/

ตราบใดที่เราไม่สร้าง Differentiate ก็จะยากที่สร้างแรงดึงดูดหรือสร้างเศรษฐกิจที่มีมูลค่าสูง ดั้งนั้นการริเริ่มเติมเต็มต้นทุนต้องมี  Creative ต้องมา การร่วมมือของผู้ประกอบการกับรัฐต้องช่วยกันดัน ไม่อย่างนั้นสู้ที่อื่นเขาไม่ได้

Start
109 views
13 mins read

“ภาคอีสานของเรา Gross Provincial Product GPP จังหวัด 20 จังหวัดรวมกันเป็นแค่ 10% ของ GDP ประเทศ เป็นพื้นที่ที่มีคนมากสุด พื้นที่มากสุด แต่เรากลับจนที่สุด เราก็มองสัดส่วนปัญหาส่วนที่เราพึ่งพาอยู่จึงพบว่าเราบอกว่าประเทศเราเป็นประเทศเกษตรกรรมแต่จริง ๆ เราพึ่งพาภาคบริการ 60% ขนาดเศรษฐกิจภาคอีสานพึ่งพาภาคบริการ 60.1% เกษตรกรรมแค่ 19% พึ่งพาอุตสาหกรรม 20% อันนี้คือข้อมูลภาพรวมของภาคอีสาน และรู้ไหมครับว่า ภาพรวมจังหวัดขอนแก่นก็เป็นลักษณะนี้ ช่วง 2-3 ปีที่มีโควิดอีสานจึงกระทบหนักไม่แพ้ภาคอื่น เพราะหากดูในรายละเอียด นอกจากเราจะพึงพาภาคบริการเยอะมากแล้ว ผลผลิตทางการเกษตรของเราก็เป็นเกษตรแปลงใหญ่ที่ราคาผลผลิตไม่ได้ขยับขึ้นตามสถานการณ์ เกษตรกรบ้านเราซึ่งคนกลุ่มหลักจึงยังคงลำบาก ผมว่าเรื่องนี้สำคัญกับคนขอนแก่นมาก และเอาเข้าจริง ๆ กระแสโลกก็มาทางนี้อย่างโมเดล BCG คือการทำให้เศรษฐกิจมันหมุนเวียนและยั่งยืน โดยเฉพาะเรื่องเศรษฐกิจสีเขียว ซึ่งเกี่ยวข้องกับเราโดยตรง  ผมเคยถามสภาอุตสาหกรรมว่าเราน่าจะคุยกับรัฐบาลนะว่าเราควรเริ่มทำเกษตรมูลค่าสูง และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมและทำเป็นภาพใหญ่ไปเลย อย่าปล่อยให้ภาคอีสานต้องปลูกอ้อยหรือปลูกมันเหมือนเดิม เพราะประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากเกษตรรูปแบบนี้มูลค่าไม่สูง ดูแลพี่น้องเราคนของเราได้ไม่เต็มที่

กลับมาดูมูลค่าการลงทุนภาคอุตสาหกรรมในขอนแก่น ตอนนี้อยู่ที่ราว ๆ หนึ่งแสนสามหมื่นล้านบาท กระจุกอยู่แค่ 5 กลุ่มอุตสาหกรรมหลัก โรงงานน้ำตาล สิ่งทอ แห อวน กระดาษ และอุตสาหกรรมอาหารเครื่องดื่ม เป็นรายใหญ่ที่ตัวใหญ่ไปเลย ในขณะที่ประชากรจำนวนมากของจังหวัดเป็นกลุ่ม SME หรือไม่ก็วิสาหกิจชุมชน กลุ่มนี้จะมี Know-How แต่ Scale ไม่ได้เพราะติดที่การพัฒนาผลิตภัณฑ์และเงินทุน สภาอุตสาหกรรมจังหวัดก็มองเห็น Gap ตรงนี้จึงพยายามจะเป็นแกนกลาง Plugin ผ่านศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาค 5 ส่วนหนึ่งคือที่ศูนย์มีเครื่องจักรทำ Mockup เครื่องอบ เครื่องเป่า เครื่องซิล จนถึงการทำ Packaging และลู่ทางเพื่อของบประมาณมาวิจัย อีกทางคือ Plugin กับ BOI ถ้าเป็นเครื่องจักรจากต่างประเทศถ้า BOI ได้สิทธิประโยชน์อะไรบ้างจากภาษี เป็นต้น และ EXIM BANK มีโครงการพัฒนาผู้ประกอบการ New Gen Exporters เป็นต้น

ผมมีข้อมูลหนึ่งที่ฟังแล้วอาจตกใจ เชื่อไหมว่าประชากร หนึ่งล้านแปดแสนกว่าคนเรามีประชากรกลุ่มเปราะบางกว่า 300,000 คน เรามักพูดกันว่าเราจะสร้างการเติบโตโดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง แต่ตัวเลขสามแสนนี่ถือว่าไม่น้อยเลยนะ มันเกิดขึ้นเพราะอะไร เพราะคนขอนแก่นออกไปทำงานข้างนอกไปทำงานที่ชลบุรี ระยอง พัทยา กรุงเทพ ฯ เด็กและคนแก่อยู่บ้านถูกทิ้งไว้ที่บ้าน นี่คือโจทย์สำคัญที่เรียกร้องให้การพัฒนาเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมของขอนแก่นต้องเข้ามาดูแล จะทำยังไงให้มีงานที่นี่มากขึ้น สร้างงานสร้างรายได้ให้กับคนขอนแก่น สภาอุตสาหกรรมจังหวัดเราก็มองเรื่องนี้อยู่ และพยายามเพื่อจะหาลู่ทาง Support

ในส่วนภาคบริการ หลายคนอาจจะคิดว่าขอนแก่นโชคดีที่เป็นเมือง MICE City หนึ่งในห้าเมืองแรกของประเทศ แต่อย่าลืมว่าขอนแก่นไม่ได้มีต้นทุนเหมือนเชียงใหม่ หรือภูเก็ตที่มีภูเขา น้ำตก มีทะเล แต่เราโชคดีที่มีศูนย์ประชุม และสถานที่จัดประชุมอยู่หลายแห่ง ถ้าขอนแก่นจะไปทางสิ่งที่ต้องเร่งทำคือสร้างต้นทุนใหม่ เช่นสร้าง Geopark สร้างแหล่งการเรียนรู้เรื่องผ้าทอ แหล่งเรียนรู้ต่อยอดวัฒนธรรมอีสานที่ร่วมสมัย หรือไปเติมศักยภาพเรื่อง Medical & Wellness Hub  ที่มีต้นทุนเดิมดีอยู่แล้ว คือผมมองว่าเราต้องรีบเติมต้นทุน และต้องชัดเจน เพราะตอนนี้กลุ่มจังหวัดในระเบียงเศรษฐกิจอีสาน (NeEC) อย่าง โคราช อุดรธานีทุกคนเข้าพร้อมจะแข่งขัน อย่างอุดรธานีได้พืชสวนโลกแล้ว แม้จะคนละธีมกับที่โคราช ขอนแก่นไม่ได้กับเขาแต่อยากได้ท่าเรือบก ก็ต้อง Fight เอาให้ได้

ตราบใดที่เราไม่สร้าง Differentiate ก็จะยากที่สร้างแรงดึงดูดหรือสร้างเศรษฐกิจที่มีมูลค่าสูง ดั้งนั้นการริเริ่มเติมเต็มต้นทุนต้องมี  Creative ต้องมา การร่วมมือของผู้ประกอบการกับรัฐต้องช่วยกันดัน ไม่อย่างนั้นสู้ที่อื่นเขาไม่ได้ รู้ไหมว่าทุกวันนี้ค่าเฉลี่ยของนักท่องเที่ยวที่มาขอนแก่นอยู่ไม่ถึง 3 วัน เดี๋ยวนี้คนเริ่มบินไปไหน แน่นอนว่าเชียงใหม่ ภูเก็ตอันนี้อยู่ใน list แต่เดี๋ยวนี้คนเริ่มไปอุดรฯ มากขึ้น ไปหาดใหญ่มากขึ้น โจทย์นี่แหละที่คนขอนแก่นต้องรีบช่วยกันขบคิด และลงมือทำ”

ดร.ทวีสันต์ วิชัยวงษ์
ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดขอนแก่น  

กองบรรณาธิการ

ในปีพ.ศ.2563-2564 หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ได้สนับสนุนและผลักดันการพัฒนาเมืองในประเทศไทยเพื่อพัฒนาเมืองแห่งการเรียนรู้ (Learning City) โดยเริ่มดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมแล้วทั้งหมด 18 เมือง 20 ชุดโครงการ และ 41 ชุดโครงการย่อย