Categories: Citizenยะลา

“ความงดงามของการให้ คือการที่ผู้รับรับบางสิ่งมาอย่างรู้คุณค่า และหาวิธีส่งต่อให้ผู้อื่นเป็นทอดๆ อย่างนี้ไม่สิ้นสุด”

“หนูเกิดและโตที่อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี พอเรียนถึง ม.6 แม่บอกว่าที่บ้านไม่มีเงินส่งให้หนูเรียนต่อแล้ว จบ ม.6 ต้องออกมาช่วยทำงานเลย

ครอบครัวหนูทำงานรับจ้างทั่วไปค่ะ มีพี่น้องอยู่ 4 คน ไม่มีใครได้เรียนต่อเลย ไม่ใช่ว่าไม่อยากช่วยพ่อแม่ทำงานหาเงินนะ แต่หนูคิดว่าถ้าได้เรียนต่ออย่างน้อยระดับปริญญาตรี การศึกษาจะทำให้เรามีโอกาสได้ทำงานที่ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตครอบครัวได้ ซึ่งก็พอดีกับที่หนูเคยร่วมกิจกรรมของกลุ่มลูกเหรียง (สมาคมเด็กและเยาวชนเพื่อสันติภาพชายแดนใต้) ทราบว่าทางกลุ่มมีโครงการมอบทุนการศึกษาให้แก่เยาวชนที่ขาดโอกาส หนูเลยเขียนจดหมายไปขอทุนการศึกษา


หนูสอบติดคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา วันแรกที่ได้รับทุน ยังเป็นครั้งแรกที่หนูเดินทางออกจากบ้านเกิดมาอยู่ยะลา และความที่เราไม่มีญาติอยู่ที่นี่เลย จึงอาศัยที่บ้านลูกเหรียงและอยู่ที่นี่จนเรียนจบ

หลังเรียนจบหนูได้รับเสนองานเป็นผู้ช่วยอาจารย์ที่มหาวิทยาลัย แต่แม่ชมพู่ (วรรณกนก เปาะอีแตดาโอะ) ผู้ก่อตั้งบ้านลูกเหรียง ชวนให้หนูมาทำงานต่อที่นี่ ความที่หนูผูกพันกับที่นี่เหมือนครอบครัว อีกทั้งเราได้เรียนรู้กระบวนการทำค่ายและกิจกรรมต่างๆ จากลูกเหรียงอยู่แล้ว และเห็นว่าเราสามารถเป็นฟันเฟืองขับเคลื่อนเพื่อส่งต่อสิ่งดีๆ แก่เด็กๆ ได้ ก็เลยตัดสินใจทำงานต่อ

ที่นี่มีน้องๆ ที่รับทุนและใช้ชีวิตที่นี่ 24 คน มีเจ้าหน้าที่ 11 คน แต่ละคนก็จะมีโครงการที่ต้องดูแลแตกต่างกันออกไป อย่างหนูรับผิดชอบเป็นผู้จัดการโครงการอาหาร และดูแลโครงการอื่นๆ ที่กลุ่มลูกเหรียงได้รับทุนสนับสนุนมา เช่น โครงการ มิตรผลสร้างสรรค์ เยาวชนสร้างศิลป์ ที่ได้รับทุนจากน้ำตาลมิตรผล เป็นโครงการที่เชิญอาจารย์สอนศิลปะและศิลปินมาสอนศิลปะแก่เด็กๆ ในอำเภอเบตง

ส่วนเหตุผลที่ได้เป็นผู้จัดการโครงการอาหาร ก็เพราะสมัยที่หนูยังเรียนหนังสือ หนูจะชอบไปช่วยพี่ๆ เขาทำอาหารค่ะ จากที่อาสาไปช่วยทำอาหารแล้วสนุก พี่ชมพู่มาเห็นว่าเราสนใจ เลยส่งหนูไปเรียนคอร์สเป็นบัตเลอร์ที่กรุงเทพฯ ต่อ ที่นี่ดีตรงนี้คือ ถ้าเด็กคนไหนมีแววอะไร พี่ชมพู่จะส่งเสริมให้ไปเต็มที่ พอเรียนจบมาก็ช่วยกับพี่แอลลี่ (อิสมาแอ ตอกอย) ทำโครงการเชฟส์เทเบิล เป็นธุรกิจเสริมของกลุ่ม รวมถึงทำผลิตภัณฑ์อาหารขายเพื่อหารายได้เข้ากลุ่ม

นอกจากได้เรียนต่อและมีงานทำ หนูคิดว่าสิ่งสำคัญที่ได้จากที่นี่เลยคือการที่เรามีสำนึกของการเป็นผู้ให้ พี่ๆ เขาจะไม่มาพร่ำบอกหรือสอนว่าเราต้องแบ่งปันหรือเสียสละให้คนอื่น แต่เขาจะทำให้เห็นเป็นตัวอย่าง ปลูกฝังให้เรารู้จักการมีส่วนร่วมและช่วยเหลือกันและกัน ซึ่งทำให้เราตระหนักได้เองว่า ที่เราได้รับทุนการศึกษานี้มาได้ก็เพราะมีคนอื่นเขามอบให้ เราจะไม่เป็นผู้รับฝ่ายเดียว แต่ต้องนำความรู้และความสามารถส่งต่อให้คนอื่น หรือทำประโยชน์ให้ส่วนรวม ซึ่งตรงนี้ก็เป็นอีกเหตุผลสำคัญที่ทำให้หนูทำงานกับที่นี่ต่อ เพราะอยากมีส่วนช่วยเหลือเด็กๆ ที่เคยขาดโอกาสเหมือนหนู ให้เข้าถึงโอกาสที่จะทำให้ชีวิตเราดีขึ้นได้

หนูคิดว่าความงดงามของการให้ คือการที่ผู้รับรับบางสิ่งมาอย่างรู้คุณค่า และหาวิธีส่งต่อให้ผู้อื่นเป็นทอดๆ อย่างนี้ไม่สิ้นสุด”

จัสมานีย์ เจ๊ะโกะ

เจ้าหน้าที่โครงการอาหารกลุ่มลูกเหรียง
https://www.facebook.com/luukrieangse/  

กองบรรณาธิการ

Recent Posts

[The Insider]<br />พัชรี แซมสนธ์

“เมืองอาหารปลอดภัยไม่ได้ให้ประโยชน์แค่เฉพาะผู้คนในเขตเทศบาลฯแต่มันสามารถเป็นต้นแบบให้เมืองอื่น ๆ ที่อยากส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้คนได้เช่นกัน” “งานประชุมนานาชาติของสมาคมพืชสวนโลก (AIPH Spring Meeting Green City Conference 2025) ที่เชียงรายเป็นเจ้าภาพเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2568 ที่ผ่านมา เน้นย้ำถึงทิศทางการพัฒนาเมืองสีเขียว…

3 weeks ago

[The Insider]<br />พรทิพย์ จันทร์ตระกูล

“ทั้งพื้นที่การเรียนรู้ นโยบายเมืองอาหารปลอดภัย และโรงเรียนสำหรับผู้สูงวัยคือสารตั้งต้นที่จะทำให้เชียงรายเป็นเมืองแห่งสุขภาพ (Wellness City)” “กล่าวอย่างรวบรัด ภารกิจของกองการแพทย์ เทศบาลนครเชียงราย คือการทำให้ประชาชนไม่เจ็บป่วย หรือถ้าป่วยแล้วก็ต้องมีกระบวนการรักษาที่เหมาะสม ครบวงจร ที่นี่เราจึงมีครบทั้งงานส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค การรักษาเมื่อเจ็บป่วย และระบบดูแลต่อเนื่องถึงบ้าน…

3 weeks ago

[The Insider]<br />ณรงค์ศักดิ์ เตือนสกุล

“การจะพัฒนาเมือง ไม่ใช่แค่เรื่องสาธารณูปโภคแต่ต้องพุ่งเป้าไปที่พัฒนาคนและไม่มีเครื่องมือไหนจะพัฒนาคนได้ดีไปกว่า การศึกษา” “แม้เทศบาลนครเชียงรายจะเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ของยูเนสโกแห่งแรกของไทยในปี 2562 แต่การเตรียมเมืองเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ว่านี้ เกิดขึ้นก่อนหน้านั้นหลายสิบปี ในอดีต เชียงรายเป็นเมืองที่ห่างไกลความเจริญ ทางเทศบาลฯ เล็งเห็นว่าการจะพัฒนาเมือง ไม่สามารถทำได้แค่การทำให้เมืองมีสาธารณูปโภคครบ แต่ต้องพัฒนาผู้คนที่เป็นหัวใจสำคัญของเมือง และไม่มีเครื่องมือไหนจะพัฒนาคนได้ดีไปกว่า ‘การศึกษา’…

4 weeks ago

[The Insider]<br />นนทพัฒ ถปะติวงศ์

“ถ้าอาหารปลอดภัยเป็นทางเลือกหลักของผู้บริโภคเชียงรายจะเป็นเมืองที่น่าอยู่กว่านี้อีกเยอะ” “นอกจากบทบาทของการพัฒนาชุมชนและสังคมสงเคราะห์ กองสวัสดิการสังคม เทศบาลนครเชียงราย ยังมีกลไกในการส่งเสริมเศรษฐกิจของพี่น้อง 65 ชุมชน ภายในเขตเทศบาลฯ โดยกลไกนี้ครอบคลุมการส่งเสริมสุขภาพ และช่วยดูแลสิ่งแวดล้อมในทางอ้อมด้วยกลไกที่ว่าคือ ‘สหกรณ์นครเชียงราย’ โดยสหกรณ์ฯ นี้เริ่มต้นมาตั้งแต่ปี 2560 หลักเราคือการสนับสนุนเศรษฐกิจชุมชน…

4 weeks ago

[The Citizens]<br />ชวนพิศ สุริยวงค์

“แม่อยากปลูกผักปลอดภัยให้ตัวเองและคนในเมืองกินไม่ใช่ปลูกผักเพื่อส่งขาย แต่คนปลูกไม่กล้ากินเอง” “บ้านป่างิ้ว  ตั้งอยู่ละแวกสวนสาธารณะหาดนครเชียงราย เราและชุมชนฮ่องลี่ที่อยู่ข้างเคียงเป็นชุมชนเกษตรที่ปลูกพริก ปลูกผักไปขายตามตลาดมาแต่ไหนแต่ไร กระทั่งราวปี 2548 สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองเชียงราย มาส่งเสริมให้ทำเกษตรปลอดภัย คนในชุมชนก็เห็นด้วย เพราะอยากทำให้สิ่งที่เราปลูกมันกินได้จริง ๆ ไม่ใช่ว่าเกษตรกรปลูกแล้วส่งขาย แต่ไม่กล้าเก็บไว้กินเองเพราะกลัวยาฆ่าแมลงที่ตัวเองใส่…

4 weeks ago

[The Citizens]<br />กาญจนา ใจปา และพิทักษ์พงศ์ เชอมือ

“วิวเมืองเชียงรายจากสกายวอล์กสวยมาก ๆขณะที่ผืนป่าชุมชนของที่นี่ก็มีความอุดมสมบูรณ์จนไม่น่าเชื่อว่านี่คือป่าที่อยู่ในตัวเมืองเชียงราย” “ก่อนหน้านี้เราเป็นพนักงานบริษัทเอกชนที่ต่างจังหวัด จนเทศบาลนครเชียงรายเขาเปิดสกายวอล์กที่ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนดอยสะเก็น และหาพนักงานนำชม เราก็เลยกลับมาสมัคร เพราะจะได้กลับมาอยู่บ้านด้วย ตรงนี้มีหอคอยชมวิวอยู่แล้ว แต่เทศบาลฯ อยากทำให้ที่นี่เป็นแหล่งท่องเที่ยว ก็เลยต่อขยายเป็นสกายวอล์กอย่างที่เห็น ซึ่งสุดปลายของมันยังอยู่ใกล้กับต้นยวนผึ้งเก่าแก่ที่มีผึ้งหลวงมาทำรังหลายร้อยรัง รวมถึงยังมีเส้นทางศึกษาธรรมชาติบนภูเขา ในป่าชุมชนผืนนี้ จริง…

4 weeks ago