“ผมเป็นคนบ้าวัฒนธรรม งานวัฒนธรรมไม่ใช่งานสวยงาม ไม่ได้ตังค์ ใช้ใจอย่างเดียว วัฒนธรรมยั่งยืนพวกเราต้องช่วยกันทำ ผมเป็นรองประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดจันทบุรีตั้งแต่ปี 2538 จนปีนี้ ทำโครงการอาหาร ภูมิปัญญาชาวบ้าน ผมเป็นประธานสร้างตลาด 270 ปีวัดตะปอนใหญ่ ทำเฉพาะวันเสาร์ครึ่งวัน ทำมา 5 ปี ตอนนี้ตลาดเหงาละ พอดีผมไปรับทำแสงสีเสียงที่ระยอง ที่จันท์ด้วยเลยไม่มีเวลาไปบริหาร ตอนที่ผมทำ หนึ่ง. ต้องใส่ชุดพื้นบ้าน ผู้ชายอย่างน้อยก็กางเกงขาก๊วยเสื้อม่อฮ่อม ผู้หญิงก็ผ้าถุงเสื้อคอกระเช้า โค้กเป๊ปซี่ห้ามขาย ต้องเป็นน้ำผลไม้ น้ำมะตูม คือเราต้องบังคับ มีกฎ คือคุณจะไปตลาดนัดทั่วไปมันมีทุกอย่าง แต่ถ้าวันเสาร์คุณอยากจะกินผักพื้นบ้าน ผักปลอดสารพิษ อาหารท้องถิ่น ของพื้นบ้าน ได้เห็นของที่ไม่มีที่อื่น ต้องมาที่นี่
วัดตะปอนใหญ่ประกาศฝังลูกนิมิต 270 ปี (พ.ศ. 2290) ก่อนพระเจ้าตากสินมาจันทบุรี 20 ปี เราตั้งชื่อตลาดอย่างนี้จะได้บรรยายประวัติศาสตร์ท้องถิ่นว่า วัดเราผูกพัทธสีมามา 270 ปี ปีนี้ 275 ปีแล้ว ได้เห็นความเก่าแก่สมัยอยุธยาตอนปลาย เวลาเปิดตลาด ผมก็เชิญผู้สื่อข่าวมาทำข่าว คนก็มา ขายผักพื้นบ้าน ผักแว่น ขนมพื้นบ้าน ขนมควยลิง(ชื่อขนมท้องถิ่นชนิดหนึ่งของชุมชนหนองบัว) ใช้แป้งปั้นๆ เอามาคลุกมะพร้าว เขายังทำขายอยู่ที่ตลาดของแปลกชุมชนหนองบัว ขนมโรจี๋ ปั้นแป้งเคี่ยวน้ำอ้อย ถั่วตำแหลกๆ จุ่มแล้วหวานๆ มันๆ เดี๋ยวนี้คนรุ่นใหม่เรียก ขนมติดคอ จากตลาดมีร้านค้า 20 ร้านเพิ่มเป็นร้อยกว่าร้านภายใน 3-4 อาทิตย์ แม่ค้ามีรายได้ดี แต่ตลาดเดี๋ยวนี้ คือไม่คิดต่าง ไม่สร้างอัตลักษณ์ของตัวเอง มันต้องใช้ของที่คนอื่นไม่มีก็จะสร้างจุดสนใจ
ผมเป็นคนตะปอน แต่อยู่ตำบลเกวียนหัก คนจันท์ คนขลุง ร้อยละ 80 เป็นลูกหลานคนชอง (นักมานุษยวิทยาจัดชนกลุ่มชองอยู่ในกลุ่มมอญ-เขมร) ผมก็คนชอง ไหว้ผีชองอยู่ คนชองก็เก่งเรื่องของป่า นับถือผีบ้านผีเรือน นิสัยก็คนไทยนี่แหละ ไม่ชอบจำเจ ทำไร่เลื่อนลอย ความเจริญมาก็ขาย ไปถางป่าที่ใหม่ เดี๋ยวนี้พวกนี้ศิวิไลซ์เป็นคนเมืองแล้ว แต่ก็มีคนจีนอพยพมาด้วย มีกลุ่มญวน 3 กลุ่มอพยพมาจากเวียดนามมาอยู่ที่ขลุง เรียก บ้านญวน
ชาวบ้านไปคุยกับเขา เขาไม่รู้จักคำว่าวัฒนธรรมหรอก เขารู้จักแค่ว่าเขามีข้าวกินป่าว ถ้าไม่ตรงประเด็นเขา เขาทำแป๊บเดียว เขาก็ไม่ทำ ผมเสนอนักวิจัยที่เข้ามาทำพื้นที่เรียนรู้ไปว่า ชาวบ้านก็คือชาวบ้าน เอาอัตลักษณ์ของตัวเองมาขาย พร้อมที่จะเป็นแหล่งเรียนรู้ แต่คุณต้องมาเป็นพี่เลี้ยง เพราะมันเป็นแหล่งเรียนรู้โดยธรรมชาติอยู่แล้ว ไม่ต้องทำก็มาเรียนรู้ได้ แหล่งเรียนรู้ในย่านตะปอน ผมก็เสนอวัดตะปอนใหญ่ เป็นศูนย์กลางอยู่แล้ว พร้อมให้ความสนับสนุน ยินดีให้พื้นที่ ตะปอนมีทั้งอาชีพเกษตร ประมง อาหารพื้นบ้าน ตรงจุดนี้ ผมว่าดีสุด เพราะเป็นชุมชนเก่าสุดของอำเภอขลุง มีศิลาจารึกอยู่ที่พิพิธภัณฑ์พระนคร เมืองขลุงบุรี ถ้านับวันนี้ก็ 1,400 ปี นี่ผมคุยกับผอ.สำนักนาฏศิลป์, สภาจังหวัด อบจ. ทำโครงการ หนึ่ง. ประกวดภาพเก่าเล่าเรื่อง ใครมีภาพเก่าเอามา เราจะได้เก็บข้อมูล เราขอเป็นลิขสิทธิ์ถ่ายเป็นก๊อปปี้ไว้ สอง. เขียน ร้อยเรื่องเมืองขลุง คุณจะเขียนเรื่องอะไรก็ได้ของเมืองขลุง พระที่ดัง โบราณที่ดัง สถานที่ที่เก่าแก่ เราได้เรื่องเก่าๆ อย่างนี้ก็ไม่ต้องตามไปวิจัยไง ลงทุนสองสามแสนได้ทุกเรื่อง แล้วก็บอกเพื่อนนักโบราณคดี ให้ส่วนกลางมาเป็นวิทยากรท้องถิ่น ตั้งวงเสวนา ให้เขาย้อนภาพอดีต ว่าเมืองขลุงเป็นยังไง เมื่อก่อนเรือกลไฟเข้ามาถึงตรงนี้ ตอนนี้เป็นถนนเพราะอะไร ญวนอพยพมายังไง ให้เด็กนักเรียนที่โตหน่อยเข้ามาฟัง ขยายโอกาสให้ชาวบ้านทั่วไปสนใจฟัง เราก็อาจจะได้เด็กที่สนใจมาเล่าเรื่องต่อได้ ร้อยคนได้คนเดียวก็กำไรแล้ว
ทุกวันนี้ ผมก็ตกปลา ช้อนปู อำเภอเขาสั่งให้ผมเป็นปราชญ์ท้องถิ่น เปิดเรียนก็มีเด็กจากรำไพฯ (มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี) นาฏศิลป์ฯ (วิทยาลัยนาฏศิลปจันทบุรี) มาให้ร้องเพลงพื้นบ้านมั่ง เล่าประวัติศาสตร์ท้องถิ่นมั่ง ผมบวชมาห้าพรรษา จบนักธรรมเอก เป็นเด็กหุงข้าว เป็นลูกชาวนา เราทำดี เจ้าอาวาสก็ใช้ คนแก่ๆ มาที่วัด จุดไต้ จุดเทียนมานั่งคุยกัน ผมมีหน้าที่สูบตะเกียงเจ้าพายุ พอน้ำชาหมดก็ไปก่อไฟตั้งน้ำต้ม เพราะเณรรูปอื่นต้มไม่ได้ ทำไมผมเก็บเรื่องมาเล่าได้ เพราะคนที่มากินน้ำชา คนนั้น คนนี้ เล่า เหมือนตำราเลยนะ ถ้าเล่าเรื่องเดียวกัน ตรงกัน แสดงว่าเล่ากันต่อๆ มา ฉะนั้นไม่มีใครรู้จักชักเย่อเกวียนพระบาทดีเท่าผม สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดประชุมเรื่องขึ้นทะเบียนชักเย่อเกวียนพระบาท กรมส่งเสริมวัฒนธรรมให้ผมไปนำเสนอที่กรุงเทพฯ เขานึกภาพว่าคนเป็นร้อยคนชักเย่อแล้วเกวียนไม่พังเหรอ ผมเข้าห้องประชุม ก็เลยเอาสายไมค์ดึงเป็นสายชักเย่อ แล้วลอดใส่ท้องเกวียน มัดติดอยู่ เกวียนก็มัดติดเชือกไป มันดึงแต่เชือก เขาก็เห็นภาพ แล้วชักเย่อเกวียนพระบาทก็ได้ขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติประจำปีพุทธศักราช 2558 สาขากีฬาภูมิปัญญาไทย”
กาญจน์ กรณีย์
ประธานสภาวัฒนธรรม อำเภอขลุง รองประธานสภาวัฒนธรรม จังหวัดจันทบุรี
“เมืองอาหารปลอดภัยไม่ได้ให้ประโยชน์แค่เฉพาะผู้คนในเขตเทศบาลฯแต่มันสามารถเป็นต้นแบบให้เมืองอื่น ๆ ที่อยากส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้คนได้เช่นกัน” “งานประชุมนานาชาติของสมาคมพืชสวนโลก (AIPH Spring Meeting Green City Conference 2025) ที่เชียงรายเป็นเจ้าภาพเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2568 ที่ผ่านมา เน้นย้ำถึงทิศทางการพัฒนาเมืองสีเขียว…
“ทั้งพื้นที่การเรียนรู้ นโยบายเมืองอาหารปลอดภัย และโรงเรียนสำหรับผู้สูงวัยคือสารตั้งต้นที่จะทำให้เชียงรายเป็นเมืองแห่งสุขภาพ (Wellness City)” “กล่าวอย่างรวบรัด ภารกิจของกองการแพทย์ เทศบาลนครเชียงราย คือการทำให้ประชาชนไม่เจ็บป่วย หรือถ้าป่วยแล้วก็ต้องมีกระบวนการรักษาที่เหมาะสม ครบวงจร ที่นี่เราจึงมีครบทั้งงานส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค การรักษาเมื่อเจ็บป่วย และระบบดูแลต่อเนื่องถึงบ้าน…
“การจะพัฒนาเมือง ไม่ใช่แค่เรื่องสาธารณูปโภคแต่ต้องพุ่งเป้าไปที่พัฒนาคนและไม่มีเครื่องมือไหนจะพัฒนาคนได้ดีไปกว่า การศึกษา” “แม้เทศบาลนครเชียงรายจะเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ของยูเนสโกแห่งแรกของไทยในปี 2562 แต่การเตรียมเมืองเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ว่านี้ เกิดขึ้นก่อนหน้านั้นหลายสิบปี ในอดีต เชียงรายเป็นเมืองที่ห่างไกลความเจริญ ทางเทศบาลฯ เล็งเห็นว่าการจะพัฒนาเมือง ไม่สามารถทำได้แค่การทำให้เมืองมีสาธารณูปโภคครบ แต่ต้องพัฒนาผู้คนที่เป็นหัวใจสำคัญของเมือง และไม่มีเครื่องมือไหนจะพัฒนาคนได้ดีไปกว่า ‘การศึกษา’…
“ถ้าอาหารปลอดภัยเป็นทางเลือกหลักของผู้บริโภคเชียงรายจะเป็นเมืองที่น่าอยู่กว่านี้อีกเยอะ” “นอกจากบทบาทของการพัฒนาชุมชนและสังคมสงเคราะห์ กองสวัสดิการสังคม เทศบาลนครเชียงราย ยังมีกลไกในการส่งเสริมเศรษฐกิจของพี่น้อง 65 ชุมชน ภายในเขตเทศบาลฯ โดยกลไกนี้ครอบคลุมการส่งเสริมสุขภาพ และช่วยดูแลสิ่งแวดล้อมในทางอ้อมด้วยกลไกที่ว่าคือ ‘สหกรณ์นครเชียงราย’ โดยสหกรณ์ฯ นี้เริ่มต้นมาตั้งแต่ปี 2560 หลักเราคือการสนับสนุนเศรษฐกิจชุมชน…
“แม่อยากปลูกผักปลอดภัยให้ตัวเองและคนในเมืองกินไม่ใช่ปลูกผักเพื่อส่งขาย แต่คนปลูกไม่กล้ากินเอง” “บ้านป่างิ้ว ตั้งอยู่ละแวกสวนสาธารณะหาดนครเชียงราย เราและชุมชนฮ่องลี่ที่อยู่ข้างเคียงเป็นชุมชนเกษตรที่ปลูกพริก ปลูกผักไปขายตามตลาดมาแต่ไหนแต่ไร กระทั่งราวปี 2548 สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองเชียงราย มาส่งเสริมให้ทำเกษตรปลอดภัย คนในชุมชนก็เห็นด้วย เพราะอยากทำให้สิ่งที่เราปลูกมันกินได้จริง ๆ ไม่ใช่ว่าเกษตรกรปลูกแล้วส่งขาย แต่ไม่กล้าเก็บไว้กินเองเพราะกลัวยาฆ่าแมลงที่ตัวเองใส่…
“วิวเมืองเชียงรายจากสกายวอล์กสวยมาก ๆขณะที่ผืนป่าชุมชนของที่นี่ก็มีความอุดมสมบูรณ์จนไม่น่าเชื่อว่านี่คือป่าที่อยู่ในตัวเมืองเชียงราย” “ก่อนหน้านี้เราเป็นพนักงานบริษัทเอกชนที่ต่างจังหวัด จนเทศบาลนครเชียงรายเขาเปิดสกายวอล์กที่ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนดอยสะเก็น และหาพนักงานนำชม เราก็เลยกลับมาสมัคร เพราะจะได้กลับมาอยู่บ้านด้วย ตรงนี้มีหอคอยชมวิวอยู่แล้ว แต่เทศบาลฯ อยากทำให้ที่นี่เป็นแหล่งท่องเที่ยว ก็เลยต่อขยายเป็นสกายวอล์กอย่างที่เห็น ซึ่งสุดปลายของมันยังอยู่ใกล้กับต้นยวนผึ้งเก่าแก่ที่มีผึ้งหลวงมาทำรังหลายร้อยรัง รวมถึงยังมีเส้นทางศึกษาธรรมชาติบนภูเขา ในป่าชุมชนผืนนี้ จริง…