“ผมมองว่าขอนแก่นเดินมาถูกทางแล้ว แต่ก็ต้องปรับปรุงไปตาม Interruption ต้องประสานทั้งภูมิภาคจึงจะเดินหน้าได้เร็วขึ้น”

Start
215 views
16 mins read

“พื้นฐานเราเป็นบริษัทเกษตรทำน้ำตาลกับอาหาร และมี operation อยู่แถวอีสาน เหตุผลแรกที่เราเลือกที่นี่ เพราะลักษณะทางภูมิศาสตร์และที่ตั้งของอีสานอยู่บนเส้นแวงเป็น east west corridor ปลูกอ้อยได้ดีที่สุด และมีขอนแก่นเป็นศูนย์กลาง นั่นเป็นเหตุผลที่ทำไมเราสนใจขอนแก่น เรื่องที่สอง เรามองว่าขอนแก่นมีศักยภาพมาก เป็นศูนย์กลางคมนาคม การศึกษา การวิจัยพัฒนา มีอุทยานวิทยาศาสตร์ มีบุคลากรที่ผลิตนิสิตนักศึกษา ครูอาจารย์ ศูนย์การแพทย์ ศูนย์ราชการ และแหล่งรวมธุรกิจ อย่างบริษัทใหญ่ ๆ ก็มาตั้งที่นี่ การจัดตั้งศูนย์นวัตกรรมของเรา เราไม่ได้มุ่งที่จะสร้างประโยชน์แค่ในระดับจังหวัด แต่เรามองว่าเป็นระดับประเทศ มองว่าจังหวัดขอนแก่นจะเป็น Hub ให้ Subregion ที่มี สปป.ลาว กับจีนตอนใต้อยู่ในพื้นที่ และยังสามารถเชื่อมต่อไปเวียดนาม หรือพม่า เพราะฉะนั้นขอนแก่นสำหรับเราจึงเป็นเหมือน Crossroad ของภูมิภาคโซนนี้

ในเรื่องการพัฒนาด้านนวัตกรรม จริง ๆ มิตรพลทำเรื่องนี้มานาน แต่ที่ขอนแก่น คือที่แรกที่เราทำแบบเป็นเรื่องเป็นราวที่นี่ นับตั้งแต่อดีต มิตรผลเราสร้างจิตวิญญาณความเป็นนวัตกรรมมาโดยตลอด เริ่มจากปี 1997 มิตรผลได้ตั้งสถาบันวิจัยมิตรผล มุ่งไปเรื่องเกษตรอาหาร และน้ำตาล มีห้อง Lab เกี่ยวกับการวิจัยพันธุ์พืชอ้อย การวิจัยอุปกรณ์ การวิจัย Process ซึ่งเป็นพื้นฐานของการพัฒนานวัตกรรม เพื่อเตรียมการที่จะยกระดับและก้าวกระโดด ถ้ามองการพัฒนาเป็นกราฟแบบ Generation 1,2,3 อันที่ 1 เราผ่านมาแล้วเรื่องพัฒนาการปลูกอ้อยทำน้ำตาลอันนี้เห็นภาพชัดเจน Generation ที่ 2 เป็นเรื่อง Renewable energy การผลิตเอทานอล พลังงานไฟฟ้า Fertilizer เรื่องการ Turn waste to value ซึ่ง ณ เวลานี้ถือว่าเราผ่านมา Generation ที่ 2 ไปแล้ว และมันช่วยให้เราสร้าง Value-added ในอุตสาหกรรมของเราเป็นอย่างดี แต่สิ่งที่เราจะก้าวต่อไป ตอนนี้คือไปได้ครึ่งก้าวแล้วครับ คือ Generation ที่ 3 ที่บอกว่าครึ่งก้าวเพราะเป็นเส้นทางที่ยาวไกลและต้องใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ใช้ Research ใช้ Innovation ที่ซับซ้อนขึ้น เช่นเรื่องการพัฒนา Lactic acid เพื่อนำไปทำ Biomaterial และ Low-Calorie Sweeteners ทำให้ของหวานกินแล้วไม่เป็นเบาหวาน การพัฒนา Yeast extract ไปทำพวก Functional Food อย่าง Beta Glucan ช่วยลดการอักเสบจากภาวะเบาหวาน นี่เป็น Process Flow ตามพีระมิดสีเขียวที่เราวางไว้ คือ มีพื้นฐานที่แข็งแรงซึ่งมาจากภาคเกษตร แล้วไต่พีระมิดขึ้นไปในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ซับซ้อนขึ้น สร้าง Value แต่ปริมาณ Product อาจจะน้อยลงบ้าง ยิ่งพีระมิดยิ่งสูง Value ก็ยิ่งมากขึ้นตาม นี่คือแกนหลักของงาน R&D ที่เราทำ แต่ส่วนหนึ่งที่เราเห็นความสำคัญเช่นเดียวกัน คือ การพัฒนา Innovation Ecosystem กับอุตสาหกรรมที่เราเกี่ยวข้อง เพื่อกระตุ้นให้ระบบมันเดินหน้า การเลือกสร้าง ‘Khon Khaen Innovation Center’ ใจกลางเมืองขอนแก่นในย่านศรีจันทร์ก็ด้วยเหตุผลนี้เช่นกัน

เพราะการพัฒนาจิตวิญญาณแบบ Innovative คุณต้องสร้างสิ่งแวดล้อมที่สนับสนุนให้บ่มเพาะ Mindset กับ Culture ที่เสริมแรงกระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ และสร้าง Innovation ออกมา อย่างตรงนี้ที่ย่านศรีจันทร์ ถูกเลือกให้เป็นย่าน Creative และย่านนวัตกรรม ทาง NIA เขาได้ตีกรอบเรื่องนวัตกรรมไว้ชัดเจน พร้อมพัฒนาคน พัฒนาโครงการ เราก็คิดว่าเราอยู่ตรงนี้ก็มีหน่วยงานอย่าง NIA หรือ CEA ที่เขา Build หรือ Creative Economy ตรงนี้อยู่พอดี หรือเทศบาลที่เขาก็เริ่มมาลงทุนปรับปรุง Infrastructure แล้วเพื่อเสริมศักยภาพเมืองไปสู่การเป็น Smart City เดี๋ยวนี้ Trend เรื่องของ Digital life ก็มาแล้วแบบ Personal ก็ชัดเจนขึ้นเรื่อย ๆ ความเป็น Urban Tech อีกไม่นานก็ตามมา สุดท้ายคือ MarTech ก็จะมา โดยมีงาน Creative พวก Music, Art, Media Art, หรือ Digital lab เข้ามาเสริม อย่างเรื่อง Digital Lab เราก็เคยคุยกับทาง DEPA ว่าเราทำ Lab ดีไหมเอาไว้ให้เด็กขอนแก่นสายมาพัฒนา Software หรือพัฒนาเกมส์ อีก Function ที่เกี่ยวข้องคือบนตึกเรามี Convention Hall 3,000 กว่าตารางเมตร ใช้ได้ทั้ง Conference และ Mini concert และมีห้องขนาดเล็กลงมาอีก 2 ห้องอยู่ที่ 2,000 กับ 1,000 นอกจากนี้ยังมี Workspace เป็น Co-working มี Service office และมี Café กับโรงแรม เรียกว่าครบวงจรทั้งอยู่ กิน นอน ทำงาน และประชุม นี่คือองค์ประกอบสำคัญๆ ที่เราวางให้ Khon Khaen Innovation Center เป็น Player ที่ช่วยสร้าง Innovation ecosystem ให้กับจังหวัดขอนแก่น

ส่วนตัวผมมองว่าเรื่องการพัฒนาเมืองขอนแก่น ต้องยอมรับว่าการเปลี่ยนแปลงทุกอย่างที่มันไม่เปลี่ยนเพราะมันมีอุปสรรค ต้องเอาอุปสรรคขึ้นมาคุยกันก่อน การจะสร้างอะไรขึ้นมามันต้องลงทุนแล้วถ้าเกิดมันถูกล็อกด้วยกติกา คิดจะทำอะไรก็ไม่ได้สุดท้ายมันก็ไม่เกิด ส่วนหนึ่งที่อะไร ๆ มันเกิดยากเพราะว่าเรื่องอย่างนี้แหละ จริง ๆ ไม่ได้เป็นความผิดของ Regulation หรือกฎระเบียบ เพราะกฎระเบียบต้องถูกวางไว้เพื่อเป็นการควบคุมสังคม ปกป้องคนดี และกีดกันคนกระทำผิด แต่บางอย่างที่เรากีดกัน บางครั้งคนประสงค์ดีมันก็โดนเข้าข่ายไปด้วย หรือกระแสการพัฒนามันไปไกลเลย Regulation ไปแล้ว จึงต้องมาคุยมาคิดปรับเรื่องนี้ด้วยกัน การพัฒนาเมืองขอนแก่นมันมีแนวทางของมัน และค่อนข้างชัดเจน ทุกคนก็เห็นพ้องไปในแนวนี้ เพราะฉะนั้นการที่เราจะเดินไปก็ต้องได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายมานั่งคิดว่าจะทำอย่างไร หรือจะผ่อนคลายอย่างไรให้ตรงนี้ไปได้ มันก็ไม่ใช่เชิงว่าเอกชนนำ จริงอยู่ที่เอกชนต้องเป็นคนคิดเพราะเอกชนอาจจะมีความพร้อมมีศักยภาพในเรื่องของปัจจัยต่าง ๆ รัฐก็ทำ แต่เขาต้องทำในแง่ Public good กับ Regulation

ส่วนตัวผมมองว่าขอนแก่นเดินมาถูกทางแล้ว แต่ก็ต้องปรับปรุงไปตาม Interruption ต้องประสานทั้งภูมิภาคจึงจะเดินหน้าได้เร็วขึ้น อย่าเอาแต่มองว่าจะต้องแข่งขันกับจังหวัดอื่น อันนี้เรามองในฐานะที่เป็นเราเป็นคนกลางนะครับ”

ทักษ์ ศรีรัตโนภาส
ผู้อำนวยการโครงการขอนแก่น อินโนเวชั่น เซ็นเตอร์
บริษัท ขอนแก่น อินโนเวชั่น เซ็นเตอร์ จำกัด ในเครือกลุ่มน้ำตาลมิตรผล

กองบรรณาธิการ

ในปีพ.ศ.2563-2564 หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ได้สนับสนุนและผลักดันการพัฒนาเมืองในประเทศไทยเพื่อพัฒนาเมืองแห่งการเรียนรู้ (Learning City) โดยเริ่มดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมแล้วทั้งหมด 18 เมือง 20 ชุดโครงการ และ 41 ชุดโครงการย่อย