“เราย้ายจากเทศบาลเมืองเขาสามยอด ลพบุรี มาอยู่เทศบาลเมืองสระบุรีประมาณ 2 ปี ก็พอดีกับท่านนายกฯ คนใหม่ (ธีรรัตน์ จึงยิ่งเรืองรุ่ง นายกเทศมนตรีเมืองสระบุรี ปี 2564-ปัจจุบัน) ที่เป็นคนหนุ่มรุ่นใหม่ไฟแรง วาง 4 ยุทธศาสตร์ ‘สร้างเมืองน่าอยู่ สร้างคนคุณภาพ’ ทำงานโดยการประสาน ลงพื้นที่ รับฟังปัญหา ความต้องการของประชาชน เชื่อมโยงภายใน 9 สำนักกองที่เกี่ยวข้อง เราริเริ่มถ่ายทอดนโยบายของผู้บริหาร ลงสู่การปฏิบัติ สู่ยุทธศาสตร์ สู่แผนงานโครงการ สู่ผู้รับผิดชอบ ซึ่งทั้งหมดทั้งมวลต้องอยู่ภายใต้กรอบโครงสร้างตามระเบียบกฎหมายที่กำหนด การจัดประชุมเป็นเรื่องธรรมดา พูดคุย ทำความเข้าใจกัน แต่ผลมันได้มากกว่านั้นนะ บริบทองค์กรที่นี่ขับเคลื่อนด้วยระบบราชการ ยึดคำสั่งผู้บังคับบัญชาและมติที่ประชุมเป็นหลัก แล้วนำไปดำเนินการ ซึ่งการทำงานก็สมูทนะ
เทศบาลเมืองสระบุรีมีความพร้อมอยู่แล้ว ทั้งคน ทั้งเงิน องค์ประกอบต่าง ๆ ถึงจะมีปัญหาอุปสรรคด้านงบประมาณอยู่บ้าง แต่ 2-3 ปีที่เราทำงาน มองจากภายนอกตอนที่ยังไม่ได้มาอยู่ที่นี่ คิดว่าขับเคลื่อนได้เร็ว ท่านนายกฯ เพิ่งมา 3 ปี แต่ขับเคลื่อนจนมีมหกรรมประจำเมืองได้ 4 มหกรรม เฉลี่ยแล้ว 3 เดือนครั้ง เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ สร้างภาวะเมืองหดตัวกลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง แล้วก็ขับเคลื่อนโครงสร้างหลักหลาย ๆ อย่าง ไม่ว่าจะเป็นถนน ไฟ ประปา รวมทั้งโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลด้วย กองยุทธศาสตร์ฯ เราขับเคลื่อนจนได้รับใบประกาศนียบัตรเขตส่งเสริมเมืองอัจฉริยะ และปีนี้เป็น 1 ใน 2 เมืองที่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการที่จะเข้าสู่การได้รับเป็น ‘สมาร์ทซิตี้’ เราได้รับการสนับสนุนส่งเสริมจาก DEPA (สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล) ด้วย เพราะเห็นศักยภาพที่เรามีฐานข้อมูลเมือง มีคณะทำงานพร้อม
ส่วนตัว มองว่าสระบุรีเป็นเมืองน่าอยู่นะ เทศบาลฯ มีการขับเคลื่อนที่สมดุล ไม่ว่าผู้บริหารจะขับเคลื่อนนโยบายมายังไง เราบอกว่าขาดคน ขาดงบประมาณ เราจะได้รับมัน อันนี้คือความสมดุลในแง่หนึ่ง เราไม่ต้องเอางานกลับไปทำที่บ้าน สิ่งเหล่านี้ เริ่มจากตัวเอง ต่อไปที่ครอบครัว ถ้าหน่วยที่เล็กที่สุดมีคุณภาพ จะต่อยอดไปหน่วยใหญ่ ๆ ได้มีคุณภาพด้วย ถ้าเอางานไปทำที่บ้าน แล้วเครียด ยังไม่เสร็จ หัวหน้าตาม ครอบครัวไม่มีความสุข คนรอบข้างก็ไม่มีความสุข แต่เมื่อไหร่ที่เราเดินขึ้นมา ยิ้ม ทักทาย มันเผื่อแผ่ออกไปรอบข้างเรื่อย ๆ เมืองสระบุรีมีคาเฟ่หลากหลายมาก อาหารอร่อย มีปลาแม่น้ำ บรรยากาศนั่งฟังเพลงริมน้ำก็มีเยอะ เราอยากให้เป็นเหมือนเมืองในญี่ปุ่นที่เขาอนุรักษ์บ้านเมืองเพื่อให้คนมาท่องเที่ยวแต่เขามีความเป็นอยู่ที่ดี มีอาชีพ มีรายได้จากตรงนั้น และมีความทันสมัย มีพื้นที่ที่ให้คนได้รวมตัวกัน เป็นที่เรียนรู้ ที่เดิน ที่ชอปปิง อย่างในเขตเทศบาลฯ ก็มีพื้นที่สามารถแบ่งโซนวัฒนธรรมและความทันสมัย ตรงถนนพิชัยรณรงค์สงคราม มีโรงเจบ้วนเฮงตั๊ว มีบ้านเก่า เป็นโซนดั้งเดิม ตรงถนนสุดบรรทัดก็เป็นความทันสมัย เป็นย่านธุรกิจ ซึ่งถนนสุดบรรทัดเดิมก็มีปัญหาเรื่องที่จอดรถ การจราจรติดขัด ผู้บริหารก็แก้ไขเร่งด่วน ปรับปรุงเกาะกลางถนนให้เป็นที่จอดรถ ทำให้ค้าขายได้มากขึ้น ในอนาคต ก็จะปรับปรุงเพิ่มเติมตามงานวิจัยของบพท. ที่นำเข้าไปอยู่ในแผนพัฒนาของจังหวัดแล้ว
เราอยากให้มีการขนส่งมวลชนที่ทันสมัย จะได้ไม่ต้องนำรถเข้ามา ไม่ต้องมาหาที่จอด ฝันว่า สักวันหนึ่ง จะมีการจำกัดรถเข้าในเขตเทศบาลฯ มีจุดจอดรถให้เป็นพื้นที่ส่วนกลาง มีรถรับส่งอาจจะเป็นรถรางไฟฟ้า รถอะไรก็ได้ที่ไม่ต้องใช้น้ำมัน ไม่ต้องเกิดควัน เกิดฝุ่น เรามองในแง่สิ่งแวดล้อม พลังงานทางเลือกด้วย ถ้าขนส่งดี มลภาวะจะลดลงเอง คนก็อยากมา อยากเดิน ฝันอาจจะไกลสักนิด แต่เราก็อยากจะไปให้ถึง”
#เทศบาลเมืองสระบุรี #คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย #โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาดในระดับพื้นที่ #CIAP #บพท #wecitizens
พลังคน พลังโคมลำพูน: เมืองเล็ก ๆ ที่เปี่ยมไปด้วยพลังสร้างสรรค์ แม้ ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์ เป็นคนเชียงใหม่ เธอก็หาใช่เป็นคนอื่นคนไกลสำหรับชาวลำพูนเพราะก่อนจะเข้ามาขับเคลื่อนงานวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดกับเทศบาลเมืองลำพูน เธอได้ทำวิจัยเกี่ยวกับเมืองแห่งนี้มาหลายครั้ง โดยเฉพาะโครงการขับเคลื่อนเยาวชนเพื่อเตรียมพร้อมสู่การเป็นพลเมืองของเมืองแห่งการเรียนรู้ของ UNESCO ในปี 2566-2567 - นั่นล่ะ…
“เป็นสิ่งวิเศษที่สุด ที่ผ้าไหมของจังหวัดลำพูนได้ปรากฏต่อสายตาผู้คนทั้งในและต่างประเทศ ทั้งเมื่อครั้งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงให้การส่งเสริม และทรงฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญต่าง ๆ และกระทั่งในปัจจุบัน สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 10 ก็ทรงส่งเสริมผ้าไหมไทย และฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญเช่นกัน ดิฉันเป็นคนลำพูน มีความภูมิใจในงานหัตถศิลป์การทอผ้าไหมยกดอกนี้มาก ๆ และตั้งใจจะรักษามรดกทางวัฒนธรรม ทำหน้าที่ส่งต่อถึงคนรุ่นต่อไป…
“ความที่โตมาในลำพูน เราตระหนักดีว่าเมืองเรามีต้นทุนทางวัฒนธรรมที่สูงมาก ทั้งยังมีบรรยากาศที่น่าอยู่ อย่างไรก็ดี อาจเพราะเป็นเมืองขนาดเล็ก ลำพูนมักถูกมองข้ามจากแผนการพัฒนาของประเทศ เป็นเหมือนเมืองที่มีศักยภาพ แต่ยังไม่ถูกปลุกให้ตื่นความที่เราเคยทำงานที่ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (ปัจจุบันคือสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA - ผู้เรียบเรียง) ได้เห็นตัวอย่างความสำเร็จของกระบวนการพัฒนาย่านด้วยกรอบพื้นที่สร้างสรรค์ในหลายพื้นที่…
“ผมเป็นคนลำพูน และชอบทำกิจกรรมนอกห้องเรียนมาตั้งแต่เด็ก ปัจจุบันเป็นประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดลำพูน ควบคู่ไปกับกำลังศึกษาคณะรัฐศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จากประสบการณ์การทำงานในสภาฯ ทำให้ผมเห็นว่า เยาวชนลำพูนมีศักยภาพที่หลากหลาย แต่สิ่งที่ขาดไปคือเวทีที่เปิดโอกาสให้พวกเขาได้แสดงความสามารถและพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง นอกเหนือจากการสนับสนุนจากโรงเรียนหรือโครงการของภาคเอกชน ปี 2567 พี่อร (ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์…
“อาคารหลังนี้แต่ก่อนเป็นที่ประทับของเจ้าราชสัมพันธวงษ์ลำพูน (พุทธวงษ์ ณ เชียงใหม่) น้องเขยของเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าหลวงองค์สุดท้ายของลำพูน อาคารถูกสร้างขึ้นเมื่อปี 2455 หลังจากนั้นก็ถูกขายให้พ่อค้าชาวจีนไปทำเป็นโรงเรียนหวุ่นเจิ้ง สอนภาษาจีนและคณิตศาสตร์ โรงเรียนนี้เปิดได้ไม่นานก็ต้องปิด เพราะสมัยนั้นรัฐบาลเพ่งเล็งว่าอะไรที่เป็นของจีนจะเกี่ยวข้องกับลัทธิคอมมิวนิสต์ แต่หนูก็ไม่รู้หรอกว่าโรงเรียนนี้เกี่ยวข้องหรือเปล่า (ยิ้ม) จากนั้นอาคารก็ถูกเปลี่ยนมาเป็นโรงเรียนมงคลวิทยาในปี…
“เราโตมากับวัฒนธรรมของคนลำพูน ชอบไปเดินงานปอย ร่วมงานบุญ ก่อนหน้านี้ก็เคยทำงานรับจ้างทั่วไป จนเทศบาลฯ มาส่งเสริมเรื่องการทำโคม โดยมีสล่าจากชุมชนศรีบุญเรืองมาสอน เราก็ไปเรียนกับเขา ตอนนี้อาชีพหลักคือการทำโคม ทำมาได้ 2 ปีแล้ว สำหรับเรา โคมคืองานศิลปะ เป็นสัญลักษณ์และมรดกที่ยึดโยงกับวัฒนธรรมของคนบ้านเรา ตอนแรกเราไม่มีความคิดเลยว่ามันจะกลายมาเป็นอาชีพได้…