“พี่เริ่มรวมกลุ่มก่อนโควิดมาหลายปีแล้ว ตอนนั้นทางเทศบาลเมืองพะเยาเข้ามาส่งเสริมอาชีพให้กับแม่บ้านและคนวัยเกษียณที่อยู่บ้านเฉยๆ ในชุมชน ก็รวมกลุ่มกันได้สามสิบกว่าคนมาคุยกันว่าอยากทำอะไร แล้วสรุปได้ว่าเป็นงานกระเป๋าที่ทำจากผ้า พวกกระเป๋าเป้ กระเป๋าสะพาย และกระเป๋าสตางค์ รวมถึงงานผ้าอื่นๆ เพราะทุกคนสามารถทำเองได้จากที่บ้าน
ช่วงแรกๆ ก็ได้เทศบาลนี่แหละที่หาตลาดให้ เพราะเขาจะมีเทศกาลหรือพวกงานออกร้านสินค้าจากชุมชนอยู่บ่อยๆ หรือเวลาข้าราชการจากองค์กรไหนท่านเกษียณ เขาก็ออร์เดอร์ให้ทางกลุ่มทำกระเป๋าเป็นของที่ระลึก ซึ่งก็สร้างรายได้ให้ทางกลุ่มให้ทุกคนพออยู่ได้ แต่พอโควิดเข้ามา งานจัดไม่ได้ เราก็ขายกระเป๋ากันไม่ได้ ทางกลุ่มแม่บ้านก็เลยหยุดไปพักหนึ่ง
มาจน อาจารย์เอ (รศ.ดร.ผณินทรา ธีรานนท์) ทำโครงการเมืองแห่งการเรียนรู้ และชวนพี่และทางกลุ่มเข้าร่วม โดยให้พี่และเพื่อนๆ ในกลุ่มไปสอนเด็กๆ และผู้สูงอายุในชุมชนอื่นเย็บกระเป๋า ตอนแรกเราก็แปลกใจนะ เพราะโควิดกำลังมา ลำพังที่เราขายอยู่ก็ขายไม่ค่อยได้แล้ว แล้วจะทำการเรียนการสอนในช่วงนั้นทำไมอีก
แต่ต่อมาก็พบว่าเขาไม่ใช่แค่ให้เราไปสอนคนอื่นอย่างเดียว ทางโครงการหาคนมาสอนเราด้วย ก็จัดการเรียนเป็นกลุ่มเล็กๆ มีการเว้นระยะ วิทยากรที่มาสอนเราก็เหมือนมาเติมในสิ่งที่ขาด เช่นพวกดีไซน์ใหม่ๆ การเลือกใช้เศษผ้าที่เหลือจากโรงงานตัดผ้ามาสร้างสรรค์เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ไปจนถึงวิธีการขายทางออนไลน์ ซึ่งกลุ่มเราอยากจะทำมาตลอด แต่ไม่รู้จะทำยังไง
ก็เลยเหมือนเป็นการแลกเปลี่ยนที่ได้ประโยชน์กันหมด เราแบ่งปันทักษะทางการทำกระเป๋าให้คนอื่นๆ ที่อยากเรียนรู้ ทางโครงการก็แบ่งปันวิธีการทำให้กระเป๋าที่เราทำอยู่แล้วมีความน่าซื้อ ต้นทุนถูกลง และขายได้มากขึ้น
ที่พี่ชอบที่สุดคือทางโครงการร่วมกับกลุ่มเราออกแบบกระเป๋ารูปแบบใหม่ เป็นกระเป๋าทรงปลาที่สะท้อนความเป็นกว๊านพะเยา เราก็ขายกระเป๋ามานานแล้วนะ แต่ก็ต้องยอมรับว่าที่ผ่านมา แบบกระเป๋าที่เราขายก็เหมือนๆ คนอื่น จนมีกระเป๋าผ้าทรงปลานี่แหละ พอจะอวดได้ว่าเป็นของที่ระลึกหรือของฝากจากเมืองพะเยา” (ยิ้ม)
สุนทรีย์ มหาวงศ์
กลุ่มกระเป๋าผ้าด้นมือ วัดเมืองชุม
https://www.facebook.com/profile.php?id=100054493027942
“เป็นสิ่งวิเศษที่สุด ที่ผ้าไหมของจังหวัดลำพูนได้ปรากฏต่อสายตาผู้คนทั้งในและต่างประเทศ ทั้งเมื่อครั้งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงให้การส่งเสริม และทรงฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญต่าง ๆ และกระทั่งในปัจจุบัน สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 10 ก็ทรงส่งเสริมผ้าไหมไทย และฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญเช่นกัน ดิฉันเป็นคนลำพูน มีความภูมิใจในงานหัตถศิลป์การทอผ้าไหมยกดอกนี้มาก ๆ และตั้งใจจะรักษามรดกทางวัฒนธรรม ทำหน้าที่ส่งต่อถึงคนรุ่นต่อไป…
“ความที่โตมาในลำพูน เราตระหนักดีว่าเมืองเรามีต้นทุนทางวัฒนธรรมที่สูงมาก ทั้งยังมีบรรยากาศที่น่าอยู่ อย่างไรก็ดี อาจเพราะเป็นเมืองขนาดเล็ก ลำพูนมักถูกมองข้ามจากแผนการพัฒนาของประเทศ เป็นเหมือนเมืองที่มีศักยภาพ แต่ยังไม่ถูกปลุกให้ตื่นความที่เราเคยทำงานที่ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (ปัจจุบันคือสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA - ผู้เรียบเรียง) ได้เห็นตัวอย่างความสำเร็จของกระบวนการพัฒนาย่านด้วยกรอบพื้นที่สร้างสรรค์ในหลายพื้นที่…
“ผมเป็นคนลำพูน และชอบทำกิจกรรมนอกห้องเรียนมาตั้งแต่เด็ก ปัจจุบันเป็นประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดลำพูน ควบคู่ไปกับกำลังศึกษาคณะรัฐศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จากประสบการณ์การทำงานในสภาฯ ทำให้ผมเห็นว่า เยาวชนลำพูนมีศักยภาพที่หลากหลาย แต่สิ่งที่ขาดไปคือเวทีที่เปิดโอกาสให้พวกเขาได้แสดงความสามารถและพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง นอกเหนือจากการสนับสนุนจากโรงเรียนหรือโครงการของภาคเอกชน ปี 2567 พี่อร (ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์…
“อาคารหลังนี้แต่ก่อนเป็นที่ประทับของเจ้าราชสัมพันธวงษ์ลำพูน (พุทธวงษ์ ณ เชียงใหม่) น้องเขยของเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าหลวงองค์สุดท้ายของลำพูน อาคารถูกสร้างขึ้นเมื่อปี 2455 หลังจากนั้นก็ถูกขายให้พ่อค้าชาวจีนไปทำเป็นโรงเรียนหวุ่นเจิ้ง สอนภาษาจีนและคณิตศาสตร์ โรงเรียนนี้เปิดได้ไม่นานก็ต้องปิด เพราะสมัยนั้นรัฐบาลเพ่งเล็งว่าอะไรที่เป็นของจีนจะเกี่ยวข้องกับลัทธิคอมมิวนิสต์ แต่หนูก็ไม่รู้หรอกว่าโรงเรียนนี้เกี่ยวข้องหรือเปล่า (ยิ้ม) จากนั้นอาคารก็ถูกเปลี่ยนมาเป็นโรงเรียนมงคลวิทยาในปี…
“เราโตมากับวัฒนธรรมของคนลำพูน ชอบไปเดินงานปอย ร่วมงานบุญ ก่อนหน้านี้ก็เคยทำงานรับจ้างทั่วไป จนเทศบาลฯ มาส่งเสริมเรื่องการทำโคม โดยมีสล่าจากชุมชนศรีบุญเรืองมาสอน เราก็ไปเรียนกับเขา ตอนนี้อาชีพหลักคือการทำโคม ทำมาได้ 2 ปีแล้ว สำหรับเรา โคมคืองานศิลปะ เป็นสัญลักษณ์และมรดกที่ยึดโยงกับวัฒนธรรมของคนบ้านเรา ตอนแรกเราไม่มีความคิดเลยว่ามันจะกลายมาเป็นอาชีพได้…
“ก่อนหน้านี้เราเป็นสถาปนิก และกระบวนกรจัดประชุมสัมมนาด้านวิชาการ โดยหลัก ๆ จะอยู่เชียงใหม่ ช่วงปี 2562 เรากลับลำพูนและเห็นเทศกาล River Festival Lamphun ริมแม่น้ำกวง รู้สึกตื่นตามาก ๆ ไม่เคยคิดว่าเราจะได้เห็นโชว์แสง…