“นักท่องเที่ยวมักถามผมว่าทำไมจึงมีบ่อน้ำผุดขึ้นมาในกว๊าน ก็ในเมื่อตรงนี้เป็นแหล่งน้ำทำไมยังมีบ่อน้ำอยู่ (หัวเราะ) คือกระทั่งคนพะเยาเองบางคนก็อาจลืมไปแล้วว่าเมื่อ 80 กว่าปีก่อน พื้นที่กว๊านตรงนี้ทั้งหมดเคยเป็นหมู่บ้าน คนที่อยู่ทันเห็นสภาพเดิมส่วนใหญ่ก็เสียชีวิตไปหมดแล้ว บ่อน้ำตรงนั้นจึงเป็นอนุสรณ์ให้เรายังจำได้อยู่ว่าเมื่อก่อนตรงนี้เคยเป็นอะไร
ผมเป็นคนตำบลบ้านตุ่น ตรงท่าเรือโบราณบ้านทุ่งกิ่ว เมื่อก่อนพ่อผมเป็นทหารรับใช้จอมพล ผิน ชุณหะวัน ที่กรุงเทพฯ แกย้ายมาอยู่พะเยาช่วงสงครามโลก สมัยนั้นพะเยายังมีถนนไม่ทั่วถึง การจะเดินทางไปโรงเรียนซึ่งอยู่ในเขตตัวเมือง คือต้องนั่งเรือข้ามกว๊านไป ผมจำได้ว่าค่าเรือรอบหนึ่งแค่ 50 สตางค์ ราคาเท่ากับข้าวสารหนึ่งกิโลกรัม สมัยก่อนคนเรือหาเงินได้วันละ 10 บาทนี่ก็ดีใจกันมากแล้ว
พ่อผมเสียชีวิตตั้งแต่ผมยังเด็ก สมัยนั้น พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัน เป็นนายกรัฐมนตรี ท่านยังส่งเงินมาช่วยงานศพพ่อ พอไม่มีพ่อ ผมก็เลยทำงานรับจ้างช่วยแม่มาตั้งแต่เด็ก หาปลาในกว๊านบ้าง ไปทำสวนบ้าง แล้วแต่ช่วง จนมีการขุดพบวัดติโลกอารามนี่แหละ จึงได้งานขับเรือพานักท่องเที่ยวไปไหว้พระ
เรื่องเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2526 เกาะที่เป็นที่ตั้งของวัดตอนนี้ เมื่อก่อนเป็นเกาะเล็กๆ มีต้นไม้ใหญ่ตั้งอยู่ วันหนึ่งเกิดพายุและต้นไม้หัก ชาวบ้านก็ทราบอยู่บ้างว่าแถวนั้นเคยเป็นวัด ก็เลยพากันไปขุดหาพระยอดขุนพล ซึ่ง เดี๋ยวนี้เช่ากันเป็นแสนเลยนะครับ ขุดๆ กันไป ก็มาพบพระพุทธรูปปางมารวิชัยอยู่ใต้รากต้นไม้ลึกลงไปกว่าสองเมตร ทางจังหวัดก็เลยอัญเชิญพระพุทธรูปไปแห่รอบเมือง 7 วัน 7 คืน ก่อนจะประดิษฐานที่วัดศรีอุโมงค์คำ
จนมาปี 2550 นี่แหละที่มีการค้นพบศิลาจารึกที่ระบุว่าวัดนี้สร้างขึ้นสมัยพระเจ้าติโลกราช ซึ่งก็ราว 500 ปีแล้ว ท่านธนเษก อัศวานุวัตร ผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยาสมัยนั้นก็มีความคิดในการบูรณะวัดร้างกลางกว๊านแห่งนี้ โดยอัญเชิญพระพุทธรูปที่ขุดพบเมื่อ 24 ปีที่แล้วมาประดิษฐาน พระพุทธรูปได้รับการตั้งชื่อว่า ‘หลวงพ่อศิลา’ โดยวัดเกาะกลางแห่งนี้ถูกเรียกว่า ‘วัดติโลกอาราม’
ตั้งแต่นั้นใครมาเยือนพะเยา ก็มักจะนั่งเรือมานมัสการหลวงพ่อบนเกาะนี้ ซึ่งผมก็ได้งานเป็นคนขับเรือข้ามฟากไปด้วย ช่วงไหนไม่มีงานก็ไปรับจ้าง และก็ทำงานเป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านไปพร้อมกัน
ต้องชื่นชมวิสัยทัศน์ของท่านธนเษก ที่ทำให้วัดแห่งนี้กลายเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ประจำเมืองพะเยา โดยมีการจัดประเพณีเวียนเทียนรอบกว๊านในทุกวันมาฆบูชา วิสาขาบูชา และอาสาฬหบูชา ปีละสามครั้ง ที่นี่น่าจะเป็นแห่งเดียวในประเทศด้วยนะครับ ที่มีการเวียนเทียนด้วยเรือรอบเกาะ แล้วพอจัดช่วงเย็นที่พระอาทิตย์ค่อยๆ ตกจนมืดแล้วเห็นแสงเทียนรอบวัด ภาพกว๊านพะเยายามเย็นสวยงามอยู่แล้ว พอได้แสงเทียนกลางน้ำก็งดงามเข้าไปใหญ่
กว๊านพะเยาสำหรับจึงเป็นทั้งแหล่งทำมาหากิน แหล่งอาหารประทังชีวิต แหล่งพักผ่อน และเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ไว้ยึดเหนี่ยวจิตใจ”
สุทัศน์ ปทุมวงศ์
คนรับจ้างพายเรือในกว๊านพะเยา
“หอโหวดเป็นเพียงจุดเริ่มต้น แต่หลังจากนี้คือกลไกที่เทศบาลต้องทำงานร่วมกับภาคประชาชนและนักวิชาการ ในการกำหนดทิศทางเมืองให้ร้อยเอ็ดพร้อมรับการท่องเที่ยว และทำให้เมืองมีความน่าอยู่ สำหรับผู้คนในเมืองพร้อมกันไปด้วย” “เราเกิดที่ร้อยเอ็ด เรียนมัธยมที่นี่ ก่อนไปเรียนระดับมหาวิทยาลัยที่กรุงเทพฯ ก่อนหน้านี้ สักเกือบ 10 ปีที่แล้ว เราไม่เคยมีความคิดจะกลับมาทำงานที่บ้านเกิดเลยนะ เพราะไม่เห็นโอกาสอะไรในชีวิตในภาพจำเดิมของเรา ร้อยเอ็ดเป็นเมืองผ่าน ไม่มีสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อ ไม่มีแหล่งธรรมชาติสวยๆ…
ชวนอ่าน เบื้องหลังแนวคิดการขับเคลื่อนงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย องค์ความรู้ และนวัตกรรม ความร่วมมือ และบูรณการระหว่าง บพท. และสมาคมเทศบาลนครและเมือง ก่อเกิดโครงการ "โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด (CIAP) ดำเนินการระหว่างปีพ.ศ. 2567-2568 กับผู้นำเมือง และเทศบาล…
WeCitizens : ร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด (ฉบับที่ 1) เปิดความคิด ความหวัง และโอกาสของการพัฒนาเมืองร้อยเอ็ดที่รัก นำโดยนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด คุณบรรจง โฆษิตจิรนันท์ คณะทำงานเจ้าหน้าที่เทศบาล และหัวหน้าโครงการวิจัยร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด ผศ. ดร.ชัญญรินทร์…
ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง…
สนทนากับ ผศ.ดร.ชัญญรินทร์ สมพรหัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ‘ร้อยเอ็ด’, สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด “พื้นที่นี้จะเป็นเหมือนตัวกลางในการสร้างความพร้อมให้คนร้อยเอ็ดสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในอนาคต” ผศ. ดร.ชัญญรินทร์ สมพร รองผู้อํานวยการสํานักส่งเสริมวิชาการและจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด และหัวหน้าโครงการวิจัย "โครงการเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ร้อยเอ็ดคนดี เชื่อมโยงโครงข่ายเศรษฐกิจ ด้วยการเดินบนความปลอดภัยและทันสมัย…
"เราให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงเศรษฐกิจให้ร้อยเอ็ดเป็นทางเลือกใหม่ของตลาด MICE ที่ราคาย่อมเยา เดินทางสะดวก และมีอัตลักษณ์" เริ่มจากความคับข้องใจที่เห็นบ้านเกิดของตัวเอง (ร้อยเอ็ด) เป็นเมืองผ่านที่มักถูกมองข้าม เมื่อ บรรจง โฆษิตจิรนันท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด เมื่อปี 2538 เขาจึงเริ่มโครงการพัฒนาเมือง ไปพร้อมกับการดึงเสน่ห์จากศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ดึงดูดให้ผู้คนมาเที่ยว…