“แม้จังหวัดยะลาจะไม่มีพื้นที่ติดทะเล แต่ก็กลับมีความหลากหลายทางภูมิศาสตร์ที่น่าสนใจตั้งแต่พื้นที่เมือง ท้องไร่สำหรับทำการเกษตร พื้นที่ชุ่มน้ำ ผืนป่า และภูเขา ทั้งนี้ยะลายังต่างจากสามจังหวัดในชายแดนใต้ที่ต่างมีป่าเขตร้อนชื้นมลายูเหมือนกัน คือยะลามีผืนป่าฮาลาบาลา ที่มีเขตภูเขาฮาลาเป็นภูเขาสูง เป็นป่ามลายูบนพื้นที่สูงแห่งเดียว และเป็นที่อยู่อาศัยของนกหายากอย่างนกไต่ไม้สีน้ำเงิน นกแว่นภูเขา และอื่นๆ ซึ่งมีให้ดูที่นี่ที่เดียวในไทย
ภูมิศาสตร์ที่หลากหลายเช่นนี้นำมาซึ่งความหลากหลายทางชีวภาพ และองค์ความรู้มากมายมหาศาลที่เกี่ยวเนื่องกัน พวกเราจึงคิดว่าเป็นเรื่องน่าเสียดาย ถ้าองค์ความรู้เหล่านี้มันไม่ถูกเผยแพร่ ได้ทำให้เยาวชนในยะลาตระหนักถึงคุณค่าอันนำมาซึ่งการอนุรักษ์ หรือการใช้เป็นทุนในการพัฒนาเมืองของเราต่อไป
โครงการยะลาศึกษา: ความหลากหลายทางชีวภาพ เป็นโครงการย่อยภายใต้โครงการเมืองแห่งการเรียนรู้ยะลา เพื่อรวบรวมองค์ความรู้เรื่องความหลากหลายทางชีวภาพของจังหวัดยะลา และนำสิ่งเหล่านี้เข้าสู่แนวทางพัฒนาพื้นที่แห่งการเรียนรู้ของเมืองควบคู่ไปกับการเรียนรู้ด้านพหุวัฒนธรรม
แม้เราเห็นว่าป่าฮาลาบาลามีทรัพยากรธรรมชาติที่น่าสนใจมาก แต่ก็เป็นเรื่องยากในการจัดกิจกรรมให้เยาวชนในยะลากว่า 10 ชีวิตเดินทางไปศึกษา เลยคิดถึงพื้นที่ที่เป็นต้นแบบความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศที่ไม่ไกลจากเมืองนักอย่างผืนป่าพรุลานควาย พื้นที่ป่าชุ่มน้ำขนาดใหญ่ เป็นพื้นที่ให้เยาวชนได้เรียนรู้ความหลากหลายใกล้บ้านกัน
โดยเราชวนเด็กๆ ทดลองสวมบทนักวิจัยลงพื้นที่พรุลานควายไปสำรวจมิติทางชีวภาพและวิถีชาวบ้านที่เชื่อมโยงกับสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ ให้พวกเขาสังเกตสิ่งรอบตัวและถ่ายรูปพืชและสัตว์ที่สนใจและส่งมาแลกเปลี่ยนกันดู รวมถึงส่งไปยังฐานข้อมูลกลางที่มีผู้เชี่ยวชาญด้านชีวภาพคอยให้ข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งที่พวกเขาได้พบมา
ทั้งนี้ ทั้งการลงพื้นที่ป่าพรุลานควาย และการทำรีเสิร์ชกับเยาวชน ทำให้เราพบว่าเด็กๆ หลายคนไม่เคยรู้มาก่อนว่ายะลาเรามีสัตว์หายากที่ทั้งชีวิตเขาไม่เคยเห็นมาก่อนด้วย เช่น นก งู และสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ รวมถึงเมื่อเรานำรูปถ่ายสัตว์บางชนิดให้พวกเขาดู และถามว่าเคยเห็นตัวเหล่านี้ไหม เขาบอกว่าไม่เห็น แต่พอเราเปิดคลังเสียงให้ฟัง พวกเขากลับคุ้นเคย บอกว่าเคยได้ยินเสียงแบบนี้มาตั้งแต่เด็ก แต่ไม่เคยรู้เลยว่าเจ้าของเสียงมีหน้าตาเป็นอย่างไร
สิ่งนี้สะท้อนให้เห็นว่าจริงๆ วิถีชีวิตพวกเราซ้อนทับไปกับระบบนิเวศของธรรมชาติ เพียงแต่เราไม่เคยสังเกตมาก่อน ซึ่งพอเราชวนให้น้องร่วมกันออกแบบนิทรรศการเกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพในงานยะลาสตอรี่เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา น้องๆ ก็หยิบความใกล้ตัวตรงนี้มานำเสนอให้แก่คนอื่นๆ ต่อไป รวมถึงเรื่องการใช้เสียงของสัตว์ที่หลายคนคุ้นเคยแต่ไม่เคยเห็นหน้าค่าตาของพวกมันมานำเสนออย่างสร้างสรรค์
หลายคนอาจไม่ทราบว่าประเทศไทยเราอยู่ในเขตร้อนชื้นที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูงเป็นอันดับต้นๆ ของโลก อีกทั้งมันยังมีการเชื่อมต่อของระบบนิเวศที่น่าสนใจ เช่น นกจากทางมาเลเซียที่บินขึ้นมาอยู่ในป่าภาคใต้ นกจากอินเดียบินมาอยู่ภาคเหนือ นกจากเวียดนามบินมาอยู่อีสาน ความหลากหลายเหล่านี้ ถ้าเราไม่รู้ ก็จะไม่มีทางเข้าใจคุณค่าของมันได้เลย และพอคนส่วนใหญ่ไม่เห็นคุณค่า กระบวนการอนุรักษ์ก็ไม่เกิด ถึงจุดจุดหนึ่งทรัพยากรธรรมชาติบางอย่างที่หาที่ไหนไม่ได้มันก็อาจสูญหายไปตลอดกาล
พวกเราจึงมองว่าการเรียนรู้และหาวิธีอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืนคือคำตอบ เมื่อมีการบริโภค เราก็ต้องคิดถึงการชดเชยคืนกลับ เพราะมันไม่ใช่แค่ความยั่งยืนของธรรมชาติ แต่มันคือความยั่งยืนของคนรุ่นหลัง เรามองว่าจุดเริ่มต้นที่ง่ายที่สุดในการปลูกฝังเรื่องนี้แก่เด็กๆ คือการทำให้พวกเขาเป็นคนรู้จักสังเกตและตั้งคำถามต่อความหลากหลายรอบตัว เช่นที่เราตั้งใจให้เด็กๆ ได้ถ่ายรูปพืชและสัตว์รอบตัวและค้นหาชื่อของพวกมันมารวมกันเป็นฐานข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพของจังหวัดยะลา
พร้อมกับการเติบโตของฐานข้อมูล เราเชื่อว่าจิตสำนึกเรื่องการอนุรักษ์ก็จะเกิดและแผ่ขยายไปสู่เยาวชนคนอื่นๆ ต่อไปด้วยเช่นกัน”
ศุภราภรณ์ ทวนน้อย อาจารย์คณะวิทยาการการสื่อสาร
ดร.ธนากร จันทสุบรรณ อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
และคณะนักวิจัยโครงการเมืองแห่งการเรียนรู้ยะลา
พลังคน พลังโคมลำพูน: เมืองเล็ก ๆ ที่เปี่ยมไปด้วยพลังสร้างสรรค์ แม้ ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์ เป็นคนเชียงใหม่ เธอก็หาใช่เป็นคนอื่นคนไกลสำหรับชาวลำพูนเพราะก่อนจะเข้ามาขับเคลื่อนงานวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดกับเทศบาลเมืองลำพูน เธอได้ทำวิจัยเกี่ยวกับเมืองแห่งนี้มาหลายครั้ง โดยเฉพาะโครงการขับเคลื่อนเยาวชนเพื่อเตรียมพร้อมสู่การเป็นพลเมืองของเมืองแห่งการเรียนรู้ของ UNESCO ในปี 2566-2567 - นั่นล่ะ…
“เป็นสิ่งวิเศษที่สุด ที่ผ้าไหมของจังหวัดลำพูนได้ปรากฏต่อสายตาผู้คนทั้งในและต่างประเทศ ทั้งเมื่อครั้งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงให้การส่งเสริม และทรงฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญต่าง ๆ และกระทั่งในปัจจุบัน สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 10 ก็ทรงส่งเสริมผ้าไหมไทย และฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญเช่นกัน ดิฉันเป็นคนลำพูน มีความภูมิใจในงานหัตถศิลป์การทอผ้าไหมยกดอกนี้มาก ๆ และตั้งใจจะรักษามรดกทางวัฒนธรรม ทำหน้าที่ส่งต่อถึงคนรุ่นต่อไป…
“ความที่โตมาในลำพูน เราตระหนักดีว่าเมืองเรามีต้นทุนทางวัฒนธรรมที่สูงมาก ทั้งยังมีบรรยากาศที่น่าอยู่ อย่างไรก็ดี อาจเพราะเป็นเมืองขนาดเล็ก ลำพูนมักถูกมองข้ามจากแผนการพัฒนาของประเทศ เป็นเหมือนเมืองที่มีศักยภาพ แต่ยังไม่ถูกปลุกให้ตื่นความที่เราเคยทำงานที่ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (ปัจจุบันคือสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA - ผู้เรียบเรียง) ได้เห็นตัวอย่างความสำเร็จของกระบวนการพัฒนาย่านด้วยกรอบพื้นที่สร้างสรรค์ในหลายพื้นที่…
“ผมเป็นคนลำพูน และชอบทำกิจกรรมนอกห้องเรียนมาตั้งแต่เด็ก ปัจจุบันเป็นประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดลำพูน ควบคู่ไปกับกำลังศึกษาคณะรัฐศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จากประสบการณ์การทำงานในสภาฯ ทำให้ผมเห็นว่า เยาวชนลำพูนมีศักยภาพที่หลากหลาย แต่สิ่งที่ขาดไปคือเวทีที่เปิดโอกาสให้พวกเขาได้แสดงความสามารถและพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง นอกเหนือจากการสนับสนุนจากโรงเรียนหรือโครงการของภาคเอกชน ปี 2567 พี่อร (ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์…
“อาคารหลังนี้แต่ก่อนเป็นที่ประทับของเจ้าราชสัมพันธวงษ์ลำพูน (พุทธวงษ์ ณ เชียงใหม่) น้องเขยของเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าหลวงองค์สุดท้ายของลำพูน อาคารถูกสร้างขึ้นเมื่อปี 2455 หลังจากนั้นก็ถูกขายให้พ่อค้าชาวจีนไปทำเป็นโรงเรียนหวุ่นเจิ้ง สอนภาษาจีนและคณิตศาสตร์ โรงเรียนนี้เปิดได้ไม่นานก็ต้องปิด เพราะสมัยนั้นรัฐบาลเพ่งเล็งว่าอะไรที่เป็นของจีนจะเกี่ยวข้องกับลัทธิคอมมิวนิสต์ แต่หนูก็ไม่รู้หรอกว่าโรงเรียนนี้เกี่ยวข้องหรือเปล่า (ยิ้ม) จากนั้นอาคารก็ถูกเปลี่ยนมาเป็นโรงเรียนมงคลวิทยาในปี…
“เราโตมากับวัฒนธรรมของคนลำพูน ชอบไปเดินงานปอย ร่วมงานบุญ ก่อนหน้านี้ก็เคยทำงานรับจ้างทั่วไป จนเทศบาลฯ มาส่งเสริมเรื่องการทำโคม โดยมีสล่าจากชุมชนศรีบุญเรืองมาสอน เราก็ไปเรียนกับเขา ตอนนี้อาชีพหลักคือการทำโคม ทำมาได้ 2 ปีแล้ว สำหรับเรา โคมคืองานศิลปะ เป็นสัญลักษณ์และมรดกที่ยึดโยงกับวัฒนธรรมของคนบ้านเรา ตอนแรกเราไม่มีความคิดเลยว่ามันจะกลายมาเป็นอาชีพได้…