“หนูสอบได้แค่ที่สองค่ะ”
สาวน้อยวัย 9 ขวบตอบพร้อมๆ กับที่น้ำใสเริ่มปริ่มขอบตา ถึงแม้ฉันจะบอกว่าได้ที่สองก็ยังดีกว่าเพื่อนคนอื่นๆ อีกตั้งมากมาย
แต่น้ำใสๆ ที่หยาดลงอาบแก้มก็บอกฉันว่าเพื่อนอีกเกือบ 40 คนนั้นไม่มีความหมายเพราะสายตาของเธอเห็นแต่คนที่ได้ที่หนึ่งเพียงคนเดียว…
นี่เป็นเพียงหนึ่งในหลายๆ เหตุการณ์ที่บอกฉันว่าเด็กๆ เห็นความสำคัญของชัยชนะและการได้เป็นที่หนึ่งเพียงไร และบนเส้นทางไปสู่ชัยชนะนั้น เด็กหลายคนทุ่มเททุกวิถีทางถึงแม้จะต้องเล่นขี้โกง แอบดูคำตอบหรือปัดแข้งปัดขาเพื่อน ทำอย่างไรก็ได้ ขอให้ชนะก็แล้วกัน
สังคมเราปลูกฝังให้รังเกียจ “คนขี้แพ้” และมักลืมไปว่าความพ่ายแพ้หรือความล้มเหลวนั้น
ความจริงให้บทเรียนที่มีค่าแก่เราหลายอย่าง มันช่วยให้เราเห็นจุดอ่อนและช่องโหว่ของตัวเราเองที่ควรแก้ไขปรับปรุง มันสอนให้เราเรียนรู้ว่าถึงแม้จะล้มไปในวันนี้ ก็ยังลุกขึ้นใหม่ได้ในวันหน้า พร้อมๆ กับฝึกให้เราแข็งแกร่งขึ้น ฉันพบว่าคนที่ให้ความสำคัญและเคยชินกับการที่ “ต้อง” ชนะเสมอนั้น เมื่อไม่ประสบความสำเร็จเข้าสักครั้งหัวใจมักเปราะบางและพร้อมจะแตกรานร้าวได้อย่างง่ายดาย
ที่สำคัญวันที่เราแพ้มักเป็นวันที่เราได้เรียนรู้น้ำใสใจจริงของคนรอบๆ ตัวว่ารักใคร่เราเพียงไร ยามที่เราชนะ ยามที่เราประสบความสำเร็จ ผู้คนมักพากันมาห้อมล้อมยินดี โดยที่เราแทบไม่มีทางรู้เลยว่าพวกเขาเหล่านั้นหวังอะไรจากเราหรือเปล่า วันที่เราล้มเหลวต่างหากที่เราจะได้ “เห็น” ส่วนลึกของหัวใจเขาว่าใครบ้างที่คบหาเป็นเพื่อนกับเราด้วยใจจริง ใครบ้างที่เราจะวางใจได้ว่าเขาจะอยู่เคียงข้างเราเสมอ
แต่สักกี่คนที่จะตระหนักถึงคุณค่าของความพ่ายแพ้และล้มเหลว ฉันจึงพบว่าพ่อแม่มากมายยังคงสอนลูกให้วิ่งตะบึงไปบนเส้นทางสู่ชัยชนะไม่ว่าจะแลกมาด้วยอะไรก็ตาม ฉันพยายามบอกเด็กๆ เสมอว่าชัยชนะที่ได้มาด้วยวิธีสกปรกนั้นมันไร้ศักดิ์ศรีและไม่มีเกียรติ ต่อให้ชนะ ก็ไม่ใช่เรื่องที่น่าภาคภูมิใจแต่ควรเป็นเรื่องที่น่าอับอายมากกว่า แต่ไม่ว่าจะเพียรปลูกฝังให้เขารู้สึกละอายต่อชัยชนะที่ได้มาอย่างไม่ถูกต้องเพียงไร เด็กๆ หลายคนก็ยังคงยึดติดกับรสชาติอันหอมหวานของชัยชนะและมีตะกอนขุ่นมัวในใจเมื่อพ่ายแพ้
ฉันจึงเห็นเด็กแอบโกงด้วยวิธีต่างๆ อยู่เสมอเวลาทำข้อสอบถึงแม้ว่าจะเป็นการสอบที่ห้องสมุดซึ่งไม่มีผลใดๆ ต่อคะแนนสอบในโรงเรียนของเขาเลย ฉันพยายามบอกพวกเขาว่าถ้าแอบดูบทเรียน ป้าก็จะไม่รู้ว่าหนูไม่รู้ ก็จะไม่ตอกย้ำบ่อยๆ เพื่อช่วยให้หนูเก่งขึ้น การโกงที่ทำอยู่จึงเท่ากับเป็นการโกงตัวเอง แต่กว่าจะสอนให้เด็กส่วนใหญ่เข้าใจได้ก็ใช้เวลาหลายเดือนและบางคนก็
ยังอยากได้ที่หนึ่งมากกว่าความรู้อยู่ดี
แต่จะเป็นอื่นไปได้อย่างไรในเมื่อสังคมรอบตัวล้วนหล่อหลอมให้เขาคุ้นเคยกับการแข่งขันที่ผู้ชนะได้รับความชื่นชม ในขณะที่ผู้แพ้ นอกจากจะไม่ได้อะไรแล้ว ยังอาจถูกต่อว่าและได้รับการเยาะเย้ยดูถูก แม้แต่ในวงการกีฬาที่ควรจะฝึกให้ “รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย” นักกีฬาก็ยังถูกสอนให้มองฝ่ายตรงข้ามเป็นคู่ต่อสู้ที่ต้องห้ำหั่นเอาชนะให้ได้ในทุกวิถีทาง และ..ที่แย่ยิ่งกว่านั้น…ยังมักถูกฝึกว่าจะโกงได้อย่างไรโดยไม่ถูกกรรมการลงโทษอีกด้วย!
ฉันถูกเลี้ยงมาให้ให้ความสำคัญกับการเคารพตัวเองและเชื่อว่าหนึ่งในวิถีทางที่จะนำไปสู่การเรียนรู้ที่จะเคารพตัวเองอย่างแท้จริงนั้น เด็กๆ จะต้องเรียนรู้ที่จะรู้จักภูมิใจแต่ในสิ่งที่ควรค่าแก่ความภาคภูมิใจ ในสายตาของฉัน ชัยชนะเป็นเพียงผลพลอยได้
ความพยายามต่างหากที่เป็นสิ่งที่ควรภูมิใจ การที่ได้รู้สึกว่าเราได้พยายามอย่างเต็มกำลังแล้วคือชัยชนะที่แท้จริง ไม่ว่าผลสุดท้ายของความพยายามนั้นจะออกมาอย่างที่หวังไว้หรือไม่ก็ตาม
ฉันรู้ว่ามันยากที่จะปลูกฝังความคิดนี้ให้กับเด็กท่ามกลางบรรยากาศทางสังคมในปัจจุบัน แต่ฉันก็ยังขอยืนยันและยังจะพยายามต่อไปที่จะสอนเด็กๆ ว่า ถ้าเราให้ความสำคัญกับความพยายามมากกว่าความสำเร็จ คู่ต่อสู้ที่แท้จริงของเราก็คือตัวเราเอง…
และเราจะมีโอกาสชนะเสมอ..
แม้ว่าบางครั้ง..หรืออาจจะบ่อยครั้ง…
ชัยชนะนั้นอาจจะถูกมองว่าเป็นชัยชนะของผู้แพ้ก็ตาม
พลังคน พลังโคมลำพูน: เมืองเล็ก ๆ ที่เปี่ยมไปด้วยพลังสร้างสรรค์ แม้ ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์ เป็นคนเชียงใหม่ เธอก็หาใช่เป็นคนอื่นคนไกลสำหรับชาวลำพูนเพราะก่อนจะเข้ามาขับเคลื่อนงานวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดกับเทศบาลเมืองลำพูน เธอได้ทำวิจัยเกี่ยวกับเมืองแห่งนี้มาหลายครั้ง โดยเฉพาะโครงการขับเคลื่อนเยาวชนเพื่อเตรียมพร้อมสู่การเป็นพลเมืองของเมืองแห่งการเรียนรู้ของ UNESCO ในปี 2566-2567 - นั่นล่ะ…
“เป็นสิ่งวิเศษที่สุด ที่ผ้าไหมของจังหวัดลำพูนได้ปรากฏต่อสายตาผู้คนทั้งในและต่างประเทศ ทั้งเมื่อครั้งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงให้การส่งเสริม และทรงฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญต่าง ๆ และกระทั่งในปัจจุบัน สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 10 ก็ทรงส่งเสริมผ้าไหมไทย และฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญเช่นกัน ดิฉันเป็นคนลำพูน มีความภูมิใจในงานหัตถศิลป์การทอผ้าไหมยกดอกนี้มาก ๆ และตั้งใจจะรักษามรดกทางวัฒนธรรม ทำหน้าที่ส่งต่อถึงคนรุ่นต่อไป…
“ความที่โตมาในลำพูน เราตระหนักดีว่าเมืองเรามีต้นทุนทางวัฒนธรรมที่สูงมาก ทั้งยังมีบรรยากาศที่น่าอยู่ อย่างไรก็ดี อาจเพราะเป็นเมืองขนาดเล็ก ลำพูนมักถูกมองข้ามจากแผนการพัฒนาของประเทศ เป็นเหมือนเมืองที่มีศักยภาพ แต่ยังไม่ถูกปลุกให้ตื่นความที่เราเคยทำงานที่ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (ปัจจุบันคือสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA - ผู้เรียบเรียง) ได้เห็นตัวอย่างความสำเร็จของกระบวนการพัฒนาย่านด้วยกรอบพื้นที่สร้างสรรค์ในหลายพื้นที่…
“ผมเป็นคนลำพูน และชอบทำกิจกรรมนอกห้องเรียนมาตั้งแต่เด็ก ปัจจุบันเป็นประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดลำพูน ควบคู่ไปกับกำลังศึกษาคณะรัฐศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จากประสบการณ์การทำงานในสภาฯ ทำให้ผมเห็นว่า เยาวชนลำพูนมีศักยภาพที่หลากหลาย แต่สิ่งที่ขาดไปคือเวทีที่เปิดโอกาสให้พวกเขาได้แสดงความสามารถและพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง นอกเหนือจากการสนับสนุนจากโรงเรียนหรือโครงการของภาคเอกชน ปี 2567 พี่อร (ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์…
“อาคารหลังนี้แต่ก่อนเป็นที่ประทับของเจ้าราชสัมพันธวงษ์ลำพูน (พุทธวงษ์ ณ เชียงใหม่) น้องเขยของเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าหลวงองค์สุดท้ายของลำพูน อาคารถูกสร้างขึ้นเมื่อปี 2455 หลังจากนั้นก็ถูกขายให้พ่อค้าชาวจีนไปทำเป็นโรงเรียนหวุ่นเจิ้ง สอนภาษาจีนและคณิตศาสตร์ โรงเรียนนี้เปิดได้ไม่นานก็ต้องปิด เพราะสมัยนั้นรัฐบาลเพ่งเล็งว่าอะไรที่เป็นของจีนจะเกี่ยวข้องกับลัทธิคอมมิวนิสต์ แต่หนูก็ไม่รู้หรอกว่าโรงเรียนนี้เกี่ยวข้องหรือเปล่า (ยิ้ม) จากนั้นอาคารก็ถูกเปลี่ยนมาเป็นโรงเรียนมงคลวิทยาในปี…
“เราโตมากับวัฒนธรรมของคนลำพูน ชอบไปเดินงานปอย ร่วมงานบุญ ก่อนหน้านี้ก็เคยทำงานรับจ้างทั่วไป จนเทศบาลฯ มาส่งเสริมเรื่องการทำโคม โดยมีสล่าจากชุมชนศรีบุญเรืองมาสอน เราก็ไปเรียนกับเขา ตอนนี้อาชีพหลักคือการทำโคม ทำมาได้ 2 ปีแล้ว สำหรับเรา โคมคืองานศิลปะ เป็นสัญลักษณ์และมรดกที่ยึดโยงกับวัฒนธรรมของคนบ้านเรา ตอนแรกเราไม่มีความคิดเลยว่ามันจะกลายมาเป็นอาชีพได้…