขาต้องการพื้นที่สีเขียว ต้องการเศรษฐกิจที่ดีกลับมา เขาก็อยากให้จัดงาน เพราะได้ผลลัพธ์เยอะ หนึ่ง) เป็นการจูงใจคนให้กลับมาอยู่บ้าน กลับมาพัฒนาบ้าน สอง) กระตุ้นเศรษฐกิจแน่นอน สาม) มีสีสัน เป็นการดึงดูดคนนอกพื้นที่เข้ามา ทางเทศบาลฯ ก็คิดว่างานอะไรที่จะกระตุ้น ก็คืองานประเพณีท้องถิ่น เริ่มที่ตรุษจีน สงกรานต์ ลอยกระทง เห็นชัดเจนเลยว่า 2 ปีที่ผ่านมา เศรษฐกิจเริ่มดีขึ้นจากงานประเพณีเหล่านี้ พอมีร้านมาออกเยอะ คนเริ่มออกมาเที่ยว คึกคัก ไม่เงียบเหงา ลูกหลานอยากกลับมาเที่ยวงาน พาพ่อแม่ไปเที่ยว เมื่อก่อน คนออกไปลอยกระทงต่างอำเภอ เช่นที่เสาไห้ แต่เดี๋ยวนี้คนอยู่นี่ แล้วคนเสาไห้ก็มาเรา
อีกอย่างที่เราเพิ่งจัด คือโครงการประชุมทางวิชาการ ‘ร่วมสร้างอนาคตเมืองสระบุรี’ (จัดวันที่ 18-20 กันยายน 2567) โดยเชิญผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ด้าน ด้านสุขภาพ ด้านเลิร์นนิ่ง ด้านสมาร์ท มาร่วมเสวนากัน แบ่ง 3 วัน 3 หัวข้อ หนึ่ง) Learning City ร่วมก้าวสู่เมืองแห่งการเรียนรู้ สอง) Healthy City Network เมืองสุขภาพดีกับวัยแห่งความสุข สาม) Livable & Smart City เมืองน่าอยู่และชาญฉลาด ก็ได้ผลตอบรับดีมาก ประชาชนเข้าร่วมกว่า 500 คนต่อวัน เขาบอกว่าแปลกใหม่ ได้ความรู้
จุดเด่นของเมืองสระบุรี เป็นการผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมใหม่กับวัฒนธรรมดั้งเดิมที่ยังมีอยู่ เช่น บ้านเก่า ร้านเก่าแก่ที่ยังคงสภาพเดิม ร้านกาแฟโบราณ มีพวงกาแฟแบบดั้งเดิม มีไอศกรีมกะทิสดที่ขายมา 20 กว่าปี ร้านก็ยังอยู่ที่เดิมในตลาดสุขุมาล (ตลาดใน) ร้านราดหน้าที่ยังคงรสชาติเดิมมาหลายสิบปี แล้วก็มีโซนที่เป็นโมเดิร์น ผสมผสานทั้งเก่าและใหม่ เราอยากมีแลนด์มาร์กของเรา จุดที่ไม่ใช่แค่คนขับรถผ่าน แต่ผ่านแล้วคือแวะ ตั้งใจมาเที่ยวที่นี่ก่อน ค้างสระบุรีสักคืน แล้วไปต่อ ซึ่งสวนสาธารณะใหม่ที่กำลังทำตอบโจทย์เราได้ ณ ตอนนี้ แลนด์มาร์กที่เรากำลังโพรโมตคือวัดเชิงเขา ซึ่งมีพระมหาธาตุเจดีย์ปาสาทิโก สร้างขึ้นบนภูเขา แล้วก็วัดศาลาแดง ที่อยู่เยื้องเทศบาลฯ ไป มีพระพุทธนิรโรคันตรายชัยวัฒน์จตุรทิศ เป็นพระคู่บ้านคู่เมือง สายมูก็จะชอบ หรือแก้ปีชงก็ไปโรงเจบ้วนเฮงตั๊วที่เราจัดเทศกาลตรุษจีนปากเพรียว คือเรามี 4 มหกรรม ตรุษจีน สงกรานต์ ลอยกระทง มหกรรมอาหาร ก็ขอเชิญชวนมาเที่ยวงานมหกรรมของสระบุรีค่ะ”
#เทศบาลเมืองสระบุรี #คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย #โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาดในระดับพื้นที่ #CIAP #บพท #wecitizens
พลังคน พลังโคมลำพูน: เมืองเล็ก ๆ ที่เปี่ยมไปด้วยพลังสร้างสรรค์ แม้ ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์ เป็นคนเชียงใหม่ เธอก็หาใช่เป็นคนอื่นคนไกลสำหรับชาวลำพูนเพราะก่อนจะเข้ามาขับเคลื่อนงานวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดกับเทศบาลเมืองลำพูน เธอได้ทำวิจัยเกี่ยวกับเมืองแห่งนี้มาหลายครั้ง โดยเฉพาะโครงการขับเคลื่อนเยาวชนเพื่อเตรียมพร้อมสู่การเป็นพลเมืองของเมืองแห่งการเรียนรู้ของ UNESCO ในปี 2566-2567 - นั่นล่ะ…
“เป็นสิ่งวิเศษที่สุด ที่ผ้าไหมของจังหวัดลำพูนได้ปรากฏต่อสายตาผู้คนทั้งในและต่างประเทศ ทั้งเมื่อครั้งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงให้การส่งเสริม และทรงฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญต่าง ๆ และกระทั่งในปัจจุบัน สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 10 ก็ทรงส่งเสริมผ้าไหมไทย และฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญเช่นกัน ดิฉันเป็นคนลำพูน มีความภูมิใจในงานหัตถศิลป์การทอผ้าไหมยกดอกนี้มาก ๆ และตั้งใจจะรักษามรดกทางวัฒนธรรม ทำหน้าที่ส่งต่อถึงคนรุ่นต่อไป…
“ความที่โตมาในลำพูน เราตระหนักดีว่าเมืองเรามีต้นทุนทางวัฒนธรรมที่สูงมาก ทั้งยังมีบรรยากาศที่น่าอยู่ อย่างไรก็ดี อาจเพราะเป็นเมืองขนาดเล็ก ลำพูนมักถูกมองข้ามจากแผนการพัฒนาของประเทศ เป็นเหมือนเมืองที่มีศักยภาพ แต่ยังไม่ถูกปลุกให้ตื่นความที่เราเคยทำงานที่ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (ปัจจุบันคือสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA - ผู้เรียบเรียง) ได้เห็นตัวอย่างความสำเร็จของกระบวนการพัฒนาย่านด้วยกรอบพื้นที่สร้างสรรค์ในหลายพื้นที่…
“ผมเป็นคนลำพูน และชอบทำกิจกรรมนอกห้องเรียนมาตั้งแต่เด็ก ปัจจุบันเป็นประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดลำพูน ควบคู่ไปกับกำลังศึกษาคณะรัฐศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จากประสบการณ์การทำงานในสภาฯ ทำให้ผมเห็นว่า เยาวชนลำพูนมีศักยภาพที่หลากหลาย แต่สิ่งที่ขาดไปคือเวทีที่เปิดโอกาสให้พวกเขาได้แสดงความสามารถและพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง นอกเหนือจากการสนับสนุนจากโรงเรียนหรือโครงการของภาคเอกชน ปี 2567 พี่อร (ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์…
“อาคารหลังนี้แต่ก่อนเป็นที่ประทับของเจ้าราชสัมพันธวงษ์ลำพูน (พุทธวงษ์ ณ เชียงใหม่) น้องเขยของเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าหลวงองค์สุดท้ายของลำพูน อาคารถูกสร้างขึ้นเมื่อปี 2455 หลังจากนั้นก็ถูกขายให้พ่อค้าชาวจีนไปทำเป็นโรงเรียนหวุ่นเจิ้ง สอนภาษาจีนและคณิตศาสตร์ โรงเรียนนี้เปิดได้ไม่นานก็ต้องปิด เพราะสมัยนั้นรัฐบาลเพ่งเล็งว่าอะไรที่เป็นของจีนจะเกี่ยวข้องกับลัทธิคอมมิวนิสต์ แต่หนูก็ไม่รู้หรอกว่าโรงเรียนนี้เกี่ยวข้องหรือเปล่า (ยิ้ม) จากนั้นอาคารก็ถูกเปลี่ยนมาเป็นโรงเรียนมงคลวิทยาในปี…
“เราโตมากับวัฒนธรรมของคนลำพูน ชอบไปเดินงานปอย ร่วมงานบุญ ก่อนหน้านี้ก็เคยทำงานรับจ้างทั่วไป จนเทศบาลฯ มาส่งเสริมเรื่องการทำโคม โดยมีสล่าจากชุมชนศรีบุญเรืองมาสอน เราก็ไปเรียนกับเขา ตอนนี้อาชีพหลักคือการทำโคม ทำมาได้ 2 ปีแล้ว สำหรับเรา โคมคืองานศิลปะ เป็นสัญลักษณ์และมรดกที่ยึดโยงกับวัฒนธรรมของคนบ้านเรา ตอนแรกเราไม่มีความคิดเลยว่ามันจะกลายมาเป็นอาชีพได้…