Categories: Citizenยะลา

“การศึกษาไม่ได้มีแค่การฟังครูสอนหรืออ่านตำราเท่านั้น แต่การทำกิจกรรมอื่นๆ หรือกระทั่งการเล่นสนุก ก็เป็นการเรียนรู้ได้”

“คุณครูเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนเทศบาล 4 ธนวิถี ยะลา โดยโรงเรียนของครูจัดการเรียนการสอนตั้งแต่อนุบาลไปจนถึงประถมศึกษาปีที่ 6 นักเรียนมีทั้งคนมุสลิมและพุทธ โดยหลักๆ เราเน้นให้เด็กระดับปฐมวัยสามารถอ่านออกเขียนได้ ขณะเดียวกันเราก็พยายามปลูกฝังแนวคิดการเรียนรู้ตลอดชีวิตในเด็กๆ ทุกช่วงวัย

หนึ่งในแนวทางที่ว่าคือแผนการพัฒนารายวิชาเพิ่มเติมตามความถนัดของเด็กๆ ซึ่งนี่เป็นนโยบายที่ครูพยายามผลักดันให้เกิดเป็นรูปธรรมตั้งแต่ระดับประถมศึกษาขึ้นมา โดยนักเรียนห้องหนึ่งจะมีราว 30 คน สายชั้นหนึ่งจะมี 5 ห้องเรียน ทางเราก็จะจัดกลุ่มความสนใจและความถนัดของเด็กแต่ละคน และออกแบบหลักสูตรพิเศษเพื่อพัฒนาทักษะเฉพาะของพวกเขา

ทั้งนี้ข้อได้เปรียบของโรงเรียนเทศบาลเราคือที่นี่ยังเป็นที่ตั้งของ Mini TK Park หรือศูนย์การเรียนรู้ย่อส่วนจาก TK Park Yala ของเทศบาล ที่นี่มีทั้งห้องสมุด สื่อการเรียนการสอน และพื้นที่จัดกิจกรรมนอกห้องเรียน โดยทางโรงเรียนยังจัดสรรคาบวิชาพิเศษให้เด็กๆ ทุกชั้นเรียนได้เข้ามาทำกิจกรรมในศูนย์แห่งนี้ เพื่อปลูกฝังให้พวกเขาเห็นว่าการศึกษา ไม่ได้มีแค่การฟังครูสอนหรืออ่านตำราเท่านั้น แต่การทำกิจกรรมอื่นๆ หรือกระทั่งการเล่นสนุก ก็เป็นการเรียนรู้ได้

ที่สำคัญ โรงเรียนก็พยายามพัฒนาศักยภาพผู้สอนหรือคุณครูด้วย เพราะอย่างที่ทราบกันเทคโนโลยีเดี๋ยวนี้เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และองค์ความรู้เดิมก็อาจใช้ไม่ได้กับยุคสมัยนี้เสมอไป คุณครูทุกคนจึงจำเป็นต้องเปิดโลกและอัพเดตข้อมูลใหม่ๆ ตลอดเวลา รวมถึงการพัฒนาทักษะการสอนที่ทำให้การเรียนเป็นเรื่องสนุก

ส่วนตัวของครูมีคำขวัญประจำตัวที่ใช้ในการทำงานมาตลอดสามสิบกว่าปีที่ผ่านมา ซึ่งก็พยายามจะนำไปให้คณาจารย์ของโรงเรียนปรับใช้ ดังนี้ ‘มุ่งมั่นพัฒนา จรรยาเลิศล้ำ ค้ำจุนลูกศิษย์ พิชิตการสอน อาทรเพื่อนฝูง ใช้แรงจูงใจ และใจดีต่อเด็ก’

เพราะครูเชื่อว่าการจัดการศึกษาให้ได้ผลสัมฤทธิ์ที่ดีที่สุด เราต้องพัฒนาทั้งครูและลูกศิษย์ ขณะเดียวกันการปลูกฝังความเอื้ออาทร ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน จะทำให้เด็กๆ ทุกคนตระหนักถึงความเป็นส่วนรวม ซึ่งตรงนี้แหละเป็นหัวใจสำคัญต่อการพัฒนาชุมชนและเมืองของเรา”

กนกภรณ์ รัตนยิ่ง

ผู้อำนวยการโรงเรียนเทศบาล 4 ธนวิถี ยะลา



กองบรรณาธิการ

Recent Posts

[The Insider]<br />พัชรี แซมสนธ์

“เมืองอาหารปลอดภัยไม่ได้ให้ประโยชน์แค่เฉพาะผู้คนในเขตเทศบาลฯแต่มันสามารถเป็นต้นแบบให้เมืองอื่น ๆ ที่อยากส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้คนได้เช่นกัน” “งานประชุมนานาชาติของสมาคมพืชสวนโลก (AIPH Spring Meeting Green City Conference 2025) ที่เชียงรายเป็นเจ้าภาพเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2568 ที่ผ่านมา เน้นย้ำถึงทิศทางการพัฒนาเมืองสีเขียว…

3 weeks ago

[The Insider]<br />พรทิพย์ จันทร์ตระกูล

“ทั้งพื้นที่การเรียนรู้ นโยบายเมืองอาหารปลอดภัย และโรงเรียนสำหรับผู้สูงวัยคือสารตั้งต้นที่จะทำให้เชียงรายเป็นเมืองแห่งสุขภาพ (Wellness City)” “กล่าวอย่างรวบรัด ภารกิจของกองการแพทย์ เทศบาลนครเชียงราย คือการทำให้ประชาชนไม่เจ็บป่วย หรือถ้าป่วยแล้วก็ต้องมีกระบวนการรักษาที่เหมาะสม ครบวงจร ที่นี่เราจึงมีครบทั้งงานส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค การรักษาเมื่อเจ็บป่วย และระบบดูแลต่อเนื่องถึงบ้าน…

3 weeks ago

[The Insider]<br />ณรงค์ศักดิ์ เตือนสกุล

“การจะพัฒนาเมือง ไม่ใช่แค่เรื่องสาธารณูปโภคแต่ต้องพุ่งเป้าไปที่พัฒนาคนและไม่มีเครื่องมือไหนจะพัฒนาคนได้ดีไปกว่า การศึกษา” “แม้เทศบาลนครเชียงรายจะเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ของยูเนสโกแห่งแรกของไทยในปี 2562 แต่การเตรียมเมืองเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ว่านี้ เกิดขึ้นก่อนหน้านั้นหลายสิบปี ในอดีต เชียงรายเป็นเมืองที่ห่างไกลความเจริญ ทางเทศบาลฯ เล็งเห็นว่าการจะพัฒนาเมือง ไม่สามารถทำได้แค่การทำให้เมืองมีสาธารณูปโภคครบ แต่ต้องพัฒนาผู้คนที่เป็นหัวใจสำคัญของเมือง และไม่มีเครื่องมือไหนจะพัฒนาคนได้ดีไปกว่า ‘การศึกษา’…

3 weeks ago

[The Insider]<br />นนทพัฒ ถปะติวงศ์

“ถ้าอาหารปลอดภัยเป็นทางเลือกหลักของผู้บริโภคเชียงรายจะเป็นเมืองที่น่าอยู่กว่านี้อีกเยอะ” “นอกจากบทบาทของการพัฒนาชุมชนและสังคมสงเคราะห์ กองสวัสดิการสังคม เทศบาลนครเชียงราย ยังมีกลไกในการส่งเสริมเศรษฐกิจของพี่น้อง 65 ชุมชน ภายในเขตเทศบาลฯ โดยกลไกนี้ครอบคลุมการส่งเสริมสุขภาพ และช่วยดูแลสิ่งแวดล้อมในทางอ้อมด้วยกลไกที่ว่าคือ ‘สหกรณ์นครเชียงราย’ โดยสหกรณ์ฯ นี้เริ่มต้นมาตั้งแต่ปี 2560 หลักเราคือการสนับสนุนเศรษฐกิจชุมชน…

3 weeks ago

[The Citizens]<br />ชวนพิศ สุริยวงค์

“แม่อยากปลูกผักปลอดภัยให้ตัวเองและคนในเมืองกินไม่ใช่ปลูกผักเพื่อส่งขาย แต่คนปลูกไม่กล้ากินเอง” “บ้านป่างิ้ว  ตั้งอยู่ละแวกสวนสาธารณะหาดนครเชียงราย เราและชุมชนฮ่องลี่ที่อยู่ข้างเคียงเป็นชุมชนเกษตรที่ปลูกพริก ปลูกผักไปขายตามตลาดมาแต่ไหนแต่ไร กระทั่งราวปี 2548 สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองเชียงราย มาส่งเสริมให้ทำเกษตรปลอดภัย คนในชุมชนก็เห็นด้วย เพราะอยากทำให้สิ่งที่เราปลูกมันกินได้จริง ๆ ไม่ใช่ว่าเกษตรกรปลูกแล้วส่งขาย แต่ไม่กล้าเก็บไว้กินเองเพราะกลัวยาฆ่าแมลงที่ตัวเองใส่…

3 weeks ago

[The Citizens]<br />กาญจนา ใจปา และพิทักษ์พงศ์ เชอมือ

“วิวเมืองเชียงรายจากสกายวอล์กสวยมาก ๆขณะที่ผืนป่าชุมชนของที่นี่ก็มีความอุดมสมบูรณ์จนไม่น่าเชื่อว่านี่คือป่าที่อยู่ในตัวเมืองเชียงราย” “ก่อนหน้านี้เราเป็นพนักงานบริษัทเอกชนที่ต่างจังหวัด จนเทศบาลนครเชียงรายเขาเปิดสกายวอล์กที่ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนดอยสะเก็น และหาพนักงานนำชม เราก็เลยกลับมาสมัคร เพราะจะได้กลับมาอยู่บ้านด้วย ตรงนี้มีหอคอยชมวิวอยู่แล้ว แต่เทศบาลฯ อยากทำให้ที่นี่เป็นแหล่งท่องเที่ยว ก็เลยต่อขยายเป็นสกายวอล์กอย่างที่เห็น ซึ่งสุดปลายของมันยังอยู่ใกล้กับต้นยวนผึ้งเก่าแก่ที่มีผึ้งหลวงมาทำรังหลายร้อยรัง รวมถึงยังมีเส้นทางศึกษาธรรมชาติบนภูเขา ในป่าชุมชนผืนนี้ จริง…

3 weeks ago